เรื่องเด่น คู่มือไหว้พระที่อินเดีย

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 14 มกราคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    e0b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b897e0b8b5e0b988e0b8ade0b8b4e0b899e0b980e0b894e0b8b5.jpg


    โดย วรธาร

    ต้องยอมรับว่าอินเดียในปัจจุบันเป็นประเทศที่ชาวพุทธจากทั่วโลกรวมถึงคนไทยเราเดินทางจาริกไปแสวงบุญและไปบวชแต่ละปีจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะช่วงเดือน ต.ค.ไปจนถึง มี.ค. ซึ่งในการเดินทางไปไหว้พระ ณ ดินแดนพุทธภูมินั้น นอกจากต้องมีศรัทธานำหน้า มีทรัพย์พอแก่การใช้สอย มีสุขภาพแข็งแรง มีผู้ร่วมเดินทางที่ดี มีผู้นำพาที่เชื่อถือได้ มีมัคคุเทศก์ผู้รอบรู้เรื่องอินเดียและสถานที่ต่างๆ ที่ไปอย่างดีแล้ว สิ่งหนึ่งที่ควรมีติดตัวไปด้วยคือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการไปไหว้พระที่อินเดีย-เนปาล

    b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b897e0b8b5e0b988e0b8ade0b8b4e0b899e0b980e0b894e0b8b5-1.jpg

    แม้ว่าการเดินทางไปไหว้พระที่ดินแดนพุทธภูมิจะมีมัคคุเทศก์หรือมีพระธรรมวิทยากร (ส่วนใหญ่เป็นพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล ที่สำนักงานพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล วัดไทยพุทธคยา ดำเนินการจัดหาให้ในกรณีคณะต่างๆ ขอมา) ให้ความรู้ก็ตาม แต่หนังสือก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะให้ความรู้อีกทางหนึ่ง ในที่นี้จึงขอแนะนำหนังสือที่ผู้ไปไหว้พระที่อินเดีย-เนปาลควรมีไว้อย่างน้อย 1 เล่ม

    หนังสือพระพุทธมนต์


    หนังสือที่ได้รับความนิยมในการเดินทางไปไหว้พระที่อินเดีย-เนปาลมากที่สุดในเวลานี้ คือ “พระพุทธมนต์ ตามรอยบาทพระศาสดา อินเดีย-เนปาล” รวบรวมและเรียบเรียงโดยพระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล (ฉบับปรับปรุง 980)

    เป็นคู่มือสวดมนต์สำหรับผู้ที่จาริกแสวงบุญตามพุทธสถานต่างๆ เช่น พุทธคยา ราชคฤห์ ไวสาลี กุสินารา ลุมพินีสารนาถ เชตะวัน เป็นต้น ประกอบด้วยบทสวดมนต์ต่างๆ เช่น บททำวัตรเช้า-เย็น บทสวดมนต์จากพระสูตรสำคัญ พระปริตร ตลอดจนคำอาราธนา คำบูชาตามพุทธสถานต่างๆ หากได้กล่าวตามก็จะทำให้เกิดศรัทธายิ่งขึ้น

    b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b897e0b8b5e0b988e0b8ade0b8b4e0b899e0b980e0b894e0b8b5-2.jpg

    บทสำคัญๆ จะมีการระบุไว้ข้างล่างว่า ควรสวดในสถานที่ไหนจึงเหมาะกับสถานที่ เช่น บทมหาสมยสูตร อันเป็นบทที่พระพุทธองค์เคยใช้ในการประชุมใหญ่เหล่าเทพเทวดาน้อยใหญ่จำนวนมาก ให้สวดที่วัดนิโครธาราม พระราชวังกบิลพัสดุ์ ประเทศเนปาล เนื่องจากพระพุทธเจ้าเคยแสดงเมื่อครั้งเสด็จเมืองกบิลพัสดุ์ ว่ากันว่าใครสวดบทนี้เทวดาจะรักใคร่และคุ้มครอง หรือบทมหาปรินิพพานสูตร พระปัจฉิมวาจา ควรสวดที่สาลวโนทยานกุสินารา สถานที่ปรินิพพาน เป็นต้น

    คู่มือไหว้พระพุทธคยา

    เป็นอีกเล่มที่รวบรวมและเรียบเรียงโดยพระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา เน้นไปที่การไหว้พระที่พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้เป็นหลัก เนื่องจากท่านเห็นว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยานั้น เป็นเหมือนบ่อบุญใหญ่ของชาวพุทธซึ่งไม่ว่าใครก็ใฝ่ใจมาอยู่ มาปฏิบัติธรรม เดินจงกรม สวดมนต์ เจริญจิตตภาวนาที่รอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ อันถือว่าเป็นศูนย์กลางการเสริมเติมบารมี บางคนปฏิบัติอยู่ในปริมณฑลรอบพระเจดีย์ตลอดทั้งคืน ไม่หลับไม่นอน (แต่หลังปี 2556 ที่เกิดเหตุระเบิด ทางการอินเดียเปิดถึง 3 ทุ่ม)

    หนังสือเล่มนี้ท่านเรียบเรียงขึ้นเพื่อต้องการเติมเต็มให้ผู้มาปฏิบัติธรรมตามสัตตมหาสถาน คือสถานที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขตลอด 7 สัปดาห์ 49 วันมหัศจรรย์ของพระบรมครูที่ทรงลำดับหลักธรรมแห่งการตรัสรู้ของแต่ละแห่ง ด้วยสโลแกนว่า “ไหว้พระ 7 สถาน สวดมนต์ 7 ตำนาน อธิษฐาน 7 ราตรี สร้างบารมี 7 วัน รับพรครบครัน 7 มงคล” หากผู้มาตามศรัทธาตามรอยแห่งพระบารมีของพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ณ สถานที่นี้ ย่อมปรากฏผลแห่งความสำเร็จตามปรารถนา

    b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b897e0b8b5e0b988e0b8ade0b8b4e0b899e0b980e0b894e0b8b5-3.jpg

    เนื้อหาในเล่มมีบทสวดทั้งทำวัตรและบทสวดมนต์ คาถานมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ การไหว้พระที่สัตตมหาสถาน (ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อนิมิสเจดีย์ รัตนจงกรมเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ อชปาลนิโครธเจดีย์ มุจลินทเจดีย์ ราชายตนะเจดีย์) พร้อมทั้งประวัติให้ได้ศึกษา

    สู่แดนพุทธองค์

    หนังสือเล่มใหญ่ 400 กว่าหน้า เรียบเรียงโดยพระธรรมโพธิวงศ์ ขณะที่ยังเป็นพระราชรัตนรังษี หากอยากรู้ประวัติความเป็นมาของสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในอินเดียและเนปาล หนังสือเล่มนี้ได้ให้ข้อมูลไว้ครบถ้วน นอกจากมีข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่แล้ว เนื้อหาในเล่มยังสอดแทรกด้วยเกร็ดความรู้ดีๆ และน่าสนใจอีกมากมาย รวมทั้งยังมีภาพประกอบสถานที่ต่างๆ ทั้งสีและขาวดำด้วย

    อีกเล่มหนึ่ง “สู่แดนพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล” เหมือนกันแต่เป็นฉบับนักเดินทาง เล่มเล็ก พกพาง่าย ความหนา 300 กว่าหน้า สามารถหยิบขึ้นมาอ่านทั้งขณะเดินทางอยู่บนรถและเมื่อไปถึงสถานที่นั้นๆ ข้อมูลเนื้อหากะทัดรัดเข้าใจง่าย ซึ่งหากใครอยากได้หนังสือ “คู่มือไหว้พระ พุทธคยา” และ “สู่แดนพุทธองค์” พระครูอุดมโพธิวิเทศ เลขานุการเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา บอกว่ามีอยู่ที่วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จ.สมุทรปราการ สามารถไปซื้อหาได้ ซึ่งตอนนี้ทางวัดกำลังอยู่ในช่วงของการก่อสร้าง

    b984e0b8abe0b8a7e0b989e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b897e0b8b5e0b988e0b8ade0b8b4e0b899e0b980e0b894e0b8b5-4.jpg

    นอกจากนี้ ยังมีหนังสือน่าสนใจอันเป็นผลงานของพระธรรมโพธิวงศ์ซึ่งเขียนเมื่อครั้งเป็นพระราชรัตนรังษี เช่น พูดนอกไมค์ในอินเดีย เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ เกี่ยวกับเกร็ดความรู้อินเดียที่สอดแทรกด้วยหลักธรรมง่ายๆ อ่านแล้วเพลินสนุกดี ลองหามาอ่านดูโดยเฉพาะผู้ที่อยากไปไหว้พระที่อินเดียควรจะมีสักเล่ม


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/dhamma/535312
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มกราคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...