><กระทู้ใหม่(4) วัตถุมงคลดีพิธีใหญ่สภาพสวย หลากหลายสายราคาเบา (สรุปรายการ น.1) ><

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์ปิยธโร, 5 มกราคม 2017.

  1. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2364.สวยกริ๊บๆกล่องเดิมๆ สุดยอดเมตตามหานิยม
    พระสมเด็จนางพญางิ้วดำ หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ทายาทพุทธาคมลพ.ชื่น วัดมาบข่า


    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    HxZ1nt.jpg
    พระสมเด็จนางพญางิ้วดำ หลังสิงห์ หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จังหวัดระยอง เนื้อผงมหาพุทธคุณ ผสมผงว่าน และผงไม้งิ้วดำ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512


    ประวัติโดยย่อของหลวงพ่อหอม
    หลวงพ่อหอมเกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 10 ปีขาล พ.ศ. 2433 เป็นบุตรของ นายสัมฤทธิ์ กับ นางพุ่ม ทองสัมฤทธิ์ เป็นชาวบ้านสำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน โดยท่านเป็นคนสุดท้อง

    เมื่ออายุ 21 ปี ทำหน้าที่ลูกผู้ชายไปเข้ารับราชการทหารเรือ 2 ปี จนปลดประจำการ กลับมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพที่บ้านเดิม และก็ได้แต่งงานมีบุตร 3 คน พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากบิดาจนเชี่ยวชาญ สามารถช่วยเหลือเพื่อนบ้านตลอดมา

    หลวงพ่อเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงได้อุปสมบทเมื่ออายุ 36 ปี ณ พัทธสีมาวัดทับมา เมื่อปีพ.ศ.2469 มีหลวงพ่อขาว วัดทับมา อ.เมือง จ.ระยอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจี๊ด วัดเขาตาแขก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้อยู่จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดมาบข่ากับหลวงพ่อชื่น 2 พรรษา แล้วได้พยายามศึกษาด้านพุทธเวทอย่างจริงจังจนสำเร็จ หลวงพ่อชื่นซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านเคยปรารภกับพระภิกษุรูปอื่นว่า "อีกหน่อยคุณหอมเขาจะหอมทวนลมนะ"

    หลังจากนั้นท่านก็ได้กราบลาพระอาจารย์ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดซากหมาก ซึ่งอยู่ใกล้บ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและพัฒนาถาวรวัตถุให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างทันตาเห็น เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง โรงเรียน อุโบสถ หอไตรกลางน้ำ เป็นต้น

    ทั้งที่ก่อนนี้วัดซากหมากมีเพียงเรือนไม้ 2 หลัง ทรุดโทรมจนเกือบใช้การไม่ได้ เป็นสำนักสงฆ์ร้างมาประมาณ 10 ปี ขณะที่ท่านมาฟื้นสำนักสงฆ์แห่งนี้เมื่อปีพ.ศ.2471 บริเวณบ้านซากหมากนี้ยังเป็นป่า เป็นที่อยู่ของสัตว์ร้ายนานาชนิด เป็นที่อัศจรรย์สัตว์ร้ายเหล่านี้หาทำอันตรายท่านไม่ ชื่อเสียงของท่านค่อยๆ โด่งดังขึ้นมาตั้งแต่หลังสงครามมหาเอเชียบูรพา ในมณฑลพิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นเกือบทุกหนแห่งในประเทศไทย ท่านจะได้รับการนิมนต์ให้ไปร่วมเสมอ แม้ในพิธีฉลอง 25 พุทธศตวรรษ กระทั่งพิธีพุทธาภิเษกของวัดสุทัศน์ และวัดพระเชตุพนฯ ก็ได้รับนิมนต์เกือบทุกครั้ง ด้วยความเป็นพระมากเมตตาหลวงพ่อหอมต้องต้อนรับลูกศิษย์ลูกหาจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน แต่ถึงกระนั้นท่านก็ภูมิใจ เพราะทำให้วัดที่ทุรกันดารกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างทันตาเห็น

    หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต (พระครูภาวนานุโยค) อดีตเจ้าอาวาส แห่งวัดชากหมาก หมู่ 2 ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ห่างจากตัวอำเภอบ้านฉางเข้าไปทางสี่แยกระยะทาง ประมาณ 9 กม. วัดชากหมาก (ป่าเรไร ) เป็นวัดเล็กๆ เงียบสงบ ในอดีตเคยเป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในทางคุณวิเศษอันลือลั่น หลวงพ่อหอมซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยที่มีชีวิต มักจะถูกอาราธนาไปร่วมในการประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ทั้งราชพิธีและพิธีสามัญ สม่ำเสมอทั่วประเทศไทย ผู้นิยม วัตถุมงคลน้อยคนที่จะไม่ได้ยินกิตติศัพท์ความเป็นผู้ทรงพุทธเวทย์ของท่าน จากวัตถุมงคลที่ได้ปลุกเศกไม่ว่าจะเป็นสิงห์งาช้าง ขี้ผึ้ง นางกวัก งาช้าง ไชมงคล พระกริ่ง รูปเหมือน แหนบรูปเหมือน เหรียญรูปเหมือน แหวนทอง

    มีอยู่ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าวัยรุ่นย่านบางรักกรุงเทพฯ ยกพวกต่อยตีกันเป็นมวยหมู่ มีการบาดเจ็บกันเป็นระนาว แต่ก็มีอยู่หลายคนที่ไม่เป็นอะไรเลยทั้งๆ ที่ได้เข้าไปประจัญบานกับเขาด้วยอย่างเมามัน ซึ่งภายหลังปรากฏว่าพวกที่ไม่ได้รับบาดเจ็บนั้นล้วนแต่มี ”สิงห์งาช้าง” ของหลวงพ่อติดตัวอยู่ทั้งนั้น สอบถามได้ความว่าเคยร่วมคณะกฐินจากกรุงเทพฯ ซึ่งไปทอดที่วัดซากหมากฯ แล้วเช่า“สิงห์งาช้าง”ของหลวงพ่อไปไว้ติดตัวกันคนละตัว ซึ่งครั้งแรกก็ยังไม่ได้คิดว่าศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ จนได้ประสบเหตุเข้ากับตัวเองจึงเชื่อและพาพรรคพวกเพื่อนฝูงเดินทางไปขอเช่าที่วัดกันอีกหลายคนด้วยกัน แต่หลวงพ่อก็เตือนว่า ”ถ้ารังแกข่มเหงเขา สิงห์ของพ่อไม่ช่วยนะ”

    ตามธรรมดาทุกๆ ปี ที่วัดซากหมากฯ จะต้องมีงานประจำปีและมีอยู่ปีหนึ่งหลวงพ่อได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือนองค์หลวงพ่อขึ้นเป็นรุ่นแรก ได้มีทหารจำนวนหนึ่งไปเที่ยวงานและเช่าพระกริ่งนี้คนละองค์แล้วชวนกันไปหลังโรงเรียนวัดซากหมากซึ่งอยู่ใกล้วัดนั้นเอง เพื่อจะทดลองความศักดิ์สิทธิ์ดูให้แน่ใจ จึงได้นำเอาพระกริ่งของหลวงพ่อออกมาวางรวมกันแล้วยิงด้วยปืน .๓๘ ก็ปรากฏว่ายิงกี่ครั้งๆ ก็ไม่ออก แต่เมื่อเบนปากกระบอกปืนไปทางอื่นกลับยิงออกทุกนัด ทหารเรือกลุ่มนั้นจึงกลับเข้ามาในวัดและขอเช่าเพิ่มกันอีกจนเงินหมดกระเป๋า เมื่อกลับไปแล้วยังได้บอกกล่าวให้บรรดาเพื่อนฝูงพากันมาเช่ากันไปไว้ประจำตัวอีกมากมาย และตั้งแต่นั้นมาเมื่อหลวงพ่อมีงานอะไรขึ้น บรรดาทหารเรือจากฐานทัพเรือสัตหีบจะมาช่วยกันอย่างมากมายทุกครั้งไป

    หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือพระครูภาวนานุโยค ได้อาพาธด้วยโรคชราและมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. ของวันที่ 13 เมษายน พุทธศักราช 2520 (นับวันเวลาสากล) ณ โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมอายุได้ 87 ปี 51 พรรษาและได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 23 เมษายน พุทธศักราช 2521 ภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว 375 วัน ณ. วัดซากหมากฯ หมู่ที่ 2 ตำบล สำนักท้อน กิ่งอำเภอบ้านฉาง (ปัจจุบันเป็นอำเภอบ้านฉาง) จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาโดยตลอดนั้นเอง



    สภาพผิวพร้อมกล่องเดิมๆ พุทธคุณเมตตามหานิยม แบ่งให้บูชา 550 บาท(พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)



    (คุณJae จองแล้วครับ)



    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2022
  2. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371

    -jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  3. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2365.ดีนอกดีใน(A) พระพุทธไตรโลกนาถสมปรารถนา
    ผลงานพุทธศิลป์ อ.อำพล เจน แห่งสำนักห้วยไผ่

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    6cudri-jpg.jpg

    6cufoe-jpg.jpg
    พระพุทธไตรโลกนาถสมปรารถนา วัดป่าเทพประสิทธิ ตำบลไผ่ อำเภอราษีไสล จังหวัดศรีสะเกษ เนื้อชนวนโลหะทั้งหมดทั้งหมดที่ อ.อำพล เจน สะมสมไว้นำมาหลอมรวมกัน ใต้ฐานอุดด้วยผงสำคัญของหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญและผงเก่าของวัดพุทธมงคล นครสวรรค์ ตอกโค้ด ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2558 ผลงานพุทธศิลป์ อ.อำพล เจน แห่งสำนักห้วยไผ่

    : สัดส่วนประมาณพระกริ่ง (เล็ก - กลาง)
    ความสูงจากฐานถึงปลายพระเกศ 3 ซม.


    การจัดสร้าง
    - เนื่องด้วยวัดป่าเทพประสิทธิ ตำบลไผ่ อำเภอราษีไสล จังหวัดศรีสะเกษ โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อหมุน กตปุญโญ มีดำริจัดสร้างพระพุทธไตรโลกนาถสมปรารถนาเพื่อเฉลิมฉลองศาลาการเปรียญที่จะแล้วเสร็จ


    แนวคิดในการออกแบบพระพุทธไตรโลกนาถสมปรารถนา
    สืบเนื่องพระพุทธรูปขนาดตั้งบูชาประจำองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตเถร ที่องค์ท่านได้กราบไหว้ตลอดมาจนกระทั่งละสังขาร ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ได้มีการดัดแปลงเติมลายและเปลี่ยนพุทธศิลป์บ้างเล็กน้อย แต่ยังคงทรวดทรงเดิมๆไว้พอสมควร


    วาระการเมตตาอธิษฐานจิตโดย
    - หลวงปู่เขียน ปุญญกาโม วัดโพนสิม จังหวัดอุบลราชธานี
    ศิษย์เจ้าคุณนรฯ,ศิษย์ในสายญาครูขี้หอม และสมเด็จลุน นครจำปาสัก ปัจจุบันสิริอายุ 95 ปี


    - หลวงปู่บุญธรรม(ธรรมยุต) วัดมัฌิมาราม จังหวัดศรีสะเกษ
    พ่อแม่ครูอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มากน้อยสันโดษซ้อนเร้นปลีกวิเวกไม่แสดงตน


    - หลวงปู่วิเชียร(ธรรมยุต) ธัมมสาโร หรือ หลวงปู่สิงห์ วัดโบสถ์ จังหวัดสุรินทร์
    ศิษย์ท่านพ่อลี, หลวงปู่ชา, หลวงปู่สาม และศิษย์องค์สุดท้ายหลวงปู่ดุลย์ ปัจจุบันสิริอายุ 87 ปี หลวงปู่ท่านมีฤิทธิ์มาก และเพียบพร้อมไปด้วยบุญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์ ดั่งคำทำนายของท่านพ่อลี


    - หลวงปู่สรวง(ธรรมยุต) สิริปุญฺโญ วัดศรีฐานใน จังหวัดยโสธร (พระน้องชายหลวงปู่พวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม)
    ศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ,หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ,หลวงปู่ขาว อนาลโย ,หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ปัจจุบันสิริอายุ 86 ปี


    - หลวงปู่สาย(ธรรมยุต) วัดป่าศรีสำราญ จังหวัดศรีสะเกษ
    พ่อแม่ครูอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มากน้อยสันโดษซ้อนเร้นปลีกวิเวกไม่แสดงตน


    - หลวงพ่อเส็ง วิสุทธสีโล วัดปราสาทเยอร์ จังหวัดศรีสะเกษ
    ศิษย์ก้นกุฏิและศิษย์ใกล้ชิดที่สุดของหลวงปู่มุม วัดประสาทเยอร์ ปัจจุบันสิริอายุ 75 ปี


    - หลวงปู่ห้วย(ธรรมยุต) พระญาณวิเศษ (จรัส เขมจารี) วัดประชารังสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ
    ศิษย์สายหลวงปู่ศรี ผีย่าน วัดหลวงสุมังคลาราม ปัจจุบันสิริอายุ 89 ปี


    - หลวงปู่แสง(ธรรมยุต) ญาณวโร วัดป่ามโนรมณ์สมประสงค์ จังหวัดอำนาจเจริญ
    ศิษย์รุ่นสุดท้ายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, ศิษย์หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่บัว, หลวงปู่คำดี เป็นต้น ปัจจุบันสิริอายุ 96 ปี

    พระพุทธไตรโลกนาถสมปรารถนา วัดป่าเทพประสิทธิ รุ่นนี้จัดสร้างขึ้นด้วยคณะบุญคณะหนึ่ง เผื่อถวายในงานบุญทั้งสิ้น เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ ดีนอกดีใน ทั้งชนวนโลหะและมวลสารที่บรรจุใต้ฐาน ล้วนเป็นยอดโลหะและผงศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้น พร้อมได้รับการแผ่เมตตาอธิษฐานจิตจากพ่อแม่ครูอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ถือว่าสมบูรณ์ครบถ้วนในทุกด้านจริงๆ

    สภาพสวยกริ๊บพิมพ์คมโค้ดชัดลึก เนื้อหาหลายวรณะในองค์เดียวแดงบ้างเหลืองบ้าง ตามแบบฉบับพระหล่อเนื้อชนวนโบราณ เนื้อหาชนวนโลหะและมวลสารเพียบไม่ธรรมดา พุทธคุณครอบครบ สมปรารถนา ดั่งอธิษฐานจิตเอาเถิด แบ่งให้บูชา 550 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณก้านมะยม จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2022
  4. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2366.ของดีเมืองสองแคว(ซุ้มเสา) พระผงพระพุทธชินราช รุ่นพระมาลาเบี่ยง
    ลป.โต๊ะ,ลพ.อุตตมะ,ลพ.สุด,ลพ.เนื่อง ร่วมเสกมหาพิธี 2วาระ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    HQQy69.jpg

    image-742d_5926d4a1-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    พระผงพระพุทธชินราช รุ่นพระมาลาเบี่ยง พิมพ์ซุ้มเสาวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เนื้อผวพุทธคุณ ปั้มหมึกรันนัมเบอร์ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2520 โดยพระราชรัตนมุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร และประชาชน ร่วมกันสร้างเพื่อหาทุนหล่อพระพุทธชินราชบูชา ขนาด 29นิ้ว แจกแก่วัดในเขตทุรกันดารจำนวนประมาณ 120องค์ และพระเครื่อง สำหรับแจกแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ปราบผู้ก่อการร้าย

    วัตถุมงคลที่จัดสร้าง ประกอบด้วย :
    1.พระบูชาพระพุทธชินราช พระมาลาเบี่ยง ขนาด 9 และ 5 นิ้ว ลงรักปิดทอง
    2.พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธชินราช มาลาเบี่ยง เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ
    3.เหรียญพระพุทธชินราช พระมาลาเบี่ยง (รูปทรงพระมาลาเบี่ยง)
    4.พระพุทธชินราชเนื้อผง รุ่นพระมาลาเบี่ยง จำนวน 3 พิมพ์ คือ พิมพ์สี่เหลี่ยมใหญ่ พิมพ์สมเด็จ และพิมพ์เล็กตัดชิด (สามเหลี่ยม) หลังเป็นยันต์อกเลาอันศักดิ์สิทธิ์ ประจำองค์หลวงพ่อพระพุทธชินราช และพระมาลาเบี่ยง ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และอักขระขอม หัวใจธาตุ 4 (นะ มะ พะ ทะ) มีหมายเลข (หมึกปั๊ม) กำกับทุกองค์


    ประกอบพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ 2วาระ

    วาระที่ 1 : ประกอบพิธีเมื่อปี พ.ศ.2519
    รายนามพระคณาจารย์ อาทิ
    - พระธรรมราชานุวัตร วัดสุวรรณาราม เป็นประธานสงฆ์

    - พระครูประสาทธรรมวัตร(หลวงตาละมัย) วัดอรัญญิก เป็นเจ้าพิธี
    - พระครูประภาสธรรมาภรณ์(หลวงพ่อแขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ เป็นผู้ช่วยเจ้าพิธี

    - หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    - ครูบาสายทอง วัดท่าไม้แดง ตาก
    - หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน พิจิตร
    - หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง สุโขทัย
    - หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ชลบุรี เป็นต้น


    วาระที่ 2 : พิธีมหาพุทธาภิเษก ในวันยุทธหัตถี 25 ม.ค.2520 ณ พระวิหารพระพุทธชินราช พิษณุโลก
    รายนามพระคณาจารย์ จำนวน 125รูปนั่งปรกตลอดคืน อาทิ
    - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี
    - หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    - หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
    - หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
    - หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
    - หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
    - หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร
    - หลวงพ่อวัดเกตุมฯ สมุทรสาคร
    - หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    - หลวงพ่อเทียม วัดกษัตรธิราช
    - หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
    - หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ เป็นต้น


    สภาพสวยเดิมไม่ผ่านการใช้งาน เก่าเก็บรักษาอย่างดีไม่ได้ใช้ พิมพ์คมชัดลึกสวย พิธีสุดอลังการ พุทธคุณครอบครบ พระคณาจารย์ประจุพลังกันเต็มเปี่ยม แบ่งให้บูชา 299 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  5. ก้านมะยม

    ก้านมะยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +1,806
    จองครับ
     
  6. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2367.เสริมบารมีกันภัยดีนักแล(C) เหรียญพระพุทธบุพพาภิมงคล
    พิธีใหญ่มหามงคล พระสังฆราช,ลป.ฝั้น,ลป.โต๊ะ,ลพ.ฤาษีลิงดำ ร่วมอธิษฐานจิต

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    HUdwl2.jpg

    b8nszn-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    b8nypv-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    b8nn9s-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    b8nbbn-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    6dfd-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    เหรียญพระพุทธบุพพาภิมงคล หลังสิงห์ธนูเจ้าพ่อดำ(พระยาราชสีห์) วัดบุพพาราม จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อทองแดงรมน้ำตาล ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2519 เนื่องด้วยทางวัดมีความต้องการจัดหาทุนในการจัดสร้างหอมณเฑียรธรรม และประจวบกับ
    วาระมงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 49พรรษา ในปี 2519 ทางวัดบุพผารามจึงได้จัดสร้างพระพุทธบุพพาภิมงคล เพื่อเป็นที่่ระลึกแก่พระองค์ท่าน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงเสด็จเททองหล่อพระพุทธบุพพาภิมงคล ณ วัดบุพผาราม จ.เชียงใหม่ และทางวัดได้จัดให้มีพิธีมหาพุทธถิเษกอย่างยิ่งใหญ่ โดยพระราชาคณะและพระคณาจารย์ดังแห่งยุค

    **** มหาพิธีหนึ่งเดียวที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จ ทำพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษกด้วยพระองค์เอง มีพลังของพระมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ ****

    **** พระชุดนี้พึ่งแตกกรุจากการเก่าเก็บออกมาเมื่อปี พ.ศ.2560 จากข่าวด้านล่างจากไทยรัฐ ท่านใดมีความประสงค์จะร่วมทำบุญกับทางวัด ถ้าเข้าใจไม่ผิดน่าจะยังไม่หมดนะครับ ทางวัดให้บูชาที่ เหรียญละ 500บาทครับ ****

    พิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก
    - เมื่อวันที่ 13 พค 2519 (วันวิสาขบูชา) ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง ในหลวงทรงจุดเทียนชัยพุทธาภิเษก ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม ณ วัดบุพผาราม จ.เชียงใหม่

    รายชื่อพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก 49 องค์
    1.สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธฯ
    2.สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศฯ
    3.สมเด็จพระธีรญาณ วัดจักวรรดิ์ฯ
    4.พระวิสุทธิวงศ์ศาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ
    5.พระวิสุทธาธิบดี วัดไตรมิตรฯ
    6.พระธรรมวโรดม วัดปทุมคงคา
    7.พระพุทธวงศ์มุนี วัดเบญจมบพิตร
    8.พระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย
    9.พระเทพวิสุทธิโสภณ เชียงราย
    10.พระเทพวิสุทธี วัดเจดีย์หลวง
    11.ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก
    12.ครูบาคำแสน คุณารังกาโร วัดป่าดอนมูล
    13.ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง
    14.ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    15.หลวงปู่ฉิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาบ่อง
    16.พระอาจารย์หนู สุจิตโต วัดดอยแม่ปั๋ง
    17.ครูบาอินถา วัดเชียงมั่น
    18.ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง
    19.พระครูสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม
    20.ครูบาบุญมี วัดท่าสต๋อย
    21.ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง
    22.ครูบาปั๋น วัดกู่คำ
    23.ครูบาแก้ว วัดวิเวกวนาราม
    24.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง
    25.ครูบาจินะ วัดท่าข้าม
    26.ครูบาคำตัน วัดดอนจืน
    27.พระอาจารย์ทองบัว วัดโรงธรรม
    28.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
    29.พระประสาท วัดจามเทวี
    30.พระราชสุมนต์มุนี วัดราชบพิธฯ
    31.ครูบาชุ่ม วัดวังมุย
    32.พระญาณวีราคม วัดดอนเจดีย์
    33.ครูบาเมือง วัดท่าแหน
    34.ครูบาคำแสน วัดท่าแหน
    35.พระอินทวิชยาจารย์ วัดคะตึก
    36.ครูบาอินโต วัดบุญยืน
    67.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    38.ครูบาหล้า วัดดอยคู่ค้าง
    39.พระราชรัตนมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง
    40.พระชยานันทมุนี วัดพญาภู
    41.พระญาณมงคล วัดมหาวัน
    42.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    43.หลวงพ่อนอ วัดกลาง
    44.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
    45.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุรามณี
    46.หลวงพ่อถีร วัดป่าเรไลย์
    47.หลวงพ่อฤษีลิงดำ วัดท่าซุง
    48.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
    49.พระอาจารย์สำราญ วัดเขาตะเครา

    ผ่านพิธีสวดอุปสานติ :
    - เป็นพิธีเพื่อสงบเคราะห์กรรม เพื่อสงบเหตุร้าย และสวดเพื่อสงบสิ่งที่กระทบกระเทือน เสริมบารมีแก่ผู้อาราธนาแขวน นับเป็นสิริมงคลอันยิ่งใหญ่แก่ผู้แขวน

    ข้อมูลข่าววัดบุพผาราม
    - https://www.thairath.co.th/content/937420


    สภาพสวยเดิมๆ เก็บเก็บไม่ผ่านการบูชา พิมพ์คมโค้ดชัดลึก พุทธคุณครอบครบ สงบเคราะห์กรรม เพื่อสงบเหตุร้าย และสวดเพื่อสงบสิ่งที่กระทบกระเทือน เสริมบารมีแก่ผู้อาราธนาแขวน นับเป็นสิริมงคลอันยิ่งใหญ่แก่ผู้แขวน แบ่งให้บูชา 550 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณTong จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2022
  7. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2368.The last วัดสร้างเองเสกนานสภาพเก่าเก็บ พระสมเด็จผงอิทธิเจ ปี27
    หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน ยอดประสบการณ์เมตตาคลาดแคล้วหนุนดวง

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    HUc1qN.jpg
    พระสมเด็จผงอิทธิเจ (สมเด็จปลวก) หลังปั้มตราปั้มวัด หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จังหวัดอ่างทอง เนื้อผงอิทธิเจสีขาว ดำเนินการจัดสร้างประมาณปี พ.ศ.2527

    ลักษณะทั่วไปเป็นพระสมเด็จพิมพ์ฐาน 3 ชั้น
    หลวงพ่อทรงท่านดำริสร้าง(วัดสร้าง) บางองค์จะมีคราบปลวกเนื่องจากการเก็บรักษาในสมัยนั้นจึงเป็นที่มาขอบคำว่า "สมเด็จปลวก" ในช่วงยุคแรกสมเด็จปลวกจะไม่มีตราปั้มวัดครับ ทำให้ลูกศิษย์หลายท่านที่ได้รับจากหลวงพ่อ หรือมาเช่าบูช่ที่วัดไปสับสนและนำไปปนกับพระสมเด็จของวัดอื่นๆ ทางวัดจึงนำมาปั้มตราวัดเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของวัดศาลาดิน ปัจจุบันจึงพบเห็นทั้ง 2 แบบ คือ
    1.) มีตราปั้มวัด
    2.) ไม่มีตราปั้มวัด
    โดยทั้งสองแบบปลุกเสกและจัดสร้างพร้อมกันครับ (วัดสร้าง) แถมฟังจากคนสมัยก่อนเขาเล่าว่า "รุ่นนี้ปลุกเสกนานมากๆ!"

    เป็นพระที่เอามาแจกผ้าป่า ที่เหลือก็เก็บไว้ในโอ่งที่อุโบสถและแบ่งแจกให้ทำบุญเรื่อยมา เนื้อหามวลสารดีมาก ผ่านการปลุกเสกอธิษฐานจิตทั้งในกุฏิและในโบสถ์มาหลายปีหรือเป็นสิบๆปี จนอาจกล่าวได้ว่าได้ซึมซับพลังงานความศักดิ์สิทธิ์ในการทำสังฆกรรมต่างๆ เช่น บวชนาค สวดปาฏิโมกข์ เจริญพระพุทธมนต์ ชนิดที่ไม่ต้องกล่าวถึงพุทธคุณในองค์พระรุ่นนี้เลย องค์ที่มีคราบปลวกขึ้นถือได้ว่าเป็นพระตกค้างที่วัด ทางวัดได้ค้นเจอทั้งในกุฏิและในโบสถ์แล้วนำออกมาให้บูชาต่อ แต่ปัจจุบันนี้เริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ

    พุทธคุณ
    - ครบเครื่องเรื่องพุทธคุณ แต่จะเด่นมากเรื่อง อำนาจบารมี คุ้มครองแคล้วคลาด เกื้อหนุนชะตาชีวิต




    อัตโนประวัติ “หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี”

    มีนามเดิมว่า ทรง วารีรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2466 ตรงกับวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน ณ บ้านม่วงเตี้ย ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
    โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายกอง และนางจัน วารีรักษ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

    ๏ การศึกษาเบื้องต้นและการอุปสมบท ช่วงวัยเยาว์ ได้ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดยางมณี (ชวนประชาสรรค์) ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อมาได้เข้ารับราชการเพียงระยะเวลาสั้นๆ โดยยังคงช่วยเหลือครอบครัวหาเลี้ยงชีพ ประกอบกิจการค้าขาย เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2486 ณ พัทธสีมาวัดยางมณี ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง โดยมีพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อชวน) วัดยางมณี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการสุวรรณ วัดไร่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการชั้ว วัดตูม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ๏ การศึกษาพระปริยัติธรรมและสรรพวิชาอาคม หลังอุปสมบท ท่านได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อชวนระยะหนึ่ง จากนั้น ได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดไร่และวัดศาลาดิน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัย สามารถสวดพระปาติโมกข์ได้อย่างคล่องแคล่ว ขณะเดียวกัน ท่านได้ศึกษาสรรพวิชาอาคมจากหลวงพ่อชวน วัดยางมณี, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์, หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ ศึกษาโหราศาสตร์กับหลวงพ่อเข็ม วัดข่อย พระเกจิดังแห่งยุค ได้เมตตาถ่ายทอดสรรพวิชาให้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ท่านได้เรียนวิทยาคมจากตำราโบราณที่รับสืบทอดจากบรรพบุรุษ จนเชี่ยวชาญสามารถเขียนอ่านอักษรขอมได้ หลวงพ่อทรง เคร่งครัดปฏิบัติและชอบการปลีกวิเวก หมั่นฝึกฝนปฏิบัติวิชาอาคมต่างๆ ตามที่ได้ร่ำเรียนและได้รับการถ่ายทอดมา จนมีความชำนาญในวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีพลังสมาธิญาณอย่างน่าอัศจรรย์


    ๏ การมรณภาพ อย่างไรก็ดี ด้วยสังขาร คือ อนิจจัง เป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ครั้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ.2550 เวลาประมาณ 21.00 น. หลวงพ่อมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ หายใจขัด เนื่องจากมีกิจนิมนต์มาก เมื่อลูกศิษย์เห็นว่าอาการไม่ดี จึงรีบนำส่งโรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง แพทย์ได้ทำการรักษา แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ ในที่สุด เมื่อเวลา 22.50 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ.2550 ท่านได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ณ โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ หลังจากเข้ารับการรักษาอาการท่อปัสสาวะอักเสบ มาก่อนหน้านี้ สิริอายุรวม 83 พรรษา 62

    สภาพสวยเดิมผิวหิ้งเก่าเก็บ พุทธคุณยอดประสบการณ์เยี่ยม พุทธคุณครบเครื่องเรื่องพุทธคุณ แต่จะเด่นมากเรื่อง อำนาจบารมี คุ้มครองแคล้วคลาด เกื้อหนุนชะตาชีวิต แบ่งให้บูชา 789 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณธนกฤต จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2022
  8. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2369.สวยเดิมพระธาตุเสด็จ 7 องค์ รูปหล่อลององค์หลวงปู่พิศดู รุ่นโลกุตรธรรม
    ยอดชนวนมวลสาร พ่อแม่ครูอาจารย์ เมตตาอธิษฐานจิตเจตนาการสร้างบริสุทธิ์

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    6ahu-jpg-jpg-jpg.jpg
    รูปหล่อลององค์หลวงปู่พิศดู รุ่นโลกุตรธรรม สำนักสงฆ์เขาน้ำซับ อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ขนาดหน้าตัก 1 นิ้ว ตอก2โค้ด เนื้อทองชนวน(ชนวนโลหะทั้งใหม่เเละเก่าทั้งหมดที่เป็นตระกูลทองแบบล้วนๆ มากมายเกินจะกล่าวได้) ใต้ฐานบรรจุผงวิเศษ,จีวรหลวงปู่พิศดู, ตะกรุดชนวนล้วนๆที่นำชนวนต่างๆมาหลอมรีดเป็นแผ่นตะกรุด และอังคารธาตุหลวงปู่พิศดู

    จำนวนการสร้าง :
    - 1,500 องค์ (นำไปบรรจุกรุในเจดีย์ 750องค์) ส่วนที่เหลือให้บูชาเพื่อร่วมทำบุญ


    มวลสารที่บรรจุใต้ฐาน
    => เกศาธาตุพระอริยสงฆ์ และสายพระโพธิสัตว์ รวม 108 องค์ ดังนี้
    1. ท่านพ่อลี วัดอโศการาม
    2. หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
    3. ครูบาเจ้าศรีวิชัย
    4. ครูบาเจ้าเกษม เขมโก
    5. ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    6. ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
    7. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
    8. หลวงปู่สิม พุทธจาโร
    9. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซใต้
    10. สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรฯ
    11. หลวงปู่ภัททันตะ อาสภะมหาเถระ
    12. ครูบาอ้าย
    13. ครูบาคอง วัดท่ามะเกว๋น
    14. หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    15. ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง
    16. หลวงพ่อชา สุภัทโธ
    17. หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
    18. หลวงปู่จาม จ.มุกดาหาร
    19. หลวงปู่อ่อนสา
    20. หลวงปู่ศรี มหาวีโร
    21. หลวงปู่สอ พันธุโล
    22. หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    23. หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
    24. หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ
    25. หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่
    26. หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    27. หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุนนาค
    28. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
    29. ญาท่าสวน ฉันทโร วัดนาอุดม
    30. หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
    31. หลวงปู่เปี่ยม วัดโพธิ์เรียง
    32. หลวงปู่เกลี้ยง วัดศรีธาตุ
    33. หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
    34. หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
    35. หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม
    36. พ่อท่านเอื้อม
    37. หลวงปู่จันทร์แรม
    38. หลวงปู่ทา วัดถ้ำซับมืด
    39. หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
    40. หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    41. หลวงปู่อิง โชติโญ
    42. หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
    43. หลวงปู่เหมือน จ.สระแก้ว
    44. หลวงปู่กอง วัดสระมณฑล
    45. หลวงปู่พวง วัดสหกรณ์รังสรรค์
    46. หลวงปู่เพียร วัดป่าหนองกอง
    47. หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข
    48. หลวงปู่บุญฤทธิ์ สำนักสวนทิพย์
    49. หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก
    50. หลวงปู่ขาว อนาลโย
    51. หลวงพ่อทองดำ วัดท่าทอง
    52. หลวงปู่จันทา ถาวโร
    53. ครูบาจันทร์แก้ว วัดศรีสว่าง
    54. ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน
    55. หลวงปู่ทอง วัดเกาะ
    56. พระมหาเจิม วัดสระมงคล
    57. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัญ
    58. หลวงปู่มหาปลอด วัดโพธินิมิตร
    59. หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน
    60. หลวงปู่ดี ธัมมะธีโร
    61. หลวงปู่สนั่น วัดธารเกษม
    62. หลวงปู่อุ่นหล้า
    63. หลวงปู่บุญกู้ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
    64. หลวงปู่สว่าง โอภาโส
    65. หลวงปู่สวาท
    66. หลวงปู่ฟัก สันติธัมโม
    67. หลวงปู่วิชัย วัดไผ่ล้อม(พระอารามหลวง) จ.จันทบุรี
    68. อาจารย์สมเดช สิริจันโท วัดเขาถ้ำโบสถ์
    69. หลวงปู่เชย อมโร อาศรมเขาเจ้าหลาว
    70. หลวงปู่บุญตา วัดอินทรีวนาราม จ.ชัยภูมิ
    71. หลวงปู่เกล้า
    72. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู
    73. หลวงปู่ลมัย ฐิตมโน สวนป่าสมุนไพร จ.เพชรบูรณ์
    74. อาจารย์ประเวทย์ วัดป่าคลองมะลิ
    75. ครูบามานพ วัดพระธาตุหนองจันทร์
    76. หลวงปู่สำราญ วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    77. หลวงปู่เฟื่อง วัดธรรมสถิต
    78. หลวงปู่สมควร วัดถือน้ำ
    79. หลวงปู่ปราโมท วัดป่านิโครธาราม
    80. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    81. หลวงปู่บุญจิตต์ วัดลานบุญ
    82. หลวงปู่เชื่อม วัดเขาทอง
    83. หลวงปู่พวง วัดน้ำพุ
    84. หลวงปู่ชื้น วัดญานเสน
    85. หลวงปู่มหาคำแดง วัดคัมภีราวาส
    86. หลวงปู่สุภา วัคอนสวรรค์ (วัดสีลสุภาราม)
    87. หลวงพ่อุตตมะ วัดวังวิเวการาม
    88. หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    89. หลวงปู่ทุย
    90. หลวงปู่สวัสดิ์ วัดศาลาปูน
    91. หลวงปู่คำพอง ติสโส
    92. หลวงปู่เรือง สำนักปฏิบัติธรรมเขาสามยอด
    93. หลวงปู่เคน วัดป่าบ้านหนองหว้า
    94. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    95. หลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิตร
    96. หลวงปู่หลุย วัดถ้าผาบิ้ง
    97. หลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์
    98. หลวงปู่มู จ.เชียงใหม่
    99. หลวงปู่อ่อง เขาวงกต
    100. หลวงปู่เล็ก วัดทำนบ
    101. หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง
    102. หลวงปู่เวิน วัดน้ำวิ่ง
    103. หลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู
    104. หลวงปู่นิยม วัดแจ้งนอก
    105. หลวงปู่เยี่ยม วัดประดู่ทรงธรรม
    106. หลวงพ่อขันตี วัดป่าม่วงไข่
    107. หลวงปู่อุดม วัดป่าเวฬุวัน
    108. หลวงปู่ผาด วัดไร่
    เกศาที่รวมอยู่ในผอบเดียวกันนั้น พอเก็บไปเก็บมา ปรากฏว่าคล้ายๆมีเม็ดทรายปรากฏอยู่ในผอบหลายเม็ดด้วยครับ ตรงส่วนดังกล่าวน่าจะแปรสภาพเป็นพระธาตุนั่นเองครับ

    ครูบาอาจารย์ท่านบอกมาว่า ถ้าเรามีเกศาของท่านพ่อลีด้วย ถ้าเอามาใช้คู่กับพระอุปคุตจะดีมากๆ เวลาที่เราอธิษฐานจิต อาราธนาถึงพระอุปคุตท่าน ญาณของท่านจะสามารถรับทราบได้ทันที เพราะว่าอดีตของท่านพ่อลี ท่านเกิดเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช และพระเจ้าอโศกมหาราชผู้นี้แหละเป็นผู้ที่อาราธนานิมนต์พระมหาเถรอุปคุตขึ้นมาจากสะดือทะเล เพื่อมาช่วยปราบพญามารในงานมหกรรมฉลอง สมโภชน์พระมหาสถูปเจดีย์ 84,000 องค์ทั่วชมพูทวีป... แล้วต่อมาพระเจ้าอโศกฯ ได้กลับชาติมาเกิดเป็นท่านพ่อลี วัดอโศการาม อาจารย์ขององค์หลวงปู่พิศดู เพราะฉะนั้นหากเรามีเกศาของท่านพ่อลีบูชาคู่กับรูปพระมหาอุปคุต ก็จะเสมือนหนึ่งว่ามีสิ่งที่เชื่อมต่อในข่ายญานถึงท่านโดยตรง เพราะบุญสัมพันธ์ระหว่างลูกศิษย์ที่เคยเป็นผู้อาราธนา กับองค์อาจารย์นั่นเองครับ
    ซึ่งในเกศาพระอริยะที่บรรจุไปในรูปหล่อพระมหาอุปคุตนั้น ก็มีเกศาของท่านพ่อลีอยู่ด้วยครับ อีกทั้งเกศาธาตุที่บรรจุเอาไว้ด้วยกันนั้น ยังมีเกศาของพระอริยะที่เป็นลูกศิษย์สายตรงของพระมหาเถรอุปคุตอีกหลายท่านด้วย

    => มวลสารและผงวิเศษต่าง ดังนี้
    คณะลูกศิษย์สายหลวงปู่พิศดู และสายต่างๆ ได้รวมรวมมวลสารดีๆมากมาย อย่างไม่เคยมีมาก่อนในการจัดสร้างวัตถุมงคลของคณะของเรา ทั้งนี้เพราะบารมีธรรมขององค์พระมหาอุปคุต และบารมีธรรมขององค์หลวงปู่พิศดู และครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านเมตตาล้วนๆครับ..
    มวลสารที่รวบรวมได้นี้ ขอเรียกว่า โคตรผง โคตรมวลสาร รวมพุทธานุภาพจากผงวิเศษที่หายากที่สุด เท่าที่จะหามาได้ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งผงบางอย่างที่มีก็ไม่อาจกล่าวชื่อไว้เป็นสาธารณะได้ เนื่องจากผู้มอบได้ขอให้สงวนนามไว้..
    สำหรับมวลสารที่รวบรวมมาได้นี้ ส่วนใหญ่ได้จากผู้หลักผู้ใหญ่ และลูกศิษย์จากสายครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่มีความเคารพนับถือในองค์หลวงปู่พิศดู ร่วมกันหามามอบให้ โดยไม่ได้นัดหมาย เพียงแต่ท่านเหล่านั้นทราบว่า คณะศิษย์ขององค์หลวงปู่มีโครงการจัดสร้างวัตถุมงคล ถวายบูชาคุณด้วยควมตั้งใจจริง จึงอยากร่วมบุญร่วมกุศลกัน ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกอย่างมากว่า ไม่ว่าจะเป็นชนวน มวลสารที่ได้มานั้น ส่วนใหญ่เป็นของที่หากันแทบไม่ได้ในปัจจุบันแล้ว มวลสารที่ได้มานั้นมีมากมายเกินกว่าจะจดจำ และบรรทึกได้หมด แต่จะขอเขียนบรรยายไว้เฉพาะมวลสารที่เป็นมวลสารหลักที่พอจดจำได้เท่านั้นครับ ซึ่งโคตรมวลสารดังกล่าวมีดังนี้..

    - ผงพระธาตุ 500 อรหันต์ พระธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า พระธาตุพระสิวลี ของหลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม
    - พระผงเนื้อพระธาตุ รุ่นสุปฏิปันโณ ของหลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม (หลายองค์)
    - พระรอดเกศาครูบาศรีฯ เนื้อครั่ง
    - พระปัจเจกโพธิเนื้อผงเขียว หลวงปู่พิศดู (พระชำรุด)
    - ผงที่ใช้สร้างพระของ หลวงปู่คำคนิง จุลมณี วัดถ้าคูหาสวรรค์
    - ผงสมเด็จ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ รุ่น 3 (พระชำรุด)
    - ผงพระพระวัดคู้สลอด หลายองค์ (พระชำรุด)
    - ผงพระกรุ วัดดงตาล หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคปลุกเสก (จำนวนหลายองค์)
    - ผงพระขุนแผน กรุทุ่งมะขามหย่อง สมัยอยุธยา (พระชำรุด)
    - ผงพระหลวงพ่อโน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี (พระชำรุด)
    - ผงพระรุ่นอายุยืน หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค (พระชำรุด จำนวนหลายสิบองค์)
    - ผงพระกรุสมัยต่างๆ
    - ผงพระกรุบึงพระยาสุเรนทร์ (สมเด็จเขียว เหนียวจริง)
    - ผงพระกรุ วัดชนะสงคราม ยุคสงครามเก้าทัพ
    - ผงหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย
    - ผงหลวงปู่กิ วัดสนามชัยเขต
    - ผงหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช
    - ผงหลวงปู่แทน วัดธรรมเสน
    - ผงหลวงปู่สอน วัดเสิงสาง
    - ผงหลวงพ่อสุด วัดกาหลง
    - ผงหลวงพ่อแดง วัดเขาบรรไดอิฐ
    - ผงหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน
    - ผงลบสูตร หลวงพ่อสละ วัดประดู่ทรงธรรม
    - ผงลบสูตร หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม
    - ผงตรีนิสิงเห และผงสบสูตร หลวงปู่เสริฐ วัดโอภาสี
    - ผงยาที่ใช้พอกตะกรุด ท่านพ่อผุด วัดวังเวียน
    - ผงยา 7 ชนิด ผงว่านสลักไก ผงว่านต่างๆ ดินปิดรูปู หลวงปู่เชย เขาเจ้าหลาว
    - ผงไม้กงกะเด็น ว่านเปราะหอม หลวงปู่สมชาย วัดเขาสุกิม
    - ผงวิเศษหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
    - ผงบายศรีบูชาครู หลวงปู่หมุน
    - ผงกสิณ หลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน
    - ยาอจินไตย หลวงปู่ละมัย สำนักสวนสมุนไพร เพชรบูรณ์
    - ผงการบูรเสก หลวงปู่ละมัย
    - ผงจากขวานฟ้าผ่า ล้างอาถรรพ์
    - ผงพระว่านจำปาสักหลายองค์
    - ผงโสฬสมหาพรหม ที่ใช้สร้างพระของ หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ ปี 2500
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระสมเด็จ พระครูมูล วัดสุทัศน์ ปี 2495 (พระชำรุด)
    - ผงสมเด็จ วัดประสาท ปี 2506 (พระชำรุด)
    - ผงสมเด็จบางขุนพรหม ที่ใช้สร้างหลวงปู่ทวด วัดประสาท ปี 2506
    - ผงสมเด็จ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี (พระชำรุด)
    - ผงพระโพธิจักร เนื้อดินเผา ท่านพ่อลี วัดอโศการาม ปี 2500
    - ผงพระโพธิจักร เนื้อผงเกษร ท่านพ่อลี วัดอโศการาม ปี 2500
    - ผงพระโพธิจักร หลวงปู่สนั่น วัดธารเกษม ที่ชำรุด สิบกว่าองค์
    - ผงหลวงปู่สำเร็จลุน นครจำปาสัก

    - แผ่นรัก และผงปูนกระเทาะ หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร
    - ดินสังเวชนียสถาน และมวลสารพุทธภูมิ จากประเทศอินเดีย
    - ใบโพธิ์จากต้นตรัสรู้ ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย
    - ปฐวีธาตุ และทรายจากแม่น้ำเนรัญชรา ประเทศอินเดีย จุดที่พระพุทธองค์อธิษฐานลอยถาด
    - ผงหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ที่ใช้อุดที่องค์พระพิมพ์ทรงสัตว์ต่างๆ และปั้นเป็นลูกอม
    - ผงหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    - ผงมหาจักรพรรดิ์ ล้วน 99 % ของหลวงปู่ดู่ วัดสะแก จำนวนมาก
    - ผงมวลสารจิตรลดา
    - ผงของหลวงพ่อแก้ว , หลวงพ่อปลอด , หลวงพ่อทองสุข วัดในปากทะเล จำนวนมาก
    - ผงอิทธิเจ สมัยอยุธยา วัดสัมฤทธิ์

    - ผงกสิณ ผงพุทธะมงคล และผงต่างๆ ขององค์หลวงปู่พิศดู
    - ผงยาวิเศษปลอดโรค หลวงปู่พิศดู
    - ผงที่ใช้บรรจุในองค์พระกริ่งธัมมะจารี และพระชัยวัฒน์ธัมมะจารี ชุดอุดผง
    - ผงที่ใช้สร้างพระทุกรุ่น ของหลวงปู่พิศดู
    - ตะไบพระกริ่งธัมมะจารี
    - ผงชาญหมาก หลวงปู่พิศดู
    - ผงไม้เท้า หลวงปู่พิศดู
    - ผงไม้เทพธาโรเสก หลวงปู่พิศดู
    - ผงไม้โพธิ์นิพพาน วัดเทพธารทอง
    - ผงบายศรีพระมหาอุปคุต หลวงปู่พิศดู
    - ผงดอกไม้บูชาพระ ของหลวงปู่พิศดู
    - ผงสี ที่ลอกออกจากพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ วัดเทพธารทอง
    - ข้าวก้นบาตร ของหลวงปู่พิศดู
    - ผงยาสมุนไพร ของหลวงปู่พิศดู
    - ผงน้ำอ้อยเสก หลวงปู่พิศดู
    - น้ำมนต์พิธีต่างๆ และน้ำล้างหน้า ขององค์หลวงปู่พิศดู
    - ปรอท ที่ใช้ทำเบี้ยแก้ หลวงปู่พิศดู
    - ผงหอยเบี้ยแก้ หลวงปู่พิศดู
    - มวลสารที่ใช้อุดเบี้ยแก้ หลวงปู่พิศดู
    - ผงเปลือกหอยสังข์มงคล หลวงปู่พิศดู
    - สีผึ้ง หลวงปู่พิศดู ทุกรุ่น

    - ผงรวมหัวเชื้อสุดยอดมวลสาร จากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ และผงชันเพชรฯ มหามงคลที่ใช้สร้างพระ ของท่าน อาจารย์อนันต์ สวัสดิสวนีย์ อดีตผู้อำนวยการกองช่างสิบหมู่กรมศิลปากร เป็นผู้มอบให้ พร้อมด้วยชนวนสำคัญอีกหลายอย่าง (ใครเคยศึกษาการสร้างพระ และตามเก็บพระของสายท่าน อ.อนันต์ ก็คงทราบดี ว่าต้องมีชนวน-มวลสารประเภทใดบ้าง)

    - แป้งเสก หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    - ผงหลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน
    - ผงมวลสารของหลวงปู่เทพโลกอุดร
    - ผงหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
    - ผงพระคำข้าว หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    - ผงมหาจักรพรรดิ์ หลวงตาม้า ถ้ำเมืองนะ
    - ผงมวลสาร ครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง
    - สีผึ้ง ครูบากฤษดา

    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว
    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร
    - ผงยาจินดามณี หลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์
    - ผงยาจินดามณี วัดท่าเสา สมุทรสาคร
    - มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระ วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา
    - ผงไม้ช่อฟ้า พระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา
    - ผงรักเพดาน พระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา
    - ผงพุทธะอริยะรังสี ผงนี้ได้ผสมมวลสารมากมายกว่า 3,000 ชนิด ฯลฯ
    - สายสิญจน์อธิษฐาน หลวงปู่ทองดำ
    - ผงเหล็กน้ำพี้ หลวงปู่หมุน
    - ผงดวงเศรษฐี หลวงปู่หมุน
    - เหล็กน้ำพี้ บ่อพระขรรค์ บ่อพระแสง จ.อุตรดิตถ์
    - ผงเหล็กน้ำพี้ หลวงปู่ทองดำ
    - ผงแป้งเจิม หลวงปู่ทองดำ
    - ดินไทย และเบ้าดินที่ใช้หล่อพระสำคัญ
    - ผงยาตำรับ หลวงปู่เทพโลกอุดร

    - มวลสารที่ใช้สร้างพระของหลวงปู่บุญฤทธิ์
    - ผงพระโมคคัลลาน์ หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
    - ผงที่ใช้สร้างพระหลวงปู่ทวด หลายวัด จำนวนมาก
    - ผงสมเด็จ " ปุญญมากโร " หลวงพ่อประสิทธิ์
    - มวลสารสร้างพระของหลวงปู่จันทา ถาวโร
    - แท่งอำพัน วัดพระปฐมเจดีย์
    - กระเบื้องนพเก้า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
    - ผงที่ใช้สร้างพระปิดตา หลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด
    - ผงหลวงปู่ภู วัดต้นสน
    - ปรอทหลวงปู่พิศดู หลวงปู่ละมัย และปรอทครูบาอาจารย์อีกหลวงองค์
    - ข้าวสารหิน
    - ผงที่ใช้สร้างพระของเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์
    - ผงที่ใช้สร้างพระของ หลวงปู่แหวน
    - ผงวิเศษ หลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ นนทบุรี
    - มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระ หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน (หลายรุ่น)
    - มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระ หลวงปู่สุภา กันตสีโล
    - มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระ หลวงปู่มหาปลอด วัดโพธินิมิตร

    - ข้าวก้นบาตร หลวงปู่พิศดู
    - ข้าวก้นบาตร หลวงปู่ปลอด วัดโพธินิมิตร
    - ข้าวก้นบาตร หลวงปู่ท่อน วัศรีอภัยวัน

    - ผงธูปหลวงพ่อปิยปกาศิต
    - ผงธูปพระธาตุพนม
    - ผงทรายทอง ทรายเงิน ทรายนิล วัดพระธาตุพนม
    - ผงทองคำเปลว ที่ปิดรูปหล่อองค์พระมหากัสปะ และองค์พระมหาอุปคุต ที่พระมหาเจดีย์พระธาตุพนม
    - พลอยเสก หลายพิธี
    - ผงว่านที่ใช้สร้างสมเด็จ วัดโยธานิมิตร
    - มวลสารที่อธิษฐานจิตโดย หลวงปู่ประเวศ วัดป่าคลองมะลิ
    - ผงที่ใช้สร้างพระ หลวงปู่หลอด วัดใหม่เสนา
    - มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระ หลวงพ่อเพชร วัดบ้านกลับ จ.กาญจนบุรี

    - ผงบายศรีบูชาพระอุปคุต หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
    - มวลสาร และว่านที่ใช้สร้างพระอุปคุต หลังพระแม่ธรณี แจกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต วัดพระบาทสี่รอย
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต วัดอุปคุต (หลายรุ่น)
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต หลวงปู่ครูบาโอภาส วัดจองคำ
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต หลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต หลวงปู่บุญกู้ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
    - มวลสารที่ใช้สร้างพระอุปคุต วัดป่าดาราภิรมย์
    - ทองคำเปลวที่ปิดรูปหล่อองค์พระมหาอุปคุต วัดพระธาตุพนม

    - ผงมหาอำนาจ
    - ผงว่าน 108 ครบ
    - ว่าน 500 ชนิด หลวงปู่พรหมา
    - ผงหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน
    - ผงหลวงปู่หงษ์ สุสานทุ่งมน
    - ผงพระหลวงปู่ผาด วัดดงตาล หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ปลุกเสก

    - ผงอุกามณี ของ สมเด็จลุน เมืองจำปาสัก
    - ผงปฐวีธาตุ เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์
    - ผงปฐวีธาตุ หลวงปู่พิศดู วัดเทพธารทอง
    - ผงปฐจีธาตุ หลวงปู่ละมัย สวนสมุนไพรเจ้าแก้ว
    - ทรายเสก หลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์
    - ทรายเสก หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
    - ทรายเสก หลวงปู่หงษ์ สุสานทุ่งมนต์
    - ทรายเสก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
    - ทรายเสก หลวงพ่อผินะ วัดสนมลาว
    - ทรายเสก หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร
    - ทรายแก้ว ทรายเงิน ทรายทองศักดิ์สิทธิ์ วัดพระธาตุพนม
    - ดินสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย เนปาล
    - ทรายมหามงคล 4 ภาค

    - ผงปูนเสก คุณแม่บุญเรือน วัดอาวุธ
    - ผงยาดำ และผงมวลสาร หลวงพ่อดิ่ง , หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร
    - ผงลบสูตร หลวงปู่ดี ธัมมะธีโร
    - ผงปรอทหลวงปู่ละมัย
    - ผงพระปิดตา ทั่วทั้งสายชลบุรี และใกล้เคียง
    - ผงชาญหมากพระอริย ครูบาอาจารย์หลายสิบองค์
    - ผงกะลาตาเดียว และไม้มงคล
    - ผงกาฝากไม้มงคลต่างๆ
    - ผงธูปวัดสำคัญๆหลายที่
    - ผงงาช้างโบราณ
    - ข้าวสารดำ 2,500 ปี
    - มวลสารเก่าพระธาตุพนม

    - แร่พระหัตถ์ 4 รอย วัดปะต๊ะ สิบสองปันนา
    - แร่จ้าวน้ำเงิน
    - แร่เมฆพัตร
    - แร่บางไผ่
    - แร่ข้าวตอกพระร่วง
    - แร่เหล็กน้ำพี้
    - แร่เกาะล้าน
    - แร่เหล็กไหลย้อย
    - แร่เหล็กเปียก
    - แร่เพชรหน้าทั่ง
    - แร่อุกาบาศ นอกโลก
    - แร่ วัดประสาทบุญญาวาส ปี 2506
    - ปรอทดำ
    - ปรอทขาว

    - ตะไบพระกริ่ง หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    - ตะไบพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ธัมมะจารี วัดเทพธารทอง
    - ตะไบพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ สุขังเสติ วัดเขาน้ำซับ
    - ตะไบรูปหล่อพระมหาอุปคุตปราบมาร วัดเขาน้ำซับ
    - ตะไบพระกริ่ง ญาท่านสวน วัดนาอุดม
    - ตะไบพระกริ่ง มงคลมหาเศรษฐี วัดศรีบูรพาราม
    - ตะไบพระกริ่ง ชินบัญชร ญสส. วัดศรีบูรพาราม

    - สีผึ้งหลายวัด จำนวนมาก
    - มวลสารต่างๆ จากสายสำนักเขาอ้อ
    - ผงมวลสารจากครูบาอาจารย์ สายพระป่ากรรมฐานทั้วประเทศ
    - ผงต่างๆ จากเกจิอาจารย์ ฯลฯ อีกจำนวนมากนับพันอย่าง ที่ไม่มีการจดบันทึกไว้... ฯลฯ

    มวลสารเหล่านี้ ได้ใช้บรรจุไว้ใต้ฐานรูปหล่อพระมหาอุปคุตปางปราบมาร แบบแทบจะล้วนๆ ส่วนตัวประสานเนื้อผงให้เข้ากันนั้น ได้ใช้น้ำผึ้งเสกของหลวงปู่พิศดู ข้าวก้นบาตร(ชนิดเปียก) สีผึ้ง น้ำหมาก น้ำมนต์ ของเหล่าครูบาอาจารย์ และน้ำมันอนันตคุณ108 กล้วยน้ำไทย กาว ฯลฯ เป็นตัวประสานหลัก.. เพราะฉะนั้นเวลาที่ผงแห้งนั้นอาจจะมีหดตัว หรือมีรอยแยกบ้างนิดหน่อย ถือเป็นเรื่องปกติครับ เนื่องจากเราเน้นใส่มวลสารแบบเข้มข้นพิเศษจริงๆ

    มวลสารที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นมวลสารส่วนเพียงหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากยังมีมวลสารอื่นๆอีกหลายชนิด ที่ไม่ได้บันทึกเอาไว้ครับ
    ข้อมูลมวลสารเหล่านี้เป็นข้อมูลมวลสารที่ใช้บรรจุอยู่จริง และมิได้ลากข้อมูลมวลสารของที่ใดมาอย่างแน่นอนครับ

    ข้อมูลตะกรุด ที่บรรจุใต้ฐานพระ
    - ตะกรุดที่นำมาฝังไว้ใต้ฐานรูปหล่อองค์พระมหาอุปคุต ก็สุดๆแล้วครับ.. ตอนแรกผมเข้าใจว่าเขาจะใช้ตะกรุดเนื้อเงินฝังใต้ฐาน แต่ที่ไหนได้ ดียิ่งกว่านั้นซะอีกครับ เพราะว่าตะกรุดที่นำมาฝังนี้เป็นตะกรุดเนื้อชนวนล้วนๆแบบ 100% ที่หลอม หล่อ รีดมาจากแผ่นจารพระยันต์จากพระคณาจารย์ตั้งแต่ยุคเก่าจนถึงยุคปัจจุบัน กว่า 300 องค์ รวมแล้วเกือบพันแผ่น อาทิแผ่นยันต์ของ...
    หลวงปู่เทศ เทศรังษี
    หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    หลวงปู่พิศดู ธัมมะจารี
    หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
    ...ฯลฯ
    ผสมกับชนวนหล่อพระสำคัญอีกมากมาย เช่น ชนวนหัวโทนหล่อพระประธานตามวัดสำคัญ ชนวนพระกริ่งปืนเที่ยงวัดทองนพคุณ ชนวนเหรียญพระแก้วองค์ต้น ชนวนพระกริ่งของหลวงปู่ญาท่านสวน ชนวนพระกริ่งธัมมะจารี ชนวนพระกริ่งสุขังเสติ ชนวนพระขรรค์แก้ววัชรจักร ชนวนวัตถุมงคลชุดโลกุตรธรรม ทองจังโก๋พระธาตุเจดีย์ที่สำคัญ...ฯลฯ
    ซึ่งโลหะที่นำมาหลอมทำตะกรุดชุดนี้เป็นโลหะผสมจะว่าเป็นเนื้อใดเนื้อหนึ่งก็มิใช่ เพราะมีทั้งทองคำ เงิน ทองแดง ทองเหลือง นวะ ฯลฯ ไม่รู้ว่าจะเรียกตะกรุดเนื้ออะไรดี ก็ขอเรียกว่าตะกรุดชนวนล้วนๆก็แล้วกันนะครับ.. ผมทราบข่าวยังประทับใจเลย พิถีพิถันในการสร้างกันถึงขนาดนี้เชียว

    ส่วนของมงคลที่ใช้บรรจุนอกเหนือจากผงมวลสารนี้ ได้แก่..
    - อังคารธาตุ หลวงปู่พิศดู
    - จีวรหลวงปู่พิศดู
    - แผ่นตะกรุดที่เข้าพิธีพร้อมกับรูปหล่อพระธรรมธาตุ

    พิธีอธิษฐานจิตรูปหล่อหลวงปู่ รุ่นโลกุตรธรรม 5วาระ ดังนี้

    รูปหล่อหลวงปู่รุ่นโลกุตรธรรม ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่พร้อมกับวัตถุมงคลอื่นๆในรุ่นเดียวกัน แต่บางพิธี ก็ไม่ได้เข้าพร้อมกัน เนื่องจากวัตถุมงคลชุดนี้ได้เป็นรูปหลวงปู่ถือว่าเป็นมงคลดีอยู่แล้ว จึงได้เลือกเข้าพิธี เฉพาะพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่ท่านจริงๆ เพื่อคงพลังแห่งความเป็นองค์หลวงปู่อย่างเต็มที่ เพราะคณะศิษย์สายนี้เชื่อกันว่า รูปหลวงปู่แม้ต่อให้ไม่ได้ผ่านพิธีใดๆเลย ก็ยังมีความศักดิ์สิทธิ์ในองค์ท่านเองอยู่แล้ว อย่างที่หลวงปู่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า.. " รูปเรา ไม่ต้องเสกก็ศักดิ์สิทธิ์.."
    แต่ด้วยกำลังใจของผู้บูชา รูปหล่อหลวงปู่ขนาดกน้าตัก 1 นิ้ว จึงได้เข้าพิธีต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่ ดังนี้


    วาระที่ : 1
    - พิธีเททองรูปหล่อองค์พระมหาอุปคุต และรูปหล่อหลวงปู่พิศดู ณ สำนักสงฆ์เขาน้ำซับ ในวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 อันเป็นวันคล้ายวันเกิดขององค์หลวงปู่พิศดู ครบรอบอายุ 90 ปี โดยได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกประจำทิศต่างๆ อาทิ
    - หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่
    - หลวงพ่ออั้น วัดธรรมโฆษก(โรงโค) จ.อุทัยธานี
    - หลวงพ่อสิน วัดระหารใหญ่ จ.ระยอง
    - หลวงพ่อเฮง จ.ปราจีนบุรี เป็นต้น
    พร้อมด้วยพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์อีกรวม 90 รูป ซึ่งจำนวนพระดังกล่าวนี้ ถือเอาเท่ากับจำนวนอายุขององค์หลวงปู่พิศดู ที่ครบ 90 ปีในปีนั้น


    วาระที่ : 2
    - พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ และพิธีตักบาตรพระมหาอุปคุต ในวันเพ็ญพุธ ณ พระมหาเจดีย์ ที่วัดเทพธารทอง โดยพระเกจิครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณ อาทิ..

    - หลวงพ่อมหาพร้อม วัดพลับบางกะจะ
    - หลวงพ่ออ่อง ถ้ำเขาวงกต
    - หลวงพ่อบุญส่ง วัดเขาน้ำตก
    - หลวงพ่อมนัส สำนักกรรมฐานฟื้นฟูจิต เขาแหลม
    เป็นต้น

    และพระสวดพิธีธรรมอีก 9 รูป และช่วงบ่ายในวันเดียวกัน พระสงฆ์ได้ลงสวดพระปาฏิโมกข์ถวาย โดยในพระมหาเจดีย์ ได้นำรูปหล่อองค์หลวงปู่มาประดิษฐานเอาไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว (โดยในงานพิธีพุทธาภิเษก ได้มีการบวงสรวงอัญเชิญบารมีธรรมขององค์พระมหาอุปคุต ท่านพ่อลี และองค์หลวงปู่พิศดูมาประสิทธิด้วย)

    วาระที่ : 3
    - พิธีวางศิลาฤกษ์ ธัมมะจารีมณฑป ณ วัดเทพธารทอง โดยพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน ฯ หลายรูป


    วาระที่ : 4
    - พิธีบวงสรวง อัญเชิญบารมีองค์พระมหาอุปคุต และบารมีธรรมขององค์หลวงปู่พิศดู และสวดเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในวันเพ็ญพุธ ณ ลานพิธีริมหน้าผาอ่าวคุ้งกระเบน โดยท่านพระอาจารย์หนึ่ง สำนักสงฆ์เขาน้ำซับ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์


    วาระที่ : 5
    - พิธีพุทธาภิเษกสมโภชน์ใหญ่ เนื่องในวันเททองหล่อพระพุทธรูปทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ์ 4 ปาง ณ สำนักสงฆ์เขาน้ำซับ โดยพระเกจิครูบาอาจารย์กว่า 10 รูป อาทิ..

    - หลวงพ่อสิริ วัดตาล จ.นนทบุรี
    - หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.อยุธยา
    - หลวงปู่ฉอ้อน วัดแหลมหิน จ.ปราจีนบุรี
    - หลวงปู่อั้น วัดโรงโค จ.อุทัยธานี
    - หลวงพ่ออ่อง ถ้ำเขาวงกต จ.จันทบุรี
    - หลวงปู่เจียง วัดเนินหย่อง จ.ระยอง
    - หลวงปู่บุญอุ้ม วัดป่าโนนแพง จ.นครพนม
    - หลวงปู่สวาท ว่าป่าโป่งจันทร์ จ.จันทบุรี
    - หลวงพ่อแจ่ม วัดเขาสำเภาทอง จ.ระยอง
    เป็นต้น

    และพระสวดพิธีธรรมอีกรวมเกือบ 100 รูป

    ซึ่งพิธีเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นพิธีที่ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อบูชาคุณแด่องค์หลวงปู่พิศดูทั้งสิ้น ซึ่งเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ดวงจิตอันบริสุทธิ์ขององค์หลวงปู่ท่านจะต้องรับทราบและมาร่วมพิธีด้วยอย่างแน่นอน
    ข้อมูลจาก : คุณทุเรียนทอด
    อาจจะมีการเรียบเรียงใหม่บางส่วน เพื่อความสะดวกในการศึกษาครับ


    สภาพสวยเดิมใหม่กริ๊บพร้อมกล่องเดิม สวยเดิมพระธาตุเสด็จหลายองค์ พิมพ์คมชัดลึก พุทธศิลป์สวยงาม ยอดชนวนและยอดผงวิเศษทั่วเมืองไทย และยอดพิธีพุทธาภิเษกอันครบถ้วนกระบวนความ พุทธคุณครบครอบ แบ่งให้บูชา 1,399 ครับ (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)



    (คุณป๋าบัติ จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2022
  9. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,608
    ค่าพลัง:
    +30,886
    หวัดดีครับ.jpg
     
  10. yaboyabo

    yaboyabo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    289
    ค่าพลัง:
    +510
    วันนี้โอนให้เรียบร้อยแล้วครับ ที่จัดส่งที่เดิมครับ ขอบคุณครับ
     
  11. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2370.แบบพิเศษเกศาแน่น มวลสารกรรมฐาน พระผงรูปเหมือน
    หลวงปู่จันทร์ศรี วัดโพธิสมภรณ์ พระอริยเจ้าศิษย์ ลป.มั่น,ลป.สิงห์,ลป.เทสก์,ลป.อ่อน

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    HU8nyS.jpg


    HU8J0D.jpg HU8esJ.jpg
    พระผงรูปเหมือน รุ่นที่ระลึกพิพิธภัณฑ์จันททีโป 103ปี แบบพิเศษมีเกศา หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิสมภรณ์ จ. อุดรธานี เนื้อผงพุทธคุณสายกรรมฐาน บรรจุเกศา,พลอยเสก,แร่ และจีวรหลวงปู่ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2557 ทางวัดจัดสร้างเองเพื่อแจกแก่ผู้ที่ศรัทธา

    สุดยอดมวลสารสายพระกรรมฐาน
    - ทั้งผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมาย , ข้าวก้นบาตร, ผงอังคารธาตุ, ชานหมาก พ่อแม่ครูบาอาจารย์, ผงดิน ผงธูป สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เป็นต้น




    ๏ อัตโนประวัติ
    “หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป” หรือ “พระอุดมญาณโมลี” เป็นพระมหาเถระสายพระป่ากรรมฐานศิษย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ แม่ทัพธรรมแห่งอีสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ, เป็นพระผู้มากด้วยเมตตาที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา และเป็นแบบอย่างอันงดงามของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนชาวอีสานมาอย่างยาวนาน ด้วยยึดหลักธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง มีพลังเกื้อหนุนจากธรรมะของครูบาอาจารย์ที่คอยสนับสนุนตลอดมา ปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่จึงเป็นครูของชีวิตที่คณะศิษยานุศิษย์ภาคภูมิใจ ยิ่ง

    หลวงปู่จันทร์ศรี มีนามเดิมว่า จันทร์ศรี แสนมงคล เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ณ บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบุญสาร และนางหลุน แสนมงคล ก่อนที่โยมมารดาจะตั้งครรภ์ ในคืนวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 นั้น ฝันเห็นพระ 9 รูป มายืนอยู่ที่ประตูหน้าบ้าน พอรุ่งขึ้นตรงวันขึ้น 15 ค่ำ เพ็ญเดือน 3 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ได้เห็นพระกัมมัฏฐาน 9 รูปมาบิณฑบาตยืนอยู่หน้าบ้าน จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงรีบจัดภัตตาหารใส่ภาชนะ ไปนั่งคุกเข่าประนมมือตรงหน้าพระเถระผู้เป็นหัวหน้า ยกมือไหว้ แล้วใส่บาตรจนครบทั้ง 9 รูป แล้วนั่งพับเพียบประนมมือกล่าวขอพรว่า “ดิฉันปรารถนาอยากได้ลูกชายสัก 1 คน จะให้บวชเหมือนพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ”

    พระเถระก็กล่าวอนุโมทนา หลังจากนั้นอีก 1 เดือน นางหลุน แสนมงคล ก็ได้ตั้งครรภ์ และต่อมาก็คลอดบุตรชายรูปงามในวันอังคารที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช 2454
    หลวงปู่จันทร์ศรี ขณะที่ สิริอายุได้ 98 พรรษา 78 (เมื่อปี พ.ศ.2552) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) และที่ปรึกษามหาเถรสมาคม (มส.)

    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท
    ด.ช.จันทร์ศรี แสนมงคล มีแววบวชเรียนตั้งแต่เมื่อครั้งเยาว์วัย ด้วยโยมบิดา-โยมมารดาได้พาไปใส่บาตรพระทุกวัน จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ในบางครั้ง ด.ช.จันทร์ศรี จะนำเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันทั้งชายและหญิง 7-8 คน ออกไปเล่นหน้าบ้าน โดยตนเองจะเล่นรับบทเป็นพระภิกษุเป็นประจำ

    อายุได้ 8 ขวบ โยมบิดาเสียชีวิตลง จนอายุได้ 10 ปี โยมมารดาจึงนำไปฝากไว้กับเจ้าอธิการเป๊ะ ธัมมเมตติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี, เจ้าคณะตำบลโนนทัน และเป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนประชาบาล โดยรับไว้เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด อยู่รับใช้ได้เพียง 1 เดือน เจ้าอธิการเป๊ะนำเด็กชายเข้าเรียนภาษาไทย ตั้งแต่ชั้น ประถม ก.กา จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ เจ้าอธิการเป๊ะเห็นว่ามีความสนใจในทางสมณเพศ จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2468 ณ วัดโพธิ์ศรี บ้านศิลา ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    ระหว่างปี พ.ศ.2468-2470 สามเณรจันทร์ศรี หมั่นท่องทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน และพระสูตรต่างๆ จนชำนาญ อีกทั้งได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรเขมร จนอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่ว แล้วมาฝึกหัดเทศน์มหาชาติชาดกทำนองภาษาพื้นเมืองของภาคอีสาน แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมถึง 3 ปี

    จากนั้นได้ร่วมเดินทางกับ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์ลี สิรินฺธโร ออกไปแสวงหาความสงัดวิเวกตามป่าเขา และพักตามป่าช้าในหมู่บ้านต่างๆ เพื่อเข้ากรรมฐานและศึกษาอสุภสัญญา ปฏิบัติธุดงควัตร 13 ตามแบบพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานอย่างเคร่งครัด

    ครั้นต่อมาได้ขึ้นไปแสวงหาวิโมกขธรรมบนภูเก้า อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู เลยขึ้นไปที่ถ้ำผาปู่ จ.เลย วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พักที่วัดหินหมากเป้ง และได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว พักที่โบสถ์วัดจันทน์ 7 วัน แล้วกลับมาหนองคายแล้วเข้าอุดรธานี

    ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2474 โดยมี พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย ป.ธ. ๓) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น และเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระอาจารย์กรรมฐานจำนวน 25 รูปนั่งเป็นพระอันดับ ท่านได้รับนามฉายาว่า “จนฺททีโป” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “ผู้มีแสงสว่างเจิดจ้าดั่งจันทร์เพ็ญ”

    อุปสมบทได้เพียง 7 วัน ท่านก็ได้ติดตาม พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระกรรมฐานผู้เคร่งวัตรปฏิบัติแห่งวัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายกรรมฐานท่านพระอาจารย์มั่น เจ้าสำนักวัดป่านิโครธาราม ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เดินรุกขมูลคืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ซึ่งเป็นหนึ่งในธุดงควัตร 13 ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2475 ก่อนกราบลาหลวงปู่เทสก์เพื่อขอไปศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมต่อในกรุงเทพฯ

    ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2484 ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ ได้ไปพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เป็นเวลา 15 วัน ทำให้หลวงปู่จันทร์ศรีได้มีโอกาสใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์มั่นชั่วระยะเวลา หนึ่ง ถือเป็นกำไรแห่งชีวิตอันล้ำค่า
    พ.ศ.2475 ท่านได้กลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อศึกษาเปรียญธรรม 5 ประโยค

    พ.ศ.2486 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี เปรียญธรรม 3-4 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เป็นเวลานานถึง 10 ปี

    ๏ ปฏิปทาและข้อวัตร
    แม้จะมีพรรษายุกาลมาก แต่ยังคงปฏิบัติกิจของสงฆ์และปฏิบัติธรรมอย่างคร่ำเคร่ง บิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์อย่างต่อเนื่อง จนศิษยานุศิษย์ขอร้องให้หยุดบิณฑบาต เนื่องจากเคยโดนวัยรุ่นซิ่งรถจักรยานยนต์ชนมาแล้ว ข้อวัตรนี้ชาวอุดรธานีทราบชัดดี และที่สำคัญท่านเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรชาวอุดรธานีอย่างแท้จริง ไม่เคยขาดงานนิมนต์ ไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ ไม่เคยทอดธุระ ซึ่งท่านยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเสมอที่ว่า
    “กยิรา เจ กยิราเถนํ” แปลว่า “ถ้าจะทำการใด ให้ทำการนั้นจริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้ามีความขยันหมั่นเพียร สิ่งนั้นต้องสำเร็จตามความตั้งใจจริง”

    นับได้ว่าหลวงปู่เป็นพระมหาเถระที่ประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้ เคียง ให้ความเคารพศรัทธามาก ไม่น้อยกว่าพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานแต่เก่าก่อน ทุกวันนี้หลวงปู่จันทร์ศรีท่านยังมีความจำเป็นเลิศ แม้อายุย่างเข้าวัยชรา แต่ยังจำเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะเมื่อเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง หลวงปู่จะบอกชื่อคน วันเวลา ได้อย่างละเอียดเป็นที่น่าอัศจรรย์

    สิ่งสำคัญในชีวิตหลวงปู่ คือการมีโอกาสได้ปฏิบัติใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่ อาทิ เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพฯ, ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นต้น

    ดังนั้น หลวงปู่จึงมีความรอบรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งในเมือง ในราชสำนัก ในสำนักพระกรรมฐาน และธรรมเนียมชาวบ้านเป็นอย่างดี หลวงปู่จันทร์ศรีเป็นหลวงปู่ใจดีของลูกหลานญาติโยม โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่ยึดติดลาภสักการะ และไม่ยึดติดในบริวาร ชีวิตของหลวงปู่สมถะเรียบง่าย เป็นอยู่อย่างสามัญ แม้ท่านจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการปกครองคณะสงฆ์ แต่หลวงปู่ก็ไม่ทิ้งการปฏิบัติกัมมัฏฐาน

    มรณกาล
    พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป)ได้ละสังขารอย่างสงบ ที่ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น 28 รพ.จุฬาลงกรณ์ หลังเข้ารักษาอาการอาพาธ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2559 เวลา 20.00 น. สิริอายุรวม 105 ปี พรรษาที่ 85 หลวงปู่จันทร์ศรี” เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เมืองอุดรฯ เกจิดังสายกรรมฐาน ละสังขาร 2 ทุ่มวันนี้ที่ รพ.จุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 105 ปี



    สภาพสวยเดิมๆสมบูรณ์ไม่ผ่านการใช้งานแม้แต่นิดเดียว พร้อมเอกสารสูจิบัตรการสร้างเดิมๆ พิมพ์สวยคมชัด แบ่งให้บูชา 270 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)






    (คุณshaj จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2022
  12. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,986
    ค่าพลัง:
    +6,892
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  13. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371


    -jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  14. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371




    $$$$$$$$ ปิดรายการแล้วครับ $$$$$$$





    2371.ยกชุดสวยกล่องเดิมๆ พระผงชุดพรหมสยาม หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร

    ทายาทพุทธคมสมเด็จลุน แห่งนครจำปาสัก ผู้ถือธุดงควัตรเป็นนิจ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    lq8g4p-jpg-jpg-jpg.jpg
    amvp3k-jpg-jpg-jpg.jpg
    พระผงชุด รุ่นพรหมสยาม หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย จังหวัดอุบลราชธานี แบบลอยองค์ใต้ฐานฝังตะกรุดเงิน เนื้อผงพุทธคุณ ผสมผงเก่าพระสมเด็จ,มหาว่าน108,ดิน7บัง,ดิน7จอม เป็นต้น ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2536

    วัตถุมงคลที่จัดสร้าง รุุ่นพรหมสยาม
    - รูปหล่อเหมือนหลวงปู่พรหมมา เนื้อโลหะ
    - พระสมเด็จหลังรูปเหมือน เนื้อแก่ผงสมเด็จ
    - พระปิดตาลอยองค์มหาอุตม์ หลังยันต์มหาอุตม์ เนื้อแก่ว่าน ฝังตะกรุดเงิน
    - พระปิดตายันต์ยุ่ง หลังยันต์มหาอุตม์ เนื้อโลหะ
    - พระปิดตายันต์ยุ่ง หลังยันต์มหาอุตม์ เนื้อแก่ว่าน
    - พระผงฉลุพิมพ์ปู่ฤาษีตาไฟ เนื้อแก่ว่าน
    - พระผงฉลุพิมพ์หลวงปู่พรหมมา เนื้อแก่ว่าน

    มวลสารที่ใช้ในการจัดสร้าง (เพิ่มเติมในเอกสารสูจิบัตรเลยครับ)
    - ผงเก่าพระสมเด็จ วัดระฆัง
    - ผงพระกรุบางขุนพรหมที่แตกหัก พระสมเด็จบางขุนพรหมปี 09 , 17 และปี 31
    - มหาว่าน108
    - ดิน7บัง ดิน7จอม
    - เนื้อผงพุทธคุณต่างๆ และว่านอีกมากมาย

    สำหรับการจัดสร้างพระสมเด็จหลังรูปเหมือน
    จัดสร้างตามสูตรวัดบางขุนพรหม และมีเนื้อหาและส่วนผสมเดียวกันกับ สมเด็จวัดระฆัง โดยมีส่วนผสมว่าน 108 ชนิด รวมถึงผงพระกรุบางขุนพรหมที่แตกหัก พระสมเด็จบางขุนพรหมปี 09 , 17 และปี 31

    ประวัติโดยสังเขปหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร
    หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 12 ปี อยู่กับสมเด็จลุนที่เวินไซ นครจำปาสัก ประเทศลาวเป็นเวลา 6 ปี สมเด็จลุนก็มรณภาพ จากนั้นหลวงปู่พรหมมา ก็ได้ร่วมเดินธุดงค์พร้อมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลังจากนั้นคณะพระธุดงค์ก็แยกย้ายกันไปหาสถานที่อันสงบเงียบบำเพ็ญภาวนาหาวิเวกกันต่อไป และได้แสวงหาความวิเวกปฎิบัติธรรมในสถานที่สงบทั้ง ลาว เขมร และไทย ชอบช่วยเหลือชาวชนบทที่แร้นแค้นตามป่าเขาลำเนาไพร มีความเมตตากรุณาต่อมวลมนุษยชาติที่ด้อยโอกาสเพื่อนำความรุ่งเรืองไปให้

    หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร นามเดิม แก้ว เป็นบุตรของพ่อแก้ว อ่อนจันทึก กับ แม่สีดา อ่อนจันทึก เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2440 ที่บ้านกุศกร อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี

    ในปี พ.ศ. 2452 อายุได้ 11 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับหลวงปู่สมเด็จลุน เป็นลูกศิษย์หลวงปู่สมเด็จลุน ศึกษาวิชาอาคมต่างๆอยู่ 6 พรรษาเมื่อปี 2458 หลวงปู่สมเด็จลนถึงแก่มรณภาพหลังจากทำบุญอุทิศส่วนกุศลเก็บอัฐิหลวงปู่สมเด็จลุนเรียบร้อยแล้วได้ออกเดินทางไปยังจ.สกลนคร

    พ.ศ. 2460 อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่พระบาโพนสัน อ.ท่าพระบาท บริคำไชย ประเทศลาว และได้สร้างวัดอยู่ที่นั่น

    พ.ศ. 2461 ไปสร้างวัดป่า สอนวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่บ้านหินบักเปงร่วมสำนักเดียวกันกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์วิโจน์ รันโนบล และพ่อแม่ศรีทัศ ท่าอุเทน หลังจากนั้นได้ออกธุดงค์ไปประเทศลาว ไปธุดงค์ตามป่าตามภูเขาและพำนักอยู่ที่ภูเขาควาย ได้ศึกษาศาสตร์และศิลป์ กับปู่ฤาษีอาจารย์ใหญ่ที่นั่น เป็นเวลา 45 พรรษา จึงได้ออกวิเวกรุกขมูลเพียงลำพังไปจำพรรษาอยู่ที่ภูเห็ดละโงก ประเทศกัมพูชา ซึ่งบริเวณนั้นเรียกว่า สามเหลี่ยมนกแขก จำพรรษาอยู่ที่นั่นประมาณ 9 พรรษา ก็ออกธุดงค์ไปตามเขตชายแดนประเทศไทย-ลาว เข้าไปจนถึงประเทศพม่า ไปจำพรรษาอยู่ภูเขาพนมฉัฐ(สามเหลี่ยมทองคำ) เป็นเวลา 3 พรรษา จากนั้นออกธุดงค์ไปทั่วประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา และประเทศอินเดีย

    พ.ศ. 2518 ได้มาปักกลดชั่วคราวอยู่ที่วัดบุปผาวัลย์ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ได้สร้างเหรียญรุ่นแรก ชื่อเหรียญ สำเร็จพรหมมา

    พ.ศ. 2519 ได้เดินทางจาก อ.โขงเจยมไปตั้งสำนักสงฆ์อยู่ที่เวินเพาะ ปากห้วยไร่ บ้านสำโรง ได้ออกโปรดสัตว์แผ่เมตตาให้แก่พวกลาวอพยพที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น

    พ.ศ. 2526 เดินทางออกจากเวินเพาะ ปากห้วยไร่ ออกธุดงค์ไปปักกลดที่บ้านม่วง สร้างโบสถ์

    พ.ศ.2529 เมื่อช่วยสร้างโบสถ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ออกวิเวกรุกขมูลไปอยู่วัดถ้ำแสงธรมพรหมมาวาส บ้านแก้งปลาปก อ.ปากชม จ.เลย

    พ.ศ. 2531 ออกเดินทางจาก จ.เลย มาจำพรรษาที่บ้านดงนา อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ได้สร้างวัดถ้ำสวนหินผานางคอย และบำเพ็ญธรรมอยู่ที่นั่นมาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยกุศลแห่งธรรมแผ่ไพศาลไปทั่ว มีพุทธศาสนิกชนให้ความเชื่อถือและศรัทธาจนมีศิษยานุศิษย์มากมาย เป็นมี่รู้จักไปทั่วประเทศ

    หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร เดินธุดงควัตรมาอยู่ถ้ำสวนหินภูกระเจียว บ้านดงนา อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี เมื่อต้นปี2531 หลวงปู่บอกว่าเป็นคืนเดือนหงายคืนพระจันทร์เต็มดวง คืนวันนั้น สัตว์ป่านานาชนิดออกวิ่งขวักไขว่ประหนึ่งว่า “เจ้าที่ต้อนรบหรือขับไส” เพราะชาวบ้านบอกว่าเจ้าที่ของเขาลูกนี้แรงมาก ไม่มีพระธุดงค์รูปใดหรือใครมาอยู่ได้ แต่หลวงปู่บอกว่าเขาออกมาแสดงความชื่นชมยินดี ท่านยังนั่งสมาธิพบว่า เจ้าที่ อาราธนา “ให้พักที่เขาลูกนี้เถิด ท่านต้องการอะไร ท่านจะได้ พวกเขาจะจัดหามาถวาย” จากนั้นหลวงปู่ก็ออกบิณฑบาต แผ่ส่วนกุศลให้แก่เจ้าที่เจ้าทาง และได้นำความผาสุกมาสู่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงมีความรมเยนเป็นสุขกว่าแต่ก่อน แม้แต่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ก็ทรงเสด็จเพื่อนมัสการหลวงปู่พรหมมาเขมจาโร มาแล้วถึง 2 ครั้ง ในขณะนั้นหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร มีสุขภาแข็งแรง ปฎิบัติธรรมเป็นนิจ โปรดญาติโยมสม่ำเสมอ และช่วยดูแลชาวบ้านดงนาและหมู่บ้านใกล้เคียง

    หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำสวนหินแก้ว ( ผานางคอย ) ภูกระเจียว บ้านดงนา อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ได้มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคหัวใจเมื่อเวลา 22 นาฬิกา 11 นาที 31 วินาที ของวันที่ 23 ส.ค.2545 สิริอายุ105 ปี โดยมรณภาพ ณ วัดธาตุวราราม จ.เลย ปัจจุบัน สรีะร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย บรรจุไว้ในโลงแก้วประดับมุก ประดิษฐานที่ พระธาตุเจดีย์ อนุสรณ์สถานหลวงปู่พรหมมา ณ วัดสวนหินผานางคอย

    หลวงปู่พรหมมา เป็นพระอริยสงฆ์ที่พึ่งของชาวไทยและชาวลาวที่แท้จริง มีชื่อเสียงขจรขจายโดยมิต้องมีประชาสัมพันธ์ใดๆ วัตถุมงคลทุกรูปแบบที่สร้างแจกจ่ายแก่ศิษย์และผู้ใกล้ชิดสร้างปาฏิหาริย์มากมาย ส่วนมากที่สร้างมักเป็นรูปฤๅษี เพราะหลวงปู่ศรัทธาฤๅษีเป็นอย่างมาก และฤาษีที่สร้างนั้นมักจะเป็นเนื้อว่าน

    ประสบการณ์ ของพระฤาษีของท่าน
    เคยลงข่าวหน้า 1 ไทยรัฐ โดย ส.จ.ชื่อดังโดนถล่มด้วยอาวุธสงครามระยะเผาขนแต่กระสุนไม่ถูกตัวเลยสักนัด รอดตายปาฏิหารย์ และตำรวจที่ไปช่วยงานที่วัด ลป.แจกฤาษีให้คนละองค์เลยนำไปลองยิงใกล้วัดๆ กระสุนด้าน ยิงไม่ออกและบางคนก็มีโชคมีลาภเข้ามาเสมอ ๆ ครับ คุณอำพล เจน ผู้เขียนประวัติและพระเครื่องพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) ที่ได้รับความนิยมและหมดไปจากแผงหนังสือเมื่อเร็ว ๆ นี้ เคยติดตามหลวงพ่อชาตั้งแต่อายุ 12 – 13 ขวบ ได้ยินกิตติศัพท์พระภิกษุรูปหนึ่ง จำพรรษาอยู่บนภูเขาเหนือหมู่บ้านดงนา ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี จึงดั้นด้นไปหาและเกิดความประทับใจในวัตรปฏิบัติและอภิญญาของท่าน จึงได้มาเล่าให้อาจารย์เบิ้ม (สุวัฒน์ พบร่มเย็น) ศิษย์ฆราวาสผู้เคยติดตามรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และนายชินพร สุขสถิต ศิษย์หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ผู้สร้างพระเครื่องหลวงปู่ทิมชุดชินบัณชร จนมีชื่อเสียงโด่งดัง เพื่อชวนบุคคลทั้งสองไปสัมผัสหลวงปู่พรหมา

    คุณชินพร กล่าวว่า "เมื่อผมได้ยินอำพล บอกว่าหลวงปู่มีอายุ 93 ปี ฟันยังอยู่ครบทุกซี่ ไม่มีหักหรือผุกร่อน ซ้ำหน้าตาก็ดูหนุ่มกว่าอายุจริงหลายปี ดูแล้วคล้ายมีอายุราว ๆ 60 กว่าก็ยังไม่ค่อยจะเชื่อ จนงานปลุกเสกพระที่วัดบวรนิเวศเมื่อเร็วๆนี้ พวกเราได้เอาภาพถ่ายหลวงปู่พรหมาให้หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม ดู ท่านเห็นภาพถ่ายก็บอกว่าจำได้ ไม่พบกันมานานกว่า 40 ปีแล้ว รู้สึกคิดถึงกันอยู่ อยากจะได้พบ ครั้งสุดท้ายที่ได้พบกันก็ตั้งแต่สมัยยังมีแรงธุดงค์ไหวอยู่ในเมืองลาว หลวงปู่คำพันธ์ยังบอกอีกว่าหลวงปู่พรหมามีอายุเลยท่านไปหลายปี และท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางธุดงควัตร มีความรู้ในการเดินป่า สามารถให้ความรู้แก่พระเณรได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันหลวงปู่คำพันธ์อายุ 78 ปี จึงทำให้เชื่อได้ว่าหลวงปู่พรหมามีอายุ 93 ปีจริง ๆ"

    สภาพสวยยกชุดกล่องเดิมๆ เนื้อหามวลสารหนักเครื่องมากๆทั้งผงสมเด็จ วัดระฆัง,วัดบางขุนพรหม ทั้งมหาว่าน108ชนิด และอีกมากมาย เจ้าของเก่าบูชามาเก็บไว้ไม่เคยแกะออกมาดูเลยครับ พิมพ์คมชัดลึก พุทธคุณล้นฟ้าราคาหลักร้อย รุ่นมาตรฐานเล่นหาเป็นสากล ประสบการณ์มากมาย แบ่งให้บูชา 600 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2023
  15. ก้านมะยม

    ก้านมะยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +1,806
    โอนแล้วครับ
     
  16. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,608
    ค่าพลัง:
    +30,886
    AW503415_00.gif
     
  17. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2372.สวยกริ๊บซองเดิมๆ รูปหล่อพระพุทธรุ่น3
    หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม ทายาทธรรมสายโลหิตแท้ๆ หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    H5BatN.jpg
    รูปหล่อพระพุทธ รุ่น3 หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เจ้าอาวาสวัดแพร่ธรรมาราม จังหวัดแพร่ เนื้อโลหะผสม ใต้ฐานตอกโค้ด ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2558 สร้างเเจกเท่านั้น เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสอายุครบ 65 พรรษา


    หลวงพ่อกัณหา สุกาโม เป็นพระสุปฏิปันโน ยึดพระธรรมวินัยเป็นหลัก มุ่งหวังประโยชน์ส่วนรวม เป็นสมณผู้มีเมตตาธรรมสูง ปัจจุบันหลวงพ่อกัณหา สุขกาโม ท่านพำนัก ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม บ้านบุเจ้าคุณ ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

    หลวงพ่อกัณหา มีศักดิ์เป็นหลานชายแท้ๆ ของหลวงพ่อชา สุภัทโท หลวงพ่อกัณหา เกิดวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นบุตรของพ่อกา โยมแม่ช้อน ภูมิลำเนา อยู่ที่ ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

    ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราช จังหวัดอุบลราชธานี สมัยก่อนวัดหนองป่าพง กันดานมาก ยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ พออายุครบบวช ท่านเข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดอุลราชธานี ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ ซึ่งเป็นสังกัดธรรมยุติกนิกาย หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อกัณหาได้อยู่ประพฤติปฏิบัติศึกษาพระธรรมวินัย กับหลวงพ่อชา สุภัทโท เป็นเวลา ๓ ปี

    จากนั้นได้ออกธุดงค์กรรมฐานในทุกภาคของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ใกล้เคียง ได้แก่ พม่า มาเลเชีย เขมร ลาว รวมระยะทางที่เดินธุดงค์ ร่วม ๖๐,๐๐๐ กิโลเมตร ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ที่ปฏิบัติดีปฏบัติชอบ มุ่งมรรคผลพระนิพพาน ปฏิปทาที่ยึดเป็นหลัก ในการปฏิบัติประจำวันได้แก่ฉันอาหารมื้อเดียว ไม่รับเงินรับทองไว้เป็นของส่วนตัว ไม่ฟังวิทยุ ไม่ดูโทรทัศน์ ไม่มีโทรศัพท์มือถือ

    หลวงพ่อกัณหา สุกาโม ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดแพร่ธรรมาราม อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มีวัดสาขาที่อยู่ในความเมตตา ดูแลของท่าน ทั้งในและต่างประเทศ รวมจำนวน ๓๓ วัด

    เมื่อปีพุทศักราช ๒๕๓๖ ทางวัดบวรนิเวิศวิหาร ให้เจ้าคณะจังหวัดแพร่ น่าน ลำปาง พะเยา เชียงราย แจ้งให้หลวงพ่อกัณหา สุกาโม รับตำแหน่งซึ่งมีสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ แต่หลวงพ่อกัณหา สุกาโม ไม่รับสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ

    ดังนั้นเจ้าคณะจังหวัดจึงให้ท่านทำหนังสือยืนยันการที่ไม่รับ สมณศักดิ์นั้น เพื่อรายงานให้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทราบเจตนาดังกล่าว ซึ่งถ้าหากไม่มีหนังสือรับรอง ทางเจ้าคณะ เกรงว่าประชาชน จะติเตือนว่า พระที่ทำคุณประโยชน์ ให้ประเทศชาติและประชาชนไม่ได้รับการดูแล จากทางคณะสงฆ์ ซึ่งทางหลวงพ่อกัณหา สุกาโม ท่านรับเป็นเพียงพระอุปัชณาย์ เพื่ออำนวยความสะดวก ในการบวชพระให้แก่ลูกหลาน ได้สืบทอดพระพุทธศาสนาเท่านั้น หลวงพ่อกัณหา สุกาโม จึงได้ชื่อว่า เป็นพระผู้ที่ไม่รับ สมณศักดิ์ใดๆ

    "..สิ่งที่ผ่านมาก็เหมือนพยับแดดเดี๋ยวมันก็สลายไป ผ่านไปแล้ว ให้เรารู้จักรู้แจ้ง ตรงนี้เองที่เราจะต้องปฏิบัติ ว่าเราจะไม่ตามอารมณ์ ไม่ตามสิ่งแวดล้อมไป ถ้าเราตามไปก็จะมีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก มีความทุกข์มาก มีความทุกข์หลาย เลยเป็นคนไม่มีพุทธะ พุทโธ เพราะพระพุทธเจ้าให้เราฝึกไปทุก ๆ วัน อย่าไปทอดธุระ อย่าไปพลั้งเผลอ อย่าประมาท อย่าใจอ่อน มันชอบใจอ่อนคนเรานะ มันต้องใจแข็ง ใจเด็ดขาด ใจตั้งมั่น มีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อตนเอง ต่อการประพฤติปฏิบัติธรรมของเรา
    อย่าเป็นคนอยู่เหมือนกับคนไม่มีเจ้าของ มีจิตใจล่องลอยเหมือนคนนอนหลับแล้วก็ฝันไป วันหนึ่ง ๆ ก็ลอยไปลอยมา ไม่มี 'พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน' คนเราถ้าทำดีไม่หยุดมันต้องได้ดี ทำดีทั้งทางจิตใจ ทั้งคำพูด ทำดีในการกระทำให้ทำไปเรื่อย ๆ ..."

    โอวาทธรรมคำสอนของ หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม



    สภาพสวยพร้อมซองเดิมๆไม่เคยถูกสัมผัส พ่อแม่ครูอาจารย์พระสุปฏิปันโน ผู้เคร่งครัดพระธรรมวินัย แบ่งให้บูชา 888 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)



    (คุณพุทโธ ภควา จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2024
  18. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2373.ของดีที่ถูกลืมพิธีใหญ่มากๆๆ เหรียญสมเด็จนางพญาทรงเครื่อง
    วัดนางพญา ลป.โต๊ะ,ลพ.แพ,ลพ.อุตตมะ,ลพ.เชื้อ,ลพ.สว่าง ร่วมปลุกเสกประจุพลัง

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    H5QMlb.jpg

    เหรียญสมเด็จนางพญาทรงเครื่อง หลังพระพิมพ์นางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เนื้อทองแดง ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2519 ออกแบบโดย อ.ทองสุข สุดเกตุ แกะพิมพ์และปั๊มโดยฝีมือช่างเกษม มงคลเจริญ


    ประวัติการจัดสร้าง
    พระครูบวรชินราช (ม้วน สุดเกตุ) ได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ วัดนางพญา จ.พิษณุโลก เสร็จสิ้น เป็นสถาปัตยกรรมทรงโรงแบบอยุธยา หน้าบันประดิษฐานอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. พร้อมบูชาพระพุทธปฏิมากรประธานองค์เดิมในวิหารเก่าโดยแปลงพุทธศิลป์ล้อพุทธ ศิลป์พระพุทธชินราช เฉลิมพระนามว่า "สมเด็จนางพญาเรือนแก้ว" และได้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นผูกพัทธสีมาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2519 ดังนี้

    พระบูชาพระพุทธชินราช ผ้าทิพย์ ตราวัดนางพญา (นพ) มียักษ์ซ้ายขวา ลงรักปิดทอง ขนาด 9 นิ้ว, 5.9 นิ้ว, 5 นิ้ว, 3.9 นิ้ว, 3 นิ้ว และเนื้อสามกษัตริย์ ขนาด 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว และพระบูชาสมเด็จนางพญาเรือนแก้ว ฐานผ้าทิพย์ตราวัดนางพญา (นพ) เทพนม ซ้าย-ขวา ลงรักปิดทอง ขนาด 9 นิ้ว, 5.9 นิ้ว, 3.9 นิ้ว และ 3 นิ้ว ฝีมือ จ.ส.อ.ดร.ทวี บูรณะเขตต์ โดยนำไปถวายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธฯ และพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณแห่งยุค อาทิ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ถ้ำขาม จ.สกลนคร, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, ครูบาวัดน้ำบ่อหลวง จ.เชียงใหม่, ครูบาพรหมจักร วัดพระบางตากผ้า จ.ลำพูน, หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น, หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก จ.เพชรบูรณ์, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี และหลวงพ่อโอด วัดจันเสน จ.นครสวรรค์ เป็นต้น อธิษฐานจิตปลุกเสกผงมวลสารและบรรจุผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์ใต้ฐานพระบูชาพระ พุทธชินราชและสมเด็จนางพญาเรือนแก้ว
    พระกริ่งสมเด็จนางพญา ทรงเครื่อง และพระชัยวัฒน์นางพญาเรือนแก้ว ฝีมือช่างเกษม มงคลเจริญ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ พร้อมเหรียญปั๊ม สมเด็จนางพญาทรงเครื่องหลังพระพิมพ์นางพญาและเหรียญปั๊มแปดเหลี่ยม สมเด็จนางพญาเรือนแก้ว หลังอุโบสถ ภ.ป.ร. ออกแบบโดย อ.ทองสุข สุดเกตุ แกะพิมพ์และปั๊มโดยฝีมือช่างเกษม มงคลเจริญ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดงรมน้ำตาล และเนื้อชุบทองลงยา และเหรียญกลมนางพญาประทานพร (พระบรมรูปพระวิสุทธิกษัตรี พระราชมารดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) หลังยันต์นะเศรษฐีมหาลาภ และพระพิมพ์นางพญาเนื้อว่านผงเก่า โดย

    ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ วันศุกร์ที่ 6 ก.พ.2519
    เวลา 06.00 น. พิธีบวงสรวง ณ พระวิหารพระพุทธชินราช เวลา 06.30 น. พิธีบวงสรวง ณ พระราชวังจันทน์
    เวลา 07.00 น. พระอาจารย์ไสว สุมโณ บูชาครู
    เวลา 08.20 น. พระราชครูวามเทพมุนี บวงสรวงเทวดาบูชาฤกษ์
    เวลา 09.09 น. สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) จุดเทียนชัย พระสงฆ์สมณศักดิ์เจริญพระพุทธมนต์
    เวลา 14.00 น. พระพิธีธรรม สวดคาถาพุทธาภิเษก พระเกจิอาจารย์ชุดที่ 1 นั่งปรก
    เวลา 19.30 น. พระพิธีธรรมวัดเลา สวดคาถาจักรพรรดิราชา พระเกจิอาจารย์ ชุดที่ 2 นั่งปรก
    เวลา 01.29 น. พระอาจารย์ไสว สุมโณ เจ้าพิธีดับเทียนชัย

    พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้น อาทิ
    - หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี,
    - หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม จ.กาญจนบุรี,
    - หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง,
    - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,
    - หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร,
    - หลวงพ่อเส่ง วัดน้อยนางหงส์ กรุงเทพฯ,
    - ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง,
    - ครูบาคำแสน วัดป่าดอนมูล,
    - ครูบาวัดหม้อคำตวง จ.เชียงใหม่,
    - หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์,
    - หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี,
    - หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร,
    - หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ จ.ชัยนาท,
    - หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง,
    - หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม,
    - หลวงพ่อโอด วัดจันเสน,
    - หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว,
    - หลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู จ.นครสวรรค์,
    - หลวงพ่อสว่าง วัดคฤหบดี จ.กำแพงเพชร,
    - หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย,
    - หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน,
    - หลวงพ่อทวี วัดโรงช้าง พิจิตร เป็นต้น ร่วมนั่งปรก



    สภาพสวยเดิมๆ ผิวเดิมๆมหาพิธี ของดีราคาเยาว์สบายกระเป๋า แบ่งให้บูชา 350 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)






    (คุณJae จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2022
  19. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2374.ยอดมวลสารเจตนาการสร้างบริสุทธิ์ พระผงพ่อปู่ฤาษีตาไฟ
    หลวงปู่พรหมมา ทายาทพุทธคมสมเด็จลุน แห่งนครจำปาสัก ผู้ถือธุดงควัตรเป็นนิจ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    H5MQ79.jpg
    พระผงพ่อปู่ฤาษีตาไฟ พิมพ์เสมา หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อผงพุทธคุณ ผสมว่าน108 ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2542 โดยหลวงปู่เมตตาสร้างและอธิษฐานจิตสำหรับงานบุญนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกงานยกช่อฟ้าผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตอุโบสถ วัดบ้านก้านเหลือง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ

    ประวัติโดยสังเขปหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร
    หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 12 ปี อยู่กับสมเด็จลุนที่เวินไซ นครจำปาสัก ประเทศลาวเป็นเวลา 6 ปี สมเด็จลุนก็มรณภาพ จากนั้นหลวงปู่พรหมมา ก็ได้ร่วมเดินธุดงค์พร้อมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลังจากนั้นคณะพระธุดงค์ก็แยกย้ายกันไปหาสถานที่อันสงบเงียบบำเพ็ญภาวนาหาวิเวกกันต่อไป และได้แสวงหาความวิเวกปฎิบัติธรรมในสถานที่สงบทั้ง ลาว เขมร และไทย ชอบช่วยเหลือชาวชนบทที่แร้นแค้นตามป่าเขาลำเนาไพร มีความเมตตากรุณาต่อมวลมนุษยชาติที่ด้อยโอกาสเพื่อนำความรุ่งเรืองไปให้


    หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร นามเดิม แก้ว เป็นบุตรของพ่อแก้ว อ่อนจันทึก กับ แม่สีดา อ่อนจันทึก เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2440 ที่บ้านกุศกร อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี

    ในปี พ.ศ. 2452 อายุได้ 11 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับหลวงปู่สมเด็จลุน เป็นลูกศิษย์หลวงปู่สมเด็จลุน ศึกษาวิชาอาคมต่างๆอยู่ 6 พรรษาเมื่อปี 2458 หลวงปู่สมเด็จลนถึงแก่มรณภาพหลังจากทำบุญอุทิศส่วนกุศลเก็บอัฐิหลวงปู่สมเด็จลุนเรียบร้อยแล้วได้ออกเดินทางไปยังจ.สกลนคร

    พ.ศ. 2460 อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่พระบาโพนสัน อ.ท่าพระบาท บริคำไชย ประเทศลาว และได้สร้างวัดอยู่ที่นั่น

    พ.ศ. 2461 ไปสร้างวัดป่า สอนวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่บ้านหินบักเปงร่วมสำนักเดียวกันกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์วิโจน์ รันโนบล และพ่อแม่ศรีทัศ ท่าอุเทน หลังจากนั้นได้ออกธุดงค์ไปประเทศลาว ไปธุดงค์ตามป่าตามภูเขาและพำนักอยู่ที่ภูเขาควาย ได้ศึกษาศาสตร์และศิลป์ กับปู่ฤาษีอาจารย์ใหญ่ที่นั่น เป็นเวลา 45 พรรษา จึงได้ออกวิเวกรุกขมูลเพียงลำพังไปจำพรรษาอยู่ที่ภูเห็ดละโงก ประเทศกัมพูชา ซึ่งบริเวณนั้นเรียกว่า สามเหลี่ยมนกแขก จำพรรษาอยู่ที่นั่นประมาณ 9 พรรษา ก็ออกธุดงค์ไปตามเขตชายแดนประเทศไทย-ลาว เข้าไปจนถึงประเทศพม่า ไปจำพรรษาอยู่ภูเขาพนมฉัฐ(สามเหลี่ยมทองคำ) เป็นเวลา 3 พรรษา จากนั้นออกธุดงค์ไปทั่วประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา และประเทศอินเดีย

    พ.ศ. 2518 ได้มาปักกลดชั่วคราวอยู่ที่วัดบุปผาวัลย์ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ได้สร้างเหรียญรุ่นแรก ชื่อเหรียญ สำเร็จพรหมมา

    พ.ศ. 2519 ได้เดินทางจาก อ.โขงเจยมไปตั้งสำนักสงฆ์อยู่ที่เวินเพาะ ปากห้วยไร่ บ้านสำโรง ได้ออกโปรดสัตว์แผ่เมตตาให้แก่พวกลาวอพยพที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น

    พ.ศ. 2526 เดินทางออกจากเวินเพาะ ปากห้วยไร่ ออกธุดงค์ไปปักกลดที่บ้านม่วง สร้างโบสถ์

    พ.ศ.2529 เมื่อช่วยสร้างโบสถ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ออกวิเวกรุกขมูลไปอยู่วัดถ้ำแสงธรมพรหมมาวาส บ้านแก้งปลาปก อ.ปากชม จ.เลย

    พ.ศ. 2531 ออกเดินทางจาก จ.เลย มาจำพรรษาที่บ้านดงนา อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ได้สร้างวัดถ้ำสวนหินผานางคอย และบำเพ็ญธรรมอยู่ที่นั่นมาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยกุศลแห่งธรรมแผ่ไพศาลไปทั่ว มีพุทธศาสนิกชนให้ความเชื่อถือและศรัทธาจนมีศิษยานุศิษย์มากมาย เป็นมี่รู้จักไปทั่วประเทศ

    หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร เดินธุดงควัตรมาอยู่ถ้ำสวนหินภูกระเจียว บ้านดงนา อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี เมื่อต้นปี2531 หลวงปู่บอกว่าเป็นคืนเดือนหงายคืนพระจันทร์เต็มดวง คืนวันนั้น สัตว์ป่านานาชนิดออกวิ่งขวักไขว่ประหนึ่งว่า “เจ้าที่ต้อนรบหรือขับไส” เพราะชาวบ้านบอกว่าเจ้าที่ของเขาลูกนี้แรงมาก ไม่มีพระธุดงค์รูปใดหรือใครมาอยู่ได้ แต่หลวงปู่บอกว่าเขาออกมาแสดงความชื่นชมยินดี ท่านยังนั่งสมาธิพบว่า เจ้าที่ อาราธนา “ให้พักที่เขาลูกนี้เถิด ท่านต้องการอะไร ท่านจะได้ พวกเขาจะจัดหามาถวาย” จากนั้นหลวงปู่ก็ออกบิณฑบาต แผ่ส่วนกุศลให้แก่เจ้าที่เจ้าทาง และได้นำความผาสุกมาสู่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงมีความรมเยนเป็นสุขกว่าแต่ก่อน แม้แต่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ก็ทรงเสด็จเพื่อนมัสการหลวงปู่พรหมมาเขมจาโร มาแล้วถึง 2 ครั้ง ในขณะนั้นหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร มีสุขภาแข็งแรง ปฎิบัติธรรมเป็นนิจ โปรดญาติโยมสม่ำเสมอ และช่วยดูแลชาวบ้านดงนาและหมู่บ้านใกล้เคียง

    หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำสวนหินแก้ว ( ผานางคอย ) ภูกระเจียว บ้านดงนา อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ได้มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคหัวใจเมื่อเวลา 22 นาฬิกา 11 นาที 31 วินาที ของวันที่ 23 ส.ค.2545 สิริอายุ105 ปี โดยมรณภาพ ณ วัดธาตุวราราม จ.เลย ปัจจุบัน สรีะร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย บรรจุไว้ในโลงแก้วประดับมุก ประดิษฐานที่ พระธาตุเจดีย์ อนุสรณ์สถานหลวงปู่พรหมมา ณ วัดสวนหินผานางคอย

    หลวงปู่พรหมมา เป็นพระอริยสงฆ์ที่พึ่งของชาวไทยและชาวลาวที่แท้จริง มีชื่อเสียงขจรขจายโดยมิต้องมีประชาสัมพันธ์ใดๆ วัตถุมงคลทุกรูปแบบที่สร้างแจกจ่ายแก่ศิษย์และผู้ใกล้ชิดสร้างปาฏิหาริย์มากมาย ส่วนมากที่สร้างมักเป็นรูปฤๅษี เพราะหลวงปู่ศรัทธาฤๅษีเป็นอย่างมาก และฤาษีที่สร้างนั้นมักจะเป็นเนื้อว่าน

    ประสบการณ์ ของพระฤาษีของท่าน
    เคยลงข่าวหน้า 1 ไทยรัฐ โดย ส.จ.ชื่อดังโดนถล่มด้วยอาวุธสงครามระยะเผาขนแต่กระสุนไม่ถูกตัวเลยสักนัด รอดตายปาฏิหารย์ และตำรวจที่ไปช่วยงานที่วัด ลป.แจกฤาษีให้คนละองค์เลยนำไปลองยิงใกล้วัดๆ กระสุนด้าน ยิงไม่ออกและบางคนก็มีโชคมีลาภเข้ามาเสมอ ๆ ครับ คุณอำพล เจน ผู้เขียนประวัติและพระเครื่องพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) ที่ได้รับความนิยมและหมดไปจากแผงหนังสือเมื่อเร็ว ๆ นี้ เคยติดตามหลวงพ่อชาตั้งแต่อายุ 12 – 13 ขวบ ได้ยินกิตติศัพท์พระภิกษุรูปหนึ่ง จำพรรษาอยู่บนภูเขาเหนือหมู่บ้านดงนา ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี จึงดั้นด้นไปหาและเกิดความประทับใจในวัตรปฏิบัติและอภิญญาของท่าน จึงได้มาเล่าให้อาจารย์เบิ้ม (สุวัฒน์ พบร่มเย็น) ศิษย์ฆราวาสผู้เคยติดตามรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และนายชินพร สุขสถิต ศิษย์หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ผู้สร้างพระเครื่องหลวงปู่ทิมชุดชินบัณชร จนมีชื่อเสียงโด่งดัง เพื่อชวนบุคคลทั้งสองไปสัมผัสหลวงปู่พรหมา


    คุณชินพร กล่าวว่า "เมื่อผมได้ยินอำพล บอกว่าหลวงปู่มีอายุ 93 ปี ฟันยังอยู่ครบทุกซี่ ไม่มีหักหรือผุกร่อน ซ้ำหน้าตาก็ดูหนุ่มกว่าอายุจริงหลายปี ดูแล้วคล้ายมีอายุราว ๆ 60 กว่าก็ยังไม่ค่อยจะเชื่อ จนงานปลุกเสกพระที่วัดบวรนิเวศเมื่อเร็วๆนี้ พวกเราได้เอาภาพถ่ายหลวงปู่พรหมาให้หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม ดู ท่านเห็นภาพถ่ายก็บอกว่าจำได้ ไม่พบกันมานานกว่า 40 ปีแล้ว รู้สึกคิดถึงกันอยู่ อยากจะได้พบ ครั้งสุดท้ายที่ได้พบกันก็ตั้งแต่สมัยยังมีแรงธุดงค์ไหวอยู่ในเมืองลาว หลวงปู่คำพันธ์ยังบอกอีกว่าหลวงปู่พรหมามีอายุเลยท่านไปหลายปี และท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางธุดงควัตร มีความรู้ในการเดินป่า สามารถให้ความรู้แก่พระเณรได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันหลวงปู่คำพันธ์อายุ 78 ปี จึงทำให้เชื่อได้ว่าหลวงปู่พรหมามีอายุ 93 ปีจริง ๆ"

    สภาพสวยเดิมๆ เนื้อหามวลสารหนักเครื่องมากๆ เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ เจ้าของเก่าบูชามาเก็บไว้ไม่เคยแกะออกมาดูเลยครับ พิมพ์คมชัดลึก พุทธคุณล้นฟ้าราคาหลักร้อย ประสบการณ์มากมาย แบ่งให้บูชา 222 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
  20. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,284
    ค่าพลัง:
    +14,371
    2375.ซองเดิมๆ เหรียญในหลวงรัชกาลที่ ๕ ปิยะมหาราชาลัย ปี32
    สมเด็จพระสังฆราช,ลป.สิม,ลป.ศรี,ลป.เปลี่ยน,ลป.คำพันธ์ เมตตาอธิษฐานจิตพร้อมพระอริยะ 38รูป

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    HE73EW.jpg

    เหรียญในหลวงรัชกาลที่ ๕ ปิยะมหาราชาลัย จัดสร้างโดยโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม เพื่อเป็นอนุสรณ์ก่อตั้งครบ 80ปี เมื่อ พ.ศ.2532 เนื้อทองแดงชุบทอง โดยมีสมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังราชทรงเป็นประธานจุดเทียนชัยและอธิฐานจิต เมื่อวันที่ 5 ต.ค 2532 ณ.โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย

    จำนวนการสร้าง
    - พระบรมรูปจําลองประทับยืน ร.๕ เนื้อทองสัมฤทธิ์ขนาดสูง 22นิ้ว 999องค์
    - พระบรมรูปจําลองประทับยืน ร.๕ เนื้อทองสัมฤทธิ์ขนาดสูง 15นิ้ว 999องค์
    - เหรียญทองคำหนัก15กรัม 50เหรียญ
    - เหรียญทองคำหนัก7.5กรัม 50เหรียญ
    - เหรียญเงิน 50เหรียญ
    - เหรียญทองแดงชุบทอง 20,000เหรียญ



    วาระพิธีพุทธาภิเษก
    - พิธีเจิมแผ่นทอง นาก เงิน โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    - พิธีเททองโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีได้ทรงเสด็จเป็นองค์ ประธานในพิธี ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2532
    - พิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ซึ่งจะได้กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารี เสด็จทรงเป็นองค์ประธาน
    - พิธีมหาพุทธาภิเษกพระบรมราชานุสาวรีย์ และพระบรมรูปจําลอง ที่โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม ในวันที่ 5 ตุลาคม 2532 โดยเกจิอาจารย์ผู้ทรงญาณจากภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง จํานวน 38 รูป
    - ประธานฝ่ายสงฆ์ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    - ประธานฝ่ายฆราวาส พลเอกมานะ รัตนโกเศศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


    รายนามพระเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิฐานจิต 38รูป อาทิ
    1.หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถํ้าผาปล่อง เชียงใหม่(ศิษย์เอกพระอาจารย์มั่น)
    2.หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง ร้อยเอ็ด(ศิษย์เอกพระอาจารย์มั่น)
    3.พระเทพเมธาจารย์ วัดโพธิสมภรณ์ อุดรฯ ปัจจุบันท่านดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) (ศิษย์เอกพระอาจารย์มั่น)
    4.หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต หนองคาย(ศิษย์เอกพระอาจารย์มั่น)
    5.หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถํ้าพระสบาย ลําปาง(ศิษย์เอกพระอาจารย์มั่น)
    6.หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าแสนสําราญ ลําปาง(ศิษย์เอกพระอาจารย์มั่น)
    7.พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก) วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น (ศิษย์เอกหลวงปู่ตื้อ อจลธฺมโม)
    8.พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก เชียงใหม่(ศิษย์เอกหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ)
    9.พระเทพวิสุทธิญาณ (พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมัคโล) วัดอนาลโย พะเยา
    10.หลวงปู่โชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ
    11.หลวงปู่กิ วัดสนามชัย อุบลฯ
    12.หลวงปู่คําพัน โฆษะปัญโญ วัดธาตุมหาชัย นครพนม(ศิษย์เอกหลวงปู่เสาร์)
    13.หลวงปู่ธีร์ วัดมิ่งเมือง ขอนแก่น
    14.พระครูพิศาลปัญโญภาส วัดอรัญญิกาวาส นครพนม
    15.พระครูญาณภิรัตน์ วัดเจริญธรรม เชียงใหม่
    16.หลวงปู่ทองอินทร์ กุสถจิตโต วัดสันติธรรม เชียงใหม่
    17.พระอาจารย์สุภาพ ธมขิตสีโล วัดป่าสุขเกษมนิราสกัน สกลนคร
    18.พระอาจารย์สนั่น รักขิตสีโล วัดทุ่งสว่าง สกลนคร
    19.พระอาจารย์จันดี เขมปัญโญ วัดศรีสะอาด สกลนคร
    20.หลวงปู่ทูล ขิปปปัญโญ วัดป่าบ้านค้อ อุดรธานี
    21.หลวงปู่เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อุดรธานี
    22.พระอาจารย์ทองสุข อุตระปัญโญ วัดอนาลโย พะเยา
    23.หลวงปู่บุญมา คมภีรธมโม วัดสีห์พนม สกลนคร
    24.หลวงปู่คําบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล สกลนคร
    25.หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปาโมชโช วัดป่าน้ำริน จ.เชียงใหม่
    26.พระอาจารย์เจริญ ญาณวุฑโฒ วัดถ้ำปากเพรียว เชียงใหม่
    27.พระอาจารย์วิชัย เขมิโย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
    28.พระครูวินิธวัฒนคุณ วัดศิริมงคล อุบลฯ
    29.พระครูกมลภาวนากร วัดภูหล่น อุบลฯ
    30.พระมหาบุญเรือง วัดสารพัดนึก อุบลฯ
    31.พระอาจารย์พุทธ วัดบ้านสร้อย อุบลฯ
    32.หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีรธรรม จ.นครพนม
    33.พระครูอุดมธรรมรักษ์ ( หลวงปู่ยอด ) วัดศรีบุญเรือง จ.มุกดาหาร
    34.หลวงปู่อวน วัดจันทิยาวาส จ.นครพนม
    35.พระอาจารย์สมัย วัดถ้ำสูง นครพนม
    36.พระอาจารย์บุญมี ปิยธมโม วัดพระธาตุโพธิ์ทอง นครพนม
    37.พระอาจารย์แปลง ญาณวีโร วัดภูถ้ำพระ นครพนม
    38.พระอาจารย์วัดบ้านหนองสังข์ นครพนม

    (รวมเกจิอาจารย์ผู้ทรงญาณสายพระอาจารย์มั่นร่วมปลุกเสก 38รูป) หลังจากปลุกเสกครบ 4ชุดแล้ว พลเอกมานะ รัตนโกเศศ(ประธานฝ่ายสงฆ์)ได้นิมนต์ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ปลุกเสกเดี่ยวให้นาน 3ชั่วโมงเต็มๆ เสร็จแล้วหลวงปู่บอกว่า "ร.5 ดีบารมีหนุนธุรกิจการค้าทำมาค้าขึ้น" จึงเป็นที่แสวงหากันมากในขณะนี้




    สภาพสวยสมบูรณ์สวยพร้อมซองเดิม ผิวทองชุบเดิมๆ พิมพ์คมชัดลึก พุทธคุณครบครอบ เป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ภาพถ่ายไม่สวยนะครับแสงสะท้อน เหรียญจริงสวยกว่าในรูปครับ แบ่งให้บูชา 260 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)





    (คุณJae จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2022

แชร์หน้านี้

Loading...