18.Pai Mini Stories : Part 2 อิง ลำน้ำปาย

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 19 ธันวาคม 2009.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๑๘

    Pai Mini Stories : Part 2
    อิง ลำน้ำปาย



    วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ วันนี้ยื่นใบลาพักร้อน ๑ วัน

    หกโมงกว่าแล้วยังไม่อยากตื่นเลย กว่าจะหลับได้ก็เลยตีหนึ่งเกือบจะตีสอง ง่วงๆ วันนี้ต้องพาเด็กน้อยไปดูหมีแพนด้า ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ วันนี้คุณแม่ของเพื่อนทำอาหารเช้าให้ทานต้องขอขอบคุณอย่างสูงเกรงใจจัง หลังจากอาบน้ำแต่งตัว จัดแจงเก็บสัมภาระขึ้นรถก็ต้องรีบตั้งวงทานข้าว แล้วลาคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อน เพื่อไปสวนสัตว์เชียงใหม่โดยด่วน เพราะทางสวนสัตว์จำกัดเวลาในการเปิดให้เข้าเยี่ยมหลินปิง ส่วนจานชามที่ทานแล้วนั้นก็ให้เพื่อนล้างไป(อิ อิ) ออกจากบ้านเมื่อเวลาประมาณ เกือบ ๘ โมงเช้า ตั้ง GPS ไปสวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งก็คือทางเดียวกันกับที่จะไปพระธาตุดอยสุเทพ กว่าจะถึงสวนสัตว์ได้รถติดเหมือนกรุงเทพมหานครเลยหล่ะ....

    a.jpg
    รถติด.....

    พอรถจ่อหน้าประตูทางเข้าสวนสัตว์ได้ ก็ไล่ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ลงรถไปซื้อบัตรผ่านประตู ไม่เช่นนั้นจะเข้าเยี่ยม(-_-!)หมีแพนด้าไม่ทัน ส่วนสร้อยฟ้ามาลาก็ขับรถไปจอดบนลานจอดรถเสียตังก์ค่าจอด ๕๐ บาทแต่งานนี้สร้อยฟ้ามาลาไม่ได้เข้าไปเยี่ยมหมีแพนด้านะ เพราะดู Lin Ping Reality ทางช่อง 18 Panda Live ของ True Vision จนเบื่อแล้วหล่ะ......

    a.jpg

    มาชมสวนสัตว์เชียงใหม่กันดีกว่า

    สวนสัตว์เชียงใหม่
    องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    a.jpg

    สวนสัตว์เชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นโดยนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง (Mr.Harold Mason Young) มิชชั่นนารีชาวอเมริกันผู้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่พวกทหารและตำรวจชายแดนในช่วงสงครามเกาหลี(พ.ศ.๒๔๙๓ – ๒๔๙๖)โดยอาศัยพื้นที่บ้านที่ตนเช่าอยู่คือบ้านเวฬุวัน เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นของนาย กี นิมมานเหมินท์ (พ.ศ.๒๔๓๑ – ๒๕๐๘)และนาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ (พ.ศ.๒๔๓๗ – ๒๕๒๔)เป็นสถานที่เริ่มต้นโดยเริ่มเปิดเป็นสวนสัตว์เล็กๆ ของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๙๕ โดยจ้างคนพื้นเมืองและชาวเขาจำนวนไม่มากนักช่วยดูแล

    a.jpg

    เหตุผลของการสะสมสัตว์ชนิดต่างๆ ของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังจนสามารถจัดเป็นสวนสัตว์เอกชนขึ้นได้นั้น แม้ไม่ปรากฏหลักฐานชัดแต่คงเนื่องด้วยความรักเมตตาต่อสัตว์เป็นพื้นฐานและเพื่อศึกษานิสัยอากัปกิริยาต่างๆของสัตว์ชนิดต่างๆอย่างใกล้ชิดด้วยเพื่อประโยชน์ ในการประกอบอาชีพเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหาร และตำรวจชายแดนซึ่งต้องผจญกับสัตว์ป่านานาชนิดเสมอ

    a.jpg

    นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังเป็นบุตรของมิชชันนารีชาวอเมริกันเกิดที่รัฐฉาน ( Shan State ) ประเทศพม่าเคยทำงานในฐานะมิชชั่นนารีในรัฐฉาน ( Shan State )ดินแดนของชาวไตซึ่งอุดมด้วยสัตว์ป่านานาชนิดมาก่อน และเหตุผลที่ทำให้นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังต้องเข้ามาทำงานในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหารและตำรวจชายแดนในประเทศไทย ก็คงเนื่องด้วยพันธะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีต่อรัฐบาลไทยในการสนับสนุนทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯอย่างเต็มที่เพื่อร่วมกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ตาม สนธิสัญญาไทย-อเมริกัน ๓ ฉบับ คือความตกลงทางการศึกษาและ วัฒนธรรมในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๓ความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิคในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๙๓ และความตกลงทางการช่วยเหลือ ทางทหารในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๓เป็นต้นมา

    a.jpg


    ปรากฏว่าหลังจากปี พ.ศ.๒๔๙๓รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้จัดส่ง คณะที่ปรึกษาอาสาสมัคร และกำลังสนับสนุนด้านต่างๆเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมากเฉพาะด้านทหารและตำรวจนั้น สหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะที่ปรึกษาทางทหาร ( MAAG ) มาประจำประเทศไทย ต่อมาขยายเป็นหน่วย JUSMAG เพื่อช่วยวางแผนการจัดกองพล การจัดกรมผสม จัดระบบ ส่งกำลังกองทัพบก ฯลฯขณะที่กองกำลังตำรวจขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของ พลตำรวจเอก เผ่า ศรีรานนท์ก็ได้รับการขยายกำลังออกไปอย่างกว้างขวาง โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนผ่านทางบริษัทซี ซัปพลาย( Sea Supply Coporation ) การเข้ามาทำงานในประเทศไทยในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหาร และตำรวจตระเวรชายแดนของนายฮาโรลด์เมสัน ยัง ก็คงอยู่ในบริษัท ( Context ) ทางการเมืองดังกล่าวนี้ด้วย

    a.jpg

    การสะสมสัตว์นานาชนิดของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังภายในบริเวณบ้านเวฬุวันที่ตนเช่าอยู่นั้น คงมี มากขึ้นๆและคงสร้างต้องอาศัยพื้นที่ในบริเวณบ้านเวฬุวันมากขึ้นคงทำให้พื้นที่อันสวยงามของบ้านเวฬุวัน เช่น สนามหญ้าหน้าบ้านถูกใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ไปโดยปริยาย

    a.jpg

    จากคำบอกเล่าของศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ ทายาทคนหนึ่งของ นายกี-นาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ได้ขอให้ นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังผู้เช่าบ้านเวฬุวันย้ายสวนสัตว์ของเขาไปไว้ที่ ที่ดินอีกแปลงหนึ่งของนาย กี-นาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ซึ่งอยู่เชิงดอยสุเทพเช่นกันซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่คงโดยเหตุที่นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังเป็นชาวอเมริกันประชาชนของประเทศที่ มีอิทธิพลทางการเมืองสูงยิ่งของโลกเขาจึงติดต่อขอที่ดินป่าสงวน เชิงดอยสุเทพ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่โดยตรง

    a.jpg


    จนได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนเชิงดอยสุเทพ ประมาณ ๖๐ไร่เป็นที่ตั้งสวนสัตว์ของเอกชน เปิดบริการให้เข้าชมตั้งแต่วันจักรี ๖เมษายน พ.ศ.๒๕๐๐จนกระทั่งนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง ถึงแก่อนิจกรรม ใน พ.ศ.๒๕๑๘

    a.jpg

    องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้พิจารณาเห็นคุณค่าของสวนสัตว์ของนาย ฮาโรลด์เมสัน ยัง ทั้งในฐานะเป็นแหล่ง พักผ่อนศึกษาสัตว์ของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่และเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวแหล่งหนึ่งตามโครงการปรับปรุงดอยสุเทพเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จึงรับกิจการสวนสัตว์ของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังไว้ในความดูแล ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

    a.jpg

    จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๒๐จึงโอนเข้าสังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ วันที่ ๑๖มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐เป็นต้นมา เนื่องนับ ถึง ๑๖ มิถุนายนพ.ศ.๒๕๓๐สวนสัตว์เชียงใหม่ก็มีอายุครบ ๑๐ปีเต็ม ในรอบทศวรรษนั้นสวนสัตว์เชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่จากเดิม ที่จังหวัดเชียงใหม่อนุมัติให้นาย ฮาโรลด์เมสัน ยัง จัดตั้งสวนสัตว์ประมาณ ๖๐ไร่ ได้รับการขยายเป็น ๑๓๐ ไร่

    a.jpg

    ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๖สวนสัตว์เชียงใหม่ก็ได้รับความเห็นชอบจากกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะรัฐมนตรีให้ขยายพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพเพิ่มเติมอีกประมาณ ๕๐๐ไร่ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาสวนสัตว์ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนหนึ่งโดยมีศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์เป็นประธานดำเนินงานวางผังหลักกำหนดแนวทางพัฒนาสวนสัตว์เชียงใหม่ต่อไปในอนาคตอย่างน่าสนใจยิ่ง


    a.jpg
    ดูหมีโคอาล่า ไปก่อน

    จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งประเภทตำนาน จารึก และภาพถ่ายทางอากาศยืนยันชัดว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของสวนสัตว์เชียงใหม่คือส่วนหนึ่งของ เวียงเจ็ดสินเวียงโบราณรูปวงกลมที่สร้างขึ้นในสมัยพญาสามฝั่งแก่น กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายลำดับที่ ๘(พ.ศ.๑๙๔๕ – ๑๙๘๔) ร่องรอยคูน้ำคันดินบางส่วนก็ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ซากอิฐจำนวนไม่น้อยยังคงปรากฏทั่วไปในบริเวณสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยเฉพาะบนเนินเนินเหนือที่เลี้ยงช้างเป็นกองอิฐก้อนใหญ่มากเป็นร่องรอยให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับ ทางศาสนา (ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานวัดกู่ดินขาวในปัจจุบัน)

    a.jpg

    a.jpg
    ตัวนี้ขี้อาย ไม่ยอมหันหน้ามาเลย


    ค่าธรรมเนียมสวนสัตว์เชียงใหม่
    ค่าธรรมเนียมบัตรผ่านประตูเข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๕๐ บาท
    บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย) ๑๐บาท


    a.jpg

    ค่าธรรมเนียมจอดยานพาหนะ
    รถยนต์ ๕๐ บาท
    รถจักรยานยนต์ ๑๐ บาท
    รถจักรยาน ๑บาท



    a.jpg
    ค่าธรรมเนียมบัตรเข้าชมหมีแพนด้า
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย)๕๐ บาท
    บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย)๒๐บาท



    ค่าธรรมเนียมเข้าชมศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ "เชียงใหม่ ซู อควาเรียม"
    รวมบัตรผ่านประตูหน้าสวนสัตว์และรถบริการเข้าชม (จำหน่ายหน้าประตูทางเข้าสวนสัตว์)
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๒๙๐ บาท
    บัตรเด็ก สูง ๙๐ - ๑๓๕เซนติเมตร (ชาวไทย) ๑๗๐ บาท



    a.jpg

    จำหน่ายหน้าประตูทางเข้าศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ "เชียงใหม่ ซู อควาเรียม"(ไม่รวมค่าธรรมเนียมบัตรผ่านประตูเข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่)
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๒๒๐ บาท
    บัตรเด็ก สูง ๙๐ - ๑๓๕เซนติเมตร (ชาวไทย) ๑๖๐ บาท



    เวลาเปิดขายบัตรเข้าชม
    จันทร์ – ศุกร์ ๙.๐๐ – ๑๗.๐๐น.
    เสาร์ – อาทิตย์ ๙.๓๐ – ๑๗.๓๐น.
    บัตรเด็กต่ำกว่า ๙๐เซนติเมตร เข้าชมพรี ...



    a.jpg

    ค่าธรรมเนียมรถบริการชมสวนสัตว์เชียงใหม่
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๒๐ บาท
    บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย) ๑๐บาท



    a.jpg


    a.jpg

    ค่าธรรมเนียมบริการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๗๐ บาท
    บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย) ๕๐บาท



    ค่าธรรมเนียมบริการ แอดเวนเจอร์พาร์ค
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๒๐ บาท
    บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย) ๑๐ บาท


    a.jpg

    ก็ขึ้นรถ ลงรถบริการของสวนสัตว์เป็นว่าเล่น รถบริการจะจอดให้ขึ้นและลงตรงป้ายเหมือนรถเมล์ จะขึ้นจะลงกี่ครั้งก็ได้ภายใน ๑ รอบ ซึ่งกินระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตรกว่าๆ แต่ในวันนี้มีคณะนักเรียนมาชมสัตว์มากมายเลยทำให้รถบริการไม่เพียงพอ ต้องคอยเป็นนานสองนานเหมือนกัน

    a.jpg



    ........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_9919_2a.jpg
      IMG_9919_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      176.7 KB
      เปิดดู:
      2,144
    • IMG_9955_2a.jpg
      IMG_9955_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      230.8 KB
      เปิดดู:
      4,611
    • IMG_9921_2a.jpg
      IMG_9921_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      267.2 KB
      เปิดดู:
      2,186
    • IMG_0003_2a.jpg
      IMG_0003_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      253.1 KB
      เปิดดู:
      2,068
    • IMG_0005_2a.jpg
      IMG_0005_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      346.5 KB
      เปิดดู:
      2,713
    • IMG_9924_2a.jpg
      IMG_9924_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      261.5 KB
      เปิดดู:
      1,527
    • IMG_9947_2a.jpg
      IMG_9947_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      294.2 KB
      เปิดดู:
      1,507
    • IMG_9929_2a.jpg
      IMG_9929_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      320.9 KB
      เปิดดู:
      1,576
    • IMG_9954_2a.jpg
      IMG_9954_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      245.6 KB
      เปิดดู:
      1,594
    • IMG_9930_2a.jpg
      IMG_9930_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      331.9 KB
      เปิดดู:
      1,806
    • IMG_9935_2a.jpg
      IMG_9935_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      243.4 KB
      เปิดดู:
      2,406
    • IMG_9937_2a.jpg
      IMG_9937_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      293.2 KB
      เปิดดู:
      2,331
    • IMG_9944_2a.jpg
      IMG_9944_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.8 KB
      เปิดดู:
      1,991
    • IMG_9953_2a.jpg
      IMG_9953_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      238.2 KB
      เปิดดู:
      2,114
    • IMG_9956_2a.jpg
      IMG_9956_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.4 KB
      เปิดดู:
      1,841
    • IMG_9960_2a.jpg
      IMG_9960_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      289.7 KB
      เปิดดู:
      1,573
    • IMG_9970_2a.jpg
      IMG_9970_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      291 KB
      เปิดดู:
      2,273
    • IMG_9986_2a.jpg
      IMG_9986_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      216.3 KB
      เปิดดู:
      1,729
    • IMG_9987_2a.jpg
      IMG_9987_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      207.1 KB
      เปิดดู:
      1,445
    • IMG_9997_2a.jpg
      IMG_9997_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      224.9 KB
      เปิดดู:
      1,379
    • IMG_9998_2a.jpg
      IMG_9998_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      172.2 KB
      เปิดดู:
      1,997
    • IMG_9972_2a.jpg
      IMG_9972_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      264.9 KB
      เปิดดู:
      1,823
    • IMG_9978_2a.jpg
      IMG_9978_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      227.6 KB
      เปิดดู:
      1,438
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    พอขึ้นรถบริการครบรอบแล้ว เด็กน้อยเด็กโต เยี่ยมหมีแพนด้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาซ้อมขับรถขึ้นภูเขากัน นั่นก็คือ ไปวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร แต่ก่อนที่จะขึ้นไปนั้น คณะของพวกเราต้องเข้าไปกราบพระครูบาศรีวิชยกันก่อน ซึ่งสร้อยฟ้ามาลาก็ตั้งใจไว้ว่าจะต้องมาไหว้ให้ได้


    อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
    ครูบาศรีวิชัย เป็นพระเถระที่ชาวล้านนาไทยให้ความเคารพนับถือมากที่สุดทุกวันนี้พวกเราจะสามารถเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพได้อย่างสะดวกสบายดีเมื่อพวกเราขึ้นไปจะผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงเขาข้างทางด้านล่างนั้น อย่าลืมหยุดนมัสการท่านหรืออย่างน้อยก็หยุดสงบใจระลึกถึงพระคุณของท่านครูบาเจ้าเพราะท่านเป็นผู้ที่เสียสละอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะชาวล้านนาไทยรวมถึงพระพุทธศาสนาอีกด้าย


    a.jpg


    พระครูบาศรีวิชัย
    เป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ"อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่าครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน"ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือพระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือนหรืออินท์เฟือนบ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้องเนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้นหมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาลเดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง"ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย) ๔.นางแว่น ๕. นายทา


    ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือหมื่นปราบ (ผาบ)ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปางบ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน



    ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้นหมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้านจนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก)เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปางแล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้นเด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปีก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูนโดยมีครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่าสิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็นสรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย


    เมื่ออุปสมบทแล้วสิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษาจากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วยและอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน


    ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละวัดดอยแตเป็นเวลา ๑พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔)ครูบาขัติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป(บางท่านว่ามรณภาพ)ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสมคือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบันเพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่าวัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปางตามชื่อของหมู่บ้าน


    ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัดโดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิงท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียวซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือนคงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือวันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง, วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ, วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง), วันเสาร์ ไม่ฉันบอนนอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิกและผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่าถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้าผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก


    ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..."และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่องอีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนาคือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมากทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษโดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันในระยะแรกนั้นเกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิมของล้านนานั้นให้ความสำคัญแก่ระบบหมวดอุโบสถหรือ ระบบหัวหมวดวัด มากกว่าและการปกครองก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ในการดูแลจำนวนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหมวดอุโบสถโดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือและได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูบาซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูงดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมากและลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯเมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา


    ส่วนสงฆ์ในล้านนาเองก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลายเนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่นออกเป็นถึง ๑๘ นิกายและในแต่ละนิกายนี้ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตนโดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์ และนอกจากนี้นิกายต่าง ๆนั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย เช่น นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน) นิกายยอง (จากเมืองยอง) เป็นต้นสำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่นๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวกแขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแตโดยอ้างว่าสืบวิธีการนี้มาจากลังกาการที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้นทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑(พ.ศ.๒๔๔๖)เพราะในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น"โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯเพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไปการจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯนี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผลองค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงที่ละน้อยเพราะอย่างน้อยความขัดแย้งต่าง ๆก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้ อำเภอลี้จังหวัดลำพูน เป็นต้น


    การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้นเกิดขึ้นเพราะครูบาศรีวิชัยถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนาส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เองและเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อนครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้กับหนานบุญเติงนายอำเภอลี้ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติการจับกุมครูบาศรีวิชัยสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ช่วงเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ ๓๐ปีและแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน

    อธิกรณ์ระยะแรก (ช่วงพ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๓)
    การต้องอธิกรณ์ช่วงแรกของครูบาศรีวิชัยเป็นผลมาจากการเริ่มทดลองใช้กฎหมายของคณะสงฆ์ฉบับแรก (พ.ศ.๒๔๔๖) และเป็นการเริ่มให้อำนาจกับสงฆ์สายกลุ่มผู้ปกครองในช่วงพ.ศ.๒๔๕๓ นั้นบทบาทของครูบาศรีวิชัยในหมู่ชาวบ้านและชาวเขามีลักษณะโดดเด่นเกินกว่าตำแหน่งสงฆ์ผู้ปกครองดังจะเห็นว่าชาวบ้านมักนำเอาบุตรหลานมาฝากฝังให้ครูบาศรีวิชัยบวชเณรและอุปสมบทเมื่อความทราบถึงเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้ทางการก็เห็นว่าครูบาศรีวิชัยล่วงเกินอำนาจของตนเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอได้พาตำรวจควบคุมครูบาศรีวิชัยไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้ได้๔ คืน จากนั้นก็ส่งครูบาศรีวิชัยไปให้พระครูบ้านยู้เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเพื่อรับการไต่สวน ซี่งผลก็ไม่ปรากฏครูบาศรีวิชัยมีความผิดหลังจากถูกไต่สวนครั้งแรกไม่นานนัก ครูบาศรีวิชัยก็ถูกเรียกตัวสอบอีกครั้งโดยพระครูมหาอินทร์ เจ้าคณะแขวงลี้เนื่องจากมีหมายเรียกให้ครูบาศรีวิชัยนำลูกวัดไปประชุมเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่จากนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงลี้แต่ครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไปตามหมายเรียกนั้นซึ่งส่งผลทำให้เจ้าอธิการหัววัดที่อยู่ในหมวดอุโบสถของครูบาศรีวิชัยไม่ไปประชุมเช่นกันเพราะเห็นว่าเจ้าหัวหมวดไม่ไปประชุม ลูกวัดก็ไม่ควรไปพระครูเจ้าคณะแขวงลี้จึงสั่งให้นายสิบตำรวจเมืองลำพูนไปควบคุมครูบาศรีวิชัยส่งให้พระครูญาณมงคลเจ้าคณะจังหวัดลำพูนจัดการไต่สวนครั้งนั้น ครูบา ศรีวิชัยถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดชัยเมืองลำพูนถึง ๒๓ วันจึงได้รับการปล่อยตัว
    ส่วนครั้งที่๓ ใน พ.ศ.เดียวกันนี้พระครูเจ้าคณะแขวงลี้ได้สั่งให้ครูบาศรีวิชัยนำเอาลูกวัดเจ้าอธิการหัววัดตำบลบ้านปางซึ่งอยู่ในหมวดอุโบสถไปประชุมที่วัดเจ้าคณะแขวงตามพระราชบัญญัติที่จะเพิ่มขึ้นปรากฏว่าครูบาศรีวิชัยมิได้เข้าประชุมอีก มีผลให้บรรดาหัววัดไม่ไปประชุมเช่นกันเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้จึงมีหนังสือฟ้องถึงพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูนครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยเมืองลำพูนนานถึงหนึ่งปีพระครูญาณมงคลจึงได้เรียกประชุมพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ซึ่งในที่สุดที่ประชุมก็ได้ตัดสินให้ครูบาศรีวิชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหมวดวัดหรือหมวดอุโบสถและมิให้เป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่อไปพร้อมทั้งถูกควบคุมตัวต่อไปอีกหนึ่งปี



    อธิกรณ์ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๔)
    อธิกรณ์พระศรีวิชัยครั้งที่สองนี้มีความเข้มข้นและรุนแรงขึ้นเนื่องจากเป็นผลมาจากการต้องอธิกรณ์ครั้งแรกถึง๓ ครั้งแต่การต้องอธิกรณ์กลับเป็นการเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อครูบาศรีวิชัยมากยิ่งขึ้นเสียงที่เล่าลือเกี่ยวกับครูบาศรีวิชัยจึงขยายออกไปนับตั้งแต่เป็นผู้วิเศษเดินตากฝนไม่เปียกและได้รับดาบสรีกัญไชย(พระขรรค์ชัยศรี)จากพระอินทร์ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาใน ตัวครูบาศรีวิชัยยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้งคำเล่าลือดังกล่าวเมื่อทราบถึงเจ้าคณะแขวงลี้และนายอำเภอแขวงลี้ทั้งสองจึงได้เข้าแจ้งต่อพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน โดยกล่าวหาว่า "ครูบาศรีวิชัยเกลี้ยกล่อมส้องสุมคนคฤหัสถ์นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่าและใช้ผีและเวทมนต์" พระครูญาณมงคลจึงออกหนังสือลงวันที่ ๑๒มกราคม ๒๔๖๒สั่งครูบาศรีวิชัยให้ออกไปพ้นเขตจังหวัดลำพูน ภายใน ๑๕ วันพร้อมทั้งมีหนังสือห้ามพระในจังหวัดลำพูนรับครูบาศรีวิชัยไว้ในวัดเมื่อครูบาศรีวิชัยโต้แย้งและทางการไม่สามารถเอาผิดครูบาศรีวิชัยได้ความดังกล่าวก็เลิกราไประยะหนึ่ง แต่ต่อมาก็มีหนังสือของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองนครลำพูนเรียกครูบาศรีวิชัยพร้อมกับลูกวัดเข้าเมืองลำพูนครั้งนั้นพวกลูกศิษย์ได้จัดขบวนแห่ครูบาศรีวิชัยเข้าสู่เมืองอย่างใหญ่โตการณ์ดังกล่าวคงจะทำให้ทางคณะสงฆ์ผู้ปกครองลำพูนตกใจอยู่มิใช่น้อยดังจะพบว่าเมื่อครูบาศรีวิชัยพักอยู่ที่วัดมหาวันได้คืนหนึ่งอุปราชเทศามณฑลพายัพจึงได้สั่งย้ายครูบาศรีวิชัยขึ้นไปยังเชียงใหม่โดยให้พักกับพระครูเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ที่วัดเชตวันเสร็จแล้วจึงมอบตัวให้พระครูสุคันธศีล รองเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ ที่วัดป่ากล้วย (ศรีดอนไชย)



    ในระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมอยู่ที่วัดป่ากล้วยก็ได้มีพ่อค้าใหญ่เข้ามารับเป็นผู้อุปฐากครูบาศรีวิชัยคือหลวงอนุสารสุนทร (ซุ่นฮี้ชัวย่งเส็ง)และพญาคำ แห่งบ้านประตูท่าแพตลอดจนผู้คนทั้งในเชียงใหม่และใกล้เคียงต่างก็เดินทางมานมัสการครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมากทางฝ่ายผู้ดูแลต่างเกรงว่าเรื่องจะลุกลามไปกันใหญ่เนื่องจากแรงศรัทธาของชาวเมืองเหล่านี้เจ้าคณะเมืองเชียงใหม่และเจ้าคณะมณฑลพายัพจึงส่งครูบาศรีวิชัยไปรับการไต่สวนพิจารณาที่กรุงเทพฯซึ่งผลการพิจารณาไม่พบว่าครูบาศรีวิชัยมีความผิดและให้ครูบาศรีวิชัยเลือกเป็นเจ้าอาวาสหรืออาศัยอยู่ในวัดอื่นก็ได้เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับจากกรุงเทพฯแล้วชนทุกกลุ่มของล้านนาก็ได้เพิ่มความเคารพยกย่องในตัวครูบาดังจะเห็นได้จากความสนับสนุนในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆทั่วไปในล้านนาซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและแรงงานอย่างมหาศาล


    อธิกรณ์ระยะที่สาม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙)
    การต้องอธิกรณ์ช่วงที่สามของครูบาศรีวิชัยเกิดขึ้นในช่วงที่ได้มีการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพเพราะขณะก่อสร้างทางอยู่นั้นเอง ปรากฏว่ามีพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่รวม ๑๐แขวง ๕๐ วัด ขอลาออกจากการปกครองคณะสงฆ์ไปขึ้นอยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทนเมื่อเห็นการที่วัดขอแยกตัวไปขึ้นกับครูบาศรีวิชัยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆเช่นนั้นทางคณะสงฆ์จึงสั่งให้กลุ่มพระสงฆ์ในวัดที่ขอแยกตัวออกดังกล่าวเข้ามอบตัวและพระสงฆ์ที่ครูบาศรีวิชัยเคยบวชให้ก็ถูกสั่งให้สึกอธิกรณ์ครั้งที่ ๓ นี้ได้ดำเนินมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙ครูบาศรีวิชัยได้ให้คำรับรองต่อคณะสงฆ์ว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ทุกประการท่านจึงได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙รวมเวลาที่ต้องสอบสวนและอบรมอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลาถึง ๖ เดือน ๑๗ วัน



    กรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาเกือบ๓๐ ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ เป็นต้นมาตราบกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตของครูบาศรีวิชัย แต่ในช่วงเวลานั้นครูบาศรีวิชัยก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พึ่งทางใจและดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนสาธารณะประโยชน์ตามคำอาราธนาอยู่เรื่อยมา


    การปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนากับการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์
    ครูบาศรีวิชัยได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือปฏิบัติเคร่งมาตั้งแต่เป็นสามเณรดังเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มักน้อย ถือสันโดษ และเว้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เจือปนตลอดจนงดกระทั่งหมาก เมี่ยง และบุหรี่ทำให้คนทั่วไปเห็นว่าครูบาเป็นผู้บริสุทธิ์ที่มีลักษณะเป็น"ตนบุญ"คนทั้งปวงต่างก็ประสงค์จะทำบุญกับครูบาเพราะเชื่อว่าการถวายทานกับภิกษุผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นจะทำให้ผู้ถวายทานได้รับอานิสงส์มากเงินที่ประชาชนนำมาทำบุญก็นำไปใช้ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์และบูรณะศาสนสถานและศาสนวัตถุงานก่อสร้างดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี ฉลู พ.ศ.๒๔๔๒ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำครูบาได้แจ้งข่าวสารไปยังศรัทธาทั้งหลายรวมทั้งชาวเขาเผ่าต่าง ๆว่าจะวัดบ้านปางขึ้นใหม่ ซึ่งก็สร้างเสร็จภายในเวลาไม่นานนัก ให้ชื่อวัดใหม่นั้นว่า "วัดศรีดอยไชยทรายมูล" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดบ้านปาง"



    ขั้นตอนปฏิบัติในการไปบูรณปฏิสังขรณ์วัดมีว่าเมื่อครูบาได้รับนิมนต์ให้ไปบูรณปฏิสังขรณ์วัดใดแล้วทางวัดเจ้าภาพก็จะสร้างที่พักของครูบากับศิษย์และปลูกปะรำสำหรับเป็นที่พักของผู้ที่มาทำบุญกับครูบาคืนแรกที่ครูบาไปถึงก็จะอธิษฐานจิตดูว่าการก่อสร้างครั้งนั้นจะสำเร็จหรือไม่ซึ่งมีน้อยครั้งที่จะไม่สำเร็จเช่นการสร้างสะพานศรีวิชัยซึ่งเชื่อมระหว่างอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมือง ลำพูน จากนั้นครูบาก็จะ "นั่งหนัก"คือเป็นประธานอยู่ประจำในงานนั้น คอยให้พรแก่ศรัทธาที่มาทำบุญโดยไม่สนใจเรื่องเงินแต่มีคณะกรรมการช่วยกันรวบรวมเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครูบาไป "นั่งหนัก"ที่ไหน ประชาชนจะหลั่งไหลกันไปทำบุญที่นั่นถึงวันละ ๒๐๐-๓๐๐ รายคับคั่งจนที่นั้นกลายเป็นตลาดเป็นชุมชนขึ้น เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะมีงาน "พอยหลวง-ปอยหลวง" คืองานฉลอง บางแห่งมีงานฉลองถึงสิบห้าวันและในช่วงเวลาดังกล่าวก็มักจะมีคนมาทำบุญกับครูบามากกว่าปกติเมื่อเสร็จงาน"พอยหลวง-ปอยหลวง" ในที่หนึ่งแล้วครูบาและศิษย์ก็จะย้ายไปก่อสร้างที่อื่นตามที่มีผู้มานิมนต์ไว้โดยที่ท่านจะไม่นำทรัพย์สินอื่นใดจากแหล่งก่อนไปด้วยเลยช่วงที่ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ครั้งที่สองและถูกควบคุมไว้ที่วัดศรีดอนชัยเชียงใหม่ เป็นเวลา ๓ เดือนกับ ๘ วันนั้นผู้คนหลั่งไหลไปทำบุญกับครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ ๒๐๐ รายเมื่อครูบาได้ผ่านการพิจารณาอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาอีก ๒ เดือนกับ ๔วันแล้วครูบาก็เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๓หลังจากนั้นผู้คนก็มีความศรัทธาในตัวครูบามากขึ้นครูบาศรีวิชัยเริ่มต้นการบูรณะวัดขณะที่ท่านอายุ ๔๒ ปีโดยเริ่มจากการบูรณะพระเจดีย์บ่อนไก้แจ้ จังหวัดลำปางถัดจากนั้นได้บูรณะเจดีย์และวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัยต่อมาได้ไปบูรณะเจดีย์ดอยเกิ้ง ในเขตอำเภอฮอด เชียงใหม่ จากนั้นไปบูรณะวัดศรีโคมคำจังหวัดพะเยา กล่าวกันมาว่าในวันที่ท่านถึงพะเยานั้นมีประชาชนนำเงินมาบริจาคร่วมทำบุญใส่ปีบได้ถึง ๒ ปีบ หลังจากนั้นมาบูรณะวัดพระสิงห์เชียงใหม่ เป็นอาทิรวมแล้วพบว่างานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัยมีประมาณ ๒๐๐ แห่ง


    ในขณะที่ครูบาศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๔๗๕ อยู่นั้นหลวงศรีประกาศได้หารือกับครูบาศรีวิชัยว่าอยากจะนำไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพแต่ครูบาศรีวิชัยว่าหากทำถนนขึ้นไปจะง่ายกว่าและจะได้ไฟฟ้าในภายหลังทั้งนี้ทางการเคยคำนวณไว้ในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐ว่าหากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้นจะต้องใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาทแต่ครูบาศรีวิชัยได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลยครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้วครูบาศรีวิชัยก็ถูกนำตัวไปสอบอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯอีกเป็นครั้งที่สองและงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือสะพานศรีวิชัยอนุสรณ์ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อมอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน


    ในการก่อสร้างต่าง ๆ นับแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ ถึง ๒๔๗๑มีผู้ได้บริจาคเงินทำบุญกับท่าน ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูปีคิดเป็นเงินไม่น้อยกว่าสามหมื่นห้าพันบาทรวมค่าก่อสร้างชั่วชีวิตของท่านประมาณสองล้านบาทนอกจากนั้นท่านยังได้สร้างคัมภีร์ต่าง ๆ อีกไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐ ผูก คิดค่าจารเป็นเงิน๔,๓๒๑ รูปี(รูปีละ ๘๐ สตางค์) ทั้งนี้แม้ครูบาศรีวิชัยจะมีงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่และมากมายแต่บิดามารดาคือนายควายและนางอุสาก็ยังคงอยู่ในกระท่อมอย่างเดิมสืบมาตราบจนสิ้นอายุ


    ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรงแม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงานแต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้นท่านจะต้อง"นั่งหนัก"อยู่ตลอดทั้งวันด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อสร้างบูรณะวัดในเขตล้านนาและการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปางขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปีบางท่านก็ว่า ๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี ลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่างๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้าจังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนอันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น

    a.jpg

    วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย
    ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้นผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญกับท่านเท่านั้นส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรกพวกลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้ายพระรอดหรือพระคงของลำพูนโดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกนก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลงในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย์กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์



    ส่วนเหรียญโลหะรูปครูบาศรีวิชัยนั้น พระครูวิมลญาณประยุต (สุดใจวิกสิตฺโต)ชาวจังหวัดอ่างทองได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนสร้างขึ้นให้เช่าเพื่อนำเงินมาช่วยในการปลงศพครูบาศรีวิชัยโดยให้เช่าในราคาเหรียญละ ๕ สตางค์ ทั้งนี้ สิงฆะ วรรณสัยยืนยันจากประสบการณ์ที่ท่านรู้จักครูบาดีและได้คลุกคลีกับเรื่องพระเครื่องมาตั้งแต่ครูบายังไม่มรณภาพนั้นระบุว่าไม่มีเหรียญรุ่นดอยสุเทพไม่มีเหรียญที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง หรือวัตถุมงคลอื่นใดที่ครูบาจะสร้างขึ้นนอกจากการให้พรและความอิ่มใจในการทำบุญกับท่านเท่านั้นแต่ในระยะหลังก็พบว่ามีการสร้างวัตถุมงคลของครูบาอยู่เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบต่างๆโดยผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในความดีของ "ตนบุญ"เป็นสำคัญ



    ................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0010_2a.jpg
      IMG_0010_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      295.4 KB
      เปิดดู:
      2,017
    • IMG_0011_2a.jpg
      IMG_0011_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      251.1 KB
      เปิดดู:
      3,255
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2023
  3. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    สวนสัตว์เชียงใหม่ใหญ่มากน่าไปชม ไปเชียงใหม่หลายครั้งแต่ไม่เคยไปดูเลย
    ขอบคุณภาพสวยๆและข้อมูลค่ะ
     
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    กราบสักการะขอพรจากพระครูบาศรีวิชัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคราวได้ทดลองขับรถขึ้นภูเขาอันคดเคียวและลาดชันเป็นครั้งแรกในชีวิต สร้อยฟ้ามาลารู้สึกกังวลเพราะเคยนั่งรถขึ้นมาเมื่อ ๓ ปีที่แล้ว ซึ่งโค้งสุดท้ายก่อนถึงวัดจะลาดชันมากพอสมควร พอสตาร์ทเข้าโค้งแรกโค้งสองสร้อยฟ้ามาลาก็เริ่มแซงรถคันที่ช้าตามสไตล์ขับช้าไม่เป็น อิ อิ สนุกดีขับรถขึ้นเขา รถใช้เกียร์ออโตเมติค แต่เชนจ์เกียร์เป็นเกียร์ธรรมดาไปเลย อืมม..... ไม่ยักกะรู้ว่ารถเราก็มีแรงขึ้นเขาได้ขนาดนี้และแรงของเครื่องยังเหลืออีก(เพราะบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด คือ สมาชิกที่นั่งเบาะหลังไซด์ XL ๒ คน บวกกับสัมภาระเต็มฝากระโปรงท้ายที่แทบปิดไม่ลงและสัมภาระที่ไว้ในรถอีกเพียบจนที่นั่งแทบไม่มี)
    และแล้วก็มาถึงโค้งลาดชันโค้งสุดท้ายก็ผ่านไปด้วยดี มาถึงแล้ว วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร



    a.jpg

    วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

    เป็นวัดที่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์และเป็นวัดท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวไทยโดยทั่วไปในฐานะที่เป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากวัดหนึ่งของประเทศไทยตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๔กิโลเมตรอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล ๑,๐๕๓เมตร อยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่

    a.jpg

    การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุองค์หนึ่ง เหมือนกับพระเจดีย์ทั่วๆไป ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัด มีฐานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์เท่านั้นต่อมาในสมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ ๕ พ.ศ.๒๔๙๔ (พระครูญาณลังกา) พระธาตุดอยสุเทพได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นวัดราษฎร์จากกรมการศาสนาอย่างถูกต้องโดยให้ชื่อว่าวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    จากการที่ได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นวัดราษฎร์อย่างถูกต้องแล้ว ต่อมาอีก ๑๒ ปี คือปี พ.ศ.๒๕๐๖วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารก็ได้รับคัดเลือกให้ยกฐานะจากวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหาร

    [​IMG]

    องค์พระเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า ดอยสุเทพแต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของฤาษี มีนามว่า สุเทวะ เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่าเทพเจ้าที่ดี ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า สุเทพ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงได้ ชื่อว่าดอยสุเทพ ซึ่งมาจากชื่อของฤๅษี คือสุเทวะฤาษี

    ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พระเจ้ากือนาได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพโดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจาจังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารนอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง ๑ ใน ๔ ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมากเสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล

    กล่าวถึงราชวงศ์มังรายเป็นวงศ์ของกษัตริย์ที่ทรงปกครองเมืองเชียงใหม่มาตามลำดับซึ่งพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๑๘๓๙ต่อมาได้มีกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ผู้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาตามลำดับดังนี้
    ๑.พญาเม็งรายมหาราช พ.ศ.๑๘๐๔ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่
    ๒.พญามังคราม พ.ศ.๑๘๕๔
    ๓.พญาแสนพู พ.ศ.๑๘๖๘
    ๔.พญาคำฟู พ.ศ.๑๘๗๗
    ๕.พญาผายู พ.ศ.๑๘๗๙
    ๖.พญากือนา พ.ศ.๑๘๙๘ผู้สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร
    ๗. พญาแสนเมืองมา พ.ศ.๑๙๒๘
    ๘.พญาสามฝั่งแกน พ.ศ.๑๙๔๕
    ๙.พญาติโลกราช พ.ศ.๑๙๘๔ผู้ทำนุบำรุงวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร
    ๑๐.พญายอดเชียงราย พ.ศ.๒๐๓๐
    ๑๑.พญาเมืองแก้ว พ.ศ.๒๐๓๘
    ๑๒.พญาเมืองเกษกล้าพ.ศ.๒๐๖๘ผู้ซ่อมแซมวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหารครั้งใหญ่
    ๑๓.ท้าวชายคำ พ.ศ.๒๐๘๑ผู้ก่อสร้างเพิ่มเติมในวัดพระธาตุ ดอยสุเทพราชวรวิหาร
    ๑๔.พญาเมืองเกษกล้าพ.ศ.๒๐๘๖
    ๑๕.พระนางจิรประภา พ.ศ.๒๐๘๘
    ๑๖.พญูาอุปเยาว์ พ.ศ.๒๐๘๙
    ๑๗.ท้าวแม่กุ พ.ศ.๒๐๙๔
    ๑๘.พระนางวิสุทธเทวีพ.ศ.๒๑๐๗ - ๒๑๒๑


    หมายเหตุ
    พญาเมืองเกษเกล้า ปกครอง ๒สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๒๑พม่าได้เลิกแต่งตั้งกษัตริย์ราชวงศ์เม็งรายเพราะไม่ได้ขึ้นตรงต่อพม่าอีก


    การบูรณะครั้งแรก

    วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
    สร้างโดยพระเจ้ากือนากษัตริย์องค์ที่ ๖แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ในปี พ.ศ.๑๙๑๖(ค.ศ.๑๓๗๓)วัดนี้ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีจากกษัตริย์ไนราชวงศ์เม็งรายทุกพระองค์ในแต่ละสมัยมีการซ่อมแซมอยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุที่พระเจดีย์มีอายุถึง ๑๕ ปีสมควรที่จะทำการสร้าง และปรับปรุงเสียใหม่ ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๐๖๘(ค.ศ.๑๕๒๕) พระเจ้าเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ แห่งราชวงศ์เม็งรายได้ไปนิมนต์พระเถระรูปหนึ่งอยู่ที่วัดอโศการาม (วัดกู่มะลัก)จังหวัดลำพูนซึ่งเป็นพระที่ประชาชนเคารพนับถือมากองค์หนึ่งชื่อว่าพระมหาญาณมงคลโพธิ มาเป็นประธานในการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์โดยการขยายพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมคือจากเดิม สูง ๕วากว้าง ๑ - ๔๓วา เป็นสูง ๑๑วา กว้าง ๖วาซึ่งเป็นขนาดที่เป็นอยู่ทุกวันนี้


    การก่อสร้างเพิ่มเติม
    นับจากที่ได้บูรณะครั้งแรกมาได้ ๑๓ปี คือ พ.ศ.๒๐๘๑(ค.ศ.๑๕๓๘)พระเจ้าชายคำ พระโอรสของพระเจ้าเกษเกล้า ได้ขึ้นครองราชย์เมืองเชียงใหม่ได้ไปนิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิองค์เดิมมาเป็นประธานในการก่อสร้างอีกครั้งหนึ่งโดยพระองค์ได้พระราชทานทองคำหนักประมาณ ๑,๗๐๐บาทให้ช่างทำเป็นแผ่นทองคำจังโกปิดทั่วองค์พระเจดีย์และพระองค์ยังได้พระราชทานเงินสดอีก ๖,๐๐๐บาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพระวิหารด้านหน้า และด้านหลังศาลาระเบียงรอบองค์พระเจดีย์ทั้ง ๔ด้านและจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมดดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้


    ในปี พ.ศ.๒๑๐๐ (ค.ศ.๑๕๕๗)พระมหาญาณมงคลโพธิ แม้ท่านจะมีอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังแข็งแรงดีและพร้อมที่จะทำงานท่านได้เป็นประธานก่อสร้างบันไดพญานาค ขนาดความยาว ๓๐๖ขั้น จากล่างถึงบนท่านทำหน้าที่ควบคมงานก่อสร้างด้วยตนเอง ตัวพญานาคทั้ง ๒ข้างทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งอย่างปราณีต พญานาคแต่ละตัวมี ๗หัวบันไดนาคนี้สร้างมานานกว่า ๔๐๐ปีมีการชำรุดไปบ้างแต่ก็ได้รับการบำรุงซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลาจนทำให้พวกเราทุกคนได้เห็นบันไดนาคอยู่ในสภาพเดิมตราบเท่าทุกวันนี้

    ทางเดินขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ
    ในสมัยก่อนการขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากเหลือเกินเพราะไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขาต้องใช้เวลายาวนานถึง ๕ ชั่วโมงกว่าจนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆก็จะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพ


    ในปี พ.ศ.๒๔๗๗(ค.ศ.๑๙๓๔)ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย มาจากวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนเป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น เป็นผู้เริ่มขุดดินด้วยจอบเป็นปฐมฤกษ์ตรงที่หน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ปัจจุบัน ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกห้วยแก้วโดยเริ่มสร้างวันที่ ๙พฤศจิกายน ๒๔๗๗

    ฝูงชนอาสาร่วมสร้างถนน
    เมื่อข่าวการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพได้แพร่สะพัดไปยังจังหวัดต่างๆในภาคเหนือ ชาวพุทธผู้เลื่อมใสในครูบาศรีวิชัยต่างทยอยกันมาจากทั่วสารทิศจนเต็มบริเวณเชิงดอยหมดเพื่อมาร่วมสละแรงงานช่วยสร้างถนน โดยไม่มีค่าจ้างใดๆ ทั้งสิ้น วันๆหนึ่งจะมีประชาชนมาร่วมสร้างถนนประมาณ ๓ – ๔ พันคนจากทั่วทุกจังหวัดภาคเหนือรวมไปถึงอุตรดิตถ์-พิษณุโลกปริมาณคนงานที่มาช่วยมีมากเกินความต้องการครูบาศรีวิชัยจึงได้กำหนดให้สร้างถนนหมู่บ้านละ ๑๐วาเท่านั้น และต่อมายังได้ลดลงอีกเหลือประมาณหมู่บ้านละ ๒วา ๓วาเพราะมีคนมาขอร่วมแรงงานสร้างมากขึ้นเรื่อยๆ


    นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากที่การสร้างถนนบนภูเขายาวถึง ๑๑กิโลเมตรใช้เวลาเพียง ๕เดือนกับอีก ๒๒วัน ทั้งๆ ที่อุปกรณ์การสร้างทางมี เพียงจอบและเสียม เท่านั้น อุปกรณ์ทันสมัยเช่นในปัจจุบันยังไม่มีพิธีเปิดใช้ถนนใหม่ได้เริ่มเมื่อวันที่ ๓๐เมษายน ๒๔๗๘หรือค.ศ.๑๙๓๕โดยท่านครูบาศรีวิชัยเป็นคนแรกที่นั่งรถยนต์ขึ้นดอยสุเทพตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


    a.jpg

    ต้นพระศรีมหาโพธิ์อินเดีย
    ในปี พ.ศ.๒๔๘๔จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ส่งผู้แทนพิเศษไปอินเดีย โดยมี ฯพณฯ ถวัลย์ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าคณะ เพื่อขอให้รัฐบาลอินเดียช่วยแบ่งกิ่งตอนต้นโพธิ์ให้แก่ประเทศไทย และรัฐบาลอินเดียก็ได้รีบจัดส่งต้นโพธิมาให้ประเทศไทยทางเครื่องบิน จำนวน ๕ต้นโดยรัฐบาลได้แบ่งต้นโพธิปลูกที่วัดพระศรีมหาธาตุกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ต้นส่วนที่เหลืออีก ๓ต้น ได้จัดส่งไปปลูกที่ต่างจังหวัด ราม ๓แห่ง คือ ๑. จังหวัดนครศรีธรรมราช ปลูกที่วัดพระมหาธาตุ ๒.จังหวัดนครพนม ปลูกที่วัดพระธาตุพนม๓.จังหวัดเชียงใหม่ ปลูกที่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารพิธีปลูกต้นโพธิ์ในแต่ละจังหวัดนั้น มีสมเด็จมหาวีรวงศ์สังฆนายกเป็นประธานในพิธีทุกครั้ง



    a.jpg

    ต้นโพธิ์อินเดียถึงจังหวัดเชียงใหม่
    ต้นโพธิ์ต้นที่ ๕ถูกส่งมาทางรถไฟ ถึงสถานีเชียงใหม่วันที่ ๒กรกฎาคม ๒๔๘๖เวลาบ่าย ๓โมง มีประชาชนจากทั่วสารทิศมาต้อนรับต้นโพธิ์เต็มสถานีรถไฟหมดขบวนต้อนรับได้เคลื่อนจากสถานีรถไฟไปยังวัดพระสิงห์ผ่านถนนเจริญเมือง-ถนนท่าแพและราชดำเนินตลอดเส้นทางได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลามต้นโพธิ์ได้มาพักฉลองสมโภชที่วัดพระสิงห์เป็นเวลา ๕วัน ๕คืน


    เนื่องจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ ที่พุทธคยาอินเดียชาวพุทธจึงเคารพนับถือต้นโพธิ์และถือว่าเป็นต้นไม้ที่สำคัญและประเสริฐยิ่งเส้นทางขบวนผ่านจากสถานีรถไฟถึงวัดพระสิงห์ ซึ่งยาวถึง ๔กิโลเมตรกว่าประชาชนต่างพร้อมใจกันมาต้อนรับและกราบไหว้ต้นโพธิ์อย่างเนืองแน่นเต็มท้องถนนมากเป็นประวัติการณ์ งานสมโภชต้นโพธิ์จัดขึ้นที่วัดพระสิงห์รวม ๕คืนจนถึง วันที่ ๗กรกฎาคม ๘๖ ต้นโพธิ์ก็ถูกนำขึ้นรถยนต์มุ่งหน้าขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เวลา ๙.๓๐น.เพื่อทำพิธีปลูกที่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารซึ่งยังคงมีให้เห็นอยู่ตราบเท่าทุกวัน


    a.jpg

    พระบรมธาตุดอยสุเทพ
    สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ ๙โดยพระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระนำมาจากเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งได้ขุดพบจากนิมิตฝันของพระมหาสุมนเองเมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาสู่เชียงใหม่แล้ว พระธาตุได้แยกเป็นสองส่วนพระเจ้ากือนาทรงเลื่อมใส ได้อัญเชิญบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนองค์ที่สองได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างเพื่อเสี่ยงทายว่า ช้างหยุดที่ใดก็จะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นั่น แล้วปล่อยช้างไปช้างได้มุ่งหน้าไปสู่ทิศตะวันตก ขึ้นไปยังดอยสุเทวะฤาษี หรือดอยสุเทพปัจจุบันแล้วมาหยุดที่ยอดดอยสุเทพ


    พระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์ ณที่นั้น มีขนาดสูง ๕วา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๖ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๘ พระเจ้าเกษเกล้ากษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ของเชียงใหม่ ได้ทำการบูรณะพระเจดีย์โดยได้นิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิ จากลำพูนมาเป็นประธานการบูรณะโดยขยายพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม สูง ๑๑ วา กว้าง ๖ วาที่ปรากฏทุกวันนี้

    รอบองค์พระบรมธาตุ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ ประการได้แก่
    ๑. ฉัตร ๔ มุมทำด้วยทองเหลือง สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๘ มีความหมายว่า ฉัตรเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็นซึ่งแสดงให้ถึงความสงบร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปใน ทั้ง ๔ทิศ
    ๒. สัตติบัญชรหรือรั้วหอก ที่อยู่รอบพระธาตุซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของโทณพราหมณ์เมื่อภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเนื่องจากเกิดเหตุการณ์แย่งพระบรมสารีริกธาตุของเมืองต่างๆเพื่อนำไปไว้บูชาประจำเมือง โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่งโดยให้ทหารถือหอกรอบล้อมพระบรมสารีริกธาตุไว้ เพื่อป้องกันการแย่งชิงจึงเป็นที่มาของรั้วหอกรอบพระบรมธาตุ
    ๓.หอยอลักษณะเหมือนวิหารขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ ด้าน ของพระบรมธาตุภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึงการบูชาหรือสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า (ยอคุณ)
    ๔. หอท้าวโลกบาลซึ่งเป็นหอยอดแหลมขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ มุมของพระบรมธาตุ หมายถึงที่ประดิษฐานของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาสิ่งสำคัญต่างๆ ๔ ทิศทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุ ได้แก่
    ๑.ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณ มียักษ์เป็นบริวารทำหน้าที่เฝ้ารักษาทิศเหนือ
    ๒. ท้าวธตรัฐมีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาทิศตะวันออก
    ๓. ท้าววิรูฬปักข์มีฝูงนาคเป็นบริวารทำหน้าที่รักษาด้านทิศตะวันตก
    ๔. ท้าววิรุฬหกมีอสูรเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศใต้
    ๕. ไหดอกบัวหรือ ปูรณะฆะฏะ (ปูรณะ แปลว่าเต็ม,สมบูรณ์, ฆฏะ แปลว่า หม้อ) แปลว่า หม้อที่แสดงถึงความสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย


    a.jpg

    คำไหว้พระบรมธาตุดอยสุเทพ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ( ๓ รอบ)
    สุวัณณะเจติยัง เกสาวะระมัตถะลุงคังวะรัญญะธาตุง
    สุเทวะนามะกัง นะระเทเวหิ สัพพะปูชิตัง อะหัง วันทามิสัพพะทา.


    ช่วงนี้มีการบูรณะองค์พระบรมธาตุไม่ว่าจะที่ วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง วัดพระธาตุหริภุญชัย ราชวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน และวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร ซึ่งคณะของสร้อยฟ้ามาลาได้ร่วมทำบุญสร้างฉัตรถวายองค์พระธาตุในสองแห่งแรก ส่วนพระธาตุดอยสุเทพรู้สึกว่ายังไม่มีการบูรณะฉัตรใหม่ เห็นก็เพียงบูรณะองค์พระธาตุโดยรอบ ซึ่งก็ได้ทำบุญให้กับทางวัดตามกำลังที่ทำได้

    วิหารพระพุทธชินสีห์สุวรรณเจดีย์
    เป็นวิหารอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมธาตุ เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ เช่นทำวัตรสวดมนต์ ตลอดพิธีกรรมสำคัญต่างๆ ทางศาสนา ข้างในประกอบด้วยพระประธาน พระพุทธชินราชและพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ด้านฝาผนังของวิหาร มีภาพเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดกซึ่งเป็นภาพเก่า
    พระวิหารพระพุทธ สร้างขึ้นโดยพระเจ้ากาวิละ เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๘ นอกจากนั้น พระเจ้ากาวิละยังทรงได้สร้างฉัตรประจำมุมพระธาตุอีกด้วย


    วิหารพระเจ้าทันใจ
    เป็นวิหารอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระบรมธาตุด้านในประกอบด้วยพระเจ้าทันใจ ๑องค์ประดิษฐานอยู่แทนแก้วด้านบนและองค์ด้านล่างเป็น พระสิงห์หนึ่งศิลปะเชียงแสน (พระสิงห์)เป็นวิหารขนาดเล็กติดกับพระบรมธาตุด้านเหนือสำหรับให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์


    คำไหว้พระเจ้าทันใจ
    ตะมะหังขิปปะจิตตะพุทธังอภิปูชะยามิ
    ตะมะหังขิปปะจิตตะพุทธังเมสิรสา อภิปูชะยามิ
    ขิปปะจิตตะพุทธานุภาเวนะสะทา โสตถีภะวันตุเม
    ขิปปะจิตตะพุทธานุภาเวนะสะทา มะหาลาโภ ภะวันตุเม
    ขิปปะจิตตะพุทธานุภาเวนะสะทามะหายะโส ภะวันตุ เม


    a.jpg


    a.jpg

    วิหารพระเจ้าอุ่นเมือง
    เป็นวิหารอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระบรมธาตุด้านในประกอบด้วยพระเจ้าอุ่นเมือง ๑องค์ซึ่งประดิษฐานอยู่แทนแก้วด้านบนและองค์ด้านล่างเป็น พระสิงห์หนึ่งศิลปะเชียงแสน (พระสิงห์)และพระพุทธรูปองค์เล็กๆ อีกจำนวนหนึ่งเป็นวิหารขนาดเล็กติดกับพระบรมธาตุด้านเหนือสำหรับให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์



    a.jpg

    วิหารพระเจ้ากือนา
    สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐โดยพระราชรัตนากร (คำ ธมมจาโร)อดีตผู้เป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ลำดับที่ ๖ได้ดำเนินการสร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่งเป็นวิหารไม้สักทั้งหลังรูปแบบลักษณะคล้ายวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มีขนาดกว้าง ๘วา ยาว ๑๒วาเพื่อเป็นราชานุสรณ์และกตัญญูกตเวทิตธรรม แด่พระเจ้ากือนาพร้อมด้วยพระมหาสุมนเถระพระผู้อัญเชิญพระบรมธาตุประดิษฐานบนหลังพญาช้างขึ้นมาถึงยอดสุเทวบรรพตก่อเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุอันเป็นปฐมเหตุให้สถานที่แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองเป็นศรีแก่นพบุรีมาตราบเท่าทุกวันนี้การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ท่านได้ถึงแก่มรณภาพไปก่อน ต่อมาพระญาณสมโพธิ (ธงชัย สุวรรณสิริ)ผู้เป็นอธิบดีสงฆ์ลำดับที่ ๗ได้สืบสานเจตนารมณ์ดำเนินการก่อสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๕๔๕สิ้นค่าใช้จ่าย ๕,๐๐๐,๐๐๐ (ห้าล้านบาทถ้วน) ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป นามว่า "พระศรีสุคตนบุรี"วิหารหลังนี้ให้ชื่อว่า "วิหารพระเจ้ากือนา"


    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg


    a.jpg

    พระศรีสุคตนพบุรี
    ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้ากือนา ซึ่งพระญาณสมโพธิ (ธงชัย สุวรรณศิริ)อธิบดีสงฆ์วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ลำดับ ๗มีเจตน์จำนงประสงค์จะได้พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางลีลารูปแบบล้านนาเพื่อประดิษฐาน ณซุ้มในวิหารพระเจ้ากือนา คณะผู้มีกุศลจิตทราบถึงเจตน์จำนงดังกล่าวอันประกอบด้วยนางณัฐพร โรจตระการ, นางยุนิต เตชุไพบูลย์นารี ทองสวัสดิ์ โดยมีนายบุญธรรม ยศบุตรเป็นผู้ประสานงาน จึงได้เชิญชวนญาติมิตรร่วมกันจัดทำรูปแบบเสนอพระญาณสมโพธิเมื่อท่าน เห็นชอบแล้วจึงได้จัดพิธีหล่อพระขึ้น เมื่อเดือน พฤศจิกายน ๒๕๔๔ส่วนผสมประกอบด้วย เงิน ๖๕กิโลกรัม ทองแดง ๑๓๐กิโลกรัม ดีบุก ๔กิโลกรัม ประกอบพิธีพุทธภิเษกในพระวิหารหลวงวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เมื่อวันมาฆบูชาที่ ๒๖กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๕ โดยพระเกจิอาจารย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ๕๙ รูป สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ บาท(หกแสนบาทถ้วน) เพื่ออนุวัตรตามเจตนารมณ์ในการสร้างวิหารพระเจ้ากือนาพระผู้อัญเชิญพระบรมธาตุประดิษฐาน ณ สุเทวบรรพตแห่งนี้ดีแล้ว ดังนั้น พระญาณสมโพธิจึงได้ขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระศรี สุคตนพบุรี"



    a.jpg


    a.jpg

    a.jpg

    วิหารพระพฤหัส
    เป็นวิหารอยู่ด้านทิศเหนือของพระบรมธาตุ ด้านในประกอบด้วยพระประธาน พระพุทธชินราชรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย และพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ด้านฝาผนังของวิหารมีภาพเขียนเรื่องราวตำนานพระธาตุดอยสุเทพ


    a.jpg

    นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปกราบสักการะบูชาพระประธานในพระวิหารได้หรือการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกก็ดูน่าศักดิ์สิทธิ์แต่ทางวัดขอความร่วมมือให้นั่งลงขณะถ่ายภาพ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ


    อุโบสถวัดพระธาตุดอยสุเทพ
    สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองเกษเกล้าโดยอุบาสกผู้มีศรัทธาคนหนึ่ง ชื่อ มงคลศิลา เป็นผู้สร้างถวายโดยได้อาราธนาพระมหาราชา วัดบุบผาราม (วัดสวนดอก) เป็นประธานผูกพัทธสีมา


    อุโบสถเป็นสถานที่สำคัญสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยซึ่งมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ประกอบพิธีกรรมบางอย่าง (ประกอบสังฆกรรม)ได้ในเขตพัทธสีมาเท่านั้นซึ่งได้แก่อุโบสถอันเป็นพื้นที่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากกษัตริย์ผู้ปกครองหรือเจ้าของรัฐอย่างถูกต้องสังฆกรรมที่กระทำในอุโบสถได้แก่ พิธีอุปสมบทพระภิกษุ พิธีกรานกฐินพิธีฟังพระปาติโมกข์ เป็นต้น ภายนอกรอบอุโบสถ มีพัทธสีมา (พัทธสีมาคือหลักเขตแดนบอกให้ทราบถึงเขตของอุโบสถที่ได้รับพระราชทานที่ดินจากกษัตริย์)ซึ่งมีทั้งหลักพัทธสีมาดั้งเดิมที่เป็นหิน และหลักพัทธสีมาใหม่ที่ทำจากคอนกรีตด้านล่างของพัทธสีมา มีลูกนิมิต (ลูกหินกลมขนาดใหญ่) ฝังอยู่ในดิน
    ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธศิลปเชียงแสนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเททองหล่อในคราวเสด็จนมัสการพระบรมธาตุสุเทพเมื่อวันมาฆบูชา ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๑


    a.jpg

    a.jpg

    ก็ยังมีศาสนสถานอีกหลายแห่งภายในวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหารนี้ แต่สร้อยฟ้ามาลาเดินได้ไม่ทั่ว ก็เลยขอลงแค่เพียงที่ได้เห็นมา

    a.jpg

    จากนั้นคณะของเราก็ไปหาอะไรทานกลางวันกันที่ร้านตรงข้ามวัด สร้อยฟ้ามาลากับแมงปอแก้วสั่งข้าวซอยไก่ น้องของแมงปอแก้วแล้วก็หลานตัวเล็กสั่งก๋วยเตี๋ยวมั้ง แฟนของน้องสั่งข้าวเหนียวไก่ย่าง ซึ่งเกือบทุกครั้งที่ทานอะไรสร้อยฟ้ามาลาจะขาดน้ำตาลทรายไม่ได้ ก็เลยขอน้ำตาลทรายเพิ่ม แต่ปรากฏว่าทางร้านเอาน้ำปลามาให้ เอ เค้าก็พูดชัดนะว่าน้ำตาลทรายอ่ะ งง เลย ก็เลยต้องขอใหม่และย้ำช้าๆ ชัดๆ ว่าน้ำตาลทราย เขาถึงจะเข้าใจ

    ทานข้าวเสร็จก็เดินซื้อของ ที่มีให้เลือกซื้อมากมายซึ่งส่วนมากจะเป็นเสื้อผ้า สร้อยฟ้ามาลาได้เสื้อหนาวมา ๑ ตัว สวยดี ชอบๆ.....



    .................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0017_2a.jpg
      IMG_0017_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      255.9 KB
      เปิดดู:
      1,941
    • IMG_0019_2a.jpg
      IMG_0019_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      348 KB
      เปิดดู:
      1,820
    • IMG_0020_2a.jpg
      IMG_0020_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      270.1 KB
      เปิดดู:
      1,937
    • IMG_0022_2a.jpg
      IMG_0022_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      240.7 KB
      เปิดดู:
      1,454
    • IMG_0029_2a.jpg
      IMG_0029_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      203.2 KB
      เปิดดู:
      1,383
    • IMG_0030_2a.jpg
      IMG_0030_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      210 KB
      เปิดดู:
      1,355
    • IMG_0032_2a.jpg
      IMG_0032_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      205.7 KB
      เปิดดู:
      1,830
    • IMG_0037_2a.jpg
      IMG_0037_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      226.9 KB
      เปิดดู:
      2,001
    • IMG_0038_2a.jpg
      IMG_0038_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      205.6 KB
      เปิดดู:
      2,005
    • IMG_0039_2a.jpg
      IMG_0039_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      192.9 KB
      เปิดดู:
      2,154
    • IMG_0040_2a.jpg
      IMG_0040_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      250.5 KB
      เปิดดู:
      1,940
    • IMG_0041_2a.jpg
      IMG_0041_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      234.2 KB
      เปิดดู:
      1,806
    • IMG_0043_2a.jpg
      IMG_0043_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      183.2 KB
      เปิดดู:
      2,130
    • IMG_0044_2a.jpg
      IMG_0044_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      258.5 KB
      เปิดดู:
      1,932
    • IMG_0045_2a.jpg
      IMG_0045_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      217.2 KB
      เปิดดู:
      1,442
    • IMG_0051_2a.jpg
      IMG_0051_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      206.4 KB
      เปิดดู:
      1,475
    • IMG_0052_2a.jpg
      IMG_0052_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.6 KB
      เปิดดู:
      1,643
    • IMG_0058_2a.jpg
      IMG_0058_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      231.5 KB
      เปิดดู:
      2,402
    • IMG_0060_2a.jpg
      IMG_0060_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      291.2 KB
      เปิดดู:
      2,223
    • IMG_0061_2a.jpg
      IMG_0061_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      247.4 KB
      เปิดดู:
      3,369
    • IMG_0064_2a.jpg
      IMG_0064_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      260.3 KB
      เปิดดู:
      1,489
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2023
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    "ปาย ๗๖๒ โค้ง"

    จากนั้นก็ขับรถลงจากดอยสุเทพ มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ริม เพื่อจะขึ้นไปยัง ปาย ทีแรกกะว่าจะแวะพระตำหนักดาราภิรมย์ก่อนที่จะขึ้น ปาย แต่ดูๆ แล้วขณะนี้เวลาบ่ายสองโมงครึ่งกว่าแล้ว ระยะทางข้างหน้าที่ไป ปาย เป็นอย่างไรไม่รู้เกรงว่าจะทำความเร็วไม่ได้และจะมืดเสียก่อนทำให้มองทางลำบากจึงตัดสินใจมุ่งหน้าสู่ ปาย เลย.....


    a.jpg


    ทางขึ้นสู่อำเภอปาย เป็นทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๕ มี ๒ เลนรถวิ่งสวนกัน ทอดยาวคดเคี้ยวลึกเขาไปสู่ภูเขาสูงและหุบเขาที่เป็นเหวอยู่เบื้องล่าง ระหว่างทางจะมีร้านกาแฟ ชื่อว่า รักจัง ผู้คนที่ขับรถผ่านไปมาส่วนมากมักจะแวะซื้อกาแฟและแวะถ่ายรูปกัน มีวิว สวยๆ ให้ถ่ายรูปเยอะ และพักรถ พักขาไปในตัว เพราะฝ่าฟันกับโค้งหักศอกและลาดชันมาแล้วหลายร้อยโค้ง


    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg
    ร้านกาแฟ รักจัง.....


    ต่อมาก็จะต้องผ่าน โป่งเดือด และอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ถัดจากนี้ไปจะยิ่งเป็นทางที่แคบลงบ้างบางช่วงและโค้งหักศอกพร้อมๆ กับการเลี้ยวขึ้นเขาและลงเขาที่ลาดชันมากๆ หลายๆ โค้ง หากใครขับรถส่งจังหวะไม่ดีก็จะอืดกันเลยทีเดียว มาถึงช่วงนี้บังเอิญมีรถตู้ทะเบียนกรุงเทพมหานคร ขับช้ามากๆ อยู่ข้างหน้า ซึ่งสร้อยฟ้ามาลาขับตามมาเป็นคันที่ ๓ เห็นจะได้ แล้วก็จะเป็นช่วงลงเขาโค้งหักศอกที่ลาดชัน คนขับท่านแตะเบรคเสียยาวเลย ทำให้รถคันต่อๆ มาต้องแตะเบรคเลียเบรคกับเป็นแถว ทำให้เบรคไหม้กับไปตามๆ กัน ซึ่งตรงนี้สร้อยฟ้ามาลาได้อ่านหนังสือการขับรถลงเขาขึ้นเขาให้ใช้เกียร์ต่ำเพื่อช่วยในการฉุดและชลอรถ ทำให้เบรคไม่ต้องใช้งานหนัก พอมีจังหวะ รถคันหน้าก็แซงๆ กันไป แต่ต้องใจกล้าและจับจังหวะดีๆ เพราะเป็นเลนส์สวนทางกัน และเร่งได้นิดเดียวก็ถึงโค้งแล้ว ก็มีลุ้นกันบ้างเล็กๆ น้อยๆ เลยได้ทราบว่าอาการเบรคไหม้แล้วจะมีอาการอะไรต่อก็คือ เบรคไม่ค่อยอยู่ แล้วคณะเราก็ผ่านสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย(ไว้แวะขากลับ) ผ่านร้านกาแฟ Coffee In Love(ไว้แวะขากลับ) แล้วเราก็มาถึงอำเภอปาย โดยใช้เวลาในการซิ่งผ่านโค้งและหุบเขา จากทางเข้าพระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม ถึงอำเภอปาย ใช้เวลา ๓ ชั่วโมงครึ่ง(นับเวลาจริงๆ ไม่น่าถึงนะ เพราะแวะที่ร้านกาแฟใกล้ตรงเลยแยกของถนนหมายเลข ๑๐๗ มาหน่อยเดียวประมาณ ๑๕ นาที แล้วก็แวะร้านรักจังตั้งเกือบอีกประมาณ ๑๕ นาที แล้วก็ติดขบวนรถช้าอีก)


    a.jpg


    สรุปก็มาถึงปาย เวลา ๑๗.๓๐ น. วนหาที่พักที่เพื่อนจองไว้ให้ใกล้ๆ กับถนนคนเดิน พอเข้าที่พักได้ จัดแจงขนข้าวขนของ อาบน้ำ แต่งตัว เตรียมลุยถนนคนเดินยามราตรีกัน........



    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    ระหว่างชมภาพยามค่ำคืนของ อำเภอปาย ก็จะขอเล่าถึงประวัติของที่นี่ให้ฟัง........



    a.jpg


    อำเภอปายเป็นเมืองเก่าแก่ประชากรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนแห่งนี้มาแต่เดิมคือชาวพ่ายหรือไปรซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาตระกูลออสโตร-เอเชียติก สาขาว้า-เรียงดังมีร่องรอยหลักฐานซากวิหารและเจดีย์กระจายอยู่ทั่วไปทั้งบนภูเขาสูง ที่ดอนเชิงเขาบริเวณพื้นราบลุ่มน้ำปาย บางแห่งก่อสร้างด้วยหิน เช่นในผืนป่าบริเวณใกล้น้ำตกเอิกเกอเต่อ ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่ปิงน้อยบางแห่งมีการขุดคูเป็นร่องลึกบนภูเขาสูงชัน มีเจดีย์บนยอดเขา



    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg

    มีหลักฐานว่าเจ้าเมืองคนแรกคือ ขุนส่างปาย ในสมัยพระเจ้าโหตรประเทศพระราชาธิบดีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่งเจ้าแก้วเมืองออกสำรวจชายแดนได้พบว่าภูมิประเทศน่าสนใจจึงแนะนำให้ขุนส่างปายย้ายเมืองมาตั้งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปายเพราะเป็นที่ราบกว้างขวางผู้คนจึงเรียกเมืองใหม่ว่า "เวียงใต้" ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า "เวียงเหนือ"




    a.jpg


    a.jpg



    อากาศที่นี่หนาวๆ ควรอย่างยิ่งที่จะต้องสวมหมวก ถุงมือและเสื้อกันหนาวเดิน ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะไม่สบายได้


    a.jpg



    เดินไปเดินมาฝ่าฝูงชนอันคับคั่งเป็นร้อยเป็นพัน เอ หรือเป็นหมื่นคนหล่ะนี่ คนเยอะมาก แต่ไม่รู้เดินยังไง มาเจอกับเพื่อนที่ทำงานจนได้ หนีไม่พ้นกันเลย อยู่กรุงเทพฯก็เจอ มาแม่ฮ่องสอนก็ยังมาเจอกันอีก



    a.jpg


    a.jpg

    หิวแล้ว หาอะไรทานกันดีกว่า เดินไปเดินมา ร้านนี้เลยก็แล้วกัน ร้านผัดไทหน้าวิน


    a.jpg


    a.jpg



    ทานผัดไทเสร็จ ดันดื่มน้ำแข็งเข้าไป เอาหล่ะสิ หนาวเลย ทีแรกอากาศเย็นๆ ไม่รู้สึกหนาว เลยต้องออกเดินชมแสงสีและสินค้าอีกรอบหนึ่ง



    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    แล้วก็ไม่พ้นไปได้ ๗ –๑๑ หาขนมกับนมตุนไว้คืนนี้ ซื้อของหนึ่งหอบย่อมๆ ซื้อตุ๊กตาพวกกุญแจเป็นของฝาก แล้วก็เดินกลับที่พัก...... วันนี้เข้านอนประมาณเกือบ ๕ ทุ่มได้ ง่วงแล้วหล่ะ นอนดีกว่า วันนี้พอแค่นี้ก่อน พรุ่งนี้ค่อยเล่าเรื่อง ปาย ให้ฟังต่อ แต่คณะของเราจะอยู่ที่ ปาย ครึ่งวัน จากนั้นจะไป..............ห้วยน้ำดัง



    To Be Continues…
    Pai Mini Stories : Part 3
    “หนาวไม่คลาย ห้วยน้ำดัง”


    ........................................

    Previous…..
    Pai Mini Stories : Part 1
    “น้ำค้าง นครพิงค์”


    ..............................................

    สรุปสถานที่การเดินทางในวันที่สอง
    ๑. สวนสัตว์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
    ๒. กราบพระครูบาศรีวิชัย เชิงทางขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
    ๓. พระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
    ๔. อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


    ..............................

    ข้อมูลอ้างอิง

    สวนสัตว์เชียงใหม่
    www.chiangmaizoo.com

    พระครูบาศรีวิชัย
    (เรียบเรียงจากงานของ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ของ ส.สุภาภา ๑๐พค.๒๕๑๘, สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ของสิงฆะ วรรณสัยศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒, และตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวน-ดอก สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗)


    วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร
    http://old.doisuthep.com

    ปาย
    http://pai.sadoodta.com


    ..............................


    สุดท้ายนี้อันกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำในครั้งนี้ขออุทิศถวายแด่ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดาคุณมารดา วงศาคณาญาติทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ เจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์เจ้านายทุกพระองค์ เทพยดาทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรุงพาลี ภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย คุณแม่พระธรณี พระคงคา พระพาย พระเพลิง พระโพสพ พระยายมราช เจ้ากรรมนายเวร และขอให้ผลบุญจงได้สำเร็จผลแด่เพื่อนๆ สมาชิกในเว็ปพลังจิต ทุกท่าน


    ภาพและเรียงร้อยถ้อยคำ
    โดย สร้อยฟ้ามาลา



    .......................
    [​IMG]



    ..............


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0067_2a.jpg
      IMG_0067_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      378.4 KB
      เปิดดู:
      1,738
    • IMG_0068_2a.jpg
      IMG_0068_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      212.3 KB
      เปิดดู:
      1,278
    • IMG_0074_2a.jpg
      IMG_0074_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      299.1 KB
      เปิดดู:
      1,256
    • IMG_0088_2a.jpg
      IMG_0088_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      212.6 KB
      เปิดดู:
      1,231
    • IMG_0109_2a.jpg
      IMG_0109_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      230.2 KB
      เปิดดู:
      1,543
    • IMG_0110_2a.jpg
      IMG_0110_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      223.5 KB
      เปิดดู:
      1,148
    • IMG_0112_2a.jpg
      IMG_0112_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      223.8 KB
      เปิดดู:
      994
    • IMG_0115_2a.jpg
      IMG_0115_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      250.9 KB
      เปิดดู:
      1,129
    • IMG_0117_2a.jpg
      IMG_0117_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.9 KB
      เปิดดู:
      1,070
    • IMG_0120_2a.jpg
      IMG_0120_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      228 KB
      เปิดดู:
      1,005
    • IMG_0126_2a.jpg
      IMG_0126_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      209.4 KB
      เปิดดู:
      986
    • IMG_0127_2a.jpg
      IMG_0127_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      207.5 KB
      เปิดดู:
      1,049
    • IMG_0129_2a.jpg
      IMG_0129_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      212.7 KB
      เปิดดู:
      951
    • IMG_0130_2a.jpg
      IMG_0130_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      238.3 KB
      เปิดดู:
      942
    • IMG_0131_2a.jpg
      IMG_0131_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      212.6 KB
      เปิดดู:
      935
    • IMG_0132_2a.jpg
      IMG_0132_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      258.5 KB
      เปิดดู:
      1,072
    • IMG_0134_2a.jpg
      IMG_0134_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      240.3 KB
      เปิดดู:
      932
    • IMG_0136_2a.jpg
      IMG_0136_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      219 KB
      เปิดดู:
      1,067
    • IMG_0139_2a.jpg
      IMG_0139_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.4 KB
      เปิดดู:
      945
    • IMG_0141_2a.jpg
      IMG_0141_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      220.2 KB
      เปิดดู:
      900
    • IMG_0142_2a.jpg
      IMG_0142_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      249.9 KB
      เปิดดู:
      963
    • IMG_0144_2a.jpg
      IMG_0144_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      235.8 KB
      เปิดดู:
      928
    • IMG_0148_2a.jpg
      IMG_0148_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      219.5 KB
      เปิดดู:
      901
    • IMG_0154_2a.jpg
      IMG_0154_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      217.9 KB
      เปิดดู:
      1,446
    • IMG_0155_2a.jpg
      IMG_0155_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      221.6 KB
      เปิดดู:
      1,007
    • IMG_0156_2a.jpg
      IMG_0156_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      223.1 KB
      เปิดดู:
      894
    • IMG_0157_2a.jpg
      IMG_0157_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      246.5 KB
      เปิดดู:
      842
    • IMG_0161_2a.jpg
      IMG_0161_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      303.8 KB
      เปิดดู:
      1,008
    • IMG_0162_2a.jpg
      IMG_0162_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      230.3 KB
      เปิดดู:
      1,150
    • IMG_0167_2a.jpg
      IMG_0167_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      242.3 KB
      เปิดดู:
      975
    • IMG_0170_2a.jpg
      IMG_0170_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      228.1 KB
      เปิดดู:
      926
    • IMG_0172_2a.jpg
      IMG_0172_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      227 KB
      เปิดดู:
      1,027
    • IMG_0174_2a.jpg
      IMG_0174_2a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      235.7 KB
      เปิดดู:
      1,207
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2023
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ขอบคุณพี่แอ๊ด จ่ะ ^^
     
  7. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    บรรยากาศน่าเที่ยวจัง เด่วต้องหาคนพาไปให้ได้ก่อนอะ อิอิ
     
  8. ธิดารัตน์

    ธิดารัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,939
    ค่าพลัง:
    +4,568
    ขอบคุณมากสำหรับภาพและข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวดีดีของไทยนะคะ
     
  9. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ขอบคุณภาพสวย ๆ ครับ....อ่านปายดูปาย เพลินเลยครับ

    มอม(MOM) .... อยากรู้ประวัติจังครับ แปลกดี ?


    ME...OKay

     
  10. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    ไปแม่ฮ่องสอนมาแล้ว แต่ยังไม่ได้แวะปายเลย..เสียดายจัง..:'(
    เอาไว้คราวหน้า รับรอง..ไม่พลาด!!..
     
  11. cinderella2517

    cinderella2517 Mindset Coach และ นักพยากรณ์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +1,404
    สวยจังค่ะแม่สร้อยฯ เคยไปมาเมื่อห้าปีที่แล้ว แต่ไม่ได้เดินอะไรเลย ไปแค่คืนเดียว เสียดายจัง เดี๋ยวต้องหาเวลาไปใหม่อีกรอบ อิอิ ไม่นานเกินรอ
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    มีคนอาสาพาไปหนูปุ๊กไปแล้วหล่ะ...... ว่าแต่คุณเฮียปอฯ ไปถูกหรือเปล่าระวังหลงความงามสาวเมืองเหนือนะจ๊ะ เดี๋ยวหาทางกลับไม่ถูกไม่รู้ด้วยหล่ะ.....

     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ไปเดือนกุมภาพันธ์ก็ดีนะคุณเจง ช่วง Low Season คนน้อยหน่อย....
    เอ จะน้อยหรือเปล่าชักไม่แน่ใจ เพราะเป็นเดือนแห่งความรัก อ่ะสิ....
     
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ก็พี่กุ้งชอบไสต์ Adventure ใช่ป่ะ ..... เห็นเทโค้งในกระทู้ของพี่กุ้งhttp://palungjit.org/threads/ชมวัดถ...าง-ยามเช้ากับทะเลหมอกบนดอยอ่างขาง.218164/แล้ว ท่าทางยังสนุกสนานไม่หาย อิ อิ.....
     
  15. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    เดี๋ยวเช่ารถตู้ไปครับ เอา ปุ๊กก้า ไปเลี้ยงหลาน

    หลงยากครับ ... ศรีภรรยา ดึงหูของเฮีย ฯ ยานแน่ ๆ
     
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    อ้าว ไม่เป็นไร ถ้ามีขนมเยอะๆ หนูปุ๊กคงจะช่วยเลี้ยงน้องอั่งเปากับน้องไข่มุกอ่ะจ่ะ....

    คุณเฮียปอฯ กลัวศรีภรรยาด้วยหล่ะ อิ อิ ....^_^ ....

    แต่คิดว่าไม่หรอก เป็นความไว้วางใจซึ่งกันและกัน แล้วคุณพี่ปอฯ ก็เป็นคนดี ไม่ออกนอกทางแน่ๆ.... สร้อยฟ้าฯเชื่อ.....
     
  17. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ชอบรูปนี้มากครับ หาจังหวะธรรมชาติๆพอดีๆแบบนี้ยาก
    Candid Portrait สบายๆซิวซิว แสงน้อยๆมือนิ่งๆไม่ยิง Flash

    [​IMG]
     
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ขอบคุณจ่ะ
    แหม ดูลึกถึง Properties ของภาพเลยนะคุณบุญตา....
    แต่งานนี้มือนิ่งยากมากๆ จ่ะ เพราะหนาวจนควันออกปากเลยหล่ะ....
     
  19. PhraEkk

    PhraEkk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2008
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +233
    <m:wrapindent m:val="1440"> <m:intlim m:val="subSup"> <m:narylim m:val="undOvr"> </m:narylim></m:intlim> </m:wrapindent><!--[endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" DefUnhideWhenUsed="true" DefSemiHidden="true" DefQFormat="false" DefPriority="99" LatentStyleCount="267"> <w:LsdException Locked="false" Priority="0" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Normal"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="heading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="9" QFormat="true" Name="heading 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 7"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 8"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" Name="toc 9"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="35" QFormat="true" Name="caption"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="10" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" Name="Default Paragraph Font"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="11" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtitle"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="22" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Strong"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="20" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="59" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Table Grid"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Placeholder Text"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="1" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="No Spacing"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Revision"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="34" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="List Paragraph"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="29" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="30" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Quote"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 1"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 2"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 3"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 4"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 5"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="60" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="61" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="62" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Light Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="63" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="64" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="65" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="66" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium List 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="67" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 1 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="68" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 2 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="69" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Grid 3 Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="70" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Dark List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="71" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Shading Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="72" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful List Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="73" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" Name="Colorful Grid Accent 6"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="19" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="21" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Emphasis"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="31" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Subtle Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="32" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Intense Reference"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="33" SemiHidden="false" UnhideWhenUsed="false" QFormat="true" Name="Book Title"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="37" Name="Bibliography"/> <w:LsdException Locked="false" Priority="39" QFormat="true" Name="TOC Heading"/> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><m><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin-top:0cm; mso-para-margin-right:0cm; mso-para-margin-bottom:10.0pt; mso-para-margin-left:0cm; line-height:115%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} </style> <![endif]-->[​IMG] [​IMG]

    ขอขอบคุณในน้ำใจไมตรีที่ส่งเรื่องราวดีๆและภาพที่สวยงามมาให้อ่านและชม ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ที่จะมาถึงอันใกล้นี้ ขออวยพรให้ คุณสร้อยฟ้ามาลาและครอบครัว มีความสุข ความเจริญ คิดทำสิ่งใดให้สัมฤทธิผลในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ....ครับ

    วันปีใหม่ใกล้มาเยือนในครานี้ ให้ผ่านพ้นทุกข์โศรกและหมองศรี
    ให้คนรักสรรเสริญทั่วธานี ให้มั่งมีศรีสุขทุกคืนวัน
    แม้นสิ่งใดไม่ดีให้ผ่านพ้น คุณพระดลให้ได้ดั่งใจฝัน
    หวังสิ่งใดคิดสิ่งใดสมใจพลัน สุขเหมือนฝันได้ดั่งจิตที่คิดปอง

    Have A Nice Day. I wish U all Happiness, All success; all whatever U wish are belonging to U.

    ขอให้มีความสุข สดชื่น มาก ๆ ๆ ๆ.....ครับ
    </m>
     
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ขอบคุณ คุณพี่พระเอกจ่ะ
    พรใดที่ประเสริฐ พรใดที่คุณพี่พระเอกได้กล่าวแล้ว ขอให้คุณพี่พระเอกได้รับผลแห่งพรนั้น ให้เกิดสุข ทุกขณะทิวาราตรีจ่ะ....
    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...