เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๗

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 4 สิงหาคม 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,849
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,416
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๗


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2024
  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,849
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,416
    วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เป็นวันพระแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งวันพระในช่วงเข้าพรรษานั้น ทางวัดท่าขนุนจัดให้มีการแสดงพระธรรมเทศนาทั้งรอบเช้าและรอบค่ำ เช้านี้เป็นหน้าที่ของพระปัญจทรัพย์ กนฺตธมฺโม ซึ่งท่านขอย้ายมาจากวัดทุ่งกระถิน จังหวัดชัยนาท เพื่อที่จะมาอยู่เรียนหนังสือที่วัดท่าขนุน แต่ด้วยความที่ท่านเป็นนักวิชาการ ไม่เข้าใจระบบธรรมเนียมวิธีการเทศน์ ท่านจึงประกาศขอโอกาสพระเถรานุเถระ ประกาศชื่อฉายาของตนเอง ขอโอกาสในการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งนี้ ซึ่งไม่ใช่ธรรมเนียมในการแสดงพระธรรมเทศนา

    การประกาศตัวตนและขอโอกาสพระเถรานุเถระนั้น เป็นธรรมเนียมในการแสดงปาฐกถา หรือว่าบรรยายธรรมทั่วไป แต่ถ้าหากว่าแสดงพระธรรมเทศนาอย่างเป็นทางการ ทางธรรมเนียมวัดท่าขนุนก็จะบอกศักราช ตั้งนะโมฯ แล้วก็ตั้งอุเทศหัวข้อที่จะแสดงธรรมในภาษาบาลี จากนั้นก็บรรยายขยายความไปเลย

    แต่ว่าวันนี้ในกัณฑ์เทศน์ที่ท่านเลือกมานั้น ต้องบอกว่าคนเขียนกัณฑ์เทศน์เขียนได้มั่วสุด ๆ เนื่องเพราะคงจะเกรงว่าเนื้อหาไม่พอแสดงพระธรรมเทศนาใน ๓๐ นาที เมื่อกล่าวถึงปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธแล้วจึงมีปริหาระและปฏิสังขรณะขึ้นมาด้วย

    ถ้าหากว่าท่านจะเอาในลักษณะนั้นก็จะต้องแสดงไปในแนวเดียวกัน แต่ว่าคนเขียนกัณฑ์เทศน์นั้นเขียนในลักษณะกระชากอารมณ์มาก ก็คือเรื่องของปริยัตินั้นเป็นการศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัตินั้นเป็นการนำเอาสิ่งที่เรียนมาทำให้เกิดผล ปฏิเวธคือการรับผลจากสิ่งที่ตนเองศึกษาและนำมาปฏิบัติ

    แล้วท่านไปอธิบายว่าปริหาระ หรือว่าบริหารในภาษาไทยนั้น ก็คือการครองคน ครองตน ครองงาน ส่วนปฏิสังขรณะหรือว่าปฏิสังขรณ์นั้น ก็คือการพัฒนาวัดวาอารามของตน ในการที่จะซ่อมสร้างให้ดีขึ้น กระผม/อาตมภาพจึงได้แจ้งกับท่านว่า ต่อไปกัณฑ์เทศน์นี้ให้ชั่งกิโลขายไปเลย..! แล้วถ้าหากว่าใครมีชื่อเป็นผู้เขียนกัณฑ์เทศน์ ต่อไปก็อย่าได้ซื้อกัณฑ์เทศน์ที่บุคคลผู้นี้เขียนมาอีก..!

    เนื่องเพราะว่าในส่วนของปริยัติก็คือการศึกษา ปฏิปัตติก็คือการนำมาทำให้เกิดผล แล้วผลของการศึกษาเล่าเรียนและนำมาปฎิบัตินั้นคือปฏิเวธะ มีปรากฏชัดอยู่ในพระพุทธศาสนา แต่บริหารหรือในภาษาบาลีคือปริหาระนั้น ตามศัพท์แปลว่า นำไปทั่ว หรือว่า นำไปรอบ ในเมื่อท่านไปถึงเรื่องของมรรคของผลแล้ว ก็จะต้องอธิบายไปแนวทางที่ว่า เราจะต้องนำเอาหลักที่เราปฏิบัติได้จนเกิดผลแล้วไปใช้งานในชีวิตจริง ไม่ใช่ไปอธิบายในลักษณะการปกครอง ครองตน ครองงาน ซึ่งเป็นการกระชากอารมณ์ผู้ฟังไปคนละทิศกับที่แสดงธรรมนำเขามาตั้งแต่ต้น..!
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,849
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,416
    หลังจากที่เราอธิบายขยายความปริหาระ ในลักษณะของการนำไปใช้งานในชีวิตจริงแล้ว ปฏิสังขรณะก็จะต้องอธิบายไปในลักษณะที่ว่าพัฒนาทั้งตนเองและผู้อื่น ด้วยการปรับปรุงกาย วาจา และใจของตนด้วยหลักธรรมต่าง ๆ จนกระทั่งสามารถเปลี่ยนแปลงจากปุถุชนเป็นกัลยาณชน เป็นอริยชน และท้ายสุด เมื่อพัฒนาตนจนเต็มที่ก็สามารถที่จะหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพานได้

    ในเรื่องการแสดงพระธรรมเทศนานั้น เราต้องหวังผลสูงสุดว่า ผู้ฟังต้องสามารถนำเอาสิ่งที่ฟังนั้นไปใช้งานในชีวิตจริงได้ ไม่ใช่อธิบายขยายความมั่วไปหมด เพื่อให้ครบเวลา ๓๐ นาทีตามที่ตนต้องการ ถ้าลักษณะอย่างนั้น ต่อให้ท่านเขียนกัณฑ์เทศน์เก่งขนาดไหนก็ตาม ก็มีแต่จะทำให้ผู้รู้จริงเขาหมดอารมณ์มากเท่านั้น..!

    เรื่องนี้ไม่สามารถที่จะโทษพระท่านได้ เพราะว่าท่านแสดงพระธรรมเทศนาไปตามกัณฑ์เทศน์ที่เขียนเอาไว้ แต่เมื่อเขียนไปแล้วต้องการให้มี ๕ ป. ในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการ "แหกคอก" ในสิ่งที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ท่านก็ต้องหาทางที่จะนำเอาสิ่งที่ "แหกคอก" นั้น ผสานเข้าไปให้เนียนที่สุดเท่าที่จะเนียนได้ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็กระชากกลับชนิดหัวทิ่มเลยว่า บรรลุมรรคบรรลุผลกันไปแล้วก็ต้องไปปกครอง ต้องไปบูรณปฏิสังขรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องทางโลก ๆ จนเกินไป เป็นต้น

    อีกส่วนหนึ่งก็คือท่านเองก็หลงไปกับตำราที่สมัยนี้เขียนกันเอาไว้ส่งเดช โดยการประกาศว่าเดือนนี้คือเดือนสาวะนะมาสัสสะ หรือว่าเดือน ๙ ตามภาษาบาลี ความจริงแล้วเดือนของภาษาบาลีนั้นต้องเป็นเดือนทางจันทรคติ นับขึ้นนับแรมกัน ก็คือ

    เดือนอ้าย ได้แก่ เดือนมิคะสิระมาสัสสะ

    เดือนยี่ คือ เดือนปุสสะมาสัสสะ

    เดือน ๓ คือ เดือนมาฆะมาสัสสะ

    เดือน ๔ คือ เดือนผัคคุณะมาสัสสะ

    เดือน ๕ คือ เดือนจิตตะมาสัสสะ

    เดือน ๖ คือ เดือนวิสาขะมาสัสสะ

    เดือน ๗ คือ เดือนเชฏฐะมาสัสสะ

    เดือน ๘ คือ เดือนอาสาฬหะมาสัสสะ

    เดือน ๙ คือ เดือนสาวะนะมาสัสสะ

    เดือน ๑๐ คือ เดือนโปฏฐะปะทะมาสัสสะ หรือ ภัททะปะทะมาสัสสะ

    เดือน ๑๑ คือ เดือนอัสสะยุชะมาสัสสะ

    เดือน ๑๒ คือ เดือนกัตติกามาสัสสะ
    เป็นต้น
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,849
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,416
    คราวนี้ในหนังสือสวดมนต์ต่าง ๆ มักจะเขียนเอาง่าย ๆ สะดวก ๆ ว่าเดือนพฤศจิกายนก็คือกัตติกามาสัสสะ ซึ่งไม่ใช่ เพราะว่าเดือนพฤศจิกายนเป็นเดือน ๑๑ ของทางโลก ๆ หรือว่าทางสากล ต้องนับเอาเดือนตามจันทรคติเท่านั้น ดังนั้น..วันนี้ซึ่งเป็นวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๘ จึงเป็นวันสุดท้ายของอาสาฬหะมาสัสสะ ก็คือเดือน ๘ พรุ่งนี้เป็นต้นไปจึงจักเป็นสาวะนะมาสัสสะ คือเดือน ๙

    ถ้าหากว่าไม่ได้ศึกษาจากครูบาอาจารย์แล้ว ส่วนใหญ่บรรดาพระที่ออกเทศน์ หรือว่าแสดงพระธรรมเทศนาในวาระต่าง ๆ ถ้าบอกศักราชก็มักจะบอกผิด เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะความมักง่ายของผู้ที่ต้องการให้จำบาลีง่าย ๆ โดยการไล่ตามเดือนสากล แล้วเป็นการไล่ส่งเดชแบบไม่รับผิดชอบด้วย..! อย่างเช่นบอกว่าเดือนกรกฎาคมก็คือเดือน ๘ (อาสาฬหะมาสัสสะ) พอไปเดือนสิงหาคมก็คือเดือน ๙ (สาวะนะมาสัสสะ) ซึ่งเป็นการมั่วมากไปหน่อย เพราะว่ายังมีเดือน ๘ ติดมาตั้งหลายวัน

    จึงเป็นเรื่องที่บุคคลทั้งหลาย ถ้าหากว่าท่านจะต้องขึ้นเทศน์ ควรที่จะระมัดระวังและศึกษาให้ดี เพราะว่านอกจากวันและเดือนแล้ว เรายังต้องมีปี ก็คือ พุทธศักราชอีกด้วย อย่างเช่นปีนี้ก็คือ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ได้แก่ สัตตะสัฏฐะยุตตระ ปัญจะสะตาทิกานิ ทะเวสังวัจฉะระสะหัสสานิ ก็คือ ๒๕๖๗ ซึ่งบุคคลที่นำเอาพระธรรมเทศนาที่กระผม/อาตมภาพแสดงในวันเข้าพรรษา ไปตัดเพื่อจะให้เนื้อหากระชับ ได้ตัดเอาคำว่าสัตตะออกไป

    คำว่า สัตตะก็คือ ๗ สัฏฐะะก็คือ ๖๐ สัตตะสัฏฐะยุตตระก็คือ ๖๐ มากไป ๗ ได้แก่ ๖๗ ในภาษาไทยนั่นเอง แต่ผู้ฟังคิดว่ากระผม/อาตมภาพพูดซ้ำ ก็เลยตัดคำว่าสัตตะทิ้งไปหน้าตาเฉย..!

    เรื่องเหล่านี้ถ้าคนไม่รู้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าคนรู้เมื่อไร ครูบาอาจารย์ก็เสียหายหนักมาก เขาจะว่าพระอาจารย์เล็ก หรือว่าหลวงพ่อเล็ก ไม่ได้รู้ภาษาบาลีหลักฐานอะไรเลย ว่าไปส่งเดช โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นฝีมือของลูกศิษย์ตัวดีนั่นเอง..! จึงเป็นเรื่องที่ท่านทั้งหลายจะต้องเพียรพยายามศึกษาเอาไว้ให้ชัดเจน เนื่องเพราะว่าเลขของภาษาบาลีนั้นก็คล้ายคลึงกับภาษาไทย ก็คือบวกร่วมเข้าไป

    เพียงแต่ว่าหลักเลข ๙ นั้นเป็นเรื่องตลก อย่างเช่น ๑๙ ภาษาบาลีจะใช้คำว่า เอกูนะวีสะติ ก็คือ ๒๐ หย่อน ๑ ก็แปลว่า ๒๐ น้อยลง ๑ ได้แก่ ๑๙ นั่นเอง หรือว่า เอกูนัตติงสะ คือ ๓๐ หย่อน ๑ ก็คือ ๒๙ นั่นเอง ทำให้บรรดาผู้ที่เรียนบาลีนั้นปวดหัวกับสังขยา คือการนับเลขแบบภาษาบาลีเป็นอย่างยิ่ง ถ้าไม่ใช่ศึกษากันชนิดเข้าถึงจริง ๆ ก็คงจะโยนตำราทิ้ง บอกว่าไม่เอาอีกแล้ว..!
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,849
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,572
    ค่าพลัง:
    +26,416
    ส่วนในเรื่องของวันนั้น ก็มีตั้งแต่

    ระวิวาโร ก็คือ วันอาทิตย์

    จันทะวาโร ก็คือ วันจันทร์

    ภุมมะวาโร ก็คือ วันอังคาร

    วุธะวาโร ก็คือ วันพุธ

    คุรุวาโร ก็คือ วันพฤหัสบดี

    สุกระวาโร ก็คือ วันศุกร์

    สาระวาโร หรือว่า โสระวาโร ก็คือ วันเสาร์


    จึงเป็นเรื่องที่เราท่านทั้งหลายเพียรพยายามใช้ความจำสักนิดหนึ่ง แต่สำหรับญาติโยมทั่วไปแค่ฟังผ่านหูก็พอ ไม่เช่นนั้นแล้วก็อาจจะนำไปซื้อหวยจนร่ำรวยไปอีกก็เป็นได้..!

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...