เรื่องเด่น The matrix กับ พระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 24 พฤศจิกายน 2018.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,542
    matrix-jpg.jpg

    The matrix กับ พระพุทธศาสนา

    1. แมทริกซ์คือสังสารวัฏฏ์

    .แมทริกซ์เทียบได้ กับอะไร แมทริกซ์เปรียบเสมือนสังสารวัฏฏ์ (คือ .เราอาศัยอยู่ในโลก แต่เรารับรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างไม่ถูกต้อง ด้วยจิตใจที่หลงผิดของเราเอง). .การถูกแมทริกซปิดบังให้มืดบอดไม่ใช่สิ่ง .ที่เป็นไปไม่ได้ เหมือนกับสมัยนี้ ถ้าเราไม่ได้รับการศึกษา .เราก็คงจะเข้าใจว่าโลกแบน(เพราะตามันเห็นว่าแบนจริง ๆ ) .หรือไม่ก็เข้าใจว่าพระอาทิตย์สว่างตอนเช้าแล้วดับตอนกลางคืน .เพราะเชื่อสายตาของตนเอง .โลกนี้ช่างเต็มไปด้วยสิ่งลวงตาลวงใจมากเหลือเกิน!

    2. ฝันร้ายของนีโอ

    .แม้ ว่านีโอจะหวาดผวากับฝันร้ายซ้ำซากว่า ไตรนิตีถูกยิง ตอนที่เธอจะ "ตาย" .แต่เขาก็เชื่อว่า "มันจะไม่สิ้นสุด จนกว่ามันจะสิ้นสุด" เขาเชื่อเช่นนี้ .เพราะเขายังไม่ได้เห็นเธอตายจริง ๆ .ข้อนี้ช่วยให้เราระลึกได้ว่า แม้สิ่งต่าง ๆ .มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นตามกฎแห่งกรรม แต่ก็อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ .ตราบใดที่เรามี"ความเพียร"ในการกอบกู้สถานการณ์ให้เปลี่ยนแปลงไป .และตอนหนังใกล้จบ นีโอก็สามารถทำให้ไตรนิตี .ฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้หลังจากที่เขาสามารถเข้าถึงภาวะใกล้ตายของเธอได้สำเร็จ

    3. นีโอ ผู้มีเมตตาแต่ขาดปัญญา ( ยังเป็นพระโพธิสัตว์ที่บารมีไม่เต็ม )

    แม้นีโอจะมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองว่าเขา
    เป็น หนึ่งเดียวที่สามารถช่วยทุกคนให้รอดพ้นจากแมทริกซ์ได้ .แต่นีโอก็บอกกับไตรนิตีว่า "ผมเพียงอยากรู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง" .นีโอจึงเปรียบได้กับผู้ที่เปี่ยมล้นไปด้วยความกรุณา แต่ขาดปัญญา .ไม่รู้ว่าจะนำพาสรรพสัตว์หลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์ .(การเวียนว่ายตายเกิด) .ได้อย่างไรตรงนึ้เท่ากับช่วยย้ำให้เราเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาปัญญาควบ คู่ไปกับ .ความกรุณา อุปมาเหมือนกับนกที่จะต้องมีสองปีก จึงสามารถบินได้

    4. ศรัทธาที่มืดบอดของมอร์เฟียส

    .หลาย คนสงสัยว่า ทำไมมอร์เฟียสจึงเชื่อมั่นในคำทำนายของโอราเคิลยิ่งนัก .เขาเชื่อตั้งแต่ในภาคแรก .และยืนยันความเชื่อที่ปราศจากเหตุผลรองรับ มาจนถึงภาคreloaded ด้วยความเชื่ออันงมงายของมอร์เฟียส .ลูกเรือทุกคนต่างเต็มใจปฏิบัติตามคำบัญชาของเขาด้วยความเชื่อมั่นและไว้ใจ ในตัวเขา .เขาคือผู้ที่ทำให้ประชาชนชาวไซออน (Zion) มีความหวัง แต่แล้วในตอนจบของหนัง .มันได้กลับกลายเป็นความสิ้นหวังไป .(แต่เราก็หวังว่านีโอจะสามารถช่วยชีวิตชาวไซออนได้ในภาคที่สาม) ความเชื่อมั่นในคำทำนายของ"โอราเคิล" .เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นในความยึดมั่นถือมั่นของมอร์เฟียส .ทำให้ได้เห็นความต้องการลึกๆ และ ความเชื่อมั่นของเขา อย่างไรก็ตามในที่สุด .ความ(ไม่)จริงก็ได้ปรากฏตามที่มันเป็น (ไม่ได้เป็นไปตามความเชื่อของใครๆ) .ตรงนี้ถ้าพิจารณาให้ดี .จะเห็นว่าคนเราทั่วๆไปก็เหมือนกัน คืดจะเชื่อในสิ่งที่เราต้องการเชื่ออยู่แล้ว .ถ้าเป็นเช่นนี้จริง เราจำเป็นต้องการให้โอราเคิลมาบอกเราให้เชื่อในสิ่งที่เราเชื่อ .หรือต้องการเชื่ออยู่แล้วหรือ! ไม่จำเป็นเลย ใช่ไหม ฉะนั้นอย่าตกเป็นเหยื่อของการหลอกตัวเอง เพราะขาดปัญญา

    5. เอเยนต์สมิธ คือ"มาร"

    เอเยนต์สมิธ ซึ่งไล่ล่านีโออย่างไม่ลดละ อาจเปรียบได้กับมารในตัวนีโอเอง ที่พยายาม "ฆ่า" เขา ด้วยการขัดขวางไม่ให้เขาบรรลุเป้าหมาย (คือการรู้แจ้งสัจธรรม) ในภาคแรก นีโอไม่ได้ทำลายล้างเอเยนต์สมิธให้สิ้นซาก เขาจึงกลับมาได้ในภาคสอง ตรงนี้บอกให้เราตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดกิเลสมาร (ความโลภ ความโกรธ ความหลง) ในตัวเราให้หมดสิ้นไป การที่สมิธสามารถ "เนรมิตกาย" ขึ้นมาตั้งมากมาย อาจเทียบได้กับการที่เรายอมให้กิเลสมารเกิดขึ้นในใจของเราอย่างง่ายดายและ รวดเร็ว เพราะไม่ได้ฝึกจิตใจให้เข้มแข็งพอ และมักทำอะไรตามความเคยชิน ไม่ทำด้วยความมีสติ เหตุการณ์ที่ซ้ำรอยเดิม ตอนที่นีโอหนีสมิธอีกครั้ง สมิธพูดว่า "มันกำลังเกิดขึ้นอีกแล้ว เหมือนครั้งก่อนเลย" แต่ "กายเนรมิต" ของเขากลับพูดว่า "ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว" ตรงนี้บอกเราว่า การเวียนว่ายตายเกิด ทำให้เราต้องประสบเรื่องทำนองเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงกระนั้น เรื่องแต่ละเรื่องก็ไม่เหมือนกันเสียทั้งหมด และมีหลายครั้งที่เราสามารถพัฒนาเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ได้

    6. ความเป็นซุปเปอร์แมนของนีโอ

    การที่นีโอเหาะได้เหมือนซุปเปอร์แมน สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของจิตใจที่มีอำนาจเหนือวัตถุ (ฤทธิ์) สามารถทำสิ่งที่เหลือเชื่อ (และดูเหมือนท้าทายกฎทางฟิสิกส์) ได้ อย่างไรก็ตาม ความสามารถนี้อย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เขารอดพ้นจากแมทริกซ์ได้โดยเด็ดขาด เพราะอำนาจจิตไม่ได้นำมาซึ่งการรู้แจ้ง แต่เป็นเพียงผลพลอยได้ในกระบวนการฝึกจิตเท่านั้น

    7. ชุดของนีโอ

    นอก จากเสื้อคลุมสีดำของนีโอจะใกล้เคียงกับชุดของเซ็นแล้ว ใบหน้าของเขายังสงบนิ่งและสำรวมแบบพระแทบจะตลอดเวลาด้วย สองเรื่องนี้เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจไม่น้อย

    8. ชาวไซออนเปรียบได้กับชาวพุทธ

    พลเมือง ชาวไซออน (ซึ่งเปรียบได้กับชาวพุทธ) ยังเพียงอยู่บนเส้นทางสู่อิสรภาพที่สมบูรณ์ (การรู้แจ้ง) เท่านั้น ยังไม่ได้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริง เพราะอิสรภาพที่สมบูรณ์ (นิพพานในพระพุทธศาสนา) หมายถึง ความสงบระงับ ไม่มีความทะยานอยากอีกต่อไป ชาวไซออนส่วนใหญ่รู้ความจริงของแมทริกซ์ (ความจริงแห่งสังสารวัฏฏ์) ระดับหนึ่ง ซึ่งอาจเทียบได้กับพระโสดาบันเท่านั้น ยังไม่ได้บรรลุพระอรหันต์ จึงไม่สามารถบรรลุเสรีภาพที่แท้จริง (สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด) ส่วนชาวไซออนที่มุ่งมั่นช่วยเหลือผู้อื่นให้ตื่นตัวและหลุดพ้น อาจเปรียบได้กับพระโพธิสัตว์ในคติพระพุทธศาสนา

    9. ไซออนล่มสลาย

    เปรียบได้กับพระธรรมอันตรธานสิ้น
    การ ทำลายล้างไซออนจนหมดสิ้น อาจเปรียบได้กับการสิ้นยุคพระพุทธศาสนา เพราะนั่นย่อมหมายความว่าไม่เหลือผู้รู้ความจริงเกี่ยวกับแมทริกซ์ (สังสารวัฏฏ์) แม้แต่คนเดียว

    10. นีโออาจเปรียบเสมือนพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีมามาก

    ใน บางกรณีอาจถือได้ว่านีโอมีลักษณะคล้ายพระโพธิสัตว์ที่มีบารมีแก่กล้า คือเป็นผู้ "หลุดพ้น" จากแมทริกซ์ (สังสารวัฏฏ์) โดยสิ้นเชิง และสามารถกลับเข้าไปได้โดยไม่ถูกครอบงำ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้อื่น (สรรพสัตว์) ได้หลุดพ้นตาม แต่นีโอกลับ "รู้แจ้ง" น้อยกว่าที่เราคิด จึงอาจเทียบได้กับพระโพธิสัตว์ที่เปี่ยมด้วยแรงจูงใจ (ความกรุณา) แต่ขาดความรู้ (ปัญญา) ที่จะช่วยเหลือโลก นีโอสามารถปลุกเร้าให้ชาวไซออนตื่นตัวเท่านั้น ไม่อาจดึงใครออกจากแมทริกซ์ได้ หากคนคนนั้นไม่ตั้งใจและเพียรพยายามด้วยตัวเอง (ทำนองเดียวกัน พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ชี้ทางเดินเท่านั้น เราจะเดินหรือไม่เดินเป็นหน้าที่ของเรา) จิตใจที่จะสามารถหลุดพ้นได้ จึงต้องมีความปรารถนาและเพียรพยายามเป็นทุนเดิม

    11. ที่ปรึกษา (counsellor)

    พูดถึงความว่างเปล่าของเครื่องจักร
    ที่ ปรึกษาระบุว่า เครื่องจักรช่วยชาวไซออนทำงานมากมาย เช่นทำให้เกิดแสงสว่าง ความร้อน และอากาศ แต่ก็มีเครื่องจักรบางอย่างมีเป้าหมายทำลายพวกเขาด้วย ดังนั้น ลำพังเครื่องจักรเองจึงเสมือนเป็นสิ่งว่างเปล่า จะบอกว่าดีหรือไม่ดีไม่ได้ การตั้งโปรแกรมหรือเจตนาที่อยู่เบื้องหลังการสร้างและควบคุมเครื่องจักรต่าง หาก ที่ทำให้เครื่องจักรดีหรือไม่ดี

    12. เหตุที่ฑูตสวรรค์ (seraph)

    ต้องประลองฝีมือ
    ฑูตสวรรค์ บอกนีโอหลังจากที่ประลองฝีมือกัน เพื่อพิสูจน์ว่าใช่นีโอจริงหรือไม่ว่า "คุณไม่อาจรู้จักใครได้อย่างแท้จริง จนกว่าคุณจะได้สู้กับเขา" เราเองก็เช่นกัน เราจะไม่รู้จักตัวเราเองเลย หากเราเอาชนะตัวเองไม่ได้ เราต้อง "สู้" กับตัวเอง เพื่ออิสรภาพและการรู้แจ้ง

    13. การหยั่งเห็นองค์ประกอบแมทริกซ์ของนีโอ(part1)

    การ ที่นีโอสามารถหยั่งเห็นเนื้อในของแมทริกซ์ ว่าแท้จริงคือรหัสคำสั่งโปรแกรมที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา อาจเปรียบได้กับการหยั่งเห็นความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ของสิ่งต่าง ๆ การหยั่งเห็นองค์ประกอบแมทริกซ์ของนีโอ

    14. การหยั่งเห็นองค์ประกอบแมทริกซ์ของนีโอ(part2)

    โอ ราเคิลบอกนีโอหลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องชะตาลิขิต เธอบอกด้วยว่า เธอรู้ทุกสิ่งที่กำลังจะเกิด แต่เธอก็พูดขัดกับตัวเองว่า นีโอต้องเพิ่มพลัง เพื่อเปลี่ยนแปลงชะตาลิขิตที่ได้ "กำหนดตายตัว" แล้ว นี่ย่อมแสดงว่า สิ่งที่ดูเหมือนได้ "ลิขิต" มาแล้ว แท้จริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ยังเปลี่ยนแปลงได้อีก

    15 .สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น หรือมีขึ้น เพื่ออะไร?

    โอ ราเคิลบอกนีโอว่า "สิ่งใดก็ตามที่ได้เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเหตุผลบางอย่าง" ข้อนี้ไม่น่าจะถูกต้องเสียทั้งหมด เพราะสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น ชาวพุทธบางคนเชื่อว่า คนเราเกิดมาเพื่อทำลายและหลุดจากกงล้อแห่งการเวียนว่ายตายเกิด แต่บางคนอาจเชื่อว่าคนเราเกิดมาเพื่อเหตุผลอย่างอื่น ดังนั้น คำตอบสำหรับคำถามที่ว่า เราควรมีชีวิตอยู่เพื่ออะไรจึงมีได้หลากหลาย สิ่งที่ควรคำนึงคือ คำตอบใดที่เราคิดว่าดีที่สุด ประเสริฐสุด แล้วดำเนินไปตามนั้น ทำนองเดียวกัน มอร์เฟียสเองก็พูดว่า "เราทุกคนมาอยู่ที่นี่ เพื่อทำสิ่งที่เราทุกคนต้องทำเมื่อมาอยู่ที่นี่" แต่แท้จริงแล้ว ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เรา "ต้อง" ทำ เราเลือกได้ตลอดเวลาเพื่อทำสิ่งที่ดีกว่า เป็นประโยชน์กว่า ตอนหนึ่ง เอเยนต์สมิธบอกนีโอว่า ทั้งสองอยู่ที่นี่ไม่ใช่เพราะหลุดพ้นจากแมทริกซ์ แต่เพราะไม่หลุดพ้นต่างหาก ข้อนี้เป็นจริง เพราะแม้ว่าทั้งสองจะถอดออกจากแมทริกซ์แล้ว แต่ถ้าพวกเขาเป็นอิสระจากแมทริกซ์จริง พวกเขาก็จะไม่ต่อสู้กัน ดังนั้น การจะเป็นอิสระจากแมทริกซ์ได้ ยังต้องพัฒนาให้สูงขึ้นไปอีก

    16. merovingian

    พูดถึงความไม่มีกฎเกณฑ์ (เหตุ & ผล)
    merovingian พูดอย่างอหังการว่า "ทางเลือกคือสิ่งลวง ที่ผู้มีอำนาจสร้างขึ้นสำหรับผู้ไม่มีอำนาจ" เขาพูดขณะที่คิดว่าตัวเขาคือผู้มีอำนาจคนหนึ่ง ที่กำลังชักใยผู้อื่นอยู่ แต่เหตุการณ์กลับกลายเป็นว่า เขาถูกภรรยาหักหลัง โดยเธอเลือกที่จะทำเอง และกว่าเขาจะรู้ ก็สายเสียแล้ว มุมมองเรื่องนี้ของเขาจึงไม่ถูกต้อง แม้ว่าทางเลือกจะเป็นสิ่งลวง (ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่) ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่เฉย ๆ ยอมก้มหน้ารับชะตากรรม โดยไม่ดิ้นรนอะไร เพราะคุณไม่มีวันรู้ว่า ชะตาชีวิตของคุณเป็นอย่างไร และไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน เขายังบอกด้วยว่า "สิ่งใดที่เกิดแล้ว ย่อมเกิดแล้ว ไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่น" ข้อนี้ชัดเจนในตัว เป็นที่น่าสังเกตว่า หนังเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงการเดินทางข้ามเวลา (ซึ่งโดยหลักการแล้วเป็นไปไม่ได้ เพราะขัดกับกฎแห่งเหตุและผล) สิ่งใดที่ปรากฏขึ้นแล้ว จะไม่ปรากฏก็ไม่ได้ หรือจะปรากฏเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้เช่นกัน

    17. ข้อคิดจากช่างทำกุญแจ

    ต่อข้อถามที่ว่า เขาจะไปไหน ขณะถูกไล่ล่า ช่างทำกุญแจตอบว่า "ไปอีกทางหนึ่ง จะต้องมีอีกทางหนึ่งเสมอ" คำตอบนี้ทำให้เราได้ข้อคิดว่า ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด เรามีทางเลือกอย่างน้อยสองทางเสมอ และเราเลือกได้อย่างอิสระ แม้ในสภาพการณ์ที่บีบรัด ช่างทำกุญแจบอกว่า ประตูมีหลายบาน แต่ละบานเปิดสู่ "สถานที่" ที่ต่างกัน แต่จะมี "ประตูบานหนึ่งนำไปสู่ต้นกำเนิด (แกนกลางของแมทริกซ์)" ประตูบานนี้อาจเทียบได้กับประตูที่นำไปสู่แก่นแท้ของความจริง นั่นคือพระไตรลักษณ์ และจะนำไปสู่อิสรภาพได้ในที่สุด

    18. มอร์เฟียสพูดถึงเหตุผลแห่งการมีอยู่

    มอร์เฟียสพูดก่อนที่จะ "ทำสงคราม" ขั้นเด็ดขาดว่า "เราทุกคนสู้ศึกนี้มาชั่วชีวิต เราไม่ได้มาที่นี่โดยบังเอิญ ผมไม่เชื่อเรื่องบังเอิญ ผมเชื่อว่าชะตาชีวิตลิขิตให้เรามาที่นี่" สงครามที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดที่เรากำลังเผชิญอยู่ คือสงครามในจิตใจ ที่เรากำลังต่อสู้กับ "ตัวตน" ของเรา แน่นอน เราไม่ได้ "อยู่ที่นี่" โดยบังเอิญ แต่เป็นเพราะอำนาจกรรม ซึ่งจะเรียกว่า "ชะตากรรม" ก็ได้ ชักนำให้เรามาอยู่ที่นี่ แต่ถึงกระนั้น "ชะตากรรม" ในอนาคตก็อยู่ในมือของเรา เราสามารถกำหนดได้

    19. สถาปนิกเปรียบได้กับอีโก้
    ผู้ที่อยู่เบื้องหลังแมทริกซ์

    (สังสารวัฏฏ์) คือสถาปนิก ซึ่งในเรื่อง เขาเป็นผู้ที่มีความถือตัว เห็นแก่ตัว และชื่นชอบความสมบูรณ์แบบ ยอมรับความล้มเหลวไม่ได้ รวมทั้งที่เป็นของตัวเขาเอง ซึ่งเขาไม่เห็นว่านั่นเป็นความล้มเหลว จึงไม่ยอมรับ แต่กลับโทษว่าเป็นเพราะความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์ (ผู้อื่น) เขาพูดว่าความหวังคือสิ่งลวง แต่ตัวเขาเองก็มีความหวัง เขาหวังว่านีโอจะลบล้างและเริ่มต้นระบบที่บกพร่องใหม่อีกครั้งตามที่เขาต้อง การ ในเรื่องความสมบูรณ์แบบ เขาไม่น่าเป็นคนสมบูรณ์แบบ เพราะยังทำให้จิตใจของเขาสมบูรณ์แบบไม่ได้ เขาเปรียบเหมือนพระเจ้าจอมปลอม ซึ่งเป็นเพียง "มนุษย์" เท่านั้น

    20. สถาปนิกเปรียบเหมือนตัณหา

    สถาปนิก อ้างตนว่าเป็นผู้ออกแบบแมทริกซ์ ในทางพระพุทธศาสนา สถาปนิกหรือ "นายช่างผู้สร้างเรือน" คือตัณหา มีข้อน่าสังเกตคือ ในเรื่อง "Little Buddha" คีนูรีฟซึ่งแสดงเป็นพระพุทธเจ้า (และในเรื่องเดอะแมทริกซ์แสดงเป็นนีโอ) ได้พูดกับตัณหาและเรียกตัณหาว่า "นายช่างผู้สร้างเรือน" การที่นีโอพบกับสถาปนิกช่วยให้เขาตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงของเขา สถาปนิกเปรียบได้กับตัณหา เพราะเป็นผู้ผลักดันให้เราสร้างแมทริกซ์ - สร้างความยึดติดในสังสารวัฏฏ์ หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ตรัสว่า "เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหา นายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏฏ์สิ้นชาติมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูกรนายช่างผู้สร้างเรือน บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนให้เราอีก โครงเรือนคือกิเลสของท่าน เราหักเสียหมดแล้ว และยอดเรือนคืออวิชชาแห่งเรือนท่านเราทำลายแล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่ในภพนี้เอง"

    21. สถาปนิกพูดถึงนีโอ

    นีโอ
    "ทำไมผมมาอยู่ที่นี่?"
    สถาปนิก
    "ชีวิตของคุณคือผลรวมของส่วนเกินของสมการที่ไม่สมดุลในโปรแกรม แมทริกซ์ แล้วกลายมาเป็นสิ่งผิดปรกติในที่สุด ซึ่งแม้ผมจะพยายามเต็มที่แล้ว แต่ก็กำจัดให้หมดไปไม่ได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่อยู่เหนือการคาดคิด และจึงไม่ใช่สิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องมาอยู่ที่นี่ไง"

    22. สถาปนิกพูดถึงพลังของสิ่งเล็กน้อย

    สถาปนิก "… เห็นได้ชัดว่ามันเป็นความบกพร่องขั้นพื้นฐาน จึงก่อให้เกิดความผิดปรกติต่อระบบ ซึ่งถ้าปล่อยปละละเลย ก็จะเป็นภัยคุกคามระบบได้ ดังนั้น ความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจสะสมและทวีความรุนแรงจนเป็นภัยพิบัติได้ โลกเราก็เช่นกัน เราทุกคนต่างมีกรรมร่วมและเชื่อมโยงกันในลักษณะที่แยกแยะลำบาก การกระทำของคนคนหนึ่ง อาจนำมาซึ่งหายนะของโลก หรือช่วยเหลือโลกก็ได้

    23. สถาปนิกพูดถึงความรับผิดชอบของนีโอ

    สถาปนิก พูดกับนีโอว่า "… ปัญหาก็คือ คุณพร้อมรับผิดชอบต่อการตายของทุกชีวิตในโลกนี้หรือไม่" ในแง่นี้ นีโอเปรียบได้กับพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ซึ่งพยายามช่วยชีวิตสรรพสัตว์อย่างเต็มความสามารถ

    24. สถาปนิกพูดถึงทางเลือก "สุดท้าย"

    สถาปนิก "มีประตูสองประตู ประตูขวานำไปสู่ต้นกำเนิด และช่วยชาวไซออนได้ ประตูซ้ายพาคุณกลับไปสู
    แมทริกซ์ ไปหาเธอ แต่เผ่าพันธุ์ของคุณก็สิ้นสุดด้วย เราเองก็ต้องเลือกตลอดเวลา ทางเลือกมีสองทางเป็นอย่างน้อย อยู่หรือไม่อยู่ ทำหรือไม่ทำ เราเลือกได้ว่าจะติดอยู่ในสังสาร หรือหลุดพ้นออกไป

    25. สถาปนิกพูดถึงปฏิกิริยาลูกโซ่

    สถาปนิก "แต่เราก็รู้แล้วว่าคุณกำลังจะทำอะไรไม่ใช่หรือ? ผมสามารถเห็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่บ่งบอกว่าอารมณ์กำลังชนะเหตุผล เพราะอารมณ์กำลังปิดตาคุณไม่ให้เห็นความจริง ทั้งที่ความจริงนั้นออกจะเรียบง่ายและชัดเจน เธอกำลังจะตาย และคุณก็ไม่มีทางหยุดยั้งได
    ้ (*นีโอเดินไปเปิดประตูซ้าย ซึ่งตรงข้ามกับที่สถาปนิกคาดคิด*) นีโอทำให้สถาปนิกคาดการณ์ผิดพลาด โดยการทำสิ่งที่ตรงข้ามกับที่สถาปนิกต้องการให้ทำ เราเองแม้จะติดอยู่ในวงจรปฏิกิริยาลูกโซ่ของเหตุและผล แต่เราก็ทำลายวงจรนี้ได้ เราสามารถตัดวงจรการเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการรู้แจ้งสัจธรรม การที่นีโอเลือกประตูที่ช่วยชีวิตไตรนิตี เป็นการทำลายโปรแกรมที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (การเกิดและการตาย) ได้เด็ดขาด หากเขาเลือกอีกประตูเพื่อช่วยชีวิตชาวไซออนตามที่ "ได้โปรแกรม" ไว้ ก็เท่ากับทำซ้ำรูปแบบเดิมที่คนก่อนเคยทำแล้ว (และนำไปสู่การเกิดใหม่ต่อไป) การทำลายลูกโซ่ของนีโอ เท่ากับไปเปลี่ยนแปลงระบบ และเป็นการช่วยมวลมนุษย์อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดเสรีภาพที่แท้จริง นีโอตระหนักว่า ไม่มีประโยชน์ที่จะทำให้แมทริกซ์บูท (เกิด) ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง การเกิดใหม่โดยไม่มีอะไรก้าวหน้า หรือไม่มีอิสรภาพมากขึ้น เป็นสิ่งไร้ค่า เพราะไม่ช่วยให้เราเข้าใกล้ความสุขที่แท้จริง

    26. สถาปนิกพูดถึงความหวัง

    สถาปนิก "ความหวังคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์หลงผิดได้มากที่สุด มันทั้งทำให้คุณเข้มแข็งที่สุด และอ่อนแอที่สุดในเวลาเดียวกัน ข้อนี้บอกเราว่า ความหวังจะเป็นความศรัทธาที่มืดบอดได้ หากไม่มีปัญญากำกับ

    27. ทำไมเลือกความจริง ไม่เลือกสิ่งลวง

    เมื่อดูหนังเรื่องนี้ เราอาจถามตัวเองว่า "ทำไมเราควรเลือกที่จะใช้ชีวิตในโลกแห่ง "ความจริง" ที่ดูออกจะแห้งแล้ง ไร้สีสัน ทั้งที่มีโลกมายาที่น่าอภิรมย์กว่า คำตอบคือ ก็เพราะโลกมายาไม่มีอยู่จริง ความสุขในโลกมายาจึงไม่จริงด้วย ความสุขที่แท้จริงมาจากการควบคุมชีวิตได้ทั้งหมด และสามารถเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องชัดเจน (ปัญญา)
    ชีวิตหรือความสุขในแมทริกซ์ (สังสารวัฏฏ์) ต้องขึ้นกับความเมตตาสงสารของแมทริกซ์ ซึ่งก็เหมือนกับที่เราต้องอิงอาศัยวัตถุ จึงจะมีความสุขได้ แต่นั่นไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ความสุขที่แท้ต้องมาจากการมีจิตใจอิสระ ไม่ต้องอิงอาศัยหรือพึ่งพิงสิ่งใด

    28. เราเองก็ติดอยู่ในแมทริกซ์

    เป็นไปได้ไหมว่า เราทุกคนล้วนเลือกที่จะเชื่อมต่อหรือติดอยู่ในแมทริกซ์เอง ไม่มีการบังคับใด ๆ มีอะไรปิดตาหรือลวงเราอยู่หรือเปล่า ทำไมเราไม่หลุดพ้นเสียที?

    29. ทำไมต้องโหลดใหม่

    หลังจากที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ครั้งที่สอง ผมก็ฉุกคิดขึ้นได้ว่า ทำไมภาคนี้จึงตั้งชื่อว่า เดอะแมทริกซ์ "รีโหลดเดด" - ก็เพราะระบบแมทริกซ์ได้รับการโหลดใหม่ (หรือเกิดใหม่) ทั้งระบบอีกครั้งนั่นเอง เราทุกคนก็ต้อง "โหลด" ประสบการณ์ใหม่หลายครั้ง จนกว่าจะแน่ใจ รู้แนวทางที่ถูกต้อง และหลุดพ้นได้โดยสิ้นเชิงในที่สุด

    ที่มา :: ข้อคิดธรรมะจากเรื่อง
    The Matrix Reloaded
    TheDailyEnlightenment.com
    โดย เชน ไซแอน
    แปลโดย เสรี ลิขิตธีรเมธ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • matrix.jpg
      matrix.jpg
      ขนาดไฟล์:
      418.3 KB
      เปิดดู:
      1,800
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 พฤศจิกายน 2018
  2. Cheewin...

    Cheewin... อิ่มแล้ว...ไปต่อไม่ไหวแล้ว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1,195
    ค่าพลัง:
    +1,514
    มีต่อมั้ยท่าน :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...