จากฌานเข้าวิปัสสนา

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย เพ็ชร คมปภ้สษ์, 3 กันยายน 2019.

  1. เพ็ชร คมปภ้สษ์

    เพ็ชร คมปภ้สษ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2019
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +11
    เมื่อเกิดปิติแล้วเรารู้สึกจนปิติหายไปแล้วเกิดจิตที่รู้สึกตั้งมั่นแล้วเราจะเดินวิปัสสนาได้เรยไหมครับหรือว่าต้องดูไปเรื่อยๆ การเดินวิปัสสนา เราต้องช่วยจิตให้คิดหรือไม่ ว่าจะต้องพิจารณาอย่างไร ผม ไม่รู้ว่าจะไปยังไงต่อครับ
     
  2. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ หากทำได้ถูกต้องจริง ตรงที่ "รู้สึกตั้งมั่น" นี้ คือ เอกัคตา
    +++ ไล่ไปจาก "ปิติ สุข เอกัคตา" ถ้าทำได้ถูกต้อง ก็ ถือว่า มาถูกทาง
    +++ "ไม่ได้" เพราะ คุณ ยังไม่รู้จัก "วิปัสสนา" ที่แท้จริง

    +++ วิปัสสนาที่แท้จริง คือ "สัมโพชฌงค์ 7"

    +++ ในกรณีของคุณ "ให้อยู่กับ จิตที่รู้สึกตั้งมั่น" แล้ว "อยู่อย่างนั้น"
    +++ แล้วมันจะรู้เองว่า มันมีองค์ประกอบบางประการ "เจืออยู่ภายใน จิตตั้งมั่นนั้น"
    +++ อาการหนึ่ง คือ "สติรู้ชัดเจน ถึงอาการ ตั้งมั่น" และ "ไม่มีอาการ ดู เจือปนอยู่"

    +++ หากถึงตรงนี้เมื่อไร ก็จะตรงกับอาการ 1. "โพชฌังโค สะติสังขาโต"
    =========================================
    +++ ให้ทำอาการ "ตั้งมั่น สลับกับการทำ รู้ชัดเจน"
    +++ ก็จะเริ่มเข้ใจได้เองว่า "ทั้ง 2 กรณี" มัน "ตั้งมั่น ทั้งคู่"

    +++ กรณีหนึ่งเป็น "จิตตั้งมั่น (ใช้ภาษาที่คุณ พอจะเข้าใจได้)"
    +++ อีกกรณีหนึ่งเป็น "สติตั้งมั่น (ใช้ภาษาที่คุณ จับความต่างได้)"

    +++ หากคุณทำได้ถูกต้อง คุณจะรู้ "ความแตกต่างของ เนื้อสภาวะ" ได้เอง
    +++ สภาวะของ "จิตตั้งมั่น" จะมีอาการ "อึมครึม" ของเนื้อสภาวะ (ธัมมารมณ์จิต ตั้งมั่น)
    +++ ส่วนสภาวะของ "สติตั้งมั่น" จะมีอาการ "ใสกระจ่าง" ของเนื้อสภาวะ (สติชัดเจน ตั้งมั่น)

    +++ การทำ "สลับไปมา" ในเนื้อสภาวะที่ "ตั้งมั่นทั้งคู่นี้" เท่านั้น จึงเรียกว่า "วิปัสสนา"

    +++ หากถึงตรงนี้เมื่อไร ก็จะตรงกับอาการ 2. "ธัมมานัง วิจะโย ตะถา"
    =========================================
    +++ ให้ทำไปเรื่อย ๆ จนอาการอื่น ๆ ที่ "เจือ" อยู่ในบริเวณนี้ ปรากฏมาเอง
    +++ เช่น "อาการตื่น (ผู้ตื่น)" "พลังแห่งการตื่น" "อาการเจิดจ้า" "อาการเปล่งรังสี"
    +++ อาการต่าง ๆ ที่ "เจือ" อยู่ใน "จิต/สติ ตั้งมั่น" เหล่านี้
    +++ จะ ค่อย ๆ ทยอยปรากฏตัวออกมาเอง
    +++ และ "ความคิด จะไม่สามารถก่อกำเนิดในสภาวะต่าง ๆ เหล่านี้ได้"

    +++ หลัก ๆ จะเป็น ปิติบ้าง สงบราบคาบบ้าง
    +++ ทั้งหมด จะเป็นปรากฏการณ์ "ไร้ตัว แต่ มีตน"

    +++ เมื่อถึงตรงนี้ จะเป็น 3. "วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร"
    =========================================
    +++ ให้ฝึกจน "ผ่านปรากฏการณ์ต่าง ๆ" ที่เป็น "เนื้อสภาวะทั้งหมด เท่าที่มี"
    +++ จนกว่า "จะรู้ ได้เองว่า" ไม่ว่า "เนื้อสภาวะ" จะแปรไปกี่สภาวะก็ตาม

    +++ แต่ "สภาวะรู้" ก็ยัง "รู้อยู่ คงเดิม" ไร้การเปลี่ยนแปลง
    +++ ตรงนี้ "สภาวะรู้" เป็น "อุเบกขา" ที่ ไร้เจตนา โดยสิ้นเชิง


    +++ เมื่อถึงตรงนี้ จะเป็น 4. "สะมาธุเปกขะโพชฌังคา"
    =========================================
    +++ โภชฌงค์ 7 คือ 1. สติ 2. ธัมมะวิจัย 3. วิริยะ 4. ปิติ 5. ปัสสัทธิ (สงบลงตัว) 6. ตั้งมั่น 7. สภาวะรู้

    สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
    +++ ทั้ง 7 ประการนี้ พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว

    ภาวิตา พะหุลีกะตา
    +++ ผู้ใด ทำจนชำนาญ จนได้นิสัย

    สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
    +++ ย่อมเป็นไปเพื่อ อภิญญา นิพพาน และ "โพธิธรรม"


    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ
    +++ ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
    +++ ให้คุณ "อ่านทวนอีกรอบ" นะ ว่า
    +++ การเดินวิปัสสนานี้ จะเอา "ความคิด" เข้ามามั่ว ได้หรือไม่
    +++ อาการที่เรียกว่า "พิจารณา" นั้น ให้ไปทบทวนที่ "ธัมมะวิจัย สัมโพชฌงค์" ให้ดี ๆ
    +++ ว่า "มันใช่ความเข้าใจ ตามที่เคยเข้าใจกันมา หรือไม่"
    +++ หรือว่ามันต้อง "คิดจนกรรมฐานแตก" มโนฟุ้งซ่าน จนวิปลาสไปเลย
    +++ ก็ต้องเลือกเอาเองว่า "จะปฏิบัติ หรือ จะมั่วด้วยความคิด"
    +++ หากจะปฏิบัติ ก็ "ให้อ่านทบทวน อีกรอบ" แล้ว "ลงมือทำ" นะ
     
    • ถูกใจ ถูกใจ x 3
    • รักเลย รักเลย x 2
    • อนุโมทนา อนุโมทนา x 1
    • ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย x 1
    • ดูรายการ
  3. เพ็ชร คมปภ้สษ์

    เพ็ชร คมปภ้สษ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2019
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +11
    ผมอยู่กับอาการตรงนี้ไปเรื่อยๆเมื่อปิติหายไปจะรู้สึกว่ามันสงบนิ่งอยู่แบบนี้ไปสักพักแล้วสัญญามันเกิดครับ เรื่องอดีตที่นานมากก็มา สิ่งที่ไม่เคยคิดถึงเลยก็โผล่มาได้แบบรู้สึกแปลก ก็ฟังครูบาอาจารย์มาว่า ดูมันไปเรื่อยๆ เพื่อดูเกิดดับ พอดูไปแล้ว มันเหมือนว่าจำไม่ได้ว่ามันเป็นยังไงต่อคือเหมือนว่ามันนิ่ง แช่อยู่โดยไม่รู้ว่านานแค่ไหน จึงมารู้สึกตัวอีกครั้ง ก็กลับมาดูลมหายใจใหม่น่ะครับ เป็นแบบนี้มาตลอดครับ เลยอยากขอคำแนะนำครับ
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ แน่ใจหรือว่า "ครูบาอาจารย์ ที่พูดนั้น พูดตรงกับ อาการของเรา"
    +++ หรือว่า "ไปฟัง ๆ เขามา แล้วเอามาเทียบกับตนเอง" แล้วเข้าใจว่า ตรง
    +++ ใจความสำคัญ อยู่ที่ "จำไม่ได้" ตรงนี้แหละ ที่เรียกกันว่า "อสัญญี พรหมลูกฟัก"
    +++ เรียกกันอีกนัยหนึ่งว่า "โลกียะนิพพาน หรือ นิพพานพรหม"
    +++ เป็นอาการ "คล้ายนิพพานในตำรา" แต่มันกลายเป็น "ไร้สติ" ไปซะงั้นเอง
    +++ เอาจากใน "ท่อนข้างล่างนี้แหละ" ตรงอาการ
    +++ ตรงนี้แหละ "ให้รู้ อาการที่ เจืออยู่ใน ความสงบ"
    +++ "ทำ" ตรงนี้แหละ ก่อนที่อาการ
    +++ ทำให้ได้ ในขณะที่ "ความสงบ" ยังมีอยู่นะ
     
  5. เพ็ชร คมปภ้สษ์

    เพ็ชร คมปภ้สษ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2019
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +11
    ของบคุณน่ะครับ
     
  6. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,613
    ค่าพลัง:
    +3,015

    เมื่อไหร่ที่ มีความทุกข์ เข้ามาในใจของเรา
    แล้วเราคิดหาวิธิที่จะออกจากทุกข์นั้น
    แต่เรามักจะมัวเสียใจกับ ความทุกข์ ที่เกิดกับเรา
    เรามักจะหาวิธีที่จะออกจากทุกข์
    แต่ก็หาไม่ได้ซักวิธี ยิ่งค้นหา ยิ่งตีบตัน
    จนในที่สุด เราก็เลิกค้นหา ไปทำอย่างอื่นก่อน
    แล้วค่อยว่ากันใหม่ ความทุกข์ที่เรามีมันก็ปล่อยวาง
    ได้ด้วยตัวของมันเอง แค่เราไม่คิดถึงมัน ไม่สนใจมัน
    มันก็จะไม่สนใจเรา เราก็ออกจากทุกข์ได้เอง

    วิธีการอย่างนี้ จะเรียกว่า วิปัสสนา อย่างหนึ่ง
    คือ การมุ่งหาวิธีที่จะออกจากทุกข์
    เมื่อไหร่ที่เราปล่อยวางทุกข์ลง
    เมื่อนั้นเราก็บรรลุธรรมทันที
    หากฝึกพิจารณาได้เองบ่อยๆ
    ก็จะได้เป็นพระอรหันต์

    จำให้ดี ยิ่งคิดยิ่งเป็นทุกข์ ไม่คิด ก็ไม่เป็นทุกข์
    เมื่อกลับมาสนใจมันอีก มันก็เป็นทุกข์อีก
    กลับไปกลับมาอย่างนี้ตลอด
    หากอยากจะทำ วิปัสสนา หรือ จะออกจากทุกข์
    จะต้องพิจารณา พระไตรลักษณะสามอย่าง คือ
    ความไม่เที่ยง การเป็นทุกข์ และ สิ่งที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง
    ฝึกพิจารณาสามอย่างนี้เสมอๆ ก็จะบรรลุธรรมได้เอง
    ฝึกเองทำเอง ไม่ต้องง้อใคร แค่เรื่องง่ายๆ
    ส่วนที่ไม่ง่าย ก็คือ ขี้เกียจฝึก
    อย่างนั้นจะต้องมี ครูบาอาจารย์
    คอยถือไม้เรียว คอยสอนสั่ง

     
  7. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,613
    ค่าพลัง:
    +3,015

    เป็นเพราะไม่ได้ฝึกแบบสายปัญญา
    ในอดีตเป็นพวกเข้าญานได้เก่งมากๆ
    คิดนิดเดียว ก็เข้าญานได้เลย
    ฝึกเดินจงกลมให้มากๆ เพราะจะช่วยให้สติดีขึ้น
    ถ้าจะดูเกิดดับ มันต้องดูตอนที่ทุกข์เกิดขึ้น
    เมื่อไหร่ที่ทุกข์เกิดขึ้น เมื่อนั้นให้พิจารณาตามว่า
    ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
    ท่องแค่นี้ก็พอ แล้วก็คิดตามคำที่เราท่องให้ทัน
    เมื่อคิดตามทันแล้ว ที่นี้ก็ต้องฝึกแบบคิดเองบ้าง
    ต่อไปคือ การฝึกแบบมโน คือ คิดในใจขึ้นมา
    เมื่อคิดอะไร ก็ให้คิดตามว่า ทุกสิ่งเกิดแล้วดับ
     
  8. เพ็ชร คมปภ้สษ์

    เพ็ชร คมปภ้สษ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2019
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +11
    ขอบคุณน่ะครับ
     
  9. เพ็ชร คมปภ้สษ์

    เพ็ชร คมปภ้สษ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2019
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +11
    ในการฝึก ผมจะมีสติอยู่กับปัจจุบัน เมื่อมันหลง ไปคิดผมก็จะดึงกลับมา ช้าบ้างเร้วบ้างที่จะรู้สึกตัว จนรู้สึกได้เองว่า มันรู้ทันได้เร็วขึ้น จากเมื่อก่อนที่มันนานกว่าจะมีสติรู้สึก คำว่าพิจารณานี้และครับที่มันทำให้ผมสับสน ว่าคือการคิด หาเหตุผล ในช่วเข้าสมาธิหรือช่วงที่อยู่กับชีวิตประจำวัน การพิจารณากาย ว่าไม่เที่ยง มันต้องเข้าไปคิด ถึงส่วนต่างๆของร่างกายใช่ไหมครับ
     
  10. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,613
    ค่าพลัง:
    +3,015

    แบบที่คุณทำตอนนี้ เค้าจะเรียกว่า สติปัฏฐาน
    หรือ การดึงสติกลับคืนมาที่ฐานเก่า
    แต่มันยังไม่ช่วยให้บรรลุธรรมได้
    แค่ทำให้ผู้ฝึกมี สติที่ดีเยี่ยม แค่นั้น
    หากอยากจะบรรลุธรรม ก็จะต้องพิจารณา
    พระไตรลักษณะสามอย่าง ควบคู่กันไปด้วย
    เช่น เมื่อคุณเห็นเพศที่คุณชอบ
    ทันใดนั้นให้คุณภาวนาว่า กายที่เราเห็นไม่เที่ยงๆๆๆๆๆ
    ตามไปในขณะที่คุณคิดทันที
    จะเรียกว่า การสู้กันซึ่งๆหน้า
    นี่จึงเรียกว่า วิถีแห่งพระโสดาบัน
    ซึ่งเป็นพระอริยะเจ้าชั้นต้น
    ส่วนการพิจารณาร่างกายของเราเอง
    เป็นแนวทางของ พระอริยะเจ้าชั้นกลาง
    และ พระอริยะเจ้าชั้นสูง
     
  11. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,901
    ค่าพลัง:
    +994
    โพธิปักขิยธรรม37
    ควรไล่ไปตามหมวดธรรมของโพธิปักขิยธรรม37
    ธรรมทั้งหลายทำให้มี
    ทำให้เป็น
    เดียวปัญญามันก็เจริญงอกงามเองละครับ
     
  12. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    เกิดจิตที่รู้สึกตั้งมั่นแล้วเราจะเดินวิปัสสนาได้เรยไหม ====>>ใครที่ทำถึงขั้นนี้ได้แล้ว ก็เหมือนว่าวที่ติดลมบน เราคงต้องเป็นห่วงมันไหม หรือคอยดึงเชือกบ่อยป่าว เพราะกลัวว่าวจะตก มีสองอย่างที่ควรจะทำก้คือ ฉลาดในการวางจิต กับฉลาดในการเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต เมื่อมีอารมณ์ใดๆ กับ ความคิดเกิดที่จิต ก็จงทำตัวเป็นผู้ดู ผู้รู้ และผู้เห็นที่ดี อะไรที่เกิดขึ้น ก้ให้ผ่านไป ฝึกง่ายๆ สบายๆแบบนี้ล่ะคับ โดยมีสติผูกไว้กับจิต แนบเป็นเพื่อนกับจิตตลอด ถ้าทำแบบนี้ได้ก้จะเห็นความก้าวไปของจิต ผู้รู้ก้คือจิต ตัวผู้เห็นคือสติ สิ่งที่ถูกเห็นคืออารมณ์ของจิต กับความคิดหรืออาการของจิต(เงาจิต) วิปัสสนาจะเริ่มเกิด โดยนับ1 ที่จิตเริ่มตั้งมั่นนี่แหละคับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...