ตามรอยพระพุทธบาท ท่าเท้าพระพุทธองค์

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 สิงหาคม 2012.

  1. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ของคุณ เขากระโดง ควรฝึก กำหนดความรู้สึกตัว แล้ว ถอนหรือคลายออกทันที แล้วกำหนดซ้ำเข้าไปใหม่ ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่า การกำหนดจิตทั้งหมดถูกรู้ ด้วยอากับกิริยาอาการของมัน ตรงนี้เรียกว่า "กิริยาจิต" ตรงนี้พ้นชั้น "รูป" ไปแล้ว เป็นรอยต่อของ "นาม" ที่จะเข้าสู่ "อัตตาจิต" ซึ่งเป็น "ผู้กระทำให้เกิด กิริยาจิต" ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ "การกำหนดจิต หรือ การฝึกทางจิตทั้งหมด ถูกรู้ แล้วก็จะวางลงไปเอง" การกำหนดจิตทั้งมวล คือ การกำหนดกรรม เรียกได้ว่า "กรรมทั้งหมดถูกรู้ รวมทั้งผลของกรรมทั้งหมด ถูกวาง ไปในตัวด้วย" ตรงนี้จะคล้ายกับอาการของ "อเสขบุคคล" (ผู้ที่จบกิจแล้ว) แต่สิ่งที่เหลืออยู่ทั้งของคุณ เขากระโดง และคุณ จิตวิญญาน คือ อัตตาจิต ที่ยังไม่รู้แจ้ง เท่านั้น หากรู้แจ้งตรงนี้ได้ก็จะจัดการกับ เหตุแห่งการเกิดของจิต ที่เรียกกันว่า สิ้นอัตตา ได้เอง นะครับ
     
  2. buddy0

    buddy0 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +142
    สวัสดีค่ะคุณครูธรรมชาติและเพื่อนนักปฏิบัติทุกๆท่าน. ขอรายงานการปฏิบัติค่ะ หลังจากตามอ่านมาสักพักขณะนี้พอจะทำความรู้สึกทั้งตัวได้บ้างค่ะ แต่จะได้เฉพาะตอนที่อยู่นิ่งๆ ไม่ได้เคลือนไหว พอรู้ทั้งตัวตัวพูดมากก็จะหยุดพูดทั้งที่ปกติพูดไม่หยุดเลย เรื่องปรับเปอเซ็นนี่ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ ว่าทำให้เกิดความรู้สึกทั้งตัวบ่อยๆให้ได้ซะก่อนค่ะ อย่างอื่นก็ทำเหมือนๆเดิมคือพยายามตามรู้กาย เวทนาและความคิด พักนี้จะนั่งสมาธิบ่อยขึ้น ประมาณสองสามวันครั้ง เมื่อวานนี้ตอนนั่งสมาธิ จิตสงบดีได้ลองขยับกายเวทนาดู รู้สึกได้ชัดในตอนที่ขยับว่ามันมีกายซ้อนกันอยู่ กำหนดที่คาง รู้สึกกายเวทนาก้มหน้าลงแต่หน้าเราอยู่ที่เดิม กำหนดที่หูแต่ละข้างรู้สึกว่ามันหันไปข้างที่เรากำหนด แต่ถ้าเราคิดให้มันหันเฉยๆมันไม่หัน แต่ถ้ามีจุดกำหนดเช่น คาง หู รู้สึกได้ว่ากายเวทนาหันแต่กายเนื้ออยู่ที่เดิม. ว่าจะทดลองให้มันลองบิดหัวไปข้างหลังเลยมันก็ทำท่าจะบิดไปแต่รู้สึกไม่ได้ไปเยอะจนสุดอาจจะเป็นเพราะตอนนั้นนึกไม่ออกว่าจะกำหนดตรงไหนค่ะ. แล้วจะลองไปทดลองดูใหม่แล้วมารายงานอีกทีค่ะ รู้สึกดีใจมากเพราะเป็นครั้งแรกที่ตื่นอยู่แต่สามารถขยับมันได้ 555 หลังนั่งสมาธิรู้สึกว่าเท้า. หน้า ปากจะซู่ๆพักใหญ่ๆค่ะ เหมือนคนเป็นเหน็บแต่ไม่ได้เจ็บแบบเป็นเหน็บน่ะค่ะ แค่ซู่ๆเฉยๆ
     
  3. torelax9

    torelax9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +527
    สวัสดีครับ คุณ buddy0 ฟังดูก้าวหน้าเร็วดีจัง ผมยังเดินต๊อกต๋อย อนุโมทนาบุญกุศลกับคุณ ด้วยครับ
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    สวัสดีค่ะคุณครูธรรมชาติและเพื่อนนักปฏิบัติทุกๆท่าน. ขอรายงานการปฏิบัติค่ะ หลังจากตามอ่านมาสักพักขณะนี้พอจะทำความรู้สึกทั้งตัวได้บ้างค่ะ แต่จะได้เฉพาะตอนที่อยู่นิ่งๆ ไม่ได้เคลือนไหว

    +++ ลองทำให้ได้ทั้งตัว ในอิริยาบท นั่ง ยืนเฉย ๆ และ นอนเฉย ๆ ดูนะครับ ในอิริยาบท นอน จะถอดกายเวทนาได้ง่ายที่สุด

    พอรู้ทั้งตัวตัวพูดมากก็จะหยุดพูดทั้งที่ปกติพูดไม่หยุดเลย

    +++ ถูกแล้วครับ "มหาสติ" (พูดสั้น ๆ คือ กายเวทนา คำเต็มคือ เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน และฐานอื่น ๆ) เป็นปฏิปักษ์กับ ความฟุ้งซ่าน

    เรื่องปรับเปอเซ็นนี่ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ ว่าทำให้เกิดความรู้สึกทั้งตัวบ่อยๆให้ได้ซะก่อนค่ะ

    +++ การปรับเปอเซ็นต์ คือ การปรับความเข้มข้นของ กายเวทนา เป็นการฝึก "วสี 5" เพื่อเพิ่มความเร็วในอัตราการฝึก รวมทั้งการ "กำหนดฐาน" "ย้ายฐาน" "ปรับความละเอียดของฐาน" "อยู่กับฐาน" ต่าง ๆ หากผู้ใดฝึกตรงนี้ไม่ได้ ก็ไม่สามารถที่จะ "อยู่กับรู้" ด้วยการกำหนดเฉพาะได้ (ละสังขารแบบฉุกเฉิน)

    อย่างอื่นก็ทำเหมือนๆเดิมคือพยายามตามรู้กาย เวทนาและความคิด

    +++ ตรงนี้ "ให้รู้กายเฉย ๆ แบบรู้คลุม ๆ ไว้ทั้งตัว" (ฐานกายา) แล้ว "อยู่" กับฐาน ก็จะเห็นอาการ "จิตส่งออก (ภาษาของ หลวงปู่ดูลย์) หรือ จิตจดจ่อ (จ่อ เป็นภาษาของ หลวงตามหาบัว)" ที่จะคอย teleport (ภาษาของผม) ไป "เป็น" เวทนา หรือ ความคิด (ยึด เวทนาหรือความคิด นั้น ๆ เป็นกาย หรือ เป็นตน นั่นเอง) เวทนาในที่นี้ ไม่นับว่าเป็น "กายเวทนา" ที่เป็นเครื่องอยู่ของการฝึกในขณะนี้

    พักนี้จะนั่งสมาธิบ่อยขึ้น ประมาณสองสามวันครั้ง เมื่อวานนี้ตอนนั่งสมาธิ จิตสงบดีได้ลองขยับกายเวทนาดู รู้สึกได้ชัดในตอนที่ขยับว่ามันมีกายซ้อนกันอยู่

    +++ ยามใดที่ "ทำ" กายเวทนาได้แล้ว และ "อยู่" กับมัน "กายในกาย" จะเกิดขึ้นทันที การขยับหรือโยก กายเวทนาเล่น จะสร้างความคุ้นเคยในการ ถอดกายเวทนา ออกมาได้ เมื่อถอดได้แล้วจึงฝึก ลอยตัวไปมา ชำแรกกำแพง แบ่งตัว teleport (ล่องหน) ต่าง ๆ (เอาภาคอภิญญา มาเป็นอุปกรณ์ในการฝึก กรรม-ฐาน) จนกระทั่ง "ทำกายเวทนาให้ละเอียด จนแปรสภาพเป็น กายธรรมารมณ์" จนสามารถแสดงตนในพรหมโลกได้ (เฉพาะผู้ที่เคยฝึกผ่าน "จิตเปล่งรังสี" จึงจะรู้ได้ว่า เป็นการเดินจิตในชั้น อรูปฌาน จาก เอกัคตา สู่ เอกัคตา อันเป็นเรื่องการเดินจิตในระดับของ ขันธ์เดี่ยว เช่น เฉย ว่าง รู้ โล่ง ต่าง ๆ)

    กำหนดที่คาง รู้สึกกายเวทนาก้มหน้าลงแต่หน้าเราอยู่ที่เดิม กำหนดที่หูแต่ละข้างรู้สึกว่ามันหันไปข้างที่เรากำหนด

    +++ จริง ๆ แล้ว ตรงนี้อยู่ในหลักสูตรของ "การฝึกจิตเคลื่อนร่าง" เพื่อเรียนรู้ "การทำงานของจิต" ในระดับ "วาระจิต" ที่ใช้การกำหนดในแต่ละวาระ และตรวจสอบอิทธิพลในเรื่องของ "การยึด" "จิตจดจ่อ" "จิตส่งออก" "จิตเพ่งเล็ง" ที่มีอิทธิพลจริงต่อกาย รวมถึง "การทำงานของ กฏแห่งกรรม" ในระดับ มโนกรรม วจีกรรม และ กายกรรม ทั้งสิ้น ในชั้นละเอียด จะเป็นการตรวจสอบ ธรรมารมณ์ ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้รู้แจ้งในเรื่องของ "ภูมิกำหนดภพ ภพกำหนดชาติ (species) และ ชาติกำหนด จุติจิต" ต่าง ๆ เป็นต้น อันเป็นภาคของ วิชชา 3

    แต่ถ้าเราคิดให้มันหันเฉยๆมันไม่หัน

    +++ ตรงนี้คือข้อพิสูจน์ว่า "ความคิดแตกต่างจากความจริง" และ "กรรม-ฐาน ไม่ใช่เรื่องของความคิด" รวมทั้ง "อภิญญา ความคิดเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยไม่ได้" และคำจำกัดความของผมคือ "อภิญญา คือ ปัญญาในการใช้ขันธ์" และ "ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพ้อเจ้อใด ๆ ทั้งสิ้น"

    +++ การโยกกายเวทนา การฝึกจิตเคลื่อนร่าง ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ "การฝึกใช้ขันธ์ ด้วยมหาสติปัฏฐาน" ทั้งสิ้น

    แต่ถ้ามีจุดกำหนดเช่น คาง หู รู้สึกได้ว่ากายเวทนาหันแต่กายเนื้ออยู่ที่เดิม. ว่าจะทดลองให้มันลองบิดหัวไปข้างหลังเลยมันก็ทำท่าจะบิดไปแต่รู้สึกไม่ได้ไปเยอะจนสุดอาจจะเป็นเพราะตอนนั้นนึกไม่ออกว่าจะกำหนดตรงไหนค่ะ. แล้วจะลองไปทดลองดูใหม่แล้วมารายงานอีกทีค่ะ

    +++ การฝึกเคลื่อนร่างด้วยกายเวทนานั้น ห้ามใช้กำลังจากร่างกายแบบปกติ ยามใดที่แรงดึงปรากฏ ให้ปล่อยแรงดึงนั้นให้ทำงานอย่างอิสระ สามารถกระตุ้นแรงดึงนั้นได้โดย มองแรง ๆ หรือ ดูแบบกระแทก ให้มันวูปออกไปยังจุดที่กำหนดนั้น ๆ แล้วจะเกิดแนวแรงกระชากเป็นการกระตุ้นกายเวทนาให้ทำงานรุนแรงกว่าเดิม ผลลัพธ์ คือ กายเวทนาสามารถเคลื่อนกายเนื้อได้

    รู้สึกดีใจมากเพราะเป็นครั้งแรกที่ตื่นอยู่แต่สามารถขยับมันได้ 555 หลังนั่งสมาธิรู้สึกว่าเท้า. หน้า ปากจะซู่ๆพักใหญ่ๆค่ะ เหมือนคนเป็นเหน็บแต่ไม่ได้เจ็บแบบเป็นเหน็บน่ะค่ะ แค่ซู่ๆเฉยๆ

    +++ จริง ๆ แล้ว จะใช้คำว่า คล้ายเหน็บ ๆ ชา ๆ คล้ายสนามพลังแม่เหล็ก คล้ายหนึบ ๆ หยุ่น ๆ เป็นอาการ ซ่าน ๆ ยิบ ๆ ต่าง ๆ ก็ได้ทั้งหมด แต่วิธีที่จะใช้คำพูดให้ตรงกับอาการจริง ๆ คือ กำหนดจิตให้เข้าสู่อาการ แล้วถอนออกมา แล้วปล่อยให้ "ตัวพูดมาก" มันกำหนดคำศัพท์ออกมาเอง แล้วกำหนด ซ้ำไปมา ก็จะทำให้ "ตัวพูดมาก" เริ่มบัญญัติคำศัพท์ให้ตรงกับอาการได้เอง และตรงนี้คือ "การฝึกในภาค ปฏิสัมภิทาญาณ" อันประกอบไปด้วย

    1. อัตถปฏิสัมภิทา ใช้ภาษา ในการอธิบายธรรมที่สั้น ๆ ให้ออกมาแบบละเอียดทุกซอกทุกมุมได้ ตัวอย่างเช่น ท่านพุทธทาส
    2. ธัมมปฏิสัมภิทา ใช้ภาษา อธิบายธรรมที่มีรายละเอียดยาวเหยียด ให้ออกมาเป็นคำสั้น ๆ ง่าย ๆ ตรงกับอาการทางธรรมได้ ตัวอย่างเช่น หลวงปู่ดูลย์
    3. นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ความสามารถในการใช้ภาษา อดีต-ปัจจุบัน มาทำให้ ผู้ฟังเดินจิตตามได้ เช่น นำภาษาในพระไตรปิฏก มาเพื่อการฝึกฝนได้
    4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ไหวพริบในการใช้ สภาพแวดล้อมในปัจจุบันขณะ มาเป็นเครื่องมือในการแสดงธรรมได้ทันที

    ความเข้าใจแบบผิด ๆ จะมีอยู่มากในข้อ 3-4 คือ เข้าใจว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ต้องรู้ทุกภาษา หรือ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ต้องเถียงเก่ง ตรงนี้เป็น มิจฉาทิฐิ ต้องระวังให้ดี

    +++ ให้สังเกตุให้ดีว่า ปฏิสัมภิทาญาณ ทั้งหมดเป็นเรื่องของ ภาษา ซึ่ง "ตัวพูดมาก" เท่านั้น ที่เป็นผู้จัดการใหญ่ในเรื่องนี้ ดังนั้น หากผู้ใดประสงค์ที่จะได้ ปฏิสัมภิทาญาณ นี้ ก็ให้ฝึกตรง ๆ ไปที่ตัวพูดมากนี้ได้ แต่ต้องระวังควบคุมมันให้ดี ให้เป็น "เราใช้ขันธ์" แต่อย่าให้ "ขันธ์ใช้เรา" นะครับ
     
  5. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    ช่วงนี้เป็นอะไรที่จิตใจภายในมันสงบนิ่งมากน่ะค่ะ สงบนิ่งจนรู้สึกไม่มีอะไรจะพูดจะคุยเลย

    +++ ตัวพูดมากมันหยุดไปเอง ใช่หรือเปล่า (วจีจิตตะสังขาร หรือ ตัว วิจารณ์อุตลุด)

    # ใช่ค่ะ


    ในความสงบนิ่งนี่มันก็ยังรู้สึกรู้ร้อนรู้หนาวนะคะ แล้วเวลามีอะไรจากภายนอกเข้ามากระทบทางหูตาจมูกอะไรนี่เราก็รับรู้ ตาเห็น จมูกได้กลิ่น หูได้ยิน รับรู้ถึงอารมณ์ แต่ว่าจิตใจข้างในมันสงบนิ่ง

    +++ จากนั้น "รู้ทุกอย่างตามปกติ โดยที่ไม่มีอาการ จิตส่งออกไปภายนอก และ ไม่มีการดูกลับเข้ามาภายใน" ใช่หรือไม่

    # ไช่ค่ะ


    เป็นอะไรที่อัศจรรย์มากค่ะ จิตมันไม่ยึดไม่ติดไม่ยินดียินร้ายไม่กระวนกระวายอะไรเลย ส่วนความรู้สึกสุขสนุกสนานร่าเริงที่เคยมีเคยเป็นนี่ไม่รู้มันหายไปไหนหมด

    +++ ตรงนี้เป็นอาการที่ "สติเข้าไปครองฐานจิต" หรือกล่าวได้ว่า "สติเข้าไปแทนที่ สังขารจิต" เปรียบเหมือนกับ "ข้างใน ของตัวอาคารรัฐสภา" กับ "สส ที่อยู่ข้างใน ตัวอาคารรัฐสภา ทั้งหมด"

    +++ ตั้งแต่เกิดมา จิตทุกดวงเปรียบเหมือน "สส ที่อัดกันแน่นอยู่ข้างในสภา ที่ประชุมกันแบบไม่มีวันเลิก เต็มไปด้วยความวุ่นวาย ไม่มีใครฟังใคร เพราะต่างคนต่างปรุงกันจน รกไปหมดทั้งหัว แบบหัวใครหัวมัน เลยทำให้หมดความสามารถในการได้ยินเสียงผู้อื่นไป ถึงได้ยินก็ไม่รู้เรื่อง เพราะความปรุงในหัวใครหัวมันนั้น บังอยู่ และไม่มีทางยุติความวุ่นวายได้"

    +++ สภาวะของคุณในขณะนี้เปรียบเหมือนกับการ "ปิดสภา และไม่มี สส เหลืออยู่เลย เหลืออยู่แต่ ตัวอาคารสภา เท่านั้น" ตัวอาคารสภาจึง "สงบไร้ความวุ่นวายใด ๆ ทั้งสิ้น"

    +++ หมายเหตุ ตัวอย่างการเปรียบเทียบ สส กับ ตัวสภา นี้ เพื่อชี้ให้เห็นถึง "รูปธรรมที่เด่นชัด เพื่อความเข้าใจได้ง่าย เฉย ๆ" ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับ ระบบการเมืองแต่อย่างไรทั้งสิ้น

    # เมื่อคืนสังเกตุ สส.เริ่มเข้าสภาแล้วค่ะ ก็มีทั้งภาพทั้งเสียงอธิบายเรื่อยเปื่อย แต่ก็มาสังเกตเห็นตัวเองอีกว่า เราจะปล่อยให้ตัวพูดมากมันพูดโดยไม่ต้องไปใส่ใจ หรือจะให้ตัวพูดมากมันหยุดพูดทันทีโดยเราอยู่กับอาการนิ่งสงบก็ได้ วันนี้เลยลองทำสลับกัน ตรงนี้สามารถทำได้คล่องเลยค่ะ ( งง กับตัวเองเหมือนกัน )

    ก่อนที่จะเป็นแบบนี้คือช่วงที่ไม่ได้เข้ามาน่ะค่ะ ช่วงนั้นเป็นอะไรที่รู้สึกเบื่อหน่ายเกิดขึ้นอีก ไม่รู้เบื่ออะไรนักหนา พอเบื่อหนักๆเข้ามันย้อนกลับมารู้สึกเบื่อหน่ายขยะแขยงตัวเองเลยทีนี้ เบื่อหน่ายตัวเองเพราะรู้ว่าร่างกายตัวเองนี่มันเต็มไปด้วยสิ่งสกปรกโสโครกเน่าเหม็นคาว รู้สึกขยะแขยง สลดใจ รังเกียจตัวเองชนิดที่ว่าไปไหนไม่อยากเอาตัวเองไปด้วยเลยค่ะ เวลามองคนสวย คนขี้เหร่ คนร่างกายครบ32 คนพิการ ดูแล้วมันไม่มีอะไรน่าดูเลย รู้สึกขยะแขยงความสกปรกเน่าเหม็นภายในร่างกายเขา ขยะแขยงกามคุณ+ตัณหา+ราคะที่แฝงอยู่ภายในจิตในใจเขา และจะรู้สึกอย่างนี้กับทุกคนที่เราดูเราเห็นและกับคนที่เราพูดคุยด้วยเป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด ยิ่งกับตัวเองนี่เบื่อหน่ายขยะแขยงหนักสุด อาการพวกนี้มันเกิดขึ้นของมันเองนะคะ จะว่าทุกข์ก็เหมือนไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์ก็เหมือนทุกข์ มันรู้สึกเบื่อไปหมด ก็อยู่กับอาการเบื่อหนักๆแบบนี้ตลอดเวลาเป็นเดือนๆเลยนะคะ

    +++ เป็นนิสัยที่เคยได้ "อสุภะกรรมฐาน" มาก่อน แล้วตามมาปรากฏในชาตินี้

    นี่ก็เพิ่งจะจางคลายลงและรู้สึกจิตใจสงบนิ่งได้ก็ตอนที่รู้ว่าเบื่อเมื่อไม่นานนี่เองค่ะ พอเรารู้ว่าเบื่อ ความเบื่อหน่ายจางคลายลงแล้วจิตใจภายในมันสงบนิ่งเลย

    +++ ตรงนี้เป็นการ "วางความเบื่อ" ที่เป็นชั้นของ ธรรมารมณ์ ลง จึงเกิดอาการ "ต่อไม่ติด" ขึ้นมา

    # ความรู้สึกเบื่อหน่ายจะเกิดตรงที่ลิ้นปี่ค่ะ และความรุ้สึกที่สงบนิ่งนี่ก็อยู่ที่ลิ้นปี่ค่ะ เวลามีอะไรจากข้างนอกเข้ามากระทบ หรือแม้กระทั่งเวลากำลังสนทนากับใคร อารมณ์ทุกอย่างจะไม่เข้ามาเชื่อมต่อกับความรู้สึกที่สงบนิ่งอยู่ตรงลิ้นปี่น่ะค่ะ จึงทำให้ไม่เกิดความรู้สึกว่า พอใจ ไม่พอใจ ดีใจ เศร้าใจ เสียใจ หรือ ทุกข์ใจ แม้แต่ความคิดปรุงแต่งของตัวพูดมากเหมือนกัน มันคิดมันปรุงมันแต่งให้ แต่มันก็ไม่เชื่อมเข้าหาความรู้สึก ก็เลยทำให้ได้พิจารณาเห็นอีกว่า ถ้ามันเชื่อมหากันได้ ความอยาก ความชอบหรือไม่ชอบ ความพอใจไม่พอใจ ก็จะเกิดขึ้นทันที ( ตรงนี้ไม่รู้ว่าตัวเองเข้าใจถูกต้องไหม)

    ตอนนี้เลยกลายเป็นว่าเวลามองอะไรหรือคุยอะไรกับใครแล้วจะเป็นอะไรที่รู้ แต่จิตใจภายในมันสงบนิ่งไม่กระเพื่อม เห็นอะไรก็สักแต่รู้ ไม่วิตกไม่วิจารย์ไม่ปรุงแต่งอะไรเลย

    +++ นี่คืออาการของ "สติเข้าไปแทนที่ สังขารจิต" จึงเกิดอาการ "จิตไม่ส่งออก" (ภาษาของ หลวงปู่ดูลย์) "จิตไม่จ่อ" (ภาษาของ หลวงตามหาบัว) ให้อ่านโพสท์นี้ประกอบไปด้วย

    อภิญญา - สมาธิ - PaLungJit.org

    # เข้าไปอ่านดูแล้วนะคะ ไม่มีความสงสัยใดๆเพราะบางอาการจะตรงกับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ส่วนความรู้สึกที่สงบนิ่งอยู่ภายในมันจะแช่อยู่ตรงลิ้นปี่ตลอดเวลาเลยค่ะ จำได้ว่าตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งที่เกิดความรู้สึกวูปขึ้นแล้วรู้น่ะค่ะ

    บางครั้งจะรู้จะเห็นโดยบังเอิญเช่นว่า เวลาเราทำอะไรเหมือนจะมีอารมณ์เพลิดเพลินแต่ทำไมความรู้สึกข้างในมันไม่เชื่อมเข้าหากับอารมณ์เพลิดเพลินนั้น คือมันแยกอยู่ส่วนใครส่วนมันเลย

    +++ ยามที่ "สติมีความสามารถ เข้าไปแทนที่ สังขารจิตได้" อาการที่เกิดคือ 1. จิตไม่ปรุง (รูปละเอียด-รูปราคะ) 2. ธรรมารมณ์ ต่อไม่ติด (นามละเอียด-อรูปราคะ)
    +++ สภาวะนี้บ่งถึงสภาวะที่ "จิตไม่เนื่องด้วย กามาวจร" แต่เป็น "รูปาวจร เต็มตัว" โดยมี "สติ เป็นกาย" ไม่ใช้ "ธรรมารมณ์ เป็นกาย แบบโลกียะพรหมโดยทั่วไป"

    # มีช่วงหนึ่งไปเดินจ่ายตลาดก็เป็นค่ะ ตอนดูตัวเองกำลังหยิบโน่นหยิบนี่อยู่ ความรู้สึกจะสงบนิ่งมาก อารมณ์มันไม่เข้ามาต่อเชื่อมกับความรู้สึกเลยค่ะ เหมือนกายกับอารมณ์แยกออกไปอยู่ต่างหากเลย เห็นได้ชัดเจนมากว่ากายที่กำลังหยิบโน้นหยิบนี่อยู่น่ะไม่ใช่เรา

    # ถ้าจะให้เปรียบเทียบอาการจิตว่างกับจิตสงบนิ่ง สองสิ่งนี้อาการจะต่างกันมากนะคะ ตอนที่จิตว่าง เหมือนเราจะหาจิตไม่เจอ มันว่างไปหมด แต่อาการจิตสงบนิ่ง มันจะเป็นความรู้สึกเดียวคือสงบนิ่งเดี่ยวๆอยู่ตรงบริเวณลิ้นปี่น่ะค่ะ
     
  6. buddy0

    buddy0 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +142
    สวัสดีเช่นกันค่ะคุณtorelax9 ยังติดๆดับๆอยู่เหมือนกันค่ะ ได้มั่งไม่ได้มั่ง แต่ไม่เป็นไรไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อนค่ะ เดี๋ยวฐานจะไม่แน่น อิอิ. ยังไงฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ เดี๋ยวไปฝึกแล้วคงมาถามคุณครูเรื่อยๆ ชอบค่ะครูละเอียด
     
  7. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    ขอเล่าสู่กันฟังนะคะ

    ช่วงที่เกิดความเบื่อหน่าย ช่วงนั้นเป็นอะไรที่คิดฟุ้งซ่านมากเลยค่ะ คิดเรื่อยเปื่อยแต่คิดในทางกุศล ส่วนตัวพูดมากมันก็วิจารย์ไม่หยุด วิจารย์แต่ความสกปรก กามคุณ ตัณหา ราคา พูดคุยกับใครก็รู้สึกเบื่อ ได้ยินใครว่าอะไรใครก็เบื่อ ใครเอาเรื่องอะไรมาเล่าให้ฟังก็เบื่อ ทุกข์ก็เบื่อ สุขก็เบื่อ บางทีมีคนพูดให้ขำ ก็ขำนะ แต่พอขำเสร็จก็เบื่อเลย เห็นใครตลกเฮฮาหัวเราะก็เบื่อ แต่ ณ ขณะนี้ที่ความรู้สึกภายในมันนิ่งสงบ ภายในมันไม่คิดไม่พูดเหมือนอยู่กับรู้เฉยๆ ใครพูดคุยอะไรก็ฟังได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศร้าเรื่องทุกข์สุขฟังได้หมด เห็นใครทะเลาะเบาะแว้งกันก็สงบนิ่งดี ไม่วิตก ไม่วิจารย์ ไม่เอากลับมาคิดมาปรุงแต่งต่อ ไม่คิดยกยอใครดีตำหนิใครชั่ว และจากที่เคยตั้งใจทำมาตลอดคือ วันพระรักษาศิล8 ทานเจทุกวันเกิดและวันพระ บางครั้งก็รักษาศิลแปด 3 วัน 5 วัน 7 วัน ความยึดติดตรงนี้เดี๋ยวนี้มันปล่อยวางไปเลยโดยอัตโมมัติน่ะค่ะ คือมันไม่ตั้งใจทำแล้วเพราะศิลมันมีอยู่แล้ว มันทำของมันโดยอัตโนมัติไปเลย แต่บางวันร่างกายอ่อนเพลียจำเป็นต้องทานเราก็ต้องทาน เพราะยิ่งเป็นคนตัวเล็กยิ่งทำให้ผอมลงไปอีก เมื่อก่อนเคยคิดอยากทานนั่นอยากทานนี่ ต้องซื้อ ต้องทำ แต่เดี๋ยวนี้มีอะไรก็ทานได้ บางวันก็ไม่ทานเลย

    ส่วนเรื่องปฏิบัติ มีอยู่วันหนึ่งเพื่อน(อยู่กรุงเทพ ไม่เคยเจอกันเกือบจะสิบปีแล้ว)ทำบุญแล้วอนุโมทบุญถึงเรา(ตัวเอง) เรารู้เลยค่ะว่าจากเพื่อนคนนี้แต่ไม่โทรถาม จนกระทั่งเพื่อนโทรมาบอกเองว่าไปทำบุญแล้วส่งบุญไปให้ได้รับไหม

    เดือนก่อนเพื่อนส่งข้อความมาบอกว่ากลุ้มใจมาก ย้ายไปทำงานที่ใหม่ เจ้านายอารมณ์ไม่ดีใส่ตลอดเวลาเลย กลัวโดนไล่ออกจากงาน เราก็แนะนำเขาไปว่าทำอย่างนี้อย่างนี้นะ ตอนนี้ส่งข้อความมาเล่าให้ฟังว่า เจ้านายใจดีขึ้นเยอะมาก ไม่ดุไม่ตำหนิเรื่องงาน คุยดีด้วย ใจเย็นเหมือนเป็นคนละคนเลย

    สมาชิกภายในบ้าน ถ้าเราเห็นใครใจร้อนกระวนกระวายใจ เรากำหนดจิตส่งไปที่เขาเลย สังเกตอาการที่เขาเป็นอยู่จะสงบนิ่งลงทันที ตรงนี้เคยลองทำกับสัตว์เลี้ยงที่บ้านด้วย ก็ได้ผลเหมือนกันค่ะ ช่วงกลางคืนตอนเราขึ้นบ้านนอนน่ะค่ะ บ่อยมากที่น้องหมาพอเขาไม่เห็นเรา เขาจะวิ่งไปวิ่งมาอยู่ชั้นล่างแล้วก็เห่าร้อง เราฟังได้สักพักเราก็กำหนดจิตไปที่น้องหมาเลย แค่อึดใจ เสียงเงียบทั้งคืนเลยค่ะ แต่เคยสังเกตว่า ถ้าเราไม่กำหนดจิตไปที่เขา เขาก็จะวิ่งและก็เห่าร้องอยู่อย่างนั้นไม่หยุด เราต้องลงมาเองเขาถึงจะเงียบ สัตว์เลี้ยงที่บ้านมีสุนัขกับแมว เราเคยบอกเขาว่าห้ามทะเลาะกันนะ เขาไม่เคยทะเลาะกันเลยค่ะ เป็นเพื่อนเล่นกันดีมาก อาหารก็ทานด้วยกัน เวลาเราทานข้าวเขาจะไม่มายุ่งวุ่นวายด้วยเลยค่ะ คนที่เคยนำแต่เรื่องความวุ่นวายมาให้เราแก้ปัญหาให้ถึงที่บ้าน เราอธิฐานจิตไป เขาก็ไม่มายุ่งวุ่นวายกับเราอีกเลย ชนิดที่ว่าหายไปจากชีวิตเราเลยก็มีค่ะ

    ส่วนบทฝึกที่คุณธรรม-ชาติ ให้มา คงค่อยๆฝึกค่อยๆทำไป กราบขอบพระคุณมากค่ะ ส่วนอาการของตัวเองตอนนี้ ก็ยังอยู่กับความรู้สึกสงบนิ่งเหมือนเดิมตลอดเวลาเลยค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2013
  8. torelax9

    torelax9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +527
    อนุโมทนาบุญกูศล กับ ธรรมทาน ที่เป็นพยานธรรม กับ พี่ จิตวิญญาณ ด้วยครับ
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    "อยู่กับรู้" หรือ "อยู่กับตน"

    ของคุณ จิตวิญญาณ

    ตัวพูดมากหยุดไปเอง จิตหยุดส่ง (ไม่จดจ่อ) ทั้งนอก และ ใน

    +++ ทางโลกียะ จิตทำงานได้แค่ทีละอย่าง การที่ตัวพูดมากหยุดไป เพราะมันไปทำงานอย่างอื่น
    +++ ทางโลกุตระ การทำงานของจิตหยุดไป เพราะ สติเข้าไปแทนที่ จิตตะสังขารขันธ์ เต็มฐาน

    เมื่อคืนสังเกตุ สส.เริ่มเข้าสภาแล้วค่ะ ก็มีทั้งภาพทั้งเสียงอธิบายเรื่อยเปื่อย แต่ก็มาสังเกตเห็นตัวเองอีกว่า เราจะปล่อยให้ตัวพูดมากมันพูดโดยไม่ต้องไปใส่ใจ หรือจะให้ตัวพูดมากมันหยุดพูดทันทีโดยเราอยู่กับอาการนิ่งสงบก็ได้ วันนี้เลยลองทำสลับกัน ตรงนี้สามารถทำได้คล่องเลยค่ะ ( งง กับตัวเองเหมือนกัน )

    +++ เมื่อ มหาสติปัฏฐาน เดินทางมาได้ถึงระดับหนึ่งแล้ว ย่อมสามารถ หยุดจิต หรือ ดับจิต ได้ดังปรารถนา

    +++ ให้นั่งสมาธิ แล้ว ดับจิต แช่อยู่อย่างนั้น จะรู้ได้ว่า ณ ขณะนั้น ๆ พ้นจาก สัญญา (มั่นหมาย จดจ่อ หยุดจิต) และเวทนา ทั้งปวง ที่ในพระไตรปิฏกเรียกว่า สัญญาเวทยิทธินิโรธ (ไร้สัญญาและเวทนา) ส่วนภาษาชาวบ้านเรียกว่า นิโรธสมาบัติ นั่นเอง บางคนเรียกมันว่า ฌาน ตัวที่ 9 ซึ่งมีเฉพาะใน ศาสนาพุทธ เท่านั้น แต่ยังมีสภาพเป็น ฌาน อยู่

    +++ หากต้องการที่จะ ออก หรือ หลุดพ้น จากฌานทั้งมวล ต้องฝึกสลับไปมาระหว่าง "อยู่กับรู้" และ "อยู่กับตน" เท่านั้น จึงจะวางตนได้ หากตนยังมีอยู่ ไม่ว่าจะนิ่งและละเอียดปานใด เมื่อถึงเวลา ก็จะเกิดการรวมตัวเข้าสู่ภพภูมิอีกเมื่อนั้น

    +++ "ตัวดูจางคลาย กลายเป็นธรรมารมณ์" คือกุญแจสำคัญในการฝึกขั้นตอนนี้ ยามใดที่กระบวนการ "ตัวดูจางคลาย กลายเป็นธรรมารมณ์" ถูกรู้ ตอนนั้นคือ "อยู่กับรู้" และยามใดที่ "ตัวดูจางคลาย กลายเป็นกายเวทนา" ตอนนั้นคือ "อยู่กับตน" โดยมีตนเป็น "กาย" เวทนา

    ความรู้สึกเบื่อหน่ายจะเกิดตรงที่ลิ้นปี่ค่ะ และความรุ้สึกที่สงบนิ่งนี่ก็อยู่ที่ลิ้นปี่ค่ะ เวลามีอะไรจากข้างนอกเข้ามากระทบ หรือแม้กระทั่งเวลากำลังสนทนากับใคร อารมณ์ทุกอย่างจะไม่เข้ามาเชื่อมต่อกับความรู้สึกที่สงบนิ่งอยู่ตรงลิ้นปี่น่ะค่ะ จึงทำให้ไม่เกิดความรู้สึกว่า พอใจ ไม่พอใจ ดีใจ เศร้าใจ เสียใจ หรือ ทุกข์ใจ แม้แต่ความคิดปรุงแต่งของตัวพูดมากเหมือนกัน มันคิดมันปรุงมันแต่งให้ แต่มันก็ไม่เชื่อมเข้าหาความรู้สึก ก็เลยทำให้ได้พิจารณาเห็นอีกว่า ถ้ามันเชื่อมหากันได้ ความอยาก ความชอบหรือไม่ชอบ ความพอใจไม่พอใจ ก็จะเกิดขึ้นทันที ( ตรงนี้ไม่รู้ว่าตัวเองเข้าใจถูกต้องไหม)

    +++ ตรงนี้ถูกต้องแล้ว เคยมีสมาชิกในเวปพลังจิตนี้ ฝึกกับผมแล้วเจออาการนี้มาก่อน ผมยังเคยแซวแกเล่น ๆ ว่า "จะตัดกิเลส ต้องตัดตรงไหนก่อน" คำตอบคือ "ตัดลิ้นปี่ก่อน" อาจจะฟังดูแล้วตลก แต่ความเป็นจริงแล้วมันเป็นเช่นนั้นเอง

    เข้าไปอ่านดูแล้วนะคะ ไม่มีความสงสัยใดๆเพราะบางอาการจะตรงกับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ส่วนความรู้สึกที่สงบนิ่งอยู่ภายในมันจะแช่อยู่ตรงลิ้นปี่ตลอดเวลาเลยค่ะ จำได้ว่าตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งที่เกิดความรู้สึกวูปขึ้นแล้วรู้น่ะค่ะ

    +++ อาการของสิ่งที่เรียกว่า "จิตผุดขึ้น" มันมาจากตรงนี้ทั้งหมด และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งสิ้น อีกตัวอย่างจากคุณ solardust ก็เหมือนกัน ดูได้ที่นี่

    http://palungjit.org/8302182-post43.html

    มีช่วงหนึ่งไปเดินจ่ายตลาดก็เป็นค่ะ ตอนดูตัวเองกำลังหยิบโน่นหยิบนี่อยู่ ความรู้สึกจะสงบนิ่งมาก อารมณ์มันไม่เข้ามาต่อเชื่อมกับความรู้สึกเลยค่ะ เหมือนกายกับอารมณ์แยกออกไปอยู่ต่างหากเลย เห็นได้ชัดเจนมากว่ากายที่กำลังหยิบโน้นหยิบนี่อยู่น่ะไม่ใช่เรา

    +++ ตรงนี้เป็นอาการของ 3 ฐาน ถูกรู้ คือ กาย + เวทนา + จิต แต่มี สติ เข้าไปแทนที่ จิตตะสังขารขันธ์

    ถ้าจะให้เปรียบเทียบอาการจิตว่างกับจิตสงบนิ่ง สองสิ่งนี้อาการจะต่างกันมากนะคะ ตอนที่จิตว่าง เหมือนเราจะหาจิตไม่เจอ มันว่างไปหมด แต่อาการจิตสงบนิ่ง มันจะเป็นความรู้สึกเดียวคือสงบนิ่งเดี่ยวๆอยู่ตรงบริเวณลิ้นปี่น่ะค่ะ

    +++ ภาษาตรงนี้แหละที่สำคัญ จิตว่างเหมือนหาจิตไม่เจอ เหลือไว้แต่ "รู้" ใช่หรือไม่ ถ้าหากใช่ ตอนนั้นเป็น "อยู่กับรู้"
    +++ และ จิตสงบนิ่ง เป็นความรู้สึกเดียว (เอกัคตา) แต่ทุกอย่าง "รู้อยู่" ใช่หรือไม่ ถ้าหากใช่ ตอนนั้นเป็น "อยู่กับตน"

    ==============================================================

    ขอเล่าสู่กันฟังนะคะ

    ช่วงที่เกิดความเบื่อหน่าย ช่วงนั้นเป็นอะไรที่คิดฟุ้งซ่านมากเลยค่ะ คิดเรื่อยเปื่อยแต่คิดในทางกุศล ส่วนตัวพูดมากมันก็วิจารย์ไม่หยุด วิจารย์แต่ความสกปรก กามคุณ ตัณหา ราคา พูดคุยกับใครก็รู้สึกเบื่อ ได้ยินใครว่าอะไรใครก็เบื่อ ใครเอาเรื่องอะไรมาเล่าให้ฟังก็เบื่อ ทุกข์ก็เบื่อ สุขก็เบื่อ บางทีมีคนพูดให้ขำ ก็ขำนะ แต่พอขำเสร็จก็เบื่อเลย เห็นใครตลกเฮฮาหัวเราะก็เบื่อ แต่ ณ ขณะนี้ที่ความรู้สึกภายในมันนิ่งสงบ ภายในมันไม่คิดไม่พูดเหมือนอยู่กับรู้เฉยๆ ใครพูดคุยอะไรก็ฟังได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศร้าเรื่องทุกข์สุขฟังได้หมด เห็นใครทะเลาะเบาะแว้งกันก็สงบนิ่งดี ไม่วิตก ไม่วิจารย์ ไม่เอากลับมาคิดมาปรุงแต่งต่อ ไม่คิดยกยอใครดีตำหนิใครชั่ว และจากที่เคยตั้งใจทำมาตลอดคือ วันพระรักษาศิล8 ทานเจทุกวันเกิดและวันพระ บางครั้งก็รักษาศิลแปด 3 วัน 5 วัน 7 วัน ความยึดติดตรงนี้เดี๋ยวนี้มันปล่อยวางไปเลยโดยอัตโมมัติน่ะค่ะ คือมันไม่ตั้งใจทำแล้วเพราะศิลมันมีอยู่แล้ว มันทำของมันโดยอัตโนมัติไปเลย แต่บางวันร่างกายอ่อนเพลียจำเป็นต้องทานเราก็ต้องทาน เพราะยิ่งเป็นคนตัวเล็กยิ่งทำให้ผอมลงไปอีก เมื่อก่อนเคยคิดอยากทานนั่นอยากทานนี่ ต้องซื้อ ต้องทำ แต่เดี๋ยวนี้มีอะไรก็ทานได้ บางวันก็ไม่ทานเลย

    +++ ตรงนี้เป็น อาการ "วาง" ทั้งข้างนอก ข้างใน รวมทั้ง กฏเกณฑ์ ข้อผูกมัดทั้งหมดลง กล่าวได้ว่า "วางโลก" ลงทั้งหมด

    ส่วนเรื่องปฏิบัติ มีอยู่วันหนึ่งเพื่อน(อยู่กรุงเทพ ไม่เคยเจอกันเกือบจะสิบปีแล้ว)ทำบุญแล้วอนุโมทบุญถึงเรา(ตัวเอง) เรารู้เลยค่ะว่าจากเพื่อนคนนี้แต่ไม่โทรถาม จนกระทั่งเพื่อนโทรมาบอกเองว่าไปทำบุญแล้วส่งบุญไปให้ได้รับไหม

    +++ เมื่อ วางทั้งหมดได้ จิตก็ไร้อุปสรรค อะไรเกิดขึ้น ก็รู้เองโดยปราศจาก การดู การเพ่ง แต่อย่างใด ยามใดที่ ผู้อื่นกำหนดการสื่อสารมาถึงเรา ก็รู้ได้เองตามธรรมชาติ

    เดือนก่อนเพื่อนส่งข้อความมาบอกว่ากลุ้มใจมาก ย้ายไปทำงานที่ใหม่ เจ้านายอารมณ์ไม่ดีใส่ตลอดเวลาเลย กลัวโดนไล่ออกจากงาน เราก็แนะนำเขาไปว่าทำอย่างนี้อย่างนี้นะ ตอนนี้ส่งข้อความมาเล่าให้ฟังว่า เจ้านายใจดีขึ้นเยอะมาก ไม่ดุไม่ตำหนิเรื่องงาน คุยดีด้วย ใจเย็นเหมือนเป็นคนละคนเลย

    สมาชิกภายในบ้าน ถ้าเราเห็นใครใจร้อนกระวนกระวายใจ เรากำหนดจิตส่งไปที่เขาเลย สังเกตอาการที่เขาเป็นอยู่จะสงบนิ่งลงทันที ตรงนี้เคยลองทำกับสัตว์เลี้ยงที่บ้านด้วย ก็ได้ผลเหมือนกันค่ะ ช่วงกลางคืนตอนเราขึ้นบ้านนอนน่ะค่ะ บ่อยมากที่น้องหมาพอเขาไม่เห็นเรา เขาจะวิ่งไปวิ่งมาอยู่ชั้นล่างแล้วก็เห่าร้อง เราฟังได้สักพักเราก็กำหนดจิตไปที่น้องหมาเลย แค่อึดใจ เสียงเงียบทั้งคืนเลยค่ะ แต่เคยสังเกตว่า ถ้าเราไม่กำหนดจิตไปที่เขา เขาก็จะวิ่งและก็เห่าร้องอยู่อย่างนั้นไม่หยุด เราต้องลงมาเองเขาถึงจะเงียบ สัตว์เลี้ยงที่บ้านมีสุนัขกับแมว เราเคยบอกเขาว่าห้ามทะเลาะกันนะ เขาไม่เคยทะเลาะกันเลยค่ะ เป็นเพื่อนเล่นกันดีมาก อาหารก็ทานด้วยกัน เวลาเราทานข้าวเขาจะไม่มายุ่งวุ่นวายด้วยเลยค่ะ คนที่เคยนำแต่เรื่องความวุ่นวายมาให้เราแก้ปัญหาให้ถึงที่บ้าน เราอธิฐานจิตไป เขาก็ไม่มายุ่งวุ่นวายกับเราอีกเลย ชนิดที่ว่าหายไปจากชีวิตเราเลยก็มีค่ะ

    +++ ตรงนี้เป็นการส่ง การสื่อสาร ไปยังจิตอื่น แบบ ความเข้าใจ สู่ ความเข้าใจ ตรงนี้เป็นการ ประยุกต์ใช้ "เจโตปะริยะญาณ" ทั้งรับ-ส่ง ได้

    ส่วนบทฝึกที่คุณธรรม-ชาติ ให้มา คงค่อยๆฝึกค่อยๆทำไป กราบขอบพระคุณมากค่ะ ส่วนอาการของตัวเองตอนนี้ ก็ยังอยู่กับความรู้สึกสงบนิ่งเหมือนเดิมตลอดเวลาเลยค่ะ

    +++ ให้หมั่นรู้ตนอยู่เสมอว่า ณ ขณะนี้ "อยู่กับรู้" หรือ "อยู่กับตน" ให้ชำนาญ นะครับ
     
  10. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    +++ ภาษาตรงนี้แหละที่สำคัญ จิตว่างเหมือนหาจิตไม่เจอ เหลือไว้แต่ "รู้" ใช่หรือไม่ ถ้าหากใช่ ตอนนั้นเป็น "อยู่กับรู้"
    +++ และ จิตสงบนิ่ง เป็นความรู้สึกเดียว (เอกัคตา) แต่ทุกอย่าง "รู้อยู่" ใช่หรือไม่ ถ้าหากใช่ ตอนนั้นเป็น "อยู่กับตน"

    อ้อ เข้าใจละคะ
    เมิลเพิ่งผ่านอารมณ์เบื่อ แต่ในความเบื่อจิตกลับสงบ
    เมิลจะอยุ่กับตนมากกว่าอยู่กับรู้ ต้องฝึกสลับกันสินะคะ
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน กายธรรมารมณ์ กายแห่งพลังจิต

    +++ ใช่ครับ และตรงบริเวณนี้เป็นด่านท้าย ๆ ของการฝึกแล้ว มหาสติปัฏฐาน 4 ในบริเวณนี้ จะพ้น กามาวจร และ กามคุณ 5 รวมทั้ง พ้นวิเศษพ้นมห้ศจรรย์ ในรูปหยาบ-ละเอียดทั้งหมด (รูปฌาน ทั้งหมด) เข้าสู่ นามละเอียด ที่เรียกว่า ธรรมารมณ์ ล้วน ๆ และในระดับนี้ มักจะมี ธรรมารมณ์เป็นกาย ดังนั้นผมจึงมักใช้ภาษาว่า "กายธรรมารมณ์" นั่นเอง และจะมีสภาพเป็น "ตนรู้อยู่ สรรพสิ่งถูกรู้" และสภาพของ สรรพสิ่งถูกรู้นี้ ไม่จำกัด มิติ และ ทิศทาง จึงมีสภาพเป็น "พรหม" อย่างสมบูรณ์

    +++ กายธรรมารมณ์ เป็นสภาพของ "ขันธ์เดี่ยว" และมีสภาพเป็น "พลังงาน" ชนิดหนึ่ง ที่หล่อเลี้ยง "กายจิต" เป็นพลังงานในการทำงานของจิต ดังนั้นหลาย ๆ ครั้ง ผมจึงเรียกมันว่า "กายพลังจิต" เรียงตามลำดับหยาบละเอียดในการฝึกของ มหาสติปัฏฐาน 4 คือ กาย พลังกาย จิต พลังจิต นั่นเอง

    +++ ผู้ที่เคยฝึกผ่าน "จิตเปล่งรังสี" หรือเป็นที่รู้กันว่า "อาภัสสระพรหม" มาแล้ว จะชัดเจนในเรื่อง "กายพลังจิต" นี้เป็นอย่างดี จากมหาสติปัฏฐาน 4 หมวด สามารถสรุปย่อลงมาได้เหลือเพียง 2 อาการเท่านั้นคือ รูป กับ นาม โดยมี กายและจิต เป็นฝ่ายรูป ส่วน พลังกายและพลังจิต เป็นฝ่ายนาม

    +++ เหตุที่ผมให้ฝึก กายเวทนา ก่อนกายอื่น ก็เพราะ กายเวทนา หรือ พลังกาย สามารถ เปลี่ยนสภาพมาเป็น กายพลังจิตได้ จากการฝึก "จิตเปล่งรังสี" จะรู้ได้ว่า ทุกอย่างเริ่มจาก ความรู้สึกตัว แล้ว แปรสภาพมาเป็น สัมปชัญญะ จากนั้นเดินจิตแบบ เอกัคตา สู่ เอกัคตา ใน อรูปฌาน ทั้งหมด จนถึง "จิตเปล่งรังสี" ซึ่งเป็นสภาพของ ขันธ์เดี่ยว ไม่มีตัวไม่มีตน (แบบกามาวจร) แต่มีสภาพแห่ง "ตน" อยู่อย่างชัดเจน ตรงนี้ "เมิล" รู้ชัดเจน นะครับ

    +++ "ตน" ตรงนี้แหละ ที่ผมกำลังกล่าวถึง และที่สำคัญที่สุดในขณะนี้คือ "อย่าเอา "ตน" แบบ กามาวจร เข้ามาปะปนกับ "ตน" ในระดับนี้" เพราะมันเป็น "อจินไตย" ของ กามาวจร มิฉะนั้นแล้ว จะเกิดอาการ "วิปลาศ" ได้ไม่ยาก

    +++ โพสท์นี้ เป็นการเน้นย้ำเฉพาะอาการ เพื่อเป็นการเตรียมต้วก่อนการเข้าสู่ กองธรรมารมณ์ (ธรรมะ = ปรากฏการณ์ อารมณ์ = สิ่งที่จิตอยู่ เรียกสั้น ๆ ได้ว่า กาย) หรือ กล่าวได้อย่างสั้น ๆ ว่า "ปรากฏการณ์ที่เป็น ตน" แบบเต็มรูปแบบ นะครับ
     
  12. เขากระโดง

    เขากระโดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +1,015
    อ่านและลองปฏิบัติเหมือนจะง่ายค่ะแต่ยังไม่มีอะไรคืบหน้าค่ะ. สามารถถอยไปมาได้ตามที่ท่านธรรมชาติแนะนำ บางครั้งเหมือนจะแช่นิ่ง. บางครั้งเหมือนมีอะไรวิ่งวนไปตามจุดต่างๆในร่างกายค่ะ
    แต่พออ่านที่ท่านธรรมชาติตอบของคนอื่นจะค่อนข้างยากค่ะ.
     
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ครับ ใช่ เพราะการตอบของผม จะเป็นการตอบลงไปตรงจุดที่ผู้ฝึกกำลังเจออยู่ และในช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังชิงชัยกันในระหว่าง สิ่งที่ถูกเรียกกันว่า "ผู้รู้" ที่เป็น สังขตะธรรม กับ "สภาวะรู้" ที่เป็น อสังคตะธรรม การเดินจิตไปมาในช่วงนี้จะเดินในระหว่าง "มีธาตุ หรือ มีสภาพ" กับสภาวะที่ "ไร้ธาตุ หรือ ไร้สภาพ" ดังนั้นจึงเป็นการยากที่ผู้ที่ยังไม่เจออาการจะเข้าใจได้

    +++ ขั้นต่ำที่สุดที่พอจะตามรอยในการฝึกชั้นนี้ได้ทันคือ "การกำหนดจิต ถูกรู้ เพราะ รู้มีอยู่แล้ว" เท่านั้น หากต่ำกว่าตรงนี้ลงไป ถือว่าหมดโอกาสที่จะ "เห็นอาการ" ในหลักสูตรชั้นนี้ได้ ดังนั้นควรทำความคุ้นเคยกับ "กิริยาจิต" ให้ชำนาญ ก่อนที่จะเข้าถึง "ผู้สร้าง กิริยาจิต" ซึ่งเป็นสภาวะของ "ตน" ที่เป็น "ผู้รู้" นะครับ
     
  14. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    +++ ให้หมั่นรู้ตนอยู่เสมอว่า ณ ขณะนี้ "อยู่กับรู้" หรือ "อยู่กับตน" ให้ชำนาญ นะครับ

    กราบขอบพระคุณมากค่ะ


    รบกวนสอบถามอาการเพิ่มเติมนะคะ ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะใช้ภาษาถูกต้องไหม แต่จะพยายามอธิบายให้พอเข้าใจอย่างละเอียด

    สมมุติว่าเรา(ตัวเอง)กำลังทำธุระการงานต่อเนื่องอยู่ แล้วมีสมาชิกที่บ้านเรียกให้ไปดูอะไรสักอย่างซึ่งไม่ได้สำคัญอะไรมากมาย แต่เราต้องวางธุระของเรา ณ.ตอนนั้น แล้วลุกไปเดี๋ยวนั้นเลย ช่วงนั้นก็ใจสงบนิ่งเฉยดี แต่สังเกตในเสี้ยววินาที เหมือนอารมณ์หงุดหงิดไม่พอใจกำลังจะก่อตัวขึ้น แล้วมันมีอาการอะไรสักอย่างคล้ายๆอาการสะบัดหรือสลัดอยู่ตรงกลางกระหม่อม เป็นอะไรที่ไวมาก แล้วอารมณ์หงุดหงิดที่กำลังจะก่อตัวขึ้นขาดหายไปเลย สังเกตุดูใจยังสงบนิ่งเฉยเหมือนเดิม

    มีอีกนะคะ คือว่าเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ไปสั่งทำเลนส์แว่นตาไว้ พอได้แว่นมาแล้ว ปรากฏมารู้ทีหลังว่าเราจ่ายค่าเลนส์แพงกว่าสามเท่าเลย ตอนที่รู้น่ะค่ะ อารมณ์เสียดายที่จ่ายแพงกำลังจะเกิดขึ้น แล้วมันมีอาการคล้ายอาการสะบัดหรือสลัดอะไรสักอย่างอยู่ตรงกลางกระหม่อม หันมาสังเกตดูใจตัวเองก็สงบเหมือนเดิม ไม่มีความรู้สึกทุกข์ และไม่มีอารมณ์เสียดายอะไรเลย ก็ยังเก็บมาพิจารณาอีกนะคะว่า เอ ทำไมมันไม่เสียดายที่จ่ายแพงนะ ทำไมมันเฉย เมื่อก่อนไม่เป็นอย่างนี้นี่ เมื่อก่อนจะเก็บมาคิดแล้วรู้สึกทุกข์ใจเพราะเสียดายก่อน ต่อมาค่อยทำใจปล่อยวาง แต่ตอนนี้ความรู้สึกทุกข์ใจหรือเสียดายมันไม่เกิดขึ้นเลย และมันก็ไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง ไม่วิตกวิจารย์อะไรเลย แบบว่าตลอดเวลาเหมือนกับเราอยู่กับปัจจุบันขณะเลยน่ะค่ะ

    และก็มีช่วงหนึ่งน่ะค่ะ ตอนที่กำลังหายใจเข้า สังเกตุอยู่ๆก็เหมือนรู้สึกกำลังเริ่มเป็นทุกข์ พอหายใจออก ความรู้สึกกำลังเริ่มเป็นทุกข์หายไปเฉยเลย อาการมันหายไปพร้อมกับลมหายใจออกน่ะค่ะ บางทีพอกำลังจะคิด(ปรุงแต่ง) ความคิดมันก็ดับเลยทันที
     
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ให้หมั่นรู้ตนอยู่เสมอว่า ณ ขณะนี้ "อยู่กับรู้" หรือ "อยู่กับตน" ให้ชำนาญ นะครับ

    กราบขอบพระคุณมากค่ะ

    รบกวนสอบถามอาการเพิ่มเติมนะคะ ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะใช้ภาษาถูกต้องไหม แต่จะพยายามอธิบายให้พอเข้าใจอย่างละเอียด

    +++ ผมจะชี้ความละเอียดในการทำงานของจิตในระดับ วาระจิต ต่อ วาระจิต รวมทั้งประเมินสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น ๆ ไปด้วย ให้คอยสังเกตุ และ เดินจิต ทวนสถานการณ์ไปด้วย นะครับ

    สมมุติว่าเรา(ตัวเอง)กำลังทำธุระการงานต่อเนื่องอยู่

    +++ ในขณะนั้น สภาวะรู้เป็นแบบ 1. "เฉยตั้งมั่น" หรือ 2. "รู้ทุกอย่าง รวมทั้งอาการสอดส่าย วูปวาปไปมา เนื่องจากการทำงานทางจิต" หากมีลักษณะ คร่อม ทั้ง 2 ประการ ให้พยายาม เดินจิตทวนสถานการณ์ แล้วพยายามสรุปให้ได้ว่า ระหว่าง 1-2 ข้อไหนเป็นลักษณะที่เด่นและชัดเจนกว่า

    +++ ให้ชัดเจนใน "สภาวะที่เป็นอยู่ ในขณะก่อนหน้านั้น"
    1. เข้าฐาน กายเนื้อ (ฐานกายา รูปหยาบ)
    2. map จิตให้อยู่ในสถานการณ์ในอดีต ตรงนั้น เพื่อเรียกสถานการณ์เก่ากลับมา (มโนยิทธิ ฐานจิตตา รูปละเอียด)
    3. สถานการณ์จะกระทบมาที่ กายเวทนา (สังเกตุการตกกระทบที่วูปมายัง กายเวทนา)(ฐานเวทนา นามหยาบ)
    4. กายเวทนาจะ map สภาวะแห่งตน (อัตตาจิต ฐานธรรมารมณ์ นามละเอียด) กลับไปยังสถานการณ์นั้น แบบ กึ่ง teleport (ย้ายฐาน แตะกลับไปยังสภาวะในอดีต)
    5. สภาวะจำลองของจิตในสถานการณ์นั้นย่อมปรากฏในระดับ เจโตปะริยะญาณ (สัมผัสแบบแตะเบา ๆ วูปเดียวก็เข้าใจ ด้วย รูปกายและนามกาย ละเอียด)

    +++ สำหรับคุณ จิตวิญญาณ หากจะทดสอบ ธัมมะวิจัย ในเรื่องของ "การใช้ขันธ์" ตรงนี้ในสถานการณ์อื่น ตรงข้อ 1 ฐานกายา ต้องสำรวจสภาวะรอบข้างในปัจจุบันขณะ อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนเดินจิต และหากไม่มั่นใจหลังจากเดินจิตไปแล้ว ให้กลับสู่ ฐานกายา และ กายเวทนา ทันที นะครับ

    +++ หลังจากชัดเจนแล้ว ย่อมทราบได้ว่า ระหว่าง 1-2 ตรงไหนเป็นลักษณะเด่น จากนั้น ดำเนินเรื่องต่อไป

    แล้วมีสมาชิกที่บ้านเรียกให้ไปดูอะไรสักอย่างซึ่งไม่ได้สำคัญอะไรมากมาย แต่เราต้องวางธุระของเรา ณ.ตอนนั้น แล้วลุกไปเดี๋ยวนั้นเลย ช่วงนั้นก็ใจสงบนิ่งเฉยดี

    +++ ตรง "ใจสงบนิ่งเฉยดี" นี้ เป็นแบบ 1 หรือ 2 แบบไหนเด่นที่สุด (ให้ลองเล่น ย้อนอดีต แบบเดิน มหาสติปัฏฐาน 5 วาระจิต อีกครั้ง)

    แต่สังเกตในเสี้ยววินาที เหมือนอารมณ์หงุดหงิดไม่พอใจกำลังจะก่อตัวขึ้น

    +++ บริเวณ "ลิ้นปี่" เริ่มดันขึ้นมา ใช่หรือเปล่า ตรงนี้คือ ธรรมารมณ์ "ภายนอก อัตตาจิต" (นอก ตน) ที่ขึ้นมา "ขัดขวางใจ" เรียกสั้น ๆ ว่า "ขัดใจ"
    +++ การเห็นตรงนี้เป็น "มรรคสัจจะ" ส่วนตัว ธรรมารมณ์ที่ผุดขึ้นเป็น "ทุกข์สัจจะ" หาก ตัวดู หรือ อัตตาจิต วิ่งเข้าไปเชื่อมที่ตรงนี้เมื่อไร ก็จะเป็น "สมุทัยสัจจะ"

    แล้วมันมีอาการอะไรสักอย่างคล้ายๆอาการสะบัดหรือสลัดอยู่ตรงกลางกระหม่อม เป็นอะไรที่ไวมาก

    +++ ตัวดู หรือ อัตตาจิต รู้ทัน แล้ว "ตัดแบบขาดสนิท" ในสายการต่อเชื่อมกับ ธรรมารมณ์ "ทุกข์สัจจะ" (ตัด กระแสที่เชื่อมต่อเข้ากับ อุปาทานขันธ์) ที่ ผุดขึ้น ใน 1 ขณะจิต

    แล้วอารมณ์หงุดหงิดที่กำลังจะก่อตัวขึ้นขาดหายไปเลย สังเกตุดูใจยังสงบนิ่งเฉยเหมือนเดิม

    +++ ตรงนี้คือ "นิโรธสัจจะ"

    *** จะอธิบายในหมวดภาษาของ อริยะสัจ 4 โดยย่อดังนี้

    +++ เริ่มจากจิตที่ สงบตัวอยู่ 1. ถูกเรียก ทำให้จิตส่งออก (สมุทัย) ไปกับเสียง 2. ก่อให้เกิด ทุกข์ (ธรรมารมณ์) ที่ผุดขึ้นมา 3. ตัวดูรู้ทัน คือ จิตเห็นจิต (มรรค) 4. ตัวดู ตัดสะบั้นสายสัมพันธ์ ที่จะเข้าประสานกับทุกข์ที่ผุดขึ้นมา ผลลัพธ์คือ นิโรธ

    +++ ตราบใดที่ยังครองขันธ์อยู่ วงจรของ อริยะสัจจะทั้ง 4 ประการนี้ ย่อมมีปรากฏอยู่ตลอดเวลา ยามใด "ตัดทัน ก็ได้ นิโรธ" ยามใด "ที่ไม่ทัน ก็ได้ ทุกข์" ตรงนี้เป็นธรรมชาติในกฏเกณฑ์การทำงานของจิตทุกดวง การรู้เท่าทันในวงจรนี้ เป็นผลลัพธ์จาก "มหาสติ" เท่านั้น

    +++ อริยะสัจ 4 เป็น การดวลเดี่ยว ระหว่าง "ตน กับ ทุกข์" แต่ทั้งหมดนี้ยังเป็น "สังขตะธรรม" หรือภาค Dynamic ทั้งสิ้น

    +++ ยามใดที่ "อยู่กับตน" ยามนั้นจะเป็นภาค "สังขตะธรรม" แต่ยามใดที่ "อยู่กับรู้" ยามนั้นย่อมเป็นภาคของ "อสังขตะธรรม" หรือภาค Static นั่นเอง

    มีอีกนะคะ คือว่าเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ไปสั่งทำเลนส์แว่นตาไว้ พอได้แว่นมาแล้ว ปรากฏมารู้ทีหลังว่าเราจ่ายค่าเลนส์แพงกว่าสามเท่าเลย ตอนที่รู้น่ะค่ะ อารมณ์เสียดายที่จ่ายแพงกำลังจะเกิดขึ้น แล้วมันมีอาการคล้ายอาการสะบัดหรือสลัดอะไรสักอย่างอยู่ตรงกลางกระหม่อม หันมาสังเกตดูใจตัวเองก็สงบเหมือนเดิม ไม่มีความรู้สึกทุกข์ และไม่มีอารมณ์เสียดายอะไรเลย ก็ยังเก็บมาพิจารณาอีกนะคะว่า เอ ทำไมมันไม่เสียดายที่จ่ายแพงนะ ทำไมมันเฉย เมื่อก่อนไม่เป็นอย่างนี้นี่ เมื่อก่อนจะเก็บมาคิดแล้วรู้สึกทุกข์ใจเพราะเสียดายก่อน ต่อมาค่อยทำใจปล่อยวาง แต่ตอนนี้ความรู้สึกทุกข์ใจหรือเสียดายมันไม่เกิดขึ้นเลย และมันก็ไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง ไม่วิตกวิจารย์อะไรเลย แบบว่าตลอดเวลาเหมือนกับเราอยู่กับปัจจุบันขณะเลยน่ะค่ะ

    +++ "เหมือนกับเราอยู่กับปัจจุบันขณะ" ตรงนี้ถูกต้องครับ สำหรับบุคคลทั่วไปต้อง "ตั้งกายตรง ดำรงค์สติมั่น" แต่สำหรับคุณ จิตวิญญาณ ในขณะนี้ "จะมีกายหรือไม่ ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอะไรแล้ว" นะครับ เพราะการฝึกอยู่ในระดับ "ตั้งจิตตรง ดำรงค์สติมั่น" ได้แล้ว

    +++ อีกประการหนึ่งคือ "อายตนะทั้ง 5 ผัสสะทั้ง 5 วิญญาณทั้ง 5 ในวังวนของกามคุณ 5 ในกามาวจรภูมิ" (ตา หู จมูก ลิ้น กาย = 5) ไม่ได้มีอิทธิพลต่อ ใจ ของคุณ จิตวิญญาณ ในระดับการฝึกตรงนี้แล้ว กล่าวได้ว่า "มหาสติปัฏฐาน 4" ของคุณ จิตวิญญาณ เข้าถึงชั้น "อพรหมะจริยา" เต็มตัวแล้ว นะครับ

    และก็มีช่วงหนึ่งน่ะค่ะ ตอนที่กำลังหายใจเข้า สังเกตุอยู่ๆก็เหมือนรู้สึกกำลังเริ่มเป็นทุกข์ พอหายใจออก ความรู้สึกกำลังเริ่มเป็นทุกข์หายไปเฉยเลย อาการมันหายไปพร้อมกับลมหายใจออกน่ะค่ะ บางทีพอกำลังจะคิด(ปรุงแต่ง) ความคิดมันก็ดับเลยทันที

    +++ การฝึกในชั้นสุดท้ายของคุณ จิตวิญญาณ คือ "การทำความรู้แจ้ง ในเรื่องของ ตัวดู" เท่านั้นเองครับ
    +++ คุณ จิตวิญญาณ น่าจะได้นิสัยของ "เหมือนกับเราอยู่กับปัจจุบันขณะ" ในขณะนี้แล้วนะครับ

    +++ เพียงแต่ในขณะที่ "เหมือนกับเราอยู่กับปัจจุบันขณะ" นั้น ให้สังเกตุการ "ขยับเขยื่อน เคลื่อนตัว ของ ตัวดู" ให้ดี ๆ หรือจะใช้หลักของ "ตัวดูจางคลาย กลายมาเป็น ธรรมารมณ์" หรือ "ขยายตัวดูให้เต็มร่าง แล้วได้ กายเวทนา" แล้ว "หดกายเวทนา กลับกลายมาเป็น ตัวดู" อย่างใดก็ได้

    +++ ให้เล่นอยู่กับการ หดตัว-ขยายตัว ของตัวดูให้มาก ๆ แบบ ช้าบ้าง เร็วบ้าง รวมทั้ง เข้าไปเป็นตัวดู และ ทำให้ตัวดูถูกรู้ต่าง ๆ ให้ละเอียดแบบทุกซอกทุกมุม จนแจ่มแจ้งใน "กระบวนการเกิด กระบวนการทำงาน และ กระบวนการดับไป ของตัวดู" นะครับ

    +++ หากมีปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้น ก็เขียนมาเล่าสู่กันฟัง นะครับ
     
  16. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    เมิลเคยมีอากการคล้าย ๆ คุณจิตวิญญาณนะคะ มาเล่าให้ฟัง แตกต่างกันนิดหนึ่ง
    มันจะมีแบบ
    1. ข้างในนิ่ง รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีอารมณ์ความรู้สึกลงไปร่วมด้วยเลย เหมือนกับว่าแยกเฉพาะ information ออกมาจากสิ่งที่รับรู้อยู่ตรงหน้า
    2. จิตนิ่ง แต่ก็รู้ว่ามีอารมณ์เกิดขึ้นมาอยู่ข้างใน แต่ไม่ปนกัน เรื่องรู้ทันความรู้สึกเนี่ย บางทีก็ปล่อยให้มันรู้จนจบสาย คือ จนมีความคิดเชื่อมโยงต่าง ๆอะไรๆ หรือบางทีรู้แล้วมันก็ดับไปเลยทันที
    3. อาการสะบัดตรงกระหม่อนยังไม่เคยสังเกตเลย แต่จะรู้ว่าอารมณ์วิ่งขึ้นมาจากลิ้นปี่จริง จะรู้สึกบ่อยเหมือนเป็นก้องพลังงานให้อึดอัดอยู่กลางอก ถ้าเลยขึ้นมาก็จะรู้อีกทีตรงจมูก
    4. บางทีจะรู้ว่ามันจะมี moment หนึ่งที่มันกำลังจะเกิดขึ้นมาละ มันเป็นวูบหนึ่ง หนึ่งอัดใจที่จะรู้ขึ้นมาว่ากำลังเชื่อมโยงกับความจำในอดีตละ
     
  17. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    เมิลเคยมีอากการคล้าย ๆ คุณจิตวิญญาณนะคะ มาเล่าให้ฟัง แตกต่างกันนิดหนึ่ง
    มันจะมีแบบ
    1. ข้างในนิ่ง รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีอารมณ์ความรู้สึกลงไปร่วมด้วยเลย เหมือนกับว่าแยกเฉพาะ information ออกมาจากสิ่งที่รับรู้อยู่ตรงหน้า

    +++ เป็นอาการของ information "ถูกรู้" ส่วนเรา "รู้อยู่" ตัว "information" ไม่ใช่เรา (อนัตตา) เราอยู่ส่วนเรา มันอยู่ส่วนมัน เหมือนน้ำบนใบบัว อยู่ด้วยกัน แต่ไม่เกี่ยวข้องกัน อาการแบบนี้คือ "สติยืนได้ด้วยตัวมันเอง" ตัว "information" เป็น ส่วนของ จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน (จิตรับรู้ แต่สิ่งถูกรู้ แยกต่างหากออกจากจิต เป็นคนละส่วนกัน) และการที่ "สติยืนได้ด้วยตัวมันเอง" จากฐานนี้ ถือได้ว่า "สติ พ้น และ เป็นอิสระจาก จิต"

    +++ information ที่ถูกรู้ มีอยู่ 2 ประการคือ จากภายนอก เช่น สภานการณ์นอกตน การสื่อสารจากผู้อื่น และ จากจิตอื่น เป็นต้น อีกส่วนคือ จากภายใน หรือ information ที่เราสื่อสารออกไป ไม่ว่าจะเป็น ความคิด จินตนาการ สังกัปแห่งความเข้าใจ (concept) ที่ส่งออกไปยัง ผู้อื่น หรือ จิตอื่น หากทั้ง 2 ประการ คือ ทั้งภายนอกและภายใน ถูกรู้และแยกตัวอยู่ตลอดเวลา ก็ถือได้ว่า พ้นแล้วจากความเป็นจิต เรียกว่า เจโตวิมุติ เหลืออยู่เพียงประการเดียวคือ พ้นจากความเป็นตน เท่านั้น

    2. จิตนิ่ง แต่ก็รู้ว่ามีอารมณ์เกิดขึ้นมาอยู่ข้างใน แต่ไม่ปนกัน เรื่องรู้ทันความรู้สึกเนี่ย บางทีก็ปล่อยให้มันรู้จนจบสาย คือ จนมีความคิดเชื่อมโยงต่าง ๆอะไรๆ หรือบางทีรู้แล้วมันก็ดับไปเลยทันที

    +++ "จิตนิ่ง แต่ก็รู้ว่ามีอารมณ์เกิดขึ้นมาอยู่ข้างใน แต่ไม่ปนกัน" ตรงนี้เป็นอาการเดียวกันกับคุณ จิตวิญญาณ เพียงแต่ "ไม่ควรปล่อยจนเกิด ความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน"

    +++ วิธี "ตัด" มีได้หลายวิธี ตามระดับของผู้ฝึก คือ
    1. ยามที่รู้ทัน ตัวดู จะตัดแบบอัตโนมัติ safety cut แบบคุณ จิตวิญญาณ ด้วยการสะบัดหลุด (เท่า และ ทัน เสมอกัน)
    2. ดับ ตัวดู ตรงนี้เป็น หยุดตัวดู หรือ ดับตน ดับตัวดู ก็ได้ ตรงนี้ผู้ฝึกในชั้นสุดท้าย จะทำได้ (หยุดตน)
    3. ใช้ ตัวดู ยิงหรือทำลาย object นั้นทิ้งไป (ปกติเป็นขั้นตอนของ สติดวลเดี่ยวกับจิต ก่อนเกิด เจโตวิมุติ)(ระยะที่ยังเร่งความเพียรอยู่)
    4. กลับเข้าสู่ ฐานที่มั่น ฐานใดฐานหนึ่ง จาก กาย เวทนา จิต ธรรม ใช้ฐานใดก็ได้ที่ตนชำนาญ (ระยะแรกเริ่ม)

    3. อาการสะบัดตรงกระหม่อนยังไม่เคยสังเกตเลย แต่จะรู้ว่าอารมณ์วิ่งขึ้นมาจากลิ้นปี่จริง จะรู้สึกบ่อยเหมือนเป็นก้องพลังงานให้อึดอัดอยู่กลางอก ถ้าเลยขึ้นมาก็จะรู้อีกทีตรงจมูก

    +++ "อาการสะบัดตรงกระหม่อม" จริง ๆ แล้ว เป็นอาการสะบัดจาก "ภายในกระโหลกศีรษะ" ซึ่งเป็นอาการของ "ตัวดู" (ผู้รู้ อัตตาจิต) ทำการ "ต่อต้าน" กับสิ่งแปลกปลอม (ธรรมารมณ์ ภายนอก) ที่ตกกระทบเข้ามา จริง ๆ แล้วตรงนี้เป็นผลที่พัฒนาต่อเนื่องตามธรรมชาติ ที่เกิดจากการฝึก สัพเพธัมมาอนัตตา กับ จิตเปล่งรังสี ที่สวนจัตุจักร ดังจะอธิบายต่อไปนี้

    +++ จากการฝึก เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน ในบทที่ 1 จนสติตั้งมั่นในเวทนากายได้เต็มตัว (ตัวดูขยายเต็ม ฐานกาย) จึงกลายมาเป็นสภาพของ กายเวทนา ซึ่งซ้อนตัวกันอยู่กับกายเนื้อ (กายในกาย)(อยู่กับตน) จากนั้นจึงทำ "กายเวทนา ให้ถูกรู้" ผลลัพธ์คือ มหาสติ ออกมาตั้งฐาน อยู่ข้างนอก กายเวทนา (ตัวดูในรูปของ กายเวทนา) (อยู่กับรู้) ในขณะนั้น ๆ มหาสติตั้งมั่นอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง จากนั้น จึง "เปิดอายตนะ" ของมหาสติแบบไร้ขีดจำกัด (อายตนะนิพพาน หรือ ญาณทัศนะวิสุทธิ) จน "สรรพสิ่งถูกรู้" และเป็นสภาพของ "สัพเพธัมมาอนัตตา" ไม่มีอะไรเป็นตน และตนไม่ใช่สรรพสิ่ง ที่ถูกรู้ ตรงนี้เป็น อยู่กับรู้

    +++ ผลลัพธ์จากการฝึกใน บทที่ 1 นี้จะทำให้ ตน หรือ อัตตาจิต เห็นและรู้จัก ว่า ไม่มีอะไรเป็น ตน ดังนั้น การจางคลายของ ความยึดมั่นถือมั่น จะเริ่มเป็นไปเองตามธรรมชาติ เร็วบ้าง ช้าบ้าง ตาม วิบากและบารมี ส่วนบุคคล เมื่อถึงที่สุดแล้ว การจางคลายและการปฏิเสธสรรพสิ่งที่จะเข้ามาเกาะกุมจิต จะถึงที่สุดด้วยตัวมันเอง ตรงนี้ เมิล คงเห็นได้ชัดเจนว่า การฝึกบุคคลใหม่ของผมทุกครั้ง ต้องผ่าน บทที่ 1 นี้ก่อน และตรงนี้เป็น ภาคบังคับ ก่อนที่จะเข้าสู่ บทที่ 2

    +++ จากการฝึก จิตเปล่งรังสี ในบทที่ 2 นี้เริ่มจาก กายเวทนา เช่นกัน แต่แทนที่จะ แยกมหาสติออกจากกายเวทนา กลับเป็นการฝึกที่ มหาสติเข้าไป "อยู่" ข้างในกายเวทนาแทน จนทำให้ กายเวทนาทั้งกาย แปรสภาพเป็น ธรรมารมณ์ เต็มตัว (อรูปฌาน) จากนั้นจึงให้ฝึก เดินจิต ในอรูปฌาน แบบ เอกัคตาสู่เอกัคตา เช่น ว่าง (อากาสานัญจายตนะ) รู้ (วิญญาณัญจายตนะ) โล่งไม่มีอะไรเลย (อากิญจัญญายตนะ) เฉยไม่รับอะไร (เนวสัญญานาสัญญายตนะ) กลับไปกลับมา 2-3 ครั้งจึงเข้าสู่ ตื่น พลังงาน และ เปล่งรังสี (อาภัสสระพรหม) ตามลำดับ และทุกลำดับนั้น "ตน หรือ อัตตาจิต อยู่ในสภาวะ เป็นสภาพ แห่งอรูป นั้น ๆ" ทั้งสิ้น

    +++ ผลลัพธ์จากการฝึกใน บทที่ 2 นี้จะทำให้ ตน หรือ อัตตาจิต รู้ได้ว่า "ตน" เป็นสภาวะอื่นได้ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น มนุษย์ รวมทั้ง รูป หยาบ-ละเอียด ต่าง ๆ และ "ตน" ที่เป็นสภาพ ธรรมารมณ์แห่งนาม นี้เอง สามารถแปรสภาพ หรือ กำหนดภูมิเองได้ ดังนั้น ความ "ไม่หลงในภพภูมิต่าง ๆ" จะวิวัฒนาการมาเอง เมื่อผ่านการฝึกทั้ง 2 บทนี้แล้ว ตน พร้อมทั้ง ภพภูมิ ทั้งหมด สามารถ ถูกวาง ได้ ด้วยตนเอง ช้าหรือเร็ว เป็นไปตาม วิบากและบารมี ส่วนบุคคล

    +++ จริง ๆ แล้ว ผู้ผ่านการฝึกทั้ง 2 บทนี้ เพียงพอที่เดินทางเข้าสู่ที่สิ้นสุดได้ด้วยตน ยกเว้นแต่ผู้ที่ปรารถนา "อยากได้ของเล่น" จึงฝึกในบทที่ 3 ในภาค "ฝึกจิตเคลื่อนร่าง" โดยเล่นกับ กายต่าง ๆ (อภิญญา) อ่าน เจโต แห่งตนจนสามารถแยกแยะว่า สิ่งใดมาจากตน และสิ่งใดมาจากผู้อื่น (เจโตปะริยะญาณ และ จิตสื่อสาร) ฝึกการย้ายกายไปตามฐานต่าง ๆ (ย้ายฐาน) เพื่อเรียนรู้ภพภูมิ รวมถึง teleport ตัวดู เพื่อเรียนรู้เรื่องของการ จุติจิต (วิชชา 3) การฝึกจำลอง map สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อทำภาษามาใช้ให้ตรงกับ อาการของจิต สภาวะแวดล้อมในปัจจุบันขณะ สถานะของผู้ฟัง ต่าง ๆ (ปฏิสัมภิทาญาณ) พวกนี้เป็นสิ่งปลีกย่อยสำหรับผู้ฝึกที่อยากรู้อยากเห็นต่าง ๆ ความสำเร็จและล้มเหลว เป็นไปตาม วิบากและบารมี ส่วนบุคคล

    +++ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสังเกตุจาก การฝึก จิตเปล่งรังสี ในบทที่ 2 หากผู้ใดทำได้ง่าย ก็หมายถึง ความเป็นจิตเก่าแก่ระดับข้าม "อสงไขย" มาแล้ว ดังนั้นบารมีเก่าแบบ "พุทธภูมิ" จึงอาจเข้ามาหนุนเสริมได้ไม่ยาก หากผู้ฝึก "จิตเปล่งรังสี" เท่าไรก็ไม่ได้ ก็ถือได้ว่า เป็นจิตใหม่ที่ยัง ไม่ข้ามอสงไขย ดังนั้นตรงนี้เป็น "มาตรฐาน" ในการดูว่า ผู้ใดจะได้ของเล่น รวมทั้งเป็น "พุทธภูมิ" จริงเท็จประการใด มีแต่สภาวะของ "อาภัสสระพรหม" เท่านั้นที่เป็นมาตรฐานในการตัดสินได้

    4. บางทีจะรู้ว่ามันจะมี moment หนึ่งที่มันกำลังจะเกิดขึ้นมาละ มันเป็นวูบหนึ่ง หนึ่งอัดใจที่จะรู้ขึ้นมาว่ากำลังเชื่อมโยงกับความจำในอดีตละ

    +++ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง รูป-นาม ในความละเอียดระดับ "วูปหนึ่งแห่งวาระจิต (moment)" ตรงนี้ อาการที่ผุดขึ้น ตรงนั้น "ไร้รูป" เป็นความรู้สึกตรง ๆ ของ "อารมณ์" เป็นลักษณะของ "การมีสภาพที่ชัดเจน" จากการที่ "มีสภาพแต่ไร้รูป" นี้ จึงเรียกว่า "นามธรรม" ดังนั้น อารมณ์ที่มีสภาพที่ปรากฏขึ้นมานี้ จึงเรียกว่า "ธรรมารมณ์" จัดเป็นส่วนของ "นาม" และสังเกตุได้อีกอย่างหนึ่งว่า "ธรรมารมณ์ ที่ผุดขึ้นนี้ มีสภาพเป็น ทุกข์" ประการหนึ่ง ซึ่งต่างจาก "ธรรมารมณ์ ที่เป็น ตน ที่มีลักษณะของ ฌาน"

    ====================================================================
    ผสมกับภาษาในหมวด ปฏิจจสมุปบาท ตอนปลาย เพื่อเอาไว้เทียบเคียงกับการปฏิบัติเฉย ๆ หากผู้ปฏิบัติ ยังมาไม่ถึงในบริเวณนี้ ให้ข้ามไปก่อน เพื่อป้องกันการปวดหัวกับความคิด และ มโนภาพ จากตาจิต ซึ่งจะตามมาถึงตรงนี้ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่อง "เกินวิสัย" ตรงนี้ให้ไว้กับนักปฏิบัติที่กำลังอยู่ในบริเวณการฝึกนี้ เท่านั้น
    ====================================================================

    +++ ดังนั้นการที่ 1. ธรรมารมณ์ ตน (ตัวดู-อวิชชา) 2. ส่งต่อเข้ากับ 3. ธรรมารมณ์ เป้าหมาย (นอกตน) จึงเกิดอาการ "ผสมผสาน" กันขึ้น (ย้ายภูมิ)

    +++ ขยายข้อ 2 ตามอาการของผู้ฝึก หากเป็นการ "เห็น" (โดยญานทัศนะ) จากข้างนอกกระบวนการ ก็จะเป็น ลักษณะของ ท่อหรือช่องต่อเชื่อม ระหว่าง ตนกับธรรมารมณ์ (จิตส่งออกของหลวงปู่ ดูลย์) แต่ถ้าหากเป็นการ "เห็น" (ญานทัศนะ) โดย "อยู่ข้างใน" ของช่องเชื่อมนั้น ก็จะ "เห็น" ในลักษณะของ "ตาพายุ หรือ ตาน้ำวน" ณ ที่ใจกลาง (ตา) นั้นเป็นการก่อกำเหนิดของ "วิญญาณขันธ์" ซึ่งเป็น อายตนะ ข้างใน ธรรมารมณ์ (อายตนะโลกียะ) การส่งออกนี้เป็น "สังขารา" ตา ณ ใจกลางเป็น "วิญญานัง" ซึ่งทำงานในการ "เห็นรูป รู้สึกนาม" (นามะรูปัง)

    +++ ตัวดู เป็น ธรรมารมณ์ เป็น รู้สึกนาม ตาที่ใจกลาง เป็นเห็นรูป (นามะรูปัง) ในขั้นตอนนี้ ทั้งรูป-นาม อยู่ด้วยกัน

    +++ สรุปข้อ 2 ในขณะที่ จิตส่งออก เป็นการส่ง ไปยัง ภูมิ (ธรรมารมณ์ เป้าหมาย) ส่วนใจกลางภูมิ เป็นตัวภพ (วิญญาณขันธ์) หลังจาก กระบวนการ "วูปหนึ่งแห่งขณะจิต" นี้สิ้นสุดยุติลง "การจุติใหม่" จึงเกิดขึ้น

    +++ การผสมกันใหม่ระหว่าง ธรรมารมณ์ นี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ "ตน" ทำให้ "ตน" เปลี่ยนสภาพ จาก ธรรมารมณ์เก่า เข้าสู่ ธรรมารมณ์ใหม่ (ย้ายภูมิ แปรสภาพ) ไปตามสภาพของ ธรรมารมณ์ในปัจจุบันขณะ หลังจากผ่านการ สัมประยุติ (ผสม) แล้ว (ผู้ที่ผ่านหลักสูตร จิตเปล่งรังสี จะเข้าใจในสภาพนี้ได้ดี จากเอกัคตาสู่เอกัคตา ทำให้ ตน เปลี่ยนเป็นสภาพต่าง ๆ ได้)

    +++ ดังนั้น "ตน" ตรงนี้จึง "เป็น" สภาพใหม่ (ตน-ผู้รู้-อวิชชา) ผ่านการส่งออก (สังขาร) ไปยังธรรมารมณ์ใหม่ เปลี่ยนเป็นสภาพของ "ตน" ไปอยู่ใน "ภูมิใหม่" ตรงนี้กล่าวอย่างสั้น ๆ ได้ว่า "ตัวดู วูปเข้าไป แล้ว จุติ" ใน ธรรมารมณ์ (ภูมิ-นาม) ใหม่ อาการ วูปเข้าไป เป็น สังขารา หรือ teleportation เข้าไปแล้ว "อยู่" ในภูมิใหม่ โดยที่มีใจกลางเป็น ภพ (ซึ่งเป็นส่วนของ รูป) ในขั้นตอนนี้

    +++ หลังจาก teleport (สังขารา) เข้าไปอยู่ใน ภูมิใหม่แล้ว (จุติ) "ตน-ตัวดู-ผู้รู้-อวิชชา" จึงเริ่มรับรู้ และ "อยู่" ในสภาวะแวดล้อมในภูมินั้น หากเป็นรูปาวจรภูมิ ตัวดู จะเป็น อายตนะเดียว (ขันธ์เดี่ยว) หากเป็น กามาวจรภูมิ ตัวดู จะเป็น อายตนะ 6 (สฬายตนัง) ตามสภาพของ กาย หยาบ-ละเอียด ต่าง ๆ
    ==================================================

    +++ จากการ "วูบหนึ่ง ที่จะรู้ขึ้นมาว่า กำลังเชื่อมโยงกับความจำในอดีต" คือ 1. ธรรมารมณ์-นาม-ภูมิ ผุดขึ้น 2. ตน-ตัวดู-ผู้รู้-อวิชชา ทำการ 3. teleport-สังขารา-จิตส่งออก เข้าไป "แตะ" แล้ว "ตาจิต" เห็นรูป ข้างใน 4. รู้ว่าเป็น ความจำจากอดีต

    +++ การส่งจิตออกไป "แตะเพียงวูปเดียวนี้" เป็นการรู้และเข้าใจแบบเดียวกันกับ "เจโตปะริยะญาณ และ จิตสื่อสาร" นะครับ
     
  18. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    ขอบพระคุณพี่ธรรม-ชาติ มาก ๆ คะ
    แต่กรี๊ดตรง จิตเก่าแก่ ระดับ้ขามอสงไขยมากอะ 555
    พี่คะ แล้ว
    1. ดับตัวดูทำยังไงคะ
    2. แบบนี้เวลาวูบขึ้นมา เรารู้ละเป็นอะไร ก็กลับมาก็เท่ากับไม่ไปสร้างภพใหม่ อันนี้ก็คือการตัดชาติภพสินะคะ ที่พระพุทธเจ้าท่านว่าให้อยู่กับปัจจุบัน มันก็คือ moment แบบนี้ใช่ไหมคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2013
  19. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    "การเดินจิต" ครั้งสุดท้าย

    1. ดับตัวดูทำยังไงคะ

    +++ ให้อ่านทีละ step และ "ทำ" ทีละ step

    +++ 1. "ทำ" รู้ ให้ครอบคลุมทั้งตัว
    +++ 2. "สำเหนียก" อาการ "ดู" ก่อนที่จะ "อ่าน" (ส่งออก) ตรงนี้
    +++ 3. อาการดู "ถูกรู้" (ถ้าทำตรงนี้ไม่ได้ ถือว่า ยังไม่พร้อมที่จะ ดับตัวดู)

    +++ ทบทวนการ "ทำ" 1-3 หลาย ๆ ครั้ง จนได้ "อาการดู ถูกรู้" ที่ชัดเจนแน่นอน
    +++ กระบวนการต่อจากตรงนี้ อยู่ในสภาพ "ถูกรู้" ทั้งหมด

    +++ 4. "ตรึง" ตัวดู ให้ หยุดอยู่กับที่ (เข้า ออก เร่ง ลด "ตรึง" แช่ อยู่) เมิล เคยฝึกมาแล้ว ย่อม "ตรึง" ตัวดูได้
    +++ 5. "แช่" ตัวดูที่หยุด (ดับ) อยู่นี้ ให้ถูกรู้อยู่เช่นนั้น
    +++ 6. "อยู่" กับรู้ แล้ว ตัวดู (จุติจิต) จะสลายสภาพไปเอง

    +++ ตรงนี้คือ "การเดินจิต" ครั้งสุดท้าย แห่งชาติภพ ทำให้ชำนาญจนเป็นนิสัย และตรงนี้เป็น "อยู่กับรู้" ของหลวงปู่ ดูลย์ อตุโล

    2. แบบนี้เวลาวูบขึ้นมา เรารู้ละเป็นอะไร ก็กลับมาก็เท่ากับไม่ไปสร้างภพใหม่ อันนี้ก็คือการตัดชาติภพสินะคะ ที่พระพุทธเจ้าท่านว่าให้อยู่กับปัจจุบัน มันก็คือ moment แบบนี้ใช่ไหมคะ

    +++ เกือบใช่มาก ๆ เลย ขณะที่ "วูบขึ้นมา เรารู้ แล้วก็กลับมา" นั้น เป็นการ "กลับมา อยู่ กับดู" ถึงแม้ว่าจะเป็นการทำงานของ อริยะสัจ 4 ก็ตาม แต่กระบวนการยังเป็น สังคตะธรรม (Dynamic Stage) อยู่ตลอดเวลา

    +++ คุมตัวดู ให้ถูกรู้ แล้วอยู่กับรู้ เพียงประการเดียว "มหาสติ" ก็จะรู้ "สรรพฐาน" และ "เป็นอิสระ จากฐานทั้งมวล" รวมทั้ง ชาติภพ ได้เอง

    +++ อยู่กับรู้ เท่านั้น ที่เป็น อสังคตธรรม (Static Stage) ทำให้ได้นิสัย นะครับ
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เหมือนอ่านนิยายเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...