สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    เห็นดวงแก้วอยู่ข้างหน้า น้อมเข้ามาในตัวไม่ได้ ?

    
    เมื่อเริ่มปฏิบัติธรรมเห็นดวงแก้วอยู่ข้างหน้า ไม่สามารถน้อมเข้ามาได้ ควรทำอย่างไร จึงจะน้อมเข้ามาในตัวได้ ?

    ---------------------------------------------------


    ตอบ:

    วิธีปฏิบัติ  ก็ให้เหลือบตากลับนิดๆ ในขณะที่หลับตาภาวนาอยู่   พร้อมๆ กับรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ มีที่หมายเป็นจุดเล็กใส   พยายามจดจำอารมณ์ที่เห็นดวงแก้วใสนั่นไว้ 

    แล้วนึกให้เห็นดวงแก้วใสนั้นปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกาย   โดยกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางดวงแก้วใส ณ ศูนย์กลางกายนั้นไว้ให้มั่น   เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน   หยุดในหยุดกลางของหยุด   นิ่งลงตรงนั้น   ถ้าใจจะซัดส่ายหรือฟุ้งซ่านออกนอกตัว ก็ให้มีสติรู้เท่าทันในนิวรณ์กิเลสเช่นนั้น   และกำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ”  เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งลงตรงนั้น

    ไม่ช้า  ใจจะรวมลงหยุดเป็นจุดเดียวกัน  ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสสว่าง  ปรากฏขึ้นมาเอง

    เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว ก็ปล่อยตาซึ่งเหลือบกลับให้เป็นไปตามธรรมชาติต่อไป   เห็นแล้วก็อย่าตื่นเต้น  ให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดกลางของกลางดวงใสสว่างนั้น   หยุดนิ่งถูกส่วน  ศูนย์กลางก็จะขยายออก  และจะเห็นดวงใสสว่างละเอียดยิ่งกว่าเดิมปรากฏขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ คือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ใสละเอียดที่สุด

    เมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุด  ศูนย์กลางจะขยายออกแล้วจะเห็นกายในกาย ณ ภายในของเราปรากฏขึ้นมาเอง ก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด  คือละความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายหยาบเข้าไปเป็นกายละเอียด พร้อมกับรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกายละเอียดๆ ที่ปรากฏขึ้นมานั้น ให้ใสละเอียดหมดทั้งดวงธรรมและกาย เมื่อกายในกายปรากฏขึ้นใหม่ ก็ให้ปฏิบัติตามแบบเดิม คือดับหยาบไปหาละเอียด  เป็นกายที่ละเอียดๆ นั้น  รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงและกายเรื่อยไป   โตใหญ่ใสละเอียดไปตามกายจนถึงธรรมกายที่สุดละเอียด
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    วิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12
     
     
    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท  วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม
    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ได้ตรัส "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" คือ ธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น 12 ประการ ดังต่อไปนี้ (ม.มู.12/448, 450/482-483, 485)


    ตรัสนัยอันเป็นปัจจัยเกิด และ ดับ

    ภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น 
    เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ
    เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
    เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
    เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
    เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี
    ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    เพราะ อวิชชาดับหมดมิได้เหลือ  สังขารก็ดับ
    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    ตรัสนัยแห่งความดับ

    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น 
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ

    เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม
    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ มีความว่าดังนี้

    "ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น หมายถึงธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส" (พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1: หจก.พริ้นติ้ง (ไทยแลนด์), พ.ศ.2528, หน้า 37-38.)

    มีวิธีเจริญภาวนาพิจารณาเห็นได้ดังต่อไปนี้

    ขณะเมื่อพระโยคาวจรเจริญฌานสมาบัติ พิจารณาอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นไปในญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12 อยู่นั้น ย่อมจะสามารถพัฒนาไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ได้ กล่าวคือ ในขณะที่พิจารณาเห็นทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ในกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดอยู่นั้น หากเพ่งพิจารณาด้วย "ตา" หรือ "ญาณ" พระธรรมกาย ลงไปที่กลางทุกขสมุทัยอริยสัจ ก็จะเห็นว่า

    "อวิชชา มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำขุ่นมัว ไม่ผ่องใส เล็กประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    สังขาร มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
    วิญญาณ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
    นามรูป มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ
    สฬายตนะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของนามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
    ผัสสะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
    เวทนา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
    ตัณหา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
    อุปาทาน มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดภพ
    ภพ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
    ชาติ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส

    ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน ประสานติดต่อกันเป็นปัจจัย อุดหนุนกันไม่ขาดสาย เหมือนลูกโซ่ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นเพราะเป็นปัจจัยติดต่ออาศัยซึ่งกันและกันเกิด เมื่อจะดับธรรมเหล่านี้ ก็ต้องดับเบื้องต้น คือ อวิชชาดับมาก่อน แล้วธรรมอื่นๆ ก็ดับมาเป็นลำดับจนถึงเบื้องปลาย คือ ชาติดับ แต่นั่นธรรมเหล่านี้จึงจะดับขาดสายไปทุกประการ" (อ้างแล้ว. หน้า 38-39)

    อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทธรรมแต่ละดวงนี้ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง และดังที่จะได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต โดยละเอียดในลำดับต่อๆ ไปว่า ใน เห็น จำ คิด รู้ ก็มี "อนุสัย" ได้แก่ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย หุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชานุสัยนั้น หุ้มซ้อนดวงรู้ของกายโลกิยะทั้ง 8 อยู่ แต่หยาบละเอียดกว่ากันไปตามความหยาบละเอียดของกายเข้าไป เห็น จำ คิด รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนธรรมกาย

    ต่อเมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกายแล้ว อนุสัยกิเลสทั้งหลาย จึงถูกถอดออกเป็นชั้นๆ จนกระทั่งหมดไปเมื่อถึงธรรมกาย อวิชชาเครื่องหุ้มรู้ เมื่อถูกถอดมาถึงกายธรรม จึงกลับเป็นวิชชา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมขึ้นมาทันที วิชชาเครื่องหุ้มนั้นก็ใสละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ และดวงรู้ก็เบิกบานขยายโตเต็มส่วน มีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย และ กลับเป็นญาณรัตนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นอาสวักขยญาณคือความหยั่งรู้วิธีทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป

    จึงเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกายว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นคงมีอยู่แต่เฉพาะในกายโลกิยะทั้ง 8 เท่านั้น หาได้มีในพระธรรมกายด้วยไม่ และรู้แจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ส่วนละเอียดด้วยญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้นเอง ที่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะมีอวิชชาเป็นรากเหง้าแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ถ้าดับอวิชชาได้ ทุกข์ก็ดับหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดดับหรือขาดลง ทุกข์ก็ดับ เพราะความเป็นเหตุและผลของทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม" นั้นขาดหมดตลอดทั้งสาย

    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยตา และ ญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้น ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์อย่างไรแล้ว ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย และ รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกาย ว่า พระธรรมกายมรรค ผล นิพพาน ชื่อว่า "พระนิพพานธาตุ" อันพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้าท่านได้บรรลุแล้ว ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนี้เอง ที่กลับเป็นกาย นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา (แท้) ที่วิมุตติหลุดพ้น หรือ ว่าง (สูญ) จากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ว่างจากอัตตาโลกิยะและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโลกิยะนั้น หรือที่ว่างจากสังขาร จึงชื่อว่า "ว่างอย่างยิ่ง-ปรมํ สุญฺญํ" ด้วยประการฉะนี้

    ที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นวิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ในส่วนที่เป็นธาตุละเอียด ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กัน เข้าไปข้างใน ถัดจากธาตุละเอียดของอริยสัจ 4 ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม ทั้งของตนเองและของผู้อื่น และทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) จากสุดหยาบ (กายมนุษย์) ไปถึงสุดกายละเอียด

    โดยความเป็นธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12) และ ดับไป เป็นปัจจุบันธรรม ได้ ดังเช่นต่อไปนี้

    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายที่เจริญฌานสมาบัติให้จิตสงัดจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัยคือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 มีสติสัมปชัญญะ มีศีลสังวรและอินทรีย์สังวรอยู่เสมอ ย่อมสามารถพิจารณาเห็นเป็นปัจจุบันธรรม ทั้งที่ยังเป็นๆ อยู่ ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม ดังต่อไปนี้

    กายมนุษย์ละเอียด ซึ่ง เป็นกาย ณ ภายใน ของผู้ที่ปฏิบัติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต ซอมซ่อ เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส พลอยให้กายมนุษย์หยาบ อันเป็นกาย ณ ภายนอก เศร้าหมองด้วย
    ย่อมเห็น เวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก และ ทั้ง ณ ภายใน คือ ดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ ของกายมนุษย์หยาบ และ ของกายมนุษย์ละเอียด เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และ
    ย่อมเห็น ธรรมในธรรม อันมี "ดวงธรรม" ที่ทำให้เป็นกาย 1  "ดวงศีล" 1  ธาตุละเอียดของ "ทุกขสัจ" 1  "สมุทัย" (ตัณหา) 1  และ ภพภูมิ (ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม) 1 อันมี เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ "ใจ" ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมในธรรมดังกล่าวทุกดวง มัวหมอง ไม่ผ่องใส เป็น "ทุคคติภพ" พลอยให้การดำเนินชีวิตของผู้นั้นเป็นไปไม่ดี คือ เป็น "ทุกข์" ไม่เป็น "สันติสุข"   และ
    ย่อมสามารถพิจารณาเห็น กายมนุษย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายในกาย ณ ภายใน ของผู้งดเว้น คือ ไม่ประกอบกายทุจจริต วจีทุจจริต และ มโนทุจจริต เป็นผู้มีศีลมีธรรม ประกอบด้วยทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ผ่องใส ตามระดับภูมิธรรม เช่น
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "มนุษยธรรม" กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "เทวธรรม" คือประกอบด้วยหิริ โอตตัปปะ กายทิพย์ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "พรหมธรรม" คือประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม และรูปฌาน/อรูปฌาน กายรูปพรหม/อรูปพรหม ก็ปรากฏผ่องใส
    ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ "พุทธธรรม" ตั้งแต่โคตรภูจิตขึ้นไป "ธรรมกาย" ก็ปรากฏผ่องใสตามระดับภูมิจิต
    ธรรมในธรรมของผู้นั้น รวมทั้งเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ของผู้นั้น ย่อมบริสุทธิ์ผ่องใส และ มีรัศมีปรากฏ เป็นสุคติภพ (ภูมิจิต) และสูงขึ้นไปเป็นโลกุตตรภูมิ ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีของแต่ละท่าน
    พลอยให้การดำเนินชีวิตของท่านผู้นั้นเป็นไปด้วยดี มี "สันติสุข"
    แต่มีข้อพึงสังเกตว่า ผู้มีภูมิจิตสูงกว่า ย่อมสามารถเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ของผู้มีภูมิจิตต่ำกว่าได้ชัดเจน

    โดยนัยนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาถึงธรรมกาย ที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติ และได้สั่งสอนไว้ จึงมีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) อย่างครบถ้วน อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ ด้วยประการฉะนี้
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ....วันๆหนึ่ง สำหรับผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกาย
    ที่สามารถพิศดารกาย สับกาย ซ้อนกาย เดินสมาบัติ เป็นอนุโลม-ปฏิโลม แล้วปล่อยความยินดีในฌาณสมาบัติ จนเข้าถึงอายตนะพระนิพพานได้แล้ว


    ......ใน่ชีวิตประจำวันที่ต้องพบปะ ทำหน้าที่ในสังคม
    ควรแบ่งใจไว้ครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย ไว้ที่กลางของกลาง

    ทันที ที่ดวงธรรมหรือกาย หรือสภาวะธรรมใดๆ ที่ปรากฏ ไม่มีความผ่องใส ขาว ใส
    แต่มีความขุ่นมัว หมอง หรือ เป็นสีต่างๆที่ไม่ใส

    ......ให้ เจริญวิชชาให้ขาว ให้ใส โดยทันที

    เพื่อละ เพื่อดับ กิเลส นิวรณ์ ฯลฯ ที่เข้ามา

    ที่ฟูขึ้น ให้หมดกำลังลง (แม้ชั่วคราว)

    การรู้ การเห็น สภาวะธรรมจะไม่ผิดพลาดหรือผิดพลาดน้อยลง

    ...การศึกษาธรรมที่ละเอียดขึ้นไป ก็จะทำได้ดียิ่งขึ้น


    ........ทำไปเรื่อยๆ จนกว่ามรรคจิต มรรคปัญญา
    จะเจริญจนเข้าเขตอริยมรรค อริยผล หรือ ตามที่
    อธิษฐานจิตเอาไว้


     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    [​IMG]
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    การเจริญภาวนา จำเป็นต้องผ่านนิมิตหรือไม่ ?

    


    การเจริญภาวนา จำเป็นต้องผ่านนิมิตหรือไม่ ?

    -----------------------------------

    ตอบ:






    ความหมายของนิมิต

    คำว่า "นิมิต" แปลว่า เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล โดยความหมายหลายอย่างต่างๆ กันนี้เอง ที่มีผู้ใช้คำว่า "นิมิต" ในหลายสถาน เช่นว่า
    ความฝัน ที่เวลาบุคคลนอนหลับแล้วฝันไป ก็เรียกว่า สุบินนิมิต
    การแสดงนัยให้ทราบ อย่างเช่นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงนัยให้พระอานนท์ทราบถึงวาระที่พระพุทธองค์จะทรงปลงสังขารแล้ว อย่างนี้ก็เรียกว่า พระองค์ได้ทรงแสดง "นิมิต"

    ส่วนคำว่า "นิมิต" ที่ใช้เรียกกันในหมู่ผู้ปฏิบัติภาวนานั้น มุ่งหมายถึง "เครื่องหมายที่กำหนดขึ้นที่ใจ" เช่น บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต
    1.เครื่องหมายใดๆ ที่กำหนดขึ้นในใจ คือนึกให้เห็นเครื่องหมายนั้นด้วยใจ ก็เรียกว่า บริกรรมนิมิต
    2. ถ้านึกเห็นนิมิตด้วยใจได้ชัดเจนเพียงชั่วขณะ ก็เรียกว่าได้ อุคคหนิมิต
    3. และถ้าเห็นเครื่องหมายนั้นได้ชัดเจน นาน ติดตา จะนึกขยายให้โตใหญ่ หรือย่อให้เล็กลงด้วยใจ ก็ทำได้ อย่างนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต

    ใช้นิมิตเป็นอุปกรณ์ฝึกใจให้สงบ เป็นสมาธิ การกำหนดเครื่องหมายขึ้นในใจ หรือที่ปรากฏเห็นขึ้นในใจ ที่เรียกว่า บริกรรมนิมิต นั้น เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจ อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มารวมอยู่ในอารมณ์เดียว แนบแน่นเป็นสมาธิดี เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ก็จะเห็น อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตได้ ตามลำดับของใจที่หยุดนิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง

    อนึ่ง อุบายวิธีอีกอย่างหนึ่งที่มักใช้ควบคู่กับ "บริกรรมนิมิต" ก็คือให้กำหนด "บริกรรมภาวนา" คือให้นึกท่องในใจว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" หรือ "พุทโธๆๆ" ไปด้วย เพื่อให้ใจช่วยประคองนิมิตนั้นไว้ เป็นอุบายวิธีรวมใจที่มีสภาพเบา กวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านได้ง่าย ให้หยุด ให้นิ่งสงบ เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น

    เมื่อใจถูกประคองให้มารวมอยู่เสียกับบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กัน หนักเข้าๆ ก็จะค่อยๆ เชื่อง และสงบรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เป็น เอกัคคตารมณ์ คือมีอารมณ์เดียวเป็นหนึ่งนิ่งอยู่

    เมื่อ "ใจ" อันประกอบด้วย ความเห็นนิมิต, ความจำนิมิต, ความคิด และความรู้ในนิมิต มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นนิมิตนั่นชัดขึ้น เป็น อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตได้ ตามระดับของใจที่รวมหยุดเป็นสมาธิได้แนบแน่นมั่นคง
    ในขณะที่ผู้ปฏิบัติภาวนาเพิ่งกำหนดบริกรรมนิมิตนั้น ใจเพิ่งจะเริ่มเป็นสมาธิ คืออยู่ในอารมณ์เดียว สมาธิในระดับนี้เรียกว่า ขณิกสมาธิ
    แต่พอเห็นนิมิตได้ชัดเจนขึ้นชั่วขณะ ที่เรียกว่า อุคคหนิมิต นั้น ใจที่สงบนิ่งเป็นสมาธิระดับนี้ เป็นสมาธิในระดับ อุปจารสมาธิ
    และเมื่อเห็นนิมิตได้ชัดเจน นาน ติดตา และสามารถจะนึกขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงได้ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ใจที่สงบหยุดนิ่งสนิทระดับนี้ เป็นสมาธิในขั้น อัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน

    กล่าวคือเมื่อจิตประกอบด้วย วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิตอยู่, และประกอบด้วย ปีติ ยินดีที่ได้พบเห็นสิ่งที่เย็นตาเย็นใจ ก่อให้เกิดความ สุข อย่างละเอียดๆ เช่นนั้น และอยู่ในอารมณ์เดียว สงบหยุดนิ่งสนิทได้แนบแน่นดี เป็น เอกัคคตา เช่นนี้ จัดเป็นสมาธิในขั้น ปฐมฌาน

    ใจที่เป็นสมาธิตั้งแต่ระดับปฐมฌานขึ้นไปนี้เอง ที่มีองค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา คุณเครื่องปหานกิเลสนิวรณ์ทั้ง 5 คือ ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา พยาบาท อุทธัจจกุกกุจจะ และ กามฉันทะ ให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสควรแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามที่เป็นจริง ให้สามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ชัดแจ้ง

    เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ "นิมิต" เป็นอุบายวิธีในการเจริญสมาธิภาวนาถึงระดับฌาน เพื่อถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต เพื่อรวมใจให้หยุดให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ยกระดับจิตใจขึ้นสู่องค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา อันเป็นธรรมเครื่องปหานกิเลสนิวรณ์

    และเมื่อเจริญภาวนาจนเป็นสมาธิระดับฌานต่างๆ นั้น ก็จะต้องมีนิมิตหรือผ่านนิมิตทั้งสิ้น แม้แต่อรูปฌาน ที่ว่าไม่กำหนดรูปเป็นอารมณ์ อย่างเช่น กำหนดยึดหน่วงเอาอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เมื่อจิตละเอียดหนักเข้า ก็เห็นนิมิตคืออากาศนั้น หรือในกรณีที่กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือกำหนดยึดหน่วงเอาความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ก็เห็นวิญญาณ หรือความว่างเปล่านั้นแหละ ที่เห็นนั่นแหละคือนิมิต,

    แม้เมื่อจิตเป็นอุเบกขา ที่เรียกว่า อุเบกขินทรีย์ ก็ยังต้องมีนิมิต ดังพระพุทธดำรัสว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ อุเบกขินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ดั่งนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้..."1

    เจริญวิปัสสนา ก็ต้องมีนิมิต

    ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานก็ต้องมีนิมิตแห่งวิปัสสนาจิต กล่าวคือถือเอาสังขารนิมิตขึ้นพิจารณาสภาวธรรมอีกเช่นกัน เช่น การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ต้องอาศัยนิมิต นึกเห็นนิมิต จึงจะพิจารณาสภาวธรรมได้ จึงจะเห็นสภาวธรรมตามที่เป็นจริงได้

    อย่างเช่น การเจริญอสุภกัมมัฏฐานอันนับเนื่องอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่าจะต้องไปพิจารณาดูแต่ที่ซากศพ หรือจะต้องนำศพไปพิจารณาด้วย หรือจะต้องสาวไส้สาวพุงของใครต่อใครมาดู จึงจะเรียกว่า อสุภกัมมัฏฐาน ก็หาไม่ ในทางปฏิบัตินั้น เมื่อได้เคยเห็นซากศพหรืออวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายในหลายๆ ลักษณะ ก็จำภาพนั้นหรืออารมณ์นั้น แล้วน้อมเอาอารมณ์นั้นหรือภาพนั้นมาพิจารณาด้วยใจ การพิจารณาก็จะต้องนึกเห็นทั้งลักษณะและสภาพที่เป็นจริง ว่าเป็นแต่สิ่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด และเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เหล่านี้เป็นต้น จึงจะเรียกว่ารู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ถ้านึกไม่เห็นแล้วทำไมจึงจะอ้างได้ว่า เห็นแจ้งตามสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงได้เล่า การเห็นของจริงด้วยตาเนื้อนั้นเป็นแต่เพียงเริ่มต้นของเรื่องที่จะนำมาพิจารณาเท่านั้น แต่การเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นเป็นกิจทางใจ แม้จะเห็นธรรม ณ เบื้องหน้าซากศพ ก็เป็นการเห็นด้วย "ใจ" หาใช่เห็นธรรมด้วยตาเนื้อไม่ และการเห็นสิ่งที่น้อมนำมาพิจารณาสภาวะธรรมด้วยใจนั้น ก็คือนิมิต อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งที่ชื่อว่า "สังขารนิมิต" นั่นเอง

    เรียกว่า หนีนิมิตไม่พ้น ในทางปฏิบัติแล้วจะต้องผ่านนิมิตเสมอไป ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ได้เห็น ถ้าไม่ได้เห็น ก็จะอ้างว่าเห็นแจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงไม่ได้ ก็มีแต่ท่องจำเอาจากตำราเท่านั้น พระพุทธองค์ก็มิได้ทรงปฏิเสธนิมิตในการเจริญภาวนาธรรม และยังประทานพระบรมพุทโธวาท มีความว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์, ภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต (คือนิมิตแห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์"2

    นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังได้ทรงแสดงการถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต ในการปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง มีความว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ละสัญโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อละสัญโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล."3

    จึงว่าการเจริญภาวนาจะต้องผ่านนิมิต อาศัยนิมิตแน่นอน

    ข้อสังเกตในเรื่องนิมิต

    ประการที่ 1 ที่ว่า การเห็น นั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ
    1.การเห็นรูปด้วยตาเนื้อ สำหรับคนทั่วไป และเห็นด้วยตาใน (ตาทิพย์) สำหรับท่านที่เจริญวิชชาหรือมีทิพพจักขุ นี้อย่างหนึ่ง กับ
    2.การเห็นนิมิต คือเครื่องหมายที่กำหนดขึ้นให้เห็นในใจ เพื่อเจริญสมาธิ นั้นอีกอย่างหนึ่ง

    และสำหรับสิ่งที่เห็นด้วยใจนั้น จึงมีทั้ง นิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต ที่นึกหรือคิดให้เห็นในใจเพื่อเจริญสมาธิ ได้แก่ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต เป็นต้น นี้อย่างหนึ่ง หรือน้อมสังขารนิมิตเข้ามาพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการเห็น รูป หรือ ธาตุธรรมละเอียด ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ด้วยสามารถแห่งทิพยจักขุ เสมือนหนึ่งตาเนื้อเห็นรูป ฉะนั้น นี้อย่างหนึ่ง อย่าปนกัน

    ประการที่ 2 การเห็นนิมิต มิได้หมายความว่า ติดนิมิต หากแต่เป็นเพียงอาศัยการกำหนด บริกรรมนิมิต ขึ้นเพื่อเจริญสมาธิ พัฒนาการเห็นนิมิตนั้นขึ้นไปเป็น อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ตามระดับสมาธิที่สูงขึ้น และเป็นความจำเป็นที่จะต้องน้อมนำเอาสังขารนิมิตขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ในสติปัฏฐานสูตรจึงแสดงวิธีการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน, เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน, และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ว่าคือการมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม

    สำหรับท่านผู้เจริญภาวนาได้ถูกวิธี สามารถเจริญวิชชา และมีอภิญญา เป็นต้นว่า เกิดอายตนะทิพย์ ให้สามารถรู้เห็นสิ่งที่ละเอียดประณีต หรืออยู่ห่างไกล ลี้ลับได้ กว่าอายตนะของกายเนื้ออย่างเข่น ตา หู ของกายเนื้อ จึงสามารถเห็นสัตว์ในภูมิต่างๆ ที่ละเอียด อย่างเช่น นรก สวรรค์ และแม้แต่เห็นอายตนะนิพพานนั้น ก็เป็นเรื่องความสามารถพิเศษของท่าน และก็เป็นการเห็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เหมือนกับตาเนื้อเห็นรูปทั้งหลายนั่นเอง เหมือนกับเราผ่านไปทางไหนก็ได้พบได้เห็นบ้านเมือง ผู้คน หรือสัตว์ทั้งหลายตามปกติธรรมดา

    แม้จะเจตนาที่พิจารณาดูความเป็นไปของอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น ก็เพื่อเป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น เป็นการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า นรก สวรรค์ นิพพานนั้น มีจริงหรือเปล่า ถ้ามี มีอย่างไร มีความเป็นไปในนรก สวรรค์ ตลอดทั้งอายตนะนิพพานอย่างไร ด้วยผลบุญและผลบาปอะไร จึงต้องไปเสวยวิบากอยู่ในนรกหรือสวรรค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรู้จักความเป็นไปในนิพพานนั้น เป็นยอดของความรู้ เป็นยอดของปัญญาทีเดียว และประการสำคัญที่สุด ผู้ที่สามารถเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายอันเป็นธรรมขันธ์ที่พ้นโลกแล้ว สามารถให้เข้าถึงอายตนะนิพพานได้นั้น ทำให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นโดยชัดแจ้ง ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระบรมพุทโธวาท ว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะนั้น [คือพระนิพพาน] มีอยู่...." และว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว [คือพระนิพพาน] นั้น มีอยู่...." 4

    จึงทำให้สามารถเห็นอรรถ เห็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้วนี้โดยชัดแจ้ง

    ประการที่ 3 การเจริญสมาธิภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธสมถกัมมัฏฐาน แล้วมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนามีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือมีสติพิจารณาสภาวธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมาก และไม่รู้อุบายวิธีออกจากสังขารนิมิตที่ถูกต้องนั้น จิตจะปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยยกขึ้นพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้ แม้แต่จะได้รับคำแนะนำให้ปล่อยหรือให้ปฏิเสธนิมิตนั้น ก็ปฏิเสธไม่ออก เป็นเหตุให้เกิดนิมิตลวงขึ้นในใจโดยที่เจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรู้จะเห็น เรียกว่าเกิดวิปัสสนูปกิเลสข้ออุปัฏฐาน อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้

    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย เป็นกัมมัฏฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน และมีมหาสติปัฏฐานสี่ อยู่ครบถ้วนในตัวเสร็จ คือมีการพิจารณาเห็นเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม อยู่ในทุกขั้นตอน มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้ทั้งเห็น เมื่อยกสังขารนิมิตใดขึ้นพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีอุบายวิธีออกจากสังขารนิมิต โดยให้พิสดารกายไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตใจก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปได้เองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นสำหรับผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเกิดอภิญญาและวิชชา ให้สามารถเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรม กับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย จึงควรที่ท่านสาธุชนจะเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าพึ่งท้อแท้ใจว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้, ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผล ให้ถูกต้องตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า ระวังอย่าให้
    เพียรหย่อนเกินไปจนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า เพียรจัดเกินไป จนกายและใจไม่สงบ
    อยากเห็นนิมิตจนเกินไป ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือพลอยหงุดหงิดเมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล
    สะดุ้งตกใจกลัว หรือตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่านหรือเคลื่อนจากสมาธิ
    และพึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาส อย่างน้อยก็ศีล 5 ขึ้นไป
    พึงหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย
    สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย ตลอดทั้งดูการละเล่น หรือประโคมดนตรี เหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น

    ถ้าประสงค์จะได้สิ่งที่ดี มีคุณค่าต่อชีวิตอย่างสูง ก็ต้องพยายามละสิ่งที่ชั่ว หรือที่เป็นข้าศึกแก่ความดีเหล่านั้นเสีย

    พึงเข้าใจว่า ธรรมอันประเสริฐนั้น ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่บุคคลจะพึงบรรลุได้โดยง่าย แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยของบุคคลที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงหรือบรรลุได้ ขอแต่ให้ปฏิบัติถูกวิธีด้วยอิทธิบาทธรรมดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมได้ผลแน่นอน

    พระพุทธองค์ก็ได้ทรงประทานบรมพุทโธวาทไว้ มีความว่า เมื่อได้ศึกษาและปฏิบัติอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้ว ก็แล้วกัน เราไม่มีอำนาจที่จะไปบันดาลให้บรรลุธรรมหรือมรรคผลเมื่อนั้นเมื่อนี้ได้ อุปมาดั่งชาวนาซึ่งไถคราด เตรียมดิน หว่านพันธุ์ข้าว และปักดำ ไขน้ำเข้านา ดูแลใส่ปุ๋ย ดีที่สุดแล้ว ก็ต้องรอให้ข้าวออกรวงเอง การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ทำไปก็แล้วกัน พยายามให้ดีที่สุดแล้ว ถึงเวลาก็ได้บรรลุผลเอง

    และพึงสังเกตว่า ในระหว่างเวลาปฏิบัติที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมหรือมรรคผลนั้น ก็ได้ผลดีไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว แต่ขอให้หมั่นดูที่เหตุ สังเกตดูที่ผลให้ถ้วนถี่ก็แล้วกัน การปฏิบัติธรรมตามแนวนี้ให้ผลดีทั้งในทางโลกและในทางธรรมจริงๆ
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    [​IMG]



    <object width="450" height="24" classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0"> <param name="scale" value="noscale" /> <param name="allowFullScreen" value="true" /> <param name="allowScriptAccess" value="always" /> <param name="allowNetworking" value="all" /> <param name="bgcolor" value="#777777" /> <param name="wmode" value="opaque" /> <param name="movie" value="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" /> <param name="flashVars" value="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=3d2ce2bff&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000" /> <embed src="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" width="450" height="24" scale="noscale" bgcolor="#777777" type="application/x-shockwave-flash" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="always" wmode="opaque" flashvars="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=3d2ce2bff&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000"></embed> </object> <p><a href="http://www.mongkoldhamma.org/%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%90-%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%8d%e0%b8%a0%e0%b8%b2-video_3d2ce2bff.html" target="_blank">พระราชญาณวิสิฐ - เจริญภาวนาต่อ 18 กาย - นิพพาน - ตรวจภพ ตรวจจักรวาล (หลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ [พ.ค. </a></p>




    ............ช่วงที่เสียงนำกรรมฐานเงียบไป คือ ช่วงที่แต่ละคนกำลังภาวนาตาม ยังไม่จบการสอน

    ให้ฟังต่อไปเรื่อยๆ จะมีเสียงนำ เป็นระยะๆ...........





    ทุก1-14 พฤษภาคม กลางปีและ ทุก1-14 ธันวาคม


    อบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี (ฆราวาสเข้าร่วมอบรมได้) ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชุบรี
    - ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้จิตสงบ พบดวงใส
    - ขั้นกลาง เพื่อต่อจากดวงใส เป็น 18 กาย และต่อไปถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า
    - ขั้นสูง เพื่อตรวจภพตรวจจักรวาล เจริญวิชชา และละกิเลสในใจตน
    นำโดย พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล, ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พระวิทยากร และอุบาสก อุบาสิกาวิทยากร ที่ครูบาอาจารย์คัดเลือกให้สอนสมาธิได้

    - ปฏิบัติธรรมรวมกลุ่มใหญ่
    - ปฏิบัติธรรมแยกกลุ่มย่อยกับวิทยากร
    - ฟังธรรมจากพระมหาเถระ






    [​IMG]
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ขอเชิญร่วมบุญกฐินกับครูยุคต้นวิชชาธรรมกาย
    - กฐินสร้างอุโบสถหลังใหม่วัดป่าพร้าวนอก
    - ผ้าป่าหางกฐิน

    ***ครูฉลวย สมบัติสุข ครูยุคต้นวิชชาสมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำ ร่วมเจริญวิชชา เป็นหัวหน้าเวรทำวิชชาและรวบรวมบันทึกคู่มือสมภาร (ตำราเจริญวิชชาชั้นสูง) ตามบัญชาหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร)



    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    [​IMG]










    อานิสงส์ของผู้ถวายกฐินเอง


    ในชาดก ซึ่งเป็นเรื่องเล่าถึงการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ ทำให้เราเห็นภาพความสำคัญของบุญกฐินอย่างน่าอัศจรรย์ โดยกล่าวว่า อำนาจบุญกุศลที่ได้ถวายผ้ากฐิน เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี เมื่อมีวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้



    ในอติเทวราชชาดก[7] ได้เล่าเรื่องพระเจ้าจิตรราชบรมโพธิสัตว์เจ้า ทรงถวายคู่แห่งผ้าเพื่อกฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วทรงเปล่งพระดำรัสว่า “ข้าพเจ้าขอถวายผ้ากฐินแด่พระภิกษุสงฆ์” ดังนี้ เมื่อเสร็จจากพิธีถวายผ้ากฐินแล้ว ก็ทรงประทับอยู่ ณ บนราชอาสน์อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงทรงประเคนอาหารถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยภัตตาหารมีรสเลิศต่าง ๆ มีข้าวยาคู เป็นต้น ในลำดับนั้น สมเด็จพระโกณฑัญญสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เสด็จประทับ ณ ท่ามกลางแห่งพระภิกษุสงฆ์ ฝ่ายพระเถรเจ้าผู้เป็นธรรมเสนาบดีชื่อว่า พระภัททานิกรรมก็ได้กรานกฐินนั้น ครั้นเสร็จจากการกรานกฐินแล้ว พระโกณฑัญญพุทธเจ้าก็เสด็จประทับในท่ามกลางพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

    ส่วนสมเด็จพระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินั้น ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่ที่ใกล้พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ถวายบังคมด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์แล้ว ได้ทรงตั้งพระราชปณิธานความปรารถนาขึ้นว่า

    อิมินา กฐินทาเนน พุทฺโธ โหมิ อนาคเต
    ยทา สพฺพญฺญุตปตฺโต ตารยิสฺสามิ ปาณินํ
    แปลว่า “ด้วยอำนาจกฐินทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาลโน้นเถิด ข้าพเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูญุตญาณเจ้าแล้วในกาลใด ก็จะรื้อขนสัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฏฎ์ในกาลนั้น”


    ครั้นจบคำอธิษฐานลง พระโกณฑัญญพุทธเจ้า จึงทรงพิจารณาดูไปในอนาคตกาล ก็ได้ทรงทราบด้วยพุทธจักษุญาณว่า ความปรารถนาของบรมกษัตริย์องค์นี้จักสำเร็จสมพระประสงค์ จึงได้ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดแห่ง ๓ อสงไขยแสนกัลป์ นับแต่กัลป์นั้น พระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินี้ จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “โคดม” ได้แก่ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้

    ขณะเดียวกัน ผู้ที่ถวายผ้ากฐินแล้วบังเกิดความปีติ ความสุขใจ แม้มิได้อธิษฐานคุมวงบุญไว้ ก็ได้รับอานิสงส์ไปเกิดเป็นเทวดาและอานิสงส์ที่จะต่อเนื่องไปในภพหน้า
    ดังคำประกาศบุพพกุศลของท้าวสักกเทวราช ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ว่า

    “คราวหนึ่งเราเกิดเป็นกุฎุมพีผู้มีทรัพย์อยู่ ณ เมืองพาราณสี ได้ถวายผ้าพระกฐินจีวร (แก่พระปทุมุตรสัมพุทธเจ้า) เราจุติจากอัตตภาพเป็นมนุษย์แล้ว ได้เกิดเป็นภูมิเทวดามีศักดาเดชอยู่ ณ ภูเขาคันธมาทน์ เสวยทิพยสมบัติอยู่นาน ครั้นจุติจากอัตตภาพเป็นภูมิเทวดาแล้ว ได้เกิดเป็นสักกเทวราชผู้มเหศราธิบดีแห่งเทวดาทั้งหลาย ครั้นจุติจากอัตตภาพแห่งสักกเทวราชแล้ว จักเกิดเป็นจักรพรรดิมีกำลังเดชานุภาพมากในทวีปทั้งสี่ และจักเสวยมนุษย์และเทวสมบัติสิ้นแสนกัลป ด้วยอำนาจผลแห่งกฐินทาน ด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 ตุลาคม 2014
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    
    ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็น(นิมิต)จริง ต่างกันอย่างไร ?


    ------------------------------------------------------



    ตอบ:




    การปฏิบัติธรรม  ณ  ที่นี้หมายเฉพาะการปฏิบัติภาวนาธรรมนะ     มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ   และมีหลักการปฏิบัติแตกต่างกัน  แต่เป็นกระบวนการปฏิบัติทางจิตที่ต่อเนื่องกัน  คือ

    1.ประการแรก   คือ สมถภาวนา  เป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งที่จะชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์  หรือบางท่านเรียก นิวรณูปกิเลส    นิวรณ์ ได้แก่ ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า แห่งจิต (ถีนมิทธะ) 1   ความลังเลสงสัยว่าวิธีนี้ถูกหรือไม่ถูกทาง (วิจิกิจฉา) 1   ความหงุดหงิดถึงโกรธพยาบาท (พยาปาทะ) 1    ความฟุ้งซ่านแห่งจิต (อุทธัจจกุกกุจจะ) 1   และ ความยินดีพอใจ ยึดมั่นหรือติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย (กามฉันทะ) 1

    กิเลสนิวรณ์ดังกล่าวนี้  หากมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็ย่อมทำให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว  ทำให้ไม่อาจเห็นอรรถ (เนื้อความธรรม) เห็นธรรม (ธรรมชาติตามสภาวะที่เป็นจริง) ได้    ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์นี้อยู่เสมอ  เพื่อให้สามารถพิจารณาเห็นสภาวธรรมทั้งปวง  ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง   และสูงขึ้นไปถึงอริยสัจ  ตามที่เป็นจริงได้แจ้งชัด

    กิเลสนิวรณ์เหล่านี้จะกำจัดได้ก็ด้วยองค์แห่งฌาน คือ  วิตก วิจาร (ความตรึกตรองประคองนิมิต)  สามารถกำจัดถีนมิทธะและวิจิกิจฉาได้    ปีติ และ สุข สามารถกำจัดพยาบาทและอุทธัจจะกุกกุจจะได้  และเอกัคคตารมณ์ (ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) สามารถกำจัดกามฉันทะได้

    วิธีอบรมจิตเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌาน   เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์นั้น  เป็นที่ทราบและเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การทำสมาธิ” หรือ “การเจริญภาวนาสมาธิ”  ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสมถกัมมัฏฐาน

    อุบายวิธีที่จะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌานนี้มีหลายวิธีด้วยกัน   พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ 40 วิธี  รวมเรียกว่า สมถภูมิ 40   วิธีปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายได้เลือกอุบาย 3 ประการขึ้นมาประกอบกัน   เพื่อให้เหมาะแก่จริตอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติธรรมต่างๆ กัน  และก่อให้เกิดผลดีแก่การปฏิบัติเป็นอย่างมาก   อุบายวิธีทั้ง 3 นั้นก็คือ  พุทธานุสติ  อานาปานสติ  กับ อาโลกกสิณ    กล่าวคือใช้อุบาย

    ให้กำหนด “บริกรรมนิมิต”  คือนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสด้วย “ใจ”  ซึ่งเป็นส่วนผลเบื้องต้นของอาโลกกสิณ  เพื่อเป็นอุบายรวมใจอันประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง คือ เห็น จำ คิด รู้  ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้มาอยู่ในอารมณ์เดียวกัน  โดยการนึก ให้เห็นดวงแก้วกลมใส  จำดวงแก้วดวงใส   คิดจดจ่ออยู่กับดวงแก้วกลมใส   และรู้อยู่ ณ ภายในตรงศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น  เพื่อให้ธรรมชาติ 4 อย่างของใจนั้น  รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้นิ่งสนิท
    การนึกนิมิต  บางคนจึงอาจนึกเห็นได้บ้าง  บางคนก็นึกเห็นไม่ได้บ้าง เป็นธรรมดา   แต่เมื่อ “นึกเห็น” ได้ที่ไหน  ก็แปลว่า “ใจ” อยู่ที่นั่น   แม้จะนึกเห็นได้แต่ก็ไม่ค่อยชัดนัก  นี่เป็นเครื่องการนึกให้เห็นนิมิต  เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจให้มาหยุดเป็นจุดเดียวกัน   เพราะใจนั้นเป็นสภาพที่เบากวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านง่าย  แต่รักษาให้หยุดนิ่งได้ยาก   แต่ก็จะต้องอบรมให้หยุดให้นิ่ง   มิฉะนั้นเมื่อมีกิเลสนิวรณ์อยู่ในจิตใจแม้แต่อย่างหนึ่ง ย่อมไม่อาจเห็นอรรถเห็นธรรมได้แจ่มแจ้ง
    ให้กำหนด “บริกรรมภาวนา”  คือให้ท่องในใจว่า “สัมมา อรหังๆๆๆ” ต่อไป   เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งได้ง่ายเข้า   เพื่อให้ใจมีงานทำ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส ที่ให้ใจนึกเห็นนั้นแหละ   คำบริกรรมภาวนานี้จัดเป็น “พุทธานุสติ” กล่าวคือให้รำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่ทุกขณะจิตว่า “เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ และเป็นผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์” (สัมมา = โดยชอบ,  อรหัง = ผู้ตรัสรู้ ผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์)
    กำหนดฐานที่ตั้งของใจ  กล่าวคือกำหนดจุดที่ให้เอาใจไปจดที่ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ  เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ 7  เป็นจุดที่พักใจอันถาวร  คือเวลาสัตว์จะไปเกิดมาเกิด หรือเวลาจะหลับ จะดับ จะตื่น  จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี  เรียกว่า  ศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นมาที่ศูนย์กลางกาย  เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ  ณ ที่ตรงนี้   และ ณ จุดนี้ยังเป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอีกด้วย   กล่าวคือเมื่อจิตละเอียดหนักเข้าเพราะใจค่อยๆ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันนั้น  ลมจะหยุด ณ ที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือประมาณ 2 นิ้วมือนี้เอง ตามธรรมชาติอยู่แล้ว  เพราะว่าจุดนี้เป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก  จึงมีลักษณะของ “อานาปานสติ”  เพราะเป็นธรรมชาติของใจ   เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน  และลมหายใจละเอียดเข้าๆ  แล้วลมจะหยุด ณ ที่ตรงนี้
    ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมพึงเข้าใจว่า  เมื่อกำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กันไว้เรื่อยนั้น   ใจอันประกอบด้วยความเห็น  ความจำ  ความคิด  ความรู้  จะมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน  ก็จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  กล่าวคือแรกๆ จะเห็นนิมิตเกิดขึ้นชั่วขณะ  แล้วก็หายไป เรียกว่าเห็นๆ หายๆ  เรียกว่า “อุคคหนิมิต”  อันมีผลให้ใจเป็นสมาธิบ้างเป็น ครั้งคราว  จัดเป็น “ขณิกสมาธิ”    ต่อเมื่อเห็นนิมิตใสแจ่ม  ติดตาติดใจ  แนบแน่น  จนนึกจะขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงก็ได้  นี้เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต”    อันนี้มีผลทำให้ใจหยุดนิ่งแนบแน่น  จัดเป็นสมาธิขั้น “อัปปนาสมาธิ”    อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์แห่งฌาน ทั้ง 5 คือ  วิตก วิจาร  ตรึกตรองประคองนิมิต (เห็นใสแจ่มอยู่ได้)  และเกิดปีติ สุข และเอกัคคตารมณ์ เป็นธรรมชาติเครื่องเผากิเลสนิวรณ์ทั้ง 5 ให้สิ้นไป

    การเห็นนิมิตเป็นดวงกลมใสแจ่มในช่วงนี้ ก็เป็นการเห็นผลของการอบรมจิตใจให้หยุดให้นิ่งเป็นสมาธิได้แนบแน่นดี    ไม่ใช่เห็นด้วยการนึกเอา   จัดเป็นการเห็นของจริง (เป็นการเห็นของจริงที่เป็นสังขารธรรม   คือสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง  และมีสภาวะหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  และอนัตตา    ถ้าจะพูดการเห็นของจริงในขั้นนี้ให้ถูกต้อง  ควรจะเรียกว่า “เห็นจริงโดยสมมุติ”   เพราะเป็นการเห็นสังขารธรรมตามที่เป็นจริง   เหมือนกับการเห็นมนุษย์  เช่นเห็นนาย ก. นาย ข.  หรือสัตว์โลกกายหยาบทั้งหลาย เช่นเห็นช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น   เพราะฉะนั้นการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ขั้นโลกิยะ) ทั้งของมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็น ณ ภายในตัวเราเอง หรือของผู้อื่นก็จัดเป็นการ “เห็นจริง” ตามภาษาคนธรรมดา   




    แต่ถ้าจะพูดภาษาธรรม ก็เรียกว่าเห็นของจริงโดยสมมุติ  



    ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดไปสุดละเอียด  นั้นเป็นการเห็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง   นับเป็นการ “เห็นของจริง” สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในบรรดาของการชิมลองโลกุตตรธรรม    แต่ยังไม่ได้ “เป็น”   เพียงแค่ “เห็น”  หรือเข้าถึงเป็นคราวๆ ที่ใจสะอาดบริสุทธิ์  และหยุดถูกศูนย์ถูกส่วน) คือ “ปฏิภาคนิมิต”  ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่ใจหยุดนิ่งสนิท โดยอาศัยองค์บริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนา เป็นอุบายวิธีให้ใจมีที่ยึดเกาะ แล้วค่อยๆ รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ  


    ทั้งนี้เมื่อกำหนดฐานที่ตั้งของใจให้หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายที่ 7 นั้น  ถูกตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อีกโสดหนึ่งด้วย  กำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม  เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด   และโดยอาการของใจที่มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ตรงนี้   ธาตุละเอียดของวิญญาณธาตุทั้ง 6 คือ จักขุวิญญาณธาตุ  โสตวิญญาณธาตุ  ฆานวิญญาณธาตุ  ชิวหาวิญญาณธาตุ  กายวิญญาณธาตุ  และมโนวิญญาณธาตุ  ก็จะมาประชุมอยู่ ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เองด้วย   มีผลให้เกิดทิพจักขุ  ทิพโสต  ให้สามารถเห็นกาย เวทนา จิต และธรรมของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบคือของมนุษย์ ละเอียดไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะ  คือ  กายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมของตนเอง เมื่อยิ่งละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดนั้น  จิตใจก็จะพลอยสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย   สูงขึ้นไปถึงเห็น  และเข้าถึงธรรมกายต่อๆ ไปตามลำดับจนสุดละเอียด

    การเห็นกายในกาย  และธรรมในธรรม  เป็น ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะนี้   ก็เป็นการเห็นของจริงที่เป็นสังขารธรรม   คือสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง  และมีสภาวะหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  และอนัตตา    ถ้าจะพูดการเห็นของจริงในขั้นนี้ให้ถูกต้อง  ควรจะเรียกว่า “เห็นจริงโดยสมมุติ”   เพราะเป็นการเห็นสังขารธรรมตามที่เป็นจริง  
    เหมือนกับการเห็นมนุษย์  เช่นเห็นนาย ก. นาย ข.  หรือสัตว์โลกกายหยาบทั้งหลาย เช่นเห็นช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น   เพราะฉะนั้นการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ขั้นโลกิยะ) ทั้งของมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็น ณ ภายในตัวเราเอง หรือของผู้อื่นก็จัดเป็นการ “เห็นจริง” ตามภาษาคนธรรมดา    แต่ถ้าจะพูดภาษาธรรม ก็เรียกว่าเห็นของจริงโดยสมมุติ  

    ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดไปสุดละเอียด  นั้นเป็นการเห็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง   นับเป็นการ “เห็นของจริง” สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในบรรดาของการชิมลองโลกุตตรธรรม    แต่ยังไม่ได้ “เป็น”   เพียงแค่ “เห็น”  หรือเข้าถึงเป็นคราวๆ ที่ใจสะอาดบริสุทธิ์  และหยุดถูกศูนย์ถูกส่วน




    ประการที่ 2 คือ วิปัสสนาภาวนา    มุ่งที่การเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริงว่า ธรรมชาตินี้เป็นสังขารธรรม อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างไร ?  (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร)   และมีสภาวะตามธรรมชาติหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  และอนัตตาอย่างไร ?   ปัญญาเห็นแจ้งในขั้นนี้ชื่อว่า “วิปัสสนาปัญญา”   แล้วจะพัฒนาสูงขึ้นไปเป็นการเห็นแจ้งในอริยสัจทั้ง 4  คือ  ทุกขสัจ  สมุทัยสัจ  นิโรธสัจ  และมรรคสัจ  อันเป็นปัญญาขั้น “โลกุตตรปัญญา”   ให้สามารถเห็นว่ามีธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง  ได้แก่  พระนิพพานคือพระธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว  ว่าเป็นบรมสุขยิ่งตามที่เป็นจริงอย่างไร นี้จัดเป็นการเห็นธรรมชาติที่เป็นปรมัตถธรรม   ถึงขั้นนี้จึงเป็นการ “เห็นจริงแท้”  เป็นการเห็นปรมัตถธรรม  คือธรรมชั้นสูงสุด  หรือเห็นธรรมชาติที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์

    อันที่จริง  การเห็นของหรือธรรมชาติจริงโดยปรมัตถ์นั้น   เริ่มเห็นมาตั้งแต่เมื่อพระโลกุตตรมรรคญาณเกิด ให้หยั่งรู้การกำจัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการคือ  สักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉา  และสีลัพพตปรามาสได้   ก้าวล่วงเข้าสู่ภูมิของพระอริยบุคคล  ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบันบุคคลขึ้นไปนั่นแล้ว   แต่มาเห็นชัดแจ้งที่สุดเมื่อถึงพระนิพพาน   เมื่อพระอรหัตตมรรคญาณเกิด   เป็นการเห็นของจริงธรรมชาติจริงๆ ทั้งสองฝ่าย  คือฝ่ายสังขตธาตุสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แล้ววางอุปาทานได้หมด)   กับฝ่ายอสังขตธาตุ อสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง)    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระนิพพานอย่างแท้แน่นอน

    กล่าวโดยสรุป   

    การนึกนิมิตเป็นเพียงอุบายวิธีการอบรมจิตใจให้มารวมอยู่เสียที่บริกรรมนิมิต  เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวกันตรงจุดเดียวกัน   นี้นับเป็นการเห็นที่ยังไม่จริง  
    ต่อเมื่อเกิดอุคคหนิมิตจึงนับเป็นการเห็นนิมิตจริง   เพราะเป็นการเห็นขณะที่ใจหยุดนิ่ง   ไม่ได้คิดเห็น  แต่เป็นการเห็นนิมิตตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองโดยอุบายวิธีดังกล่าว   และมีผลให้เกิดทิพจักขุ  ทิพโสต ให้สามารถได้เห็นและได้ยินหรือสัมผัสสิ่งที่ละเอียดประณีตยิ่งกว่าสายตาเนื้อมนุษย์ หรือประสาทหูมนุษย์จะสัมผัสรู้ได้  นี้ก็เป็นการเห็นของจริง  เช่นเดียวกันกับตาเนื้อเห็นกายมนุษย์ หรือประสาทหูได้ยินเสียงที่เราพอได้ยินกันได้   ทั้งหมดนี้ถ้าจะพูดกันในภาษาธรรมก็ชื่อว่า  เป็นการเห็นจริงโดยสมมุติ  คือเห็นสังขารทั้งหยาบและทั้งละเอียด
    การเห็นพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง    สูงขึ้นไปถึงการเห็นอริยสัจและเห็นธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานตามที่เป็นจริง จึงนับเป็นการเห็นแท้จริงโดยปรมัตถ์



    ปล. กรุณาอ่านใจความ และเว้นวรรค ให้ดี เพื่อไม่ให้สื่อความหมายผิด แล้วนำไปพูดแบบผิด จะไม่ได้เป็นการก่อ
    อกุศลกรรมให้กับตน แม้โดยไม่มีอกุศลเจตนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 ตุลาคม 2014
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    เจริญวิปัสสนา ก็ต้องใช้นิมิต

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และ อุเบกขินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ดั่งนี้ มิใช่ฐานะจะมีได้..."(1)

    เจริญวิปัสสนา ก็ต้องมีนิมิต

    ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานก็ต้องมีนิมิตแห่งวิปัสสนาจิต กล่าวคือถือเอาสังขารนิมิตขึ้นพิจารณาสภาวธรรมอีกเช่นกัน เช่น การพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ต้องอาศัยนิมิต นึกเห็นนิมิต จึงจะพิจารณาสภาวธรรมได้ จึงจะเห็นสภาวธรรมตามที่เป็นจริงได้

    อย่างเช่น การเจริญอสุภกัมมัฏฐานอันนับเนื่องอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่าจะต้องไปพิจารณาดูแต่ที่ซากศพ หรือจะต้องนำศพไปพิจารณาด้วย หรือจะต้องสาวไส้สาวพุงของใครต่อใครมาดู จึงจะเรียกว่า อสุภกัมมัฏฐาน ก็หาไม่ ในทางปฏิบัตินั้น เมื่อได้เคยเห็นซากศพหรืออวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายในหลายๆ ลักษณะ ก็จำภาพนั้นหรืออารมณ์นั้น แล้วน้อมเอาอารมณ์นั้นหรือภาพนั้นมาพิจารณาด้วยใจ การพิจารณาก็จะต้องนึกเห็นทั้งลักษณะและสภาพที่เป็นจริง ว่าเป็นแต่สิ่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด และเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เหล่านี้เป็นต้น จึงจะเรียกว่ารู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ถ้านึกไม่เห็นแล้วทำไมจึงจะอ้างได้ว่า เห็นแจ้งตามสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงได้เล่า การเห็นของจริงด้วยตาเนื้อนั้นเป็นแต่เพียงเริ่มต้นของเรื่องที่จะนำมาพิจารณาเท่านั้น แต่การเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นเป็นกิจทางใจ แม้จะเห็นธรรม ณ เบื้องหน้าซากศพ ก็เป็นการเห็นด้วย "ใจ" หาใช่เห็นธรรมด้วยตาเนื้อไม่ และการเห็นสิ่งที่น้อมนำมาพิจารณาสภาวะธรรมด้วยใจนั้น ก็คือนิมิต อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งที่ชื่อว่า "สังขารนิมิต" นั่นเอง

    เรียกว่า หนีนิมิตไม่พ้น ในทางปฏิบัติแล้วจะต้องผ่านนิมิตเสมอไป ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ได้เห็น ถ้าไม่ได้เห็น ก็จะอ้างว่าเห็นแจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงไม่ได้ ก็มีแต่ท่องจำเอาจากตำราเท่านั้น พระพุทธองค์ก็มิได้ทรงปฏิเสธนิมิตในการเจริญภาวนาธรรม และยังประทานพระบรมพุทโธวาท มีความว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์, ภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต (คือนิมิตแห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์"(2)

    นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังได้ทรงแสดงการถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต ในการปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง มีความว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ละสัญโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ, ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อถือเอานิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อละสัญโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล."3

    จึงว่าการเจริญภาวนาจะต้องผ่านนิมิต อาศัยนิมิตแน่นอน

    ข้อสังเกตในเรื่องนิมิต

    ประการที่ 1 ที่ว่า การเห็น นั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ

    1.การเห็นรูปด้วยตาเนื้อ สำหรับคนทั่วไป และเห็นด้วยตาใน (ตาทิพย์) สำหรับท่านที่เจริญวิชชาหรือมีทิพพจักขุ นี้อย่างหนึ่ง กับ
    2.การเห็นนิมิต คือเครื่องหมายที่กำหนดขึ้นให้เห็นในใจ เพื่อเจริญสมาธิ นั้นอีกอย่างหนึ่ง
    และสำหรับสิ่งที่เห็นด้วยใจนั้น จึงมีทั้ง นิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต ที่นึกหรือคิดให้เห็นในใจเพื่อเจริญสมาธิ ได้แก่ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต เป็นต้น นี้อย่างหนึ่ง หรือน้อมสังขารนิมิตเข้ามาพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการเห็น รูป หรือ ธาตุธรรมละเอียด ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ด้วยสามารถแห่งทิพยจักขุ เสมือนหนึ่งตาเนื้อเห็นรูป ฉะนั้น นี้อย่างหนึ่ง อย่าปนกัน

    ประการที่ 2 การเห็นนิมิต มิได้หมายความว่า ติดนิมิต หากแต่เป็นเพียงอาศัยการกำหนด บริกรรมนิมิต ขึ้นเพื่อเจริญสมาธิ พัฒนาการเห็นนิมิตนั้นขึ้นไปเป็น อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ตามระดับสมาธิที่สูงขึ้น และเป็นความจำเป็นที่จะต้องน้อมนำเอาสังขารนิมิตขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยเหตุนี้ ในสติปัฏฐานสูตรจึงแสดงวิธีการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน, เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน, และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ว่าคือการมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม

    สำหรับท่านผู้เจริญภาวนาได้ถูกวิธี สามารถเจริญวิชชา และมีอภิญญา เป็นต้นว่า เกิดอายตนะทิพย์ ให้สามารถรู้เห็นสิ่งที่ละเอียดประณีต หรืออยู่ห่างไกล ลี้ลับได้ กว่าอายตนะของกายเนื้ออย่างเข่น ตา หู ของกายเนื้อ จึงสามารถเห็นสัตว์ในภูมิต่างๆ ที่ละเอียด อย่างเช่น นรก สวรรค์ และแม้แต่เห็นอายตนะนิพพานนั้น ก็เป็นเรื่องความสามารถพิเศษของท่าน และก็เป็นการเห็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เหมือนกับตาเนื้อเห็นรูปทั้งหลายนั่นเอง เหมือนกับเราผ่านไปทางไหนก็ได้พบได้เห็นบ้านเมือง ผู้คน หรือสัตว์ทั้งหลายตามปกติธรรมดา

    แม้จะเจตนาที่พิจารณาดูความเป็นไปของอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น ก็เพื่อเป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น เป็นการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า นรก สวรรค์ นิพพานนั้น มีจริงหรือเปล่า ถ้ามี มีอย่างไร มีความเป็นไปในนรก สวรรค์ ตลอดทั้งอายตนะนิพพานอย่างไร ด้วยผลบุญและผลบาปอะไร จึงต้องไปเสวยวิบากอยู่ในนรกหรือสวรรค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรู้จักความเป็นไปในนิพพานนั้น เป็นยอดของความรู้ เป็นยอดของปัญญาทีเดียว และประการสำคัญที่สุด ผู้ที่สามารถเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายอันเป็นธรรมขันธ์ที่พ้นโลกแล้ว สามารถให้เข้าถึงอายตนะนิพพานได้นั้น ทำให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นโดยชัดแจ้ง ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทานพระบรมพุทโธวาท ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะนั้น [คือพระนิพพาน] มีอยู่...." และว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว [คือพระนิพพาน] นั้น มีอยู่...." 4

    จึงทำให้สามารถเห็นอรรถ เห็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้วนี้โดยชัดแจ้ง

    ประการที่ 3 การเจริญสมาธิภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธสมถกัมมัฏฐาน แล้วมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนามีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือมีสติพิจารณาสภาวธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมาก และไม่รู้อุบายวิธีออกจากสังขารนิมิตที่ถูกต้องนั้น จิตจะปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยยกขึ้นพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้ แม้แต่จะได้รับคำแนะนำให้ปล่อยหรือให้ปฏิเสธนิมิตนั้น ก็ปฏิเสธไม่ออก เป็นเหตุให้เกิดนิมิตลวงขึ้นในใจโดยที่เจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรู้จะเห็น เรียกว่าเกิดวิปัสสนูปกิเลสข้ออุปัฏฐาน อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้

    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย เป็นกัมมัฏฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน และมีมหาสติปัฏฐานสี่ อยู่ครบถ้วนในตัวเสร็จ คือมีการพิจารณาเห็นเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม อยู่ในทุกขั้นตอน มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้ทั้งเห็น เมื่อยกสังขารนิมิตใดขึ้นพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีอุบายวิธีออกจากสังขารนิมิต โดยให้พิสดารกายไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตใจก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปได้เองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นสำหรับผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเกิดอภิญญาและวิชชา ให้สามารถเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรม กับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย จึงควรที่ท่านสาธุชนจะเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าพึ่งท้อแท้ใจว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้, ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผล ให้ถูกต้องตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า ระวังอย่าให้

    เพียรหย่อนเกินไปจนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า เพียรจัดเกินไป จนกายและใจไม่สงบ
    อยากเห็นนิมิตจนเกินไป ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือพลอยหงุดหงิดเมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล
    สะดุ้งตกใจกลัว หรือตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่านหรือเคลื่อนจากสมาธิ
    และพึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาส อย่างน้อยก็ศีล 5 ขึ้นไป
    พึงหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย
    สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย ตลอดทั้งดูการละเล่น หรือประโคมดนตรี เหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น
    ถ้าประสงค์จะได้สิ่งที่ดี มีคุณค่าต่อชีวิตอย่างสูง ก็ต้องพยายามละสิ่งที่ชั่ว หรือที่เป็นข้าศึกแก่ความดีเหล่านั้นเสีย

    พึงเข้าใจว่า ธรรมอันประเสริฐนั้น ไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่บุคคลจะพึงบรรลุได้โดยง่าย แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยของบุคคลที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงหรือบรรลุได้ ขอแต่ให้ปฏิบัติถูกวิธีด้วยอิทธิบาทธรรมดังที่กล่าวมาแล้ว ย่อมได้ผลแน่นอน

    พระพุทธองค์ก็ได้ทรงประทานบรมพุทโธวาทไว้ มีความว่า เมื่อได้ศึกษาและปฏิบัติอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้ว ก็แล้วกัน เราไม่มีอำนาจที่จะไปบันดาลให้บรรลุธรรมหรือมรรคผลเมื่อนั้นเมื่อนี้ได้ อุปมาดั่งชาวนาซึ่งไถคราด เตรียมดิน หว่านพันธุ์ข้าว และปักดำ ไขน้ำเข้านา ดูแลใส่ปุ๋ย ดีที่สุดแล้ว ก็ต้องรอให้ข้าวออกรวงเอง การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกัน ทำไปก็แล้วกัน พยายามให้ดีที่สุดแล้ว ถึงเวลาก็ได้บรรลุผลเอง

    และพึงสังเกตว่า ในระหว่างเวลาปฏิบัติที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมหรือมรรคผลนั้น ก็ได้ผลดีไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว แต่ขอให้หมั่นดูที่เหตุ สังเกตดูที่ผลให้ถ้วนถี่ก็แล้วกัน การปฏิบัติธรรมตามแนวนี้ให้ผลดีทั้งในทางโลกและในทางธรรมจริงๆ--------------------------------------------------------------------------------

    (1) สํ. ม. อุปปฏิกสูตร 19/961/269
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    การอาศัยกายที่เข้าถึงเป็นแบบ ถูกหลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือไม่ ?



    **************************************
    
    ขอกราบนมัสการและขอความเมตตาจากหลวงพ่อช่วยตอบปัญหาด้วยค่ะ ดิฉันเคยปฏิบัติเจริญภาวนาธรรมในสายอื่นที่สอนให้ปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ แม้เพียงตัวตนของเรา ก็ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ตามขั้นตอนของการพิจารณาดูสังขารในสติปัฏฐาน 4 แม้เพียงนิมิต ก็ไม่ให้เอาเป็นอารมณ์หรือยึดติด แต่เมื่อเข้ามาปฏิบัติ ณ สถานที่แห่งนี้ กลับตรงกันข้าม แม้เพียงเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ให้มาก็มีข้อความเป็นโดยนัยลักษณะเดียวกัน อย่างนี้จะไม่เป็นการสอนให้ยึดมั่นถือมั่นหรือค่ะ เช่น ในหนังสือหลักการเจริญภาวนา (เล่มสีฟ้า) หน้า 22 ระหว่างบรรทัดที่ 1 ถึงบรรทัดที่ 18 เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม เข้ากลางกายแต่ละกาย ผู้ปฏิบัติจะต้องยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบ ไปอย่างนี้เรื่อย ๆ จะถึงกายธรรมอรหัตละเอียด ดิฉันสงสัยว่า จะถูกทางที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ในหลักของมัชฌิมาปฏิปทา และการปล่อยวางต่างๆ หรือไม่ ?



    ------------------------------------------------
    [​IMG]







    ตอบ:

     
     
    ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจ คำว่า "ยึดมั่น หรือ ยึดติด" คำว่า "ตัวตน" คำว่า "นิมิต" และ "ปล่อยวาง" ให้ดีเสียก่อน ก็จะเข้าใจความหมายคำของหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ง่าย กล่าวคือ

    การปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระพุทธศาสนานั้นมุ่งที่จะอบรมจิตใจให้สงบและผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ (ธรรมชาติเครื่องเศร้าหมองอันเป็นเครื่องกั้นปัญญา)ควรแก่งานแล้วพิจารณาสภาวะของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่มีวิญญาณครอง) และอนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง) ทั้งปวง ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกขํ) และมิใช่ตัวตน ของใครที่ถาวรแท้จริง (อนตฺตา) เพื่อให้คลายอุปาทานความยึดถือ(ยึดมั่น ยึดติด) ว่าเป็นตัวตน (มีแก่นสารสาระของความเป็นตัวตนที่แท้จริง) ว่าเป็น บุคคล เรา-เขา ของเรา-ของเขา ด้วยตัณหาและทิฏฐิ ความหลงผิด (ความคิดว่าเป็นตัวตน) นั้นเสีย

    เพราะอุปาทาน คือความยึดถือสังขารธรรมทั้งปวงที่ไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่แท้จริงของใครนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยตัณหา และทิฏฐิ(ความหลงผิดว่าเป็นแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน บุคคล เรา-เขา) นั้น เป็นทุกข์จริงๆ แท้(ทุกขสัจ) ตามส่วนแห่งความยึดถือนั้น ยึดมาก ก็ทุกข์มาก ยึดน้อย ก็ทุกข์น้อย ไม่ยึดเลย ก็ไม่ทุกข์เลย

    "อุปาทาน ความยึดมั่น" ณ ที่นี้หมายถึง ความรู้สึกเป็นเจ้าของเมื่อไปมีอุปาทาน(ความยึดถือ) คือมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในสิ่งที่ไม่มีแก่นสารสาระ ในความเป็นตัวตนที่เป็นเองโดยธรรมชาติไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งอยู่เสมอ ด้วยตัณหา(ความทะยานอยาก) และทิฏฐิ(ความหลงผิด) จึงเป็นทุกข์ดังตัวอย่างพระบาลีว่า สงฺขิตฺเตนปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา กล่าวว่าโดยสรุป อุปาทานเบญจขันธ์เป็นทุกข์

    ได้เคยมีบางท่านกล่าวว่า"เพราะบุคคลมีอุปาทาน จึงมีอัตตา ถ้าไม่มีอุปาทาน อัตตาก็ไม่มี" คำกล่าวเช่นนี้ ไม่ถูกต้อง

    ฉะนั้นการพิจารณาดูสังขารในสติปัฏฐาน 4 ก็เพื่อให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นถูกต้อง ตามพระพุทธดำรัสต่อไปนี้ ว่า

    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯ  สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ฯ  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ฯ   ธรรม (สังขารธรรม) ทั้งปวงมิใช่ตนคือไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน

    และว่า ยถา ปญฺญาย ปสฺสติ   อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโควิสุทฺธิยา ฯ

    "เมื่อใดที่พระโยคาวจรเห็นด้วยปัญญา ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาแล้ว  เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์  นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด"

    คำว่า ธรรมทั้งปวง ณ ที่นี้หมายเอาสังขารธรรมมีเบญจขันธ์เป็นต้น เท่านั้นที่เป็น "อนัตตา"เพราะไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่ถาวรแท้จริงของใคร  และนี้ก็เป็นพระพุทธดำรัสในลำดับ "นิพพิทาญาณ"  ซึ่งเป็นขั้นตอนของการยกเอาสังขารมีเบญจขันธ์เป็นต้น ขึ้นพิจารณาเพื่อให้เห็นแจ้งแทงตลอดพระไตรลักษณ์ อันจะนำไปสู่วิราคะ วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน จึงยังไม่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์เพราะเหตุนั้นพระพุทธดำรัสว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี้ จึงหมายเอา "สังขารธรรมทั้งปวง" หรือธรรมชาติที่เป็นไปในภูมิ 3 (กามภูมิ-รูปภูมิ-อรูปภูมิ)ทั้งหมดเท่านั้น

    ที่หลวงพ่อ (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) ท่านสอนว่าให้เข้ากลางของกลางแต่ละกาย แล้วให้ผู้ปฏิบัติยึดกาย ที่เข้าถึงเป็นแบบไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนถึงธรรมกายอรหัตละเอียด นั้นหมายความว่าเมื่ออบรมใจให้หยุดให้นิ่ง จนบริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ด้วยและจิตใจไม่ปรุงแต่งด้วย จึงยิ่งบริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองและจึงถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่อๆ ไปอย่างนี้จนสุดละเอียดก็จะถึงกายในกายที่บริสุทธิ์ผ่องใส ณ ภายใน ต่อๆ ไปตามลำดับ คือต่อจากกายมนุษย์หยาบ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อถึงแล้ว ไม่ใช่ให้ดู คือเพียงแต่เห็นเฉยๆ ถ้าเพียงแต่เห็นเฉยๆ ธรรมก็ไม่ก้าวหน้าแต่ให้ดับหยาบไปหาละเอียดคือ ให้ละอุปาทานกายหยาบ ได้แก่ ละความรู้สึกทั้งหมดอันเนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ เข้าไป (สวมความรู้สึก) เป็นกายมนุษย์ละเอียดเพื่อให้ใจของกายมนุษย์ละเอียดที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าของกายมนุษย์หยาบนั้น ทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อไปให้สมบูรณ์เต็มที่ เพื่อความเข้าถึง รู้ - เห็น และเป็นกายในกาย(รวมเวทนา-จิต-ธรรม) ที่บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ

    การเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นกายละเอียด (กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน)เป็นขั้นๆ ไปอย่างนี้ "ดับหยาบไปหาละเอียด" จนสุดละเอียดถึงธรรมกายต่อๆ ไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกายอรหัต เป็นขั้นๆ ไปอย่างนี้ แหละที่หลวงพ่อท่านอธิบายว่า เมื่อปฏิบัติถึงกายละเอียด(กายในกายที่ละเอียดและบริสุทธิ์) แล้ว ต้องยึดกายละเอียดที่เข้าถึงนั้นเป็นแบบ คือเป็นแนวทางปฏิบัติภาวนาให้ถึงกาย และธรรมที่ละเอียดๆ ที่บริสุทธิ์ ผ่องใสยิ่งกว่าเดิมต่อๆ ไปตามลำดับ ในทางธรรมปฏิบัติจึงเป็นการละอุปาทาน (ความยึดถือ) สังขารธรรมที่ไม่บริสุทธิ์เพื่อความเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลกพ้นความปรุงแต่ง (สังขาร) อันเป็นธรรมชาติที่บริสทุธิ์ผ่องใส โดยไม่ใช่ให้ยึดติด

    ที่ว่า "ให้ยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบ" นั้น หมายถึงให้เอาเป็นแนวทาง เป็นพื้นฐานในการเจริญภาวนาให้ถึงธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นต่อๆ ไป เหมือนการขึ้นบันไดทีละขั้นๆ ไปถึงชั้นบนบ้านได้ก็ต้องอาศัยบันไดขึ้นต่ำที่เราขึ้นไปถึงแล้วนั้น ก้าวขึ้นไปสู่บันไดขั้นสูงยิ่งขึ้นต่อๆ ไป ตามลำดับจึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุด

    ถ้ามัวแต่ไปเพ่งที่คำพูด แต่ไม่เข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของธรรมปฏิบัติจึงไขว้เขวได้อย่างนี้มีเยอะ มีแต่นักอ่าน นักพูดนักวิจารณ์ แต่ไม่เข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของธรรมปฏิบัติก็ไขว้เขวได้มาก อย่างนี้ ยิ่งคนดังๆ พูดแล้วคนก็เชื่อมากเสียด้วย เพราะฉะนั้นให้พยายามปฏิบัติต่อไปให้เข้าถึงกายที่ละเอียดๆ (เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม) ถึงธรรมกายต่อๆ ไปให้สุดละเอียดถึงพระนิพพานก็จะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งไปเอง

    เรื่อง"นิมิต"นั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ เป็นขั้นตอนของการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง มีปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ฉบับ พ.ศ. 2521 ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย (องฺ ฉกฺก. 22/39/430-431)ว่าดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้นจักมาเป็นผู้โดยเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้วจักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโญชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ละสัญโญชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่,อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อเป็นผู้โดดดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบรูณ์ได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโญชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อละสัญโญชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล.

    (คำแปลจากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ของคณะธรรมไชยา พ.ศ.2514 หน้า 285-286)

    กล่าวโดยสรุป "นิมิต" เป็นขั้นตอนของการเจริญสมถภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญาให้จิตใจผ่องใสควรแก่งานและ เป็นขั้นตอนของวิปัสสนาภาวนา คือ ยกสังขารนิมิต มีเบญจขันธ์ เป็นต้น ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ขึ้นพิจารณาให้เห็นแจ้ง รู้แจ้ง สภาพความปรุงแต่งและ ลักษณะอันเป็นเอง ของสังขารธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ว่าเป็นสภาพ ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และ มิใช่ตัวตนที่แท้จริงของใคร (อนตฺตา)

    ในขั้นสมถภาวนา เมื่อสามารถถือเอาปฏิภาคนิมิตได้ ก็จะได้สมาธิจิต ในระดับอัปปนาสมาธิอันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌานมรรคจิตอันประกอบด้วยสัมมาสมาธิ จึงจะเริ่มสามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น ถ้าใครปฏิเสธนิมิตเสียตั้งแต่สมาธิจิตยังสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน มรรคจิตก็ย่อมจะยังไม่เจริญขึ้นสมบูรณ์ให้สามารถทำหน้าที่ปหานสัญโญชน์ได้เต็มกำลัง เพราะขาดสัมมาสมาธิ(การเจริญรูปฌานตั้งแต่ปฐมฌาน-จตุตถฌาน) อันเป็นไปเพื่อเจริญปัญญาเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสภาธรรมและอริยสัจจธรรมตามที่เป็นจริงได้

    อนึ่ง เมื่อสมาธิจิตเป็นฌานจิต ตั้งแต่ปฐมฌานและเจริญขึ้นไปตามลำดับฌานนั้น ย่อมละองค์แห่งฌานที่หยาบ หรือเรียกว่า"ดับหยาบไปหาละเอียด" ไปเองโดยอัตโนมัติ อย่างสงสัยเลย

    ในขั้นวิปัสสนาภาวนาถ้าไม่ยกสังขารนิมิต อันตัณหาปวัตติ (ปรุงแต่งให้เป็นไป) ให้เห็นแจ้งสภาพความปรุงแต่ง และลักษณะอันเป็นเองตามธรรมชาติของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวง ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตาอย่างไรแล้ว ภาวนามยปัญญา(ปัญญาแจ้งชัดจากการเจริญภาวนาจริงๆ ) จะเกิดได้อย่างไร ? ก็จะได้แต่เพียงสุตามยปัญญา และ จินตมยปัญญา จากสัญญา คือความจำได้หมายรู้จากตำรา หรือจากที่ฟังเขาว่ามาเท่านั้นเอง

    ใครสอนให้ละ"นิมิต"ตั้งแต่ขั้นแรกของสมถและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็เท่ากับสอนให้ละฐานสำคัญที่จะให้เกิดสมาธิจิตในระดับปฐมฌานขึ้นไป อันจะนำไปสู่การเห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะของสังขารธรรม และสัจจธรรมตามที่เป็นจริง การเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานก็จะมีสภาพเป็น "วิปัสสนึก (เอาเอง)"เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอุบายให้ได้รับผลเบื้องต้นในระดับหนึ่งแต่มรรคจิตก็ไม่สมบูรณ์พอจะปหานสัญโญชน์โดยเด็ดขาดได้  ต่อเมื่อถึงฌานจิตตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป จึงจะมีพลังพอที่จะปหานสัญโญชน์โดยเด็ดขาดได้ จึงขอให้ทบทวนพระพุทธดำรัสข้างต้นนี้ให้ดี จะได้ไม่หลงทางปฏิบัติ วนอยู่แต่ในวิธี "ขุดบ่อไม่ถึงตาน้ำ"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 18kaya.gif
      18kaya.gif
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      561
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 ตุลาคม 2014
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    "อย่าดูหมิ่นบุญกรรมจำนวนน้อย
    จะไม่คอยตามต้องสนองผล
    เหมือนตุ่มใหญ่เปิดหงายรับสายชล
    ย่อมเต็มล้นด้วยอุทกที่ตกลง
    สาธุชนสั่งสมบ่มบุญบ่อย
    ทีละน้อย แนบไว้มิไหลหลง
    บุญนั้นย่อม เต็มพลัน ด้วยมั่นคง
    กุศลส่ง สู่สถาน นิพพานเอย ฯ




    [​IMG]
     
  13. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท
    มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    อุเบกขินทรีย์ นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเบกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มี
    เครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต
    ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่
    จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดอุเบกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งอุเบกขินทรีย์ ความดับแห่ง
    อุเบกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้น

    ท่านเจ้าของกระทู้ลองอ่านฉบับเต็มให้ดีว่า "อุเบกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มี
    เครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย " และ อุเบกขินทรีย์นี้เป็นสิ่งที่ควรยึดติดเอาไว้หรือควรดับไป ถ้าควรดับไปก็ต้องดับเหตุและรวมถึงนิมิตด้วย ถูกต้องหรือไม่
    ถ้าไม่ดับนิมิต เหตุย่อมไม่ดับ ก็ย่อมไม่สามารถดับ
    อุเบกขินทรีย์ได้ และหากถ้านิมิตคงอยู่จะเป็นวิปัสสนาได้อย่างไร

    อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ ทุกขินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ สุขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ อุเบกขินทรีย์ ๑. ทั้ง
    อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัยเป็นสิ่งที่ควรดับไม่ให้มีเหลือ หรือควรรักษาไว้ล่ะ

    ข้อความอื่นที่ท่านเจ้าของกระทู้ยกมาเรื่องนิมิตอย่าเข้าใจว่าถูกต้อง ที่เข้าใจนั้นผิด
    สงเคราะห์ท่านเท่านี้ก่อน ถ้าท่านยังมีบุญวาสนาต่อกันก็อาจจะเข้ามาสงเคราะห์ท่านใหม่
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582


    นิมิต ไม่ใช่ เหตุของอุเบกขินทรีย์

    ถ้าจะดับ ก็ต้องดับที่เหตุ


    การยกข้อความของผมมา เพราะเป็นบทความ ข้อความเกี่ยวกับการปฏิบัติระหว่างทาง ก่อนการถึงที่สุดของการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์

    การจะรู้จัก จะดับเข้าได้ ถ้าไม่มีนิมิตเครื่องบ่งชี้สถานะของสิ่งนั้น ก็ยากที่จะรู้แจ้งสิ่งนั้นและดับสิ่งนั้น พ้นสิ่งนั้น


    ข้อความที่ผมยกมา ไม่ได้ยกมาเพื่อให้ยึดมั่นถือมั่นในนิมิต

    ในวิชชาธรรมกาย เป็นการปฏิบัติเพื่อรู้เห็นสิ่งที่เป็นสังขาร วิสังขาร แล้วก็มีการดับหยาบไปหาละเอียด คือ ละ วาง อุปาทานในขันธ์ห้าตั้งแต่หยาบๆไปเป็นระยะๆ ไปจนถึง สิ่งที่ไม่ใช่สังขาร ไม่ได้เกิดจากบุญ บาป หรือเหตุปรุงแต่ง
    ไม่ใช่นิมิต


    และ วิปัสสนา นั้น มีพุทธพจน์รับรองตรงไหนบ้างที่ทรงกล่าวว่า ต้องดับทุกอย่างที่รู้เห็นหมด ไม่มีนิมิตเลย



    ซึ่งผู้ไม่ได้มาปฏิบัติ มีแต่ศึกษาตัวหนังสือ แม้เชี่ยวชาญปริยัติ แต่ไม่ได้แจ้งด้วยการปฏิบัติให้เห็น ก็ยากจะเข้าใจได้หมด


    กระทู้นี้ จึงชื่อหัวข้อกระทู้ว่า ".........เรียนเชิญ ผู้ที่ปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 ตุลาคม 2014
  15. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    ท่านกลับไปอ่านกระทู้ที่ได้อธิบาย ท่านไปแล้วให้ดีข้างบนเป็นคำตอบท่าน แต่ท่านกลับไม่เห็นคำตอบ ผู้อ่านท่านอื่นที่สติปัญญาดีอาจทราบได้ ยกให้ท่านอ่านใหม่

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท
    มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    อุเบกขินทรีย์ นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเบกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มี
    เครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต
    ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่
    จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดอุเบกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งอุเบกขินทรีย์ ความดับแห่ง
    อุเบกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้น

    ท่านเจ้าของกระทู้ลองอ่านฉบับเต็มให้ดีว่า "อุเบกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มี เครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย " และ อุเบกขินทรีย์นี้เป็นสิ่งที่ควรยึดติดเอาไว้หรือควรดับไป ถ้าควรดับไปก็ต้องดับเหตุและรวมถึงนิมิตด้วย ถูกต้องหรือไม่
    ถ้าไม่ดับนิมิต เหตุย่อมไม่ดับ ก็ย่อมไม่สามารถดับ
    อุเบกขินทรีย์ได้ และหากถ้านิมิตคงอยู่จะเป็นวิปัสสนาได้อย่างไร

    อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ ทุกขินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ สุขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ อุเบกขินทรีย์ ๑. ทั้ง
    อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัยเป็นสิ่งที่ควรดับไม่ให้มีเหลือ หรือควรรักษาไว้ล่ะ

    ข้อความอื่นที่ท่านเจ้าของกระทู้ยกมาเรื่องนิมิตอย่าเข้าใจว่าถูกต้อง ที่เข้าใจนั้นผิด
    สงเคราะห์ท่านเท่านี้ก่อน ถ้าท่านยังมีบุญวาสนาต่อกันก็อาจจะเข้ามาสงเคราะห์ท่านใหม่
     
  16. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    คำถามที่ท่านถามทั้งหมด คำตอบอยู่ในกระทู้เดิมที่อธิบายไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเพราะ สิ่งที่อธิบายท่านแล้วนั้น มีความสมบูรณ์แห่งธรรมะทุกประการ
    และที่ทำท่านไม่เข้าใจเพราะกรรมท่านหลงเข้าใจผิดเรื่องนี้มานานเท่านั้นเอง
    ถ้าท่านวางจากความยึดมั่นถือมั่นในใจท่านจะเข้าใจได้ไม่ยาก สงเคราะห์ท่านได้เท่านี้จริงๆ ท่านเข้าใจหรือไม่ขึ้นอยู่กับบุญกับกรรมท่านแล้วล่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 ตุลาคม 2014
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582

    ---------------------------------------------
    [๙๖๑]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้   ไม่ประมาท
    มีความเพียร    มีใจเด็ดเดี่ยว    อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น    เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    อุเบกขินทรีย์   นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา   และอุเบกขินทรีย์นั้นมีนิมิต   มีเหตุ   มี
    เครื่องปรุงแต่ง   มีปัจจัย   แต่จะอนุมานเอาว่า   อุเบกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต
    ไม่มีเหตุ  ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง  ไม่มีปัจจัย  จักเกิดขึ้นได้  ดังนี้   มิใช่ฐานะที่
    จะมีได้   เธอย่อมรู้ชัดอุเบกขินทรีย์   เหตุเกิดแห่งอุเบกขินทรีย์   ความดับแห่ง
    อุเบกขินทรีย์     และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้น


    จบสูตรที่  ๑๐
    จบสุขินทริยวรรคที่   ๔

    ------------------------------------------------------------


    ท่านลองไปย้อนอ่านคำตอบผม ที่ผมโพสไว้ข้างบน

    ว่าวิชชธรรมกาย มีการปฏิบัติที่ดับหยาบไปหาละเอียดในตัวแล้ว

    และไม่ได้สอนให้ยิึดสิ่งที่เป็นสังขาร ( แม้แต่อุเบกขินทรีย์ ก็เป็นสังขารปรุงอยู่)
    การที่จะดับอุเบกขินทรีย์ ไม่ใช่ดับที่นิมิต เพราะนิมิตไม่ใช่ที่มาของอุเบกขินทรีย์ แต่อุเบกขินทรีย์นั้นมีนิมิตเป็นเครื่องบ่งบอกได้ แต่คนทั่วไปคิดว่า วิปัสสนาต้องไม่มีนิมิต
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    ขอถามคุณ 123a ถ้าดับนิมิตหมด แล้วธรรมทั้งปวงคือ กุศล อกุศล และสังโยชน์เครื่องร้อยรัดในใจท่านจะดับตามหรือไม่

    มีพุทธพจน์คำไหน ที่บ่งบอกว่า วิปัสสนา คือ การดับนิมิตทั้งหมด แล้วจะพ้นทุกข์
     
  19. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    เป็นที่กรรมท่านที่เข้าใจผิดมาก่อนแล้วสอนคนให้เข้าใจผิดตามท่าน ท่านจึงไม่เข้าใจสิ่งที่ถูกต้อง แต่เจตนาท่านดีอยู่แล้ว ถ้าปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่เดิมท่านจะเข้าใจได้ไม่ยาก นี่อธิบายท่านซ้ำแล้วน่ะ ปกติไม่อธิบายหรือสอนซ้าแบบนี้

    ยกที่อธิบายท่านไว้แล้วใหม่อีกครั้ง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท
    มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    อุเบกขินทรีย์ นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเบกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มี
    เครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต
    ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่
    จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดอุเบกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งอุเบกขินทรีย์ ความดับแห่ง
    อุเบกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้น​

    อุเบกขินทรีย์นั้นมีนิมิต ถ้าอุเบกขินทรีย์ดับโดยไม่เหลือ แล้วจะเหลือนิมิตไหม

    การที่ท่านเข้าใจผู้กำลังอธิบายผิด ไปขอขมาพระรัตนตรัยด้วยนะ เพราะจะเป็นกรรมหนักกับท่านอย่างแรง ที่ไม่มาตอบในกระทู้มากมายเพราะด้วยเหตุนี้
    และที่อธิบายท่านทั้งหมดเพราะปฏิบัติเข้าถึงมาก่อนแล้ว ไม่อธิบายท่านซ้ำอีกแล้วนะ ที่สงเคราะห์ท่านซ้ำเพราะเห็นว่าท่านเคยยกธรรมอื่นมาสอนคนในนี้มาก และท่านไม่ต้องเสียกำลังใจนะ เจตนาท่านดี เพียงแต่ผู้ที่เข้าไม่ถึงย่อมมีความเข้าใจผิดเรื่องธรรมะก็เป็นธรรมดาของปุถุชนทั่วไป
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,029
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,582
    "ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์, ภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต (คือนิมิตแห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์"

    ในขั้นวิปัสสนาภาวนาถ้าไม่ยกสังขารนิมิต อันตัณหาปวัตติ (ปรุงแต่งให้เป็นไป) ให้เห็นแจ้งสภาพความปรุงแต่ง และลักษณะอันเป็นเองตามธรรมชาติของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวง ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตาอย่างไรแล้ว ภาวนามยปัญญา(ปัญญาแจ้งชัดจากการเจริญภาวนาจริงๆ ) จะเกิดได้อย่างไร ? ก็จะได้แต่เพียงสุตามยปัญญา และ จินตมยปัญญา จากสัญญา คือความจำได้หมายรู้จากตำรา หรือจากที่ฟังเขาว่ามาเท่านั้นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 ตุลาคม 2014
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...