เรื่องเด่น 7 มี.ค2327 อันเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 7 มีนาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    dc9678k78dh7aaa78fadc.jpg


    ช่วงวันที่ 2 มีนาคม ที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 เสด็จพระราชดำเนินยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และได้ทรงเปลี่ยน “เครื่องทรงฤดูหนาว” สำหรับ “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” หรือพระแก้วมรกต เพื่อทรงเครื่องสำหรับฤดูร้อน

    ก็เป็นสัญญาณว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว

    อย่างไรก็ดี ในวันนี้ หรือ 7 มีนาคม ก็ยังถือเป็นวันที่สำคัญสำคัญมากที่สุดวันหนึ่งเกี่ยวกับ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต

    เพราะวันนี้เมื่อ 234 ปีก่อน หรือตรงกับ วันที่ 7 มีนาคม 2327 เป็นวันที่ได้มีพิธี “อัญเชิญ” พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกตจากพระราชวังในกรุงธนบุรี มาประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยล้นเกล่รัชกาล ที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อมีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

    จนถึงวันนี้ พระแก้วมรกต จึงนับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย

    สำหรับพระแก้วมรกตนั้น เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจาก “หยกอ่อนเนไฟรต์” สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสน ถึง ศิลปะเชียงแสน

    หลักฐานที่ตรงกัน ระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. 1977 (หรือ ค.ศ. 1434) โดยฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร

    ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์

    หลังจากนั้น พระเจ้าสามฝั่งแกน แห่งเชียงใหม่ทราบข่าวการค้นพบพระพุทธรูปนี้ จึงเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกตกลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปาง หากช้างนั้นมีพระแก้วมรกตอยู่บนหลังช้าง

    เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในอาณาจักรล้านนาจึงนำไปไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง

    ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์ ทางเชียงใหม่ขอคืน ก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์

    เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาเวียงจันทน์ ก็เชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว)

    โดยในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ลาว

    อนึ่ง เกี่ยวกับปัญหาการตีความทางประวัติศาสตร์ระบุกันว่า พระแก้วมรกต พระบาง และพระพุทธรูปหลายองค์ มักมีตำนานเกี่ยวเนื่องกัน ว่าสร้างในกรุงปาฏลีบุตรบ้าง สร้างในกรุงราชคฤห์บ้าง ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างเพื่อทำให้ดูศักดิ์สิทธิ์เพิ่มขึ้น เพราะเมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ทำให้เชื่อได้ว่าตำนานนั้นเป็นเรื่องที่แต่งเติมขึ้น

    ในกรณีของพระแก้วฯ นั้น ตำนานระบุว่าสร้างในเมืองปาฏลีบุตร ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ, ประเทศอินเดีย โดยปี พ.ศ. 500 ที่ตำนานอ้างถึงนั้น อาณาจักรมคธ อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์กานวะ ส่วนพระนาคเสน และพระเจ้ามิลินท์ (ชื่อตามประวัติศาสตร์คือ พระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1) ที่กล่าวอ้างไว้ ครองราชย์ระหว่างพ.ศ. 378 – พ.ศ. 413 อยู่ที่กรุงสาคละ (อยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือหลายพันกิโลเมตร) ซึ่งไม่ตรงกันทั้งช่วงเวลาและสถานที่

    อีกทั้ง ช่วงพ.ศ. 800 ที่ตำนานกล่าวถึงอีกครั้ง ในขณะนั้นแคว้นมคธได้ล่มสลายไปแล้ว อยู่ในช่วงต้นของอาณาจักรคุปตะ จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าตำนานช่วงต้นนั้นเห็นจะเป็นเรื่องแต่งขึ้นมา

    //////

    ขอขอบคุณวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.komchadluek.net/news/today-in-history/315636
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 มีนาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...