เรื่องเด่น “ศน.-คณะสงฆ์” เตรียมจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสากลครั้งแรก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 13 มกราคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    upload_2020-1-13_20-51-3.jpeg

    13 ม.ค.63- นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมการศาสนา (ศน.) เปิดเผยว่า จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 และทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธศานูปถัมภก เป็นการเผยแพร่สืบทอดพระพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลกด้วยพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ จำนวน 2 คณะ ได้แก่ 1.คณะกรรมการอำนวยการฝ่ายอุปถัมภ์ โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน และ 2. คณะกรรมการอำนวยการฝ่ายบรรพชิต มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานกรรมการนั้น ศน.ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) จะนำรายชื่อของคณะกรรมการที่ ครม. เห็นชอบถวายแด่พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะเลขานุการฝ่ายบรรพชิตพิจารณาในการเตรียมร่างรายชื่อคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เสนอต่อที่ประชุม มส.ให้ความเห็นชอบ

    นายกิตติพันธ์ กล่าวว่า สำหรับคณะอนุกรรมการที่จะแต่งตั้งรับผิดชอบการดำเนินงานในด้านต่างๆ เช่น ด้านการแปลเอกสาร ด้านบรรณาธิการ ด้านการสนับสนุนการตรวจสอบเอกสาร เมื่อ มส.มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแล้วเสร็จ จะจัดประชุมหารือถึงกรอบการดำเนินงานการด้านต่างๆ โดยเฉพาะกระบวนการแปลพระไตรปิฎกที่มีทั้งหมด 45 เล่มว่า จะเริ่มดำเนินการแปลประโยคในเล่มใดก่อน เบื้องต้น ศน. ได้จัดสรรงบประมาณ ประจำปี 2563 ไว้สำหรับการดำเนินการปีแรก จำนวน 20 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าดำเนินการสำหรับการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแปลภาษาบาลี-สันสกฤต เป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายในการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ตลอดจนการใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการช่วยแปลภาษา คาดว่า ขั้นตอนการแปลเอกสารทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี จากนั้นจึงเข้าสู่การตรวจสอบตามหลักพระธรรมวินัย โดยคณะกรรมการฝ่ายสงฆ์ ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องใช้เวลาตรวจสอบนาน เนื่องจากต้องสอบความถูกต้องไม่ให้มีความผิดเพี้ยน

    “ งบประมาณที่ตั้งไว้ในปีแรกใช้สำหรับการแปลเอกสาร เพราะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญการแปลอย่างมาก โดยเฉพาะจากต่างประเทศ เช่น สมาคมบาลีปกรณ์ อีกทั้งยังต้องมีการศึกษาข้อมูลการแปลในยุคต่างๆ มาประกอบ พร้อมกันนี้ ศูนย์พหุภาษา การแปลและล่ามแห่งอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้ เห็นว่าจะใช้ระบบเทคโนโลยีการแปลภาษามาช่วย แต่ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อแปลแล้วเสร็จจะต้องมีคณะสงฆ์ช่วยกันวิพากษ์ว่าการแปลนั้นถูกต้อง มีความผิดเพี้ยนหรือไม่ เพราะหากไม่ถูกต้องจะทำให้พระธรรมวินัยผิดเพี้ยน ถือเป็นอาบัติของคณะสงฆ์ต้องมีระบบการตรวจสอบอย่างดี” นายกิตติพันธ์ กล่าว

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thaipost.net/main/detail/54435
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มกราคม 2020
  2. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    0b893e0b8b0e0b8aae0b887e0b886e0b98c-e0b980e0b895e0b8a3e0b8b5e0b8a2e0b8a1e0b888e0b8b1e0b894e0b897.jpg
    ศน.หารือคณะสงฆ์ เตรียมจัดทำพระไตรปิฎกฉบับสากลครั้งแรก คาดใช้เวลาแปลแล้วเสร็จภายใน 3 ปี
    .
    นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมการศาสนา (ศน.) กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 และทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก เป็นการเผยแพร่สืบทอดพระพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลกด้วยพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ จำนวน 2 คณะ ได้แก่ 1.คณะกรรมการอำนวยการฝ่ายอุปถัมภ์โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน และ 2. คณะกรรมการอำนวยการฝ่ายบรรพชิต มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานกรรมการนั้น ในส่วนของ ศน. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) จะนำรายชื่อของคณะกรรมการที่ ครม. เห็นชอบถวายแด่พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะเลขานุการ ฝ่ายบรรพชิตพิจารณาในการเตรียมร่างรายชื่อคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เสนอต่อที่ประชุม มส.ให้ความเห็นชอบ

    สำหรับคณะอนุกรรมการที่จะแต่งตั้งนั้น จะรับผิดชอบการดำเนินงานในด้านต่างๆ เช่น ด้านการแปลเอกสาร ด้านบรรณาธิการ ด้านการสนับสนุนการตรวจสอบเอกสาร เมื่อ มส.มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแล้วเสร็จ จะจัดประชุมหารือถึงกรอบการดำเนินงานการด้านต่างๆ โดยเฉพาะกระบวนการแปลพระไตรปิฎกที่มีทั้งหมด 45 เล่มว่าจะเริ่มดำเนินการแปลประโยคในเล่มใดก่อน เบื้องต้น ศน. ได้จัดสรรงบประมาณ ประจำปี 2563 ไว้สำหรับการดำเนินการปีแรก จำนวน 20 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าดำเนินการสำหรับการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแปลภาษาบาลี-สันสกฤตเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายในการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ตลอดจนการใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการช่วยแปลภาษา คาดว่าในขั้นตอนการแปลเอกสารทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี จากนั้นจึงเข้าสู่การตรวจสอบตามหลักพระธรรมวินัยโดยคณะกรรมการฝ่ายสงฆ์ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องใช้เวลาตรวจสอบค่อนข้างนาน เนื่องจากต้องสอบความถูกต้องไม่ให้มีความผิดเพี้ยน

    “งบประมาณที่ตั้งไว้ในปีแรกจะใช้สำหรับการแปลเอกสาร เพราะจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญการแปลอย่างมาก โดยเฉพาะจากต่างประเทศ เช่น สมาคมบาลีปกรณ์ อีกทั้งยังต้องมีการศึกษาข้อมูลการแปลในยุคต่างๆ มาประกอบ พร้อมกันนี้ ทั้งนี้ศูนย์พหุภาษา การแปล และล่ามแห่งอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้เห็นว่าจะใช้ระบบเทคโนโลยีการแปลภาษามาช่วย แต่ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องจึงต้องใช้เวลาในการดำเนินการนาน และเมื่อแปลแล้วเสร็จ จะต้องมีคณะสงฆ์ช่วยกันวิพากษ์ว่าการแปลนั้นถูกต้อง มีความผิดเพี้ยนหรือไม่ เพราะหากไม่ถูกต้องจะทำให้พระธรรมวินัยผิดเพี้ยน ถือเป็นอาบัติของคณะสงฆ์ ดังนั้น จะต้องมีระบบการตรวจสอบอย่างดีและรอบครอบด้วย” นายกิตติพันธ์ กล่าว

    893e0b8b0e0b8aae0b887e0b886e0b98c-e0b980e0b895e0b8a3e0b8b5e0b8a2e0b8a1e0b888e0b8b1e0b894e0b897-1.jpg


    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/qol/detail/9630000003732
     

แชร์หน้านี้

Loading...