อาการคล้าย อเหตุกจิต หสิตุปบาท.....แต่คงไม่ใช่

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย lufhtiaf, 2 มิถุนายน 2013.

  1. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    สวัสดีครับ ผมมีเรืองเล่าและขอปรึกษาผู้รู้หรือผู้ที่มีประสบการณ์คล้ายผมครับ

    ขอท้าวความนิดนึง คือตั้งแต่สมัยเด็กผมเป็นคนที่นั่งสมาธิค่อนข้างบ่อย เพราะพ่อจะชวนให้นั่ง และผมก็ค่อนข้างชอบ ตอนนั้นไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร นั่งบริกรรมพุทโธ จิตจดจ่อไปเรื่อยตามที่พ่อสอน จนเกิดนิมิตรต่างๆ เช่นไปพบพระ พบฤๅษี ในถ้ำที่ไหนสักที่ มีการพูดคุยโต้ตอบเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งตอนนั้นก็ไม่เคยสนใจเพราะในวัยเด็กก็ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เท่าไรก็ได้แต่เล่าให้ผู้ใหญ่ฟังแค่นั้นก็จบ พอโตมาอีกหน่อย เริ่มมีเพื่อน เริ่มต้องสนใจเรื่องเรียน สนใจสาวๆ ผมก็ทิ้งการปฏิบัตไปหลายปี จะมีนั่งบ้างก็ไม่มาก และไม่มีอะไรแปลกใหม่ กว่าจิตจะรวมได้ก็ยากซะด้วยซ้ำ ต่อมาผมได้มีโอกาสบวชเพื่อทดแทนคุณ ซึ่งผมก็ตั้งใจในการปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ ภาวนา ทั้งสมถะ และวิปัสสนาอยู่ตลอด สภาวะธรรมก้าวหน้าดีมาก มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมนั่งสมาธิ ตามดูลมหายใจไปเรื่อยๆจนกระทั่ง คำบริกรรมหายไป ตามดูสภาวะของจิตต่อไปเรื่อยๆ นิ่งดิ่งดี (ซึ่งจากที่ศึกษามาก็น่าจะเลยขั้นอุปจาระสมาธิและฌาน 1 ฌาณ 2 ไปแล้ว) อยู่ดีๆก็เกิดอาการที่มันยิ้มขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ตอนแรกก็ตามดูไป เพราะไม่เคยเกิดอาการเช่นนี้มาก่อนในชีวิต สักพักหนึ่ง คิดว่าเริ่มนานแล้วทำไมมันยังไม่หยุด ก็เลยลองบังคับดู แต่มันก็ไม่หยุดให้ ลองอยู่สักสองครั้ง เมื่อมันไม่หายก็เลยปล่อยตามดูมันไป จนมันคลายออกมาเอง (ตอนนั้นคิดว่ามันคงเป็นอาการของปิติ หรือสุขธรรมดา เพราะตอนนั้นมันนิ่งแล้วอยู่ดีๆก็มีอาการนี้ขึ้นมาก คิดว่าคงหลุดจากฌาน 3 ลงมาอยู่ที่ฌาณ 2 เพราะยังไม่มีวิตกวิจารณ์ปรากฏขึ้นมา)

    ต่อมาได้อ่านหนังสือเจอ เรื่องของ อเหตุกจิต หสิตุปบาท อ่านมาคิดว่าเอ่อตรงกับอาการเราตอนนั้นเลย แต่พออ่านเลยมาอีกหน่อย อ่าว ไม่ใช่ละ อาการอย่างนี้จะมีเฉพาะใน พระอริยเจ้า....เอ่อพิจารณาตัวเองดีแล้วว่าไม่ใช่แน่นอน เพราะแม้นจะปฏิบัติมาตลอด รักษาศีล 5 มาอย่างสม่ำเสมอ พยายามมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดๆ แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นมหาสติ แม้บางครั้งที่จะทำผิดก็มีตัวสติขึ้นมาเตือนอยู่บ่อยๆ แต่บางครั้งมันก็เผลอจนได้เหมือนกัน แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ หรือทำให้ใครเดือดร้อน แต่มันก็ไม่ใช่ระดับพระอริยะเจ้าอยู่ดี

    ใครพอมีประสบการณ์หรือทราบเรื่องนี้ รบกวนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  2. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ อาการที่ใบหน้า ยิ้มแย้มน้อย ๆ ประดุจพระพุทธรูป ทั้ง ๆ ที่จิตสงบนิ่งเฉย แต่มีสติครองอยู่เต็มร่าง ไม่ว่าจะเป็น สติครอบร่างอยู่ภายนอก (ฐานกายา) หรือ ร่างครอบสติอยู่ภายใน (ฐานเวทนา) ก็ตาม แต่มี

    +++ 1. สติ (สภาวะรู้) รู้อยู่เต็มร่าง
    +++ 2. ไม่มีการทำงานทางจิต (ไร้เจตนาและกิริยาจิตโดยสิ้นเชิง)
    +++ 3. ทั้งร่างเกิดอาการ โล่ง โปร่ง ใส ประดุจแก้ว

    +++ อาการยิ้มประดุจพระพุทธรูปนั้น จะปรากฏมาเองโดยธรรมชาติ

    +++ ปกติมักจะเกิดกับผู้ที่ได้ มหาสติ หรือ ผู้ที่สามารถจัดการกับจิตตนเองได้แล้ว หรือ ผู้ที่หลุดออกมาแล้วจากความเป็นจิต (เจโตวิมุติ) เท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ปุถุชนคนธรรมดา ก็น่าจะเดินจิตทดลองดูเอาเองได้ ว่าอะไรเป็นอะไร โดยมีขั้นตอนการเดินจิต ดังนี้

    +++ 1. นั่งสมาธิ จนเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    +++ 2. เกิดความพอใจ หรือ เพลิดเพลินที่อยู่ในความรู้สึกนั้น ทั้งร่าง
    +++ 3. อยู่กับความเพลิดเพลิน จนความเพลิดเพลินเปลี่ยนสภาพมาเป็น ความเปล่งปลั่ง
    +++ 4. เมื่อความเปล่งปลั่ง ละเอียดมากขึ้น จะทำให้ รู้ ขอบเขตของร่าง ทั้งตัว
    +++ 5. จากนั้น อาการ โล่ง โปร่ง ใส ประดุจแก้ว จะปรากฏมาเองเมื่อความเปล่งปลั่ง จางคลายหายไป

    +++ ในยามนั้น ย่อมรู้ได้เองว่า อาการที่ใบหน้า ยิ้มแย้มน้อย ๆ ประดุจพระพุทธรูป ย่อมเป็นมาเอง โดยไร้เจตนาโดยสิ้นเชิง
    +++ ลองดูนะครับ หากคุณทำได้ ในยามนั้น คุณ ย่อมอยู่ใน มหาสติ เรียบร้อยแล้ว
     
  3. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    ขอบคุณครับคุณ ธรรม-ชาติ จากที่อ่านก็เข้าใจครับในลักษณะของการปฏิบัติ ก็เหมือนกับตอนที่เหตุการณ์เกิดขึ้นครับ แต่จากข้อความที่คุณธรรมชาติเขียนแสดงว่าเหตุการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้ในปุถุชนธรรมดาเช่นกัน หากในช่วงนั้นสามารถมีสมาธิ มีสติอยู่ในระดับมหาสติ แต่ก็เป็นระดับมหาสติเพียงแค่ชั่วคราว

    ไม่ทราบผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ความเห็นของผมคือ ปรากฏการณ์นี้ ผู้ที่ฝึกมาทางมหาสติปัฏฐานสมควรที่จะได้ทำการทดสอบดู แม้ว่าจะเป็นเพียงระดับมหาสติเพียงแค่ชั่วคราวก็ตาม แต่มันก็คือ อริยะมรรคในระดับชั่วคราวด้วยเช่นกัน หากผู้ใดสามารถทำได้จนเป็นนิสัย ก็คงจะประเมินได้โดยไม่ยากว่าอะไรจะเกิดขึ้น ในชั้นผลของชาตินี้ ผมผ่านปรากฏการณ์ในบริเวณนี้มาตั้งแต่ปี 2530 แล้ว และสามารถยืนยันได้ว่า หากเดินจิตตามที่ผมได้กล่าวไว้แล้วนั้น ผลลัพธ์ที่ใบหน้ายิ้มน้อย ๆ ประดุจพระพุทธรูป ย่อมปรากฏมาเองทุกครั้งไป ซึ่งเป็นมาตรฐานของการเดินจิตจนถึงมหาสติเท่านั้น และเกิดจากการ ตั้งสติมั่น ไม่ใช่ ตั้งจิตมั่น ลองทำดูก็จะทราบผลเองนะครับ
     
  5. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ผมเองก็ไม่แน่ใจนักนะครับ
    แต่ผมยิ้มอยู่แล้วเวลาทำกรรมฐาน
     
  6. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    มันเป็นคนละแบบน่ะครับ หสิตุปบาท เป็นการยิ้มที่ ไม่ได้ตั้งใจให้ยิ้มหรือยิ้มเพราะปิติ หรือสุข ที่เกิดจากกรรมฐาน และตอนนั้นมีสติครับถ้วน รู้ว่ายิ้ม แต่จะฝืนก็ไม่ได้
     
  7. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    วันนี้ผมอ่านไปเจอข้อความส่วนหนึ่งจาก :: เลยขอยกมาเผื่อผู้ที่เคยเกิดเหตุการณ์คล้ายผมได้ลองอ่านกันดูครับ

    ๑๒
    ประสบการณ์ภาวนา


    คุณสันตินันท์ ได้กล่าวถึงตนเองที่อาศัยคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ ช่วยในการปฏิบัติธรรมจนเกิดผลน่าพอใจ อ่านแล้วชื่นใจครับ (จากหนังสือโลกทิพย์)

    เขาเล่าถึงตนเองอย่างถ่อมตนว่า

    “ผมลังเลใจอยู่นานที่จะเล่าถึงการปฏิบัติธรรมของตนเอง เพราะมันเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งถ้าใครตั้งใจปฏิบัติก็ทำกันได้

    แต่ด้วยความเคารพในคำสั่งของครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง คือหลวงพ่อพุธ ฐานิโย แห่งวัดป่าสาลวัน ที่ท่านสั่งให้เขียนเรื่องนี้ออกเผยแพร่ ผมจึงต้องปฏิบัติตาม โดยเขียนเรื่องนี้ให้ท่านอ่าน

    ผมเป็นคนวาสนาน้อย ไม่เคยรู้เรื่องพระธุดงค์กรรมฐานอย่างจริงจังมาก่อน จนกระทั่งแทบจะละทิ้งพุทธศาสนาไปแล้ว เพราะเกิดตื่นเต้นกับลัทธิวัตถุนิยม

    แต่แล้ววันหนึ่ง ผมได้พบข้อธรรมสั้นๆ บทหนึ่งของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ มีสาระสำคัญว่า

    “จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ”

    ผมเกิดความซาบซึ้งจับจิตจับใจ และเห็นจริงตามว่าถ้าจิตไม่ออกไปรับความทุกข์แล้ว ใครกันล่ะที่จะเป็นผู้ทุกข์ จิตใจผมมันยอมรับนับถือหลวงปู่ดูลย์เป็นครูบาอาจารย์ตั้งแต่นั้น

    ต่อมาในต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ผมก็มีโอกาสดั้นด้นไปนมัสการหลวงปู่ดูลย์ ที่จังหวัดสุรินทร์

    เมื่อไปถึงหน้ากุฏิท่านแล้ว เกิดความรู้สึกกลัวเกรงเป็นที่สุดเพราะท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ และผมไม่เคยพบปะพูดจากับพระมาก่อนด้วย

    ขณะที่รีรออยู่นั้น หลวงปู่ดูลย์เดินออกมาจากกุฏิของท่านมามองดู ผมจึงรวมความกล้าเข้าไปกราบเรียนท่านว่า

    “ผมอยากภาวนา”

    ท่านแสดงธรรมทันทีว่า การภาวนานั้นไม่ยาก แต่มันยากสำหรับผู้ไม่ภาวนา

    ขั้นแรกให้ภาวนา “พุทโธ” จนจิตวูบลงไป แล้วตามดูจิตผู้รู้ไป จะรู้ธรรมคืออริยสัจ ๔ เอง (หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนศิษย์แต่ละคนด้วยวิธีแตกต่างกัน นับว่าท่านมีอนุสาสนีปาฏิหาริย์อย่างสูง)

    หลังจากนั้น ผมได้น้อมเอาคำสอนของท่านมาปฏิบัติโดยภาวนาพุทโธ จนได้น้อมเอาคำสอนของท่านมาปฏิบัติโดยภาวนาพุทโธ จนจิตสงบ แล้วพยายามสังเกตจิตใจของตนเอง

    ค่อยๆ แยกจิตผู้รู้ออกจากความรู้หรือสิ่งรู้ของจิต เช่นความคิด ความจำ และอารมณ์ตลอดจนกิเลสต่างๆ จนสามารถรู้ได้ว่าขณะนี้เกิดกิเลสขึ้นกับจิตหรือไม่

    ถ้าเกิดและรู้ทัน กิเลสมันก็ดับไปเอง เหลือแต่จิตผู้รู้ซึ่งความรู้ความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ ไปอย่างเป็นอิสระจากกัน

    ต่อมาภายหลังผมได้หาหนังสือธรรมะมาอ่าน จึงรู้ว่าในทางปริยัติจัดเป็นการเจริญวิปัสสนาญาณแล้ว เป็นการจำแนกรูปนามขันธ์ ๕ ออกจากกัน

    แต่ในขณะที่ปฏิบัตินั้น จิตไม่ได้กังวลสนใจว่าเป็นญาณอะไรขั้นใด

    ปฏิบัติอยู่ ๓ เดือน จึงไปรายงานผลกับหลวงปู่ดูลย์ว่า

    “ผมหาจิตเจอแล้ว จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป”

    คราวนี้ ปรากฏว่าท่านแสดงธรรมอันลึกซึ้งมากมาย เกี่ยวกับการถอดถอนทำลายอุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕

    ท่านสอนถึงกำเนิดและการทำงานของจิตวิญญาณจนถึงการเจริญอริยมรรค จนมีญาณเห็นจิตเหมือนมีตาเห็นรูป

    ท่านสอนว่า เมื่อเราดูจิต คือตามรู้จิตเรื่อยๆ ไปนั้น สิ่งปรุงแต่งจะดับไปตามลำดับ จนถึงความว่าง

    แต่ในความว่างนั้นยังไม่ว่างจริง มันมีสิ่งละเอียดเหลืออยู่คือวิญญาณ

    ให้ตามรู้จิตเรื่อยๆ ไป ความยึดในวิญญาณจะถูกทำลายออกไป แล้วจิตจริงแท้หรือพุทธะ (หลวงปู่เทสก์เรียกว่าใจ) จึงปรากฏออกมา

    คำสอนครั้งนี้ลึกซึ้งกว้างขวางเหมือนฝนตกทั่วฟ้า แต่ภูมิปัญญาผมจำกัด จึงรองน้ำฝนไว้ได้ถ้วยเดียว คือ ได้เรียนถามท่านว่า

    “ที่หลวงปู่สอนมาทั้งหมดนี้ หากผมจะปฏิบัติด้วยการดูจิตเรื่อยๆ ไปจะพอไหม”

    หลวงปู่ดูลย์ตอบว่า “การปฏิบัติก็มีอยู่เท่านั้นแหละ แม้จะพิจารณากาย หรือกำหนดนิมิตหมายใดๆ ก็เพื่อให้ถึงจิตใจตนเองเท่านั้น

    นอกจากจิตแล้วไม่มีสิ่งใดอีก พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็รวมลงที่จิตตัวเดียวนี้เอง”

    หลังจากนั้นผมก็เพียรดูจิตเรื่อยๆ มามีสติเมื่อใด ดูเมื่อนั้น ขาดสติแล้วก็กลับกันไป นึกขึ้นได้ก็ดูใหม่ เวลาทำงานก็ทำไป พอได้สติเกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้

    วันหนึ่งของอีก ๔ เดือนต่อมา ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นมีพายุฝนอย่างหนัก ผมเปียกฝนทั้งตัว และได้ไปหลบฝนอยู่ในกุกฏิพระหลังหนึ่ง

    ขณะนั้นได้นึกห่วงร่างกายว่า ร่างกายเราไม่แข็งแรงคราวนี้ไม่สบายแน่

    สักครู่ก็ตัดใจว่า ถ้าจะป่วยมันก็ต้องป่วย นี่กายยังไม่ทันป่วยใจกลับป่วยเสียก่อนแล้ว ด้วยความกังวล พอรู้ตัวว่าจิตมีกังวล ผมก็ดูจิตต่อไป เพราะเคยฝึกดูจิตาจนเป็นนิสัยแล้ว

    ขณะนั้นนั่งลืมตาอยู่แท้ๆ แต่ประสาทสัมผัสดับหายไปหมด โลกทั้งโลก เสียงฝน เสียงพายุหายไปหมด เหลือแต่สติที่ละเอียดอ่อนประคองรู้ตัวอยู่

    มันมีสิ่งละเอียดๆ ผ่านมาสู่ความรับรู้ของจิตเป็นระยะๆ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เพราะจิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆ

    ต่อมาจิตมีอาการไหวดับวูบหนึ่ง ส่งที่ผ่านมาให้รู้ดับไปหมดแล้ว ทำให้รู้ชัดเหมือนตาเห็นว่าความว่างที่เหลืออยู่นั้น ถูกแหวกพรวดออกไปอีกทีหนึ่ง กลายเป็นความว่างที่บริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง

    ในความว่างนั้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วได้อุทานขึ้นว่า

    “เอ๊ะ ! จิตไม่ใช่เรานี่”

    จากนั้นจิตได้มีอาการปิติยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้นพร้อมๆ กับเกิดแสงสว่างโพลงขึ้นรอบทิศทาง จากนั้นจิตาจึงรวมสงบลงอีกครั้งหนึ่งแล้วถอนออกจากสมาธิ

    เมื่อความรับรู้ต่างๆ กลับมาสู่ตัวแล้ว ถึงกับอุทานว่า

    “อ้อ ! ธรรมะเป็นอย่างนี้เอง”

    เมื่อผมได้ไปกราบหลวงปู่ดูลย์ และเล่าเรื่องนี้ให้ท่านทราบ พอเล่าว่าสติละเอียดเหมือนเคลิ้มๆ ไป ท่านอธิบายว่าจิตผ่านฌานทั้ง ๘

    ผมได้แย้งท่านตามประสาคนโง่ว่า ผมไม่ได้หัดเข้าฌาน และไม่ได้ตั้งใจเข้าฌาน

    หลวงปู่ดูลย์อธิบายว่า ถ้าตั้งใจก็ไม่ใช่ฌาน และขณะจิตผ่านฌานอย่างรวดเร็วนั้น จิตจิไม่มานั่งนับว่าผ่านฌานอะไรอยู่

    การที่ดูจิตนั้นจะได้ฌานโดยอัตโนมัติ (หลวงปู่ไม่ชอบสอนเรื่องฌาน เพราะเห็นเป็นของธรรมดาที่จะต้องผ่านไปเอง หากสอนเรื่องนี้ ศิษย์จะมัวสนใจฌาน ทำให้เสียเวลาปฏิบัติ)

    พอผมเล่าว่าจิตอุทานได้เอง หลวงปู่ดูลย์ก็บอกว่าอาการจิตต่างๆ ที่ผมยังเล่าไม่ถึงออกมาตรงกับที่ผมผ่านมาทุกอย่าง

    และท่านสรุปว่า จิตยิ้มแล้ว พึ่งตนเองได้แล้ว ต่อไปนี้ไม่จำเป็นจ้องมาหาท่านอีก

    แล้วท่านแสองธรรมเรื่อง จิตเหนือเหตุ หรือ อเหตุกจิต ให้ฟัง มีใจความว่า

    อเหตุกจิต มี ๓ ประการ คือ

    ๑. ปัญจทวารวัชนจิต ได้แก่ ความรับรู้ทางตา หู จมธก ลิ้น และกาย
    ๒. มโนทวารวัชนจิต ได้แก่ ความรับรู้ทางใจ
    ๓. หสิตกหุปบาท เป็นโลกุตรจิต เป็นจิตสูงสุด เกิดขึ้นเพียง ๓ - ๔ ครั้ง ก็ถึงที่สุดแห่งกทหุกข์

    หลังจากนั้นผมก็ปฏิบัติด้วยการดูจิตเรื่อยมา และเห็นว่าเวลามีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย จะมีคลื่นวิ่งเข้าสู่ใจหรือบางครั้งก็มีธรรมารมณ์เป็นคลื่นเข้ามาสู่ใจ

    หากขณะนั้นขาดสติ จิตจะส่งกระแสไปยึดอารมณ์นั้น

    หากตอนนั้นจิตยังไม่ละเอียดพอ ผมเข้าใจว่าจิตวิ่งไปยึดอารมณ์แล้วขยับๆ ตัวเสวยอารมณ์อยู่ จึงไปเรียนให้หลวงปู่ดูลย์ทราบ

    ท่านกลับตอบว่า “จิตไม่มีการไป ไม่มีการมา”

    ผมได้มาดูจิตต่ออีกสักครึ่งปีต่อมา

    วันหนึ่งจิตผ่านเข้าสู่อัปปนาสมาธิ และเดินวิปัสสนาคือมีสิ่งรู้ผ่านมาสู่จิต แต่จิตไม่มีความคิดสำคัญมั่นหมายใดๆ

    จากนั้นเกิดอาการว่าแยกขึ้นาาแบบเดียวกับจิตยิ้มคราวแรก

    คราวนี้จิตพูดขึ้นเบาๆ ว่า “จิตไม่ใช่เรา”

    แต่ต่อจากนั้นแทนที่จิตจะยิ้ม จิตกลับพลิกไปสู่ภูมิาของสมถะ ปรากฏนิมิตเป็นเหมือนดวงอาทิตย์โผล่พรวดออกมาจากสิ่งห่อหุ้ม แต่โผล่ไม่หมดดวง

    เป็นสิ่งแสดงให้รู้ว่ายังไม่ถึงที่สุดของการปฏิบัติ

    ปรากฏการณ์นี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การดำเนินของจิตในขั้นวิปัสสนานั้น หากสติอ่อนลง จิตจะวกกลับมาสู่สมถะ และวิปัสสนูปกิเลสจะแทรกเข้ามาตรงนี้ ถ้าไม่กำหนดรู้ให้ชัดเจนว่า วิปัสสนาพลิกกลับเป็นสมถะไปแล้ว

    นักปฏิบัติจึงต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยพบกับจิตยิ้ม (สำนวนของหลวงปู่ดูลย์) หรือใจ (สำนวนของหลวงปู่เทสก์) หรือจิตรวมใหญ่ (สำนวนท่านอาจารย์สิงห์)

    เมื่อผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ ท่านก็ว่า “ดีแล้วให้ดูจิตต่อไป”

    ผมก็ทำเรื่อยๆ มา ส่วนมากเป็นการดูจิตในชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยได้นั่งสมาธิแบบเป็นพิธีการ

    ต่อมาอีก ๑ เดือน วันหนึ่ง ขณะนั่งสนทนาธรรมกับน้องชาย จิตเกิดรวมวูบลงไป มีการแยกความว่าง ซึ่งมีขันธ์ละเอียด (วิญญาณขันธ์) ออกอีกทีหนึ่ง

    แล้วจิตก็หัวเราะออกมาเอง (ร่างกายไม่ได้หัวเราะ) โดยปราศจากอารมณ์ เกิดการหัวเราะกิเลสว่ามันผูกมัดมานาน ต่อๆ ไปจิตจะเป็นอิสระยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

    เหตุการณ์นี้ทำให้ได้ความรู้ชัดว่า ทำไมในครั้งพุทธกาลจึงมีผู้รู้ธรรมะขณะฟังธรรมเกิดขึ้นได้

    ผมนำเรื่องนี้ไปรายงาน หลวงปู่ดูลย์ คราวนี้ท่านไม่ได้สอนอะไรอีก เพียงแต่ให้กำลังใจว่าให้พยายามให้จบเสียแต่ในชาตินี้ หลังจากนั้นไม่นานท่านก็มรณภาพ

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์อีกรูปหนึ่งเคยบอกให้ผมเขียนเรื่องการาปฏิบัติของตนเองออกเผยแพร่ เพราะอาจจะมีผู้ที่จริตคล้ายๆ กันได้ประโยชน์บ้าง

    และเพื่อระลึกถึงหลวงปู่ดูลย์ ผู้มากด้วยอนุสาสนีปาฏิหาริย์ รวมทั้งหวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์บ้างเล็กน้อยสำหรับท่านที่กำลังแสวงหาหนทางปฏิบัติอยู่
     
  8. cwmdosthai

    cwmdosthai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +312
  9. lufhtiaf

    lufhtiaf Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +37
    ถึงตอนนี้ผมเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วครับ และรู้หนทางที่ผมควรจะเดินต่อไปแล้ว

    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าใจชัดแล้วว่าเป็นผลของมหาสติปัฏฐาน ไม่ใช่ผลของการเจริญสมถะแต่อย่างเดียว ทำให้เข้าใจและเห็นชัดเลยว่าผลที่เกิดมาจากสติปัฏฐานต่างจากผลที่ได้จากสมถะแค่ไหน อย่างไร

    ผมคงจะเจริญมหาสติปัฏฐานเป็นหลักในชีวิตประจำวัน แล้วเมื่อมีเวลาว่างก็จะใช้สมถะเข้าช่วยต่อด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน คิดว่าน่าจะเหมาะสมสำหรับคนที่ยังต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ และต้องการหาจุดสิ้นสุดแห่งภพชาติเป็นหลัก ไม่ได้ต้องการเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ใดๆ แบบผม

    ต้องขอบคุณท่าน ธรรม-ชาติ มากครับที่ช่วยชี้แนะ ต่อเติมให้ผมเกิดความเข้าใจ
     
  10. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ก็นั่นเป็นจริยาของพระอรหันต์ ผมไม่ใช่นี่ครับ
    ส่วนจะว่าตั้งใจอะไรยังไงนั้น ถ้าเป็นเรื่องของวิสัยพระอรหันต์ผมคงไม่มีความเห็น

    โดยมากแล้วการเจริญพระกรรมฐาน ผมเองก็ไม่ได้สนใจว่าร่างกายมันจะเป็นอย่างไร
    สนใจแต่จิตว่ามันเกาะอะไรอยู่มากกว่า

    ส่วนที่ยิ้มในการขึ้นพระกรรมฐาน
    เราพอใจอะไร เราก็ยิ้ม ก็แค่นั้น คือผมไม่รอปีติ ผมปีติเลยมันเข้าเร็วดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...