ผมอยากฝึก อภิญญา สมาธิ ผมอยากได้อาจาร์ณ แนะนำ ในทางที่ถูกที่ควรครับ แบบติดต่อกัน ออนไลน์ ก็ได้ครับบ เพราะคงอยู่ไกลกัน
คล้ายคนชอบอะไรเหมือนกัน ก็จะดึงไปในที่คล้ายๆไปกัน ปล ถ้าจะเป็นอย่างที่น้องหวังให้สำเร็จ ต้องตั้งเป้าว่า ฝึกเพื่อเรียกของเก่าขึ้นมา และจะใช้ประโยชน์ในทางธรรมและเพื่อผู้อื่น เท่านั้น อย่าคิดว่าเท่ห์หรือเอาไว้โชว์หรืออวดใคร และ ๑. ทำบุญให้ต่อเนื่อง อยู่หลับหลังจะดี อุทิศส่วนกุศลให้ภพภูมิบ่อยๆ ทุกระดับ ๒.ให้ความเคารพนับถือทุกภพภูมิ แต่อย่ายึดถือ ๓.ทำอะไรอย่าหวังผล อย่าหวังการยอมรับ อย่าคิดว่าตนเหนือใคร ๔ มีเมตตากับคนและสัตว์ปกติ ๕ อย่าหยุมหยิม คิดเล็กคิดน้อย เจ้าคิดเจ้าแค้น ๖อย่ายึดอดีตทุกๆกรณี ๗อย่าใสใจเรื่องคนอื่นๆ นิสัยพื้นฐานแบบนี้ จะย่นระยะ เวลาแห่งผลสำเร็จให้เร็วขึ้นได้
สวัสดีทุกท่านครับผมสมาชิกใหม่วันนี้ความรู้น้อยแต่อยากคุยด้วย เบื้องต้นอยากเสนอแนะให้ท่านเจ้าของกระทู้สร้างทานบารมีให้มากทำทานทุกรูปแบบ โดยไม่หวังผลตอบแทนทำเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่นเพื่อส่วนรวม ทุกครั้งที่ทำทานหรือสร้างกุศลใดด้วยบุญกิริยาวัตถุทั้งสิบให้ท่านตั้งจิตอธิษฐานขอให้อานิสงค์แห่งบุญนี้ส่งผลให้ท่านตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิตลอดไปได้พบครูบาอาจารย์ผู้เป็นกัลยาณมิตรนำพาชีวิตไปสู่หนทางที่ถูกต้อง ดังความปรารถนาลองดูน๊ะครับขอให้สมปรารถนาครับ ขออนุโมทนาสาธุกับคำแนะนำอันประเสริฐของสมาชิกทุกท่านด้วยครับ
ไปสมัครเรียนครูสมาธิ มีสาขาทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศก็มีหาข้อมูลต่อเอา (แล้วคุณจะรู้ว่าคุณสร้างบารมีเอกมาทางไหน มีเพื่อนในรุ่นเดียวกันที่สร้างมาด้วยคล้ายกันจะเจอกันแล้วคุณจะชอบ)
โทษทีมือมันแตะไปโดน อาจารย์เขาคงรอเจ้าอยู่นะแต่เจ้าต้องหมั่นกระทำตนให้ถึงพร้อม ทาน ศีล ภาวนา อย่าได้ขาด พึงสะสมทำไปอย่ารีบร้อน ค่อยๆๆเรียนรู้ ธรรมทั้งหลายไม่ได้หายไปไหนเจ้สจะเกิดและตายสักแสนล้านครั้งคงเป็นดังเดิมไม่แปรเปลี้ยน พุทโธ ในใจละลึกไว้นะ อย่าเอาใจไปฝากไว้กับผีที่ไหนฝากไว้กับพุทโธนี่แหละ เดี้ยวพร้อมเมื่อไหร่ก็จะพบประสบเจอเองนั่นแหละไม่ต้องหาหรอก วันนึงก็พบแต่ต้องเหมาะสมพอที่จะพบ
...อันดับแรก...ดูใจตัวเอง จะเอาดีทางไหน ทางสายอะไร ช่น เป็นนักกีฬาอะไร ก็เรียนกับอาจารย์ทางสายนั้นๆ ทีนี้เมื่อมาสายธรรม จะให้แนะนำละก็ นั่นเลยครับไปที่ ลมหายใจ ภาวนา พุทโธ พุทโธก็อยู่ที่จิต ธรรมโม พระธรรมก็อยู่ที่จิต สังโฆ พระสงฆ์ก็อยู่ที่จิต ทีนี้ก็ปฏิบัติให้ถึงสมถะเมื่อใดถึงสมถะแล้วก็ถามหาอาจารย์สายวิปัสสนา แนะนำสายท่านอาจารย์มั่น(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)ส่วนจะปฏิบัติเองทางโลกด้วยทางธรรมด้วย ก็ เทศนาหลวงพ่อพุธ ฐานิโย. มีแบบให้ดำเนินกันอยู่ การรู้จิตนั้น ไม่ต้องไปไหนมองดูแต่จิต จะกิน ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด มีสติอยู่ แรกๆอาจจะยากหน่อย ไปๆก็ชำนาญ จะรู้จะเห็นอะไร จิตเนี่ย เห็นอะไรในจิต...ฝากไว้พิจารณา
ขออนุญาตเสนอแนะท่านเจ้าของกระทู้อีกสักเล็กน้อยครับระหว่างที่ท่านยังไม่พบครูบาอาจารย์ที่ถูกจริต ผมแนะนำให้ท่านศึกษาเกี่ยวกับมรรค8 และมหาสติปัฏฐาน4 ไปก่อนครับ เวลาปฏิบัติท่านจะได้กำหนดจิตไว้บนฐานที่ถูกต้อง เริ่มจากเจริญสติเถิดครับเมื่เจริญสติจนเจนใจแล้วความสำรวมระวังในทุกกิริยาทั้งกายวาจาใจ จะเป็นปกตินิสัยของท่าน ผลของความสำรวมระวัง คือ ศีลที่สมบูรณ์ เมื่อศีลสมบูรณ์เป็นปกติแล้ว สมาธิในระดับอัปปนาก็จะได้ไม่ยากนัก แล้วโปรดรำลึกอยู่เสมอว่า แท้จริงแล้วท่านมีอาจารย์อยู่ตลอดเวลา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไงครับ ถ้าจิตเกิดอาการอะไร เช่น กลัว ก็อธิษฐานขอพระบารมีพระรัตนไตรคุ้มครองครับ ส่วนเรื่องอภิญญาให้มันเป็นผลพลอยได้เถิดครับเพราะความอยากได้ ก็คืออนุสัยกิเลส จะไม่ได้ก็เพราะความอยากได้นี่แหละครับ ปฏิบัติให้คุณธรรมและบารมีถึงพร้อมอะไรที่ควรได้ก็จะได้ และที่สำคัญได้แล้วไม่หลง ไม่ใช้ในทางที่ผิด และไม่นำตนไปสู่ความเสื่อมครับ ขอให้เจริญในธรรมกันทุกท่านน๊ะครับ จะเป็นกัลยาณมิตรกับทุกท่านเสมอ (ความเห็นผมไม่ถูกต้องอย่างไร วิจารณ์ ตำหนิ สั่งสอนกระทั่ง ด่า ได้น๊ะครับขอน้อมรับ)
ส่วนตัวแนะนำว่า ปรับระบบกายใจแบบอาปาฯ และเน้นเอาเรื่องสติก่อน จนจิตแยกรูปแยกนามได้ และเดินปัญญาต่อซักระยะหนึ่ง จนจิตไม่หลงในนามธรรมและ มีความเข้าใจนามธรรมต่างๆ ด้วยตัวเองก่อน แล้วค่อยมาฝึกกรรมฐานต่างๆ มันถึงจะเข้าถึงระดับใข้งานได้เร็วและแบบ ที่ไม่ใช่รู้เองเห็นเองคนเดียวในนิมิต สามารถแสดงและพิสูจน์ได้ เห็นผล ปรากฏแก่ผู้อื่นได้. ซึ่งการทำได้ในแบบนิมิต หรือหลับตาเข้าสมาธิแล้วทำนั้น มักจะทำให้นักปฎิบัติหลงตัวเอง หลงสภาวะ ยึดติดนามธรรมต่างๆ มานักต่อนักครับ ปล เป็นอีกข้อแนะนำครับ และถ้าแยกรูปแยกนามยังไม่ได้ อย่าพึ่งเดินปัญญาเพราะมันจะกลาย เป็นวิปัสสนึกครับ ซึ่งยังเป็น ปัญญาที่จิตมันปรุงแต่งร่วมกับความคิด ที่อยู่ในตัวจิตเราเอง
ขอถามหน่อยครับการแยกรูปแยกนามคืออะไรครับ คือผมไม่รู้จริงๆ ความรู้น้อยครับ และปฎิบัติอย่างไร ขอบคุณครับ
ถ้าอยากเก่งขนาดนั้น ก็คงต้องเรียนมากกว่าคนอื่น แนะนำ กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ วัดพลับ ครับ ไปขอขึ้นกรรมฐานที่นั่น แล้วขอซื้อตำรามาฝึก หรือ ไปฝึกวิชา ธรรมกาย ให้จบ
เด่วจะขอพูดเรื่อง แยกรูปแยกนาม จะลองใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายๆ ลองดูว่า อ่านแล้ว พอจะเข้าใจไหม.... การแยกรูปแยกนามนั้นเป็นกิริยาอย่างหนึ่ง ที่จิตสามารถเห็นได้ว่า องค์ประกอบต่างๆดังต่อไปนี้ เป็นคนละส่วนกันอย่างชัดเจน ประกอบด้วย ๑.ความคิดที่เกิดจากจิต หรือความคิดทั่วไปที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่ง มันสามารถที่ จะเปลี่ยนแปลงได้ตามใจเรา ไม่ว่าจะเชิงกุศลหรืออกุศล ยกตัวอย่างเช่น เห็นนาย ก. ผิวสีดำ แต่เราสามารถคิดและ บอกว่า นาย ก. ผิวสีขาว ได้ เป็นต้น หรือ นาย ก ผิวสีดำ เราจะคิดว่า นาย ก. หล่อ หรือ ไม่หล่อ ก็ได้ นี่คือ เอกลักษณของความ คิดที่เกิดจากจิต สังเกตุไหมว่า ทำไมเรียกว่า เกิดจากจิต เพราะมันขึ้นมาจากตัวจิตนั่นเอง ๒.ตัวจิต หรือ ดวงจิต หรือ ใจ ที่มันเป็นดวงกลมๆ แล้วแต่จะเรียก ๓.ขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม(เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน ไม่มีรูปนะ) หรือ เรียกอีกอย่าง ว่าความคิดที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ มักจะเป็นความคิดในอดีตที่ผ่านมาแล้ว บางทีสายป่า ก็เรียกว่า วิบากกรรม มันคือตัวเดียวกัน แต่เรียกต่างกัน ซึ่งตัวนี้ จะเป็นฝ่ายอารมย์ เป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เช่น อยู่ดีๆก็นึกเรื่องในอดีตที่ผ่านมาแล้วเป็น ๑๐ หรือ ๒๐ ปีได้ หรือ อยู่ดีๆก็มีความคิด ที่ผ่านมาแล้ว หลาย ปี หลายเดือน ยิ่งเวลาผ่านไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เราเคยผ่านมา บางทีก็นึกเรื่องราวในอดีตได้เอง เอกลักษณมันคือ ไม่เลือกที่ เลือกเวลา (และก็สามารถตามไปได้ แม้ว่าจะอยู่ในโหมดพิเศษ เช่นกำลังส่งจิต หรือ ฝัน ) ตัวอย่างเรื่อง เช่น นึกเรื่อง นาย ก ที่เราเคยเห็นว่า ผิวสีดำ อยู่ดีๆ นาย ก ผิวสีดำ ก็ผุดขึ้นมา และเราจะไปคิด บอกว่า นาย ก ผิวไม่ได้ดำ ก็ไม่ได้ มันก็จะขึ้นมาว่า นาย ก ผิวสีดำ และ ถ้า เรื่องนาย ก ผิวสีดำ ขึ้นมา พอเราไปรู้ หรือ ไปเจตนา ดู มันก็จะดับไปทันที พวกนี้คือ เอกลักษณ์ ของความคิดผุด ที่เป็นขันธ์ ๕ นามธรรม เล่าให้ฟังก่อน...อาจจะยังงงๆ.ว่ามันมีแบบนี้ด้วยหรือ แต่มันเป็นพื้นฐาน ที่สำคัญ ที่จะทำให้เราเดินปัญญาได้ โดยไม่กลายเป็นวิปัสสนึก การปฏิบัติ ก็คือ ให้เราเปลี่ยนความตั้งใจในการปฏิบัติ มาเป็นการเจริญสติให้ต่อเนื่อง ในชีวิตประจำวัน ..ทำไมต้องเปลี่ยนความตั้งใจในการปฏิบัติ เพราะถ้าหากว่าเรา ตั้งใจในการปฏิบัติ มันจะไปปิดกั้นตัวเราเอง ก็คือ ปิดกันใจเราเอง ให้มาเจริญสติในชีวิตประจำวัน ให้ต่อเนื่อง ด้วยวิธีอะไรก็ได้ ขอให้ฐานอยู่ที่กาย ฐานอยู่ที่กาย เช่น เวลาเดินไปไหน นับจำนวนเก้า นี่คืออยู่ที่กายคือเท้า หรือ เวลานิ่งๆ ให้มาระลึกรู้สึกว่า มีลมหายใจเข้าและลมหายใจออก หยุดที่ปลายจมูก โดยจะภาวนา หรือไม่ภาวนาก็ได้ และก็ไม่ควรลืมช่วงเอี่ยว(คือช่วงที่เราทำอะไรจนเป็นปกติ เช่น เดินไปทานข้าว เดินไปเข้าห้องน้ำ เดินไปขึ้นรถ เรามักจะขาดการเจริญสติ ในช่วงนี้) และที่สำคัญก็คือให้ดับความอยากที่จะทานอาหารก่อนที่จะทาน ส่วนจะนั่งสมาธิหรือไม่นั่งสมาธิก็สุดแล้วแต่ความสดวก จนกระทั่ง ใจหรือจิต คลายจากความคิด คลายจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม คลายยังไง ???? ถ้าเราเจริญสติ ไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง เราสามารถทันความคิดที่เกิดจากจิต หรือเห็นมันได้ ในขณะที่มัน(ความคิดจากจิต)กำลังจะขึ้นจากตัวจิตเราได้ ตัวจิต มันจะ ดีด หรือ แยก ความคิดจากจิต ออกจากตัวมันทันที ตอนนี้ จะเห็นและเข้ากิริยา อย่างที่พูดในย่อหน้าแรก ได้เอง ลำดับกิริยาปกติทั่วไปที่เจอมันจะประมาณนี้ ๑.ปกติเราจะไม่รู้เรื่องอะไร ปรุงคิดไปเรื่อยเปื่อย หรือไม่ก็ร่วมกระทำด้วย สุดท้ายแล้วลืม ๒.รู้ตัวอีกทีเมื่อเวลาผ่านมาแล้วช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๓.รู้ตัวได้เร็วขึ้น แล้วมันก็หายไป ๔.มันจะขึ้นมาหลายๆเรื่อง เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แม้ในนาที ขึ้นมาจนนับไม่ได้ ๕.แล้วก็ถึงจะมีจังหวะไปเห็น ตอนที่มันจะขึ้นจากตัวจิต ที่เล่ามาเป็นขั้นตอนที่จะเกิดปกติ และในทำนองเดียวกัน ขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม มันก็จะมาในลักษณะสัญญาในอดีต อย่าลืมเอกลักษณมัน ถ้าเราไปเจตนาดู(ไปรู้ทันมัน) มันจะดับทันที และจะเปลี่ยนไปเรื่องอื่นๆ ทำให้เรางงเล่นๆ ๕๕ และเรื่องเดิมๆ ที่มันเคยดับไป เด่วมันจะหาจัวหวะกลับขึ้นมาอีก และถ้าเราไปกำหนดให้มันดับ มันก็ดับได้ หรือใช้สมาธิข่มมันก็ดับได้อีก ต่อไปส่วนสำคัญ ถ้ามีความคิดลักษณะนี้ขึ้นมา ให้เราค่อยๆดูก่อน และเราอย่าพึ่งไปดับมัน ถ้าเราสังเกตุทันตอนที่มันกำลัง จะมารวมกับตัวจิตได้(***** สังเกตุนะ ว่าทำไมใช้คำว่า มารวมกับตัวจิต ไม่ได้ใช้คำว่า ขึ้นมาจากจิต เพราะแท้จริงแล้ว ขันธ์ ๕ นี้ มันมาจากภายนอก เพียงแต่มันเข้ามาอยู่ใกล้กับจิตเรามาก ถ้าไม่เจริญสติให้ต่อเนื่องจริงๆ เราจะสังเกตุตรงนี้ไม่ออก และจะคิดว่า มันเป็นตัวเดียวกับจิตของเรา ที่คนหลงตัวเอง ที่คนวิปัสสนา จนกลายเป็นผู้วิเศษ เก่งกว่าใคร หรือหลุดโลก ก็เพราะไม่ทันตรงนี้***) ไอ้ ขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม มันจะแยกตัวเองออกได้ เป็นเส้นๆ คล้ายๆเกลียวเชือก ที่มันถูกดึงออกจากกัน เพราะมันมัดรวมกันอยู่เป็นปกติ... มาถึงจุดนี้ ความเห็นชอบก็จะเปิดทางให้ เราสามารถที่จะเดินปัญญาได้ จะไม่กลายเป็นวิปัสสนึก เพราะ เราจะแยกได้อย่างชัดเจน ทั้ง ๑.ความคิดจากจิต ๒.จิต และ ๓.ขันธ์ ๕ เวลาเราเดินปัญญา ความคิด ๑.และ ๓. เราจะดับมันไม่ให้มีเลย และปล่อยให้จิตว่างรับรู้อยู่อย่างนั้น ตอนนี้จะมีกำลังสติคอยควมคุมตัวจิตอยู่ คล้ายๆว่า ให้จิตมันอยู่เฉยๆ เป็นกลางๆ(เหมือนไม่คิดอะไร) ก็จะเข้าสู่ การเริ่มเดินปัญญา จนเกิดเป็นปัญญาทางธรรมได้ในอนาคตของมันเอง ตรงนี้เป็นการเริ่มต้น ....ซึ่งต่อไปจะมีในส่วนการพิจารณา แต่ว่า จิตต้องอยู่ในสภาวะที่เป็นกลางจริงๆ และรู้จักการวางอารมย์ เรื่องที่จะพิจารณา(เราจะเห็นจากกำลังสติทางธรรมว่าเราพลาดอะไร ในระหว่างวัน แล้วระลึกรู้ไว้ และลืมๆไป นี่คือการวางอารมย์) เคย อ้อๆผุดอะไรได้เองเองไหมเช่นเวลาอาบน้ำ เวลาเข้าห้องน้ำ หรือเดินๆไปแบบชิวๆ หรือนั่งทำอะไรชิวๆ ที่มันมักจะมาหลังจากที่เราไม่ได้สนใจมันแล้ว หรือเฉยๆกับเรื่องนั้นไปแล้ว หรือเวลาได้ยินเรื่องแบบนี้ ที่เมื่อก่อนทำให้เราโกรธ แต่ตอนนี้รู้สึกเฉยๆ เหมือนไม่มีอะไร พวกนี้เป็นผลของมัน ที่เกิดขึ้นมาจากช่วงที่เราเริ่มเดินปัญญานั่นเอง...... ปล. ลองอ่านดู ทำไมต้องเดินปัญญาให้ได้ก่อน เพราะถ้าไปได้ฝึกกรรมฐานก่อน มันจะดูเหมือนไม่ยึด แต่ว่าจะยึด ไม่สนใจเรื่องสติ และปัญญา เราเรียกกิเลสธรรม จะสนใจแต่เรื่องนามธรรม เรื่องพิเศษต่างๆ และเมื่อเดินปัญญาไปแล้ว ความเข้าใจทางนามธรรมเราจะดีขี้นได้เอง นามธรรมพวกนี้ ก็คือ กิริยาต่างๆในระหว่างทางที่เราจะเจอ ในระหว่างการฝึกกรรมฐานต่างๆ ซึ่งช่วยหนุนให้เราเข้าใจว่าต้องทำอย่างไร และไม่ยึดมัน ถ้าไม่มีตรงนี้ เวลาเจอสัมผัสอะไรแปลกๆ มันก็มัวแต่จะคอยสงสัย ค้นคว้าหาคำตอบ เผลอคิดว่าสิ่งที่ตนเจอ เป็นอะไรที่วิเศษ ทั้งๆที่มันเป็นเพียงแค่ กิริยาหรือวิถีจิตปกติ ที่เกิดขึ้นได้ของมันเองไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนั่นเอง พูดง่ายๆ จะเผลอไปยึดวิถีกิริยาต่างๆของจิตที่เกิดได้ปกตินั่นเอง จบพื้นฐานเริ่มต้น... *** สำคัญนะ ฟังดูแล้ว เหมือนปฏิบัติแล้ว มันดูไม่หล่อ ไม่เท่ห์ ดูแล้ว ไม่เห็นมันจะเกิดความสามารถพิเศษอะไรให้ตัวจิต ทำเพื่อ??? แต่นี้หละ ที่อนาคต จะเป็นความแตกต่างว่า ทำไมบางดวงจิต ฝึกกรรมฐานต่างๆ มานานมาก ไม่เคยสำเร็จซักกอง ใช้งานไม่ได้ซักที ใช้ได้ก็ไม่ดี แถมใช้แล้วก็เสื่อม กว่าจะใช้ได้ก็เหนื่อย และได้ผลน้อยอีกต่างๆหาก และมีขึ้นๆลงๆ ไม่มีความกล้าแสดงๆออก คนอื่นๆรับรู้เหมือนตนไม่ได้ รู้ได้แต่ตัวเอง พูดแต่ในนิมิต ที่ตนพบมา และก็จะกลายเป็นว่า หลงตัวเอง คิดว่า การพบเห็นในนิมิต เอามายึดว่าตนเอง เหนือกว่าผู้อื่นๆ หลงกิริยาต่างๆ เหมือนกับว่ามันเป็นจริง พูดให้ดู วิเศษวิโส ขาดกำลังสมาธิ ขาดกำลังจิต ขาดภูมิต้านทานต่างๆ เพราะมองข้ามพื้นฐานสำคัญตรงนี้ไปนั่นเอง***
ถ้าอยากได้เชิงมีกำลังจิตด้วย ไม่ใช่แบบภายในแบบวิชา ธ...ก.. หรือ มโน...แบบทั่วไป พวกนี้ได้แต่ภายใน รู้เองเห็นเอง แต่แสดงไม่ได้ ทำให้คนอื่นเห็นเหมือนตนไม่ได้และมักจะหลงตัวเองเป็นส่วนมาก เพราะจะขาดในเรื่องกำลังจิต และพอมีแล้วไม่ค่อยมาวิปัสสนากัน ถ้าคุณมีพื้นฐานจากกสิณ ๑๐ ในระดับเรียกเป็นพลังงานได้แล้ว สามารถไป ทางวัดพลับได้ ถึงจะพอมีลุ้น เพราะเราจะต้องเอาพลังงานกสิณ ทั้งสิบกองมาตั้งต้นให้มันหมุนนิ่งๆหน้าเรา ก่อนให้ได้ในเบื้องต้น จริงๆมันจะมีอยู่ สองกองที่มันจะมาเองโดยไม่ต้องเรียก ถ้าใครที่พอทำได้จะรู้ได้เอง แล้วปั่นมันวนซ้ายให้เล็กลงและดึง เข้ามาเหนือสะดือเล็กน้อย (ปั่นวนขวามันจะขยาย) หมายความว่าจะต้องใช้ตำแหน่งนี้ ในการบังคับ ถ้าใช้ตำแหน่งอื่นๆบังคับ มันจะดึงกองกสิณที่ปั่นรวมกันเข้ามาไม่ได้ และถ้าตั้งกสิณผิดต่ำแหน่ง ก็จะปั่นรวมกันไม่ได้อีกเพราะ พลังงานเฉพาะมันจะไม่หมุนไปทางเดียวกันและตีกันทำให้แตก ปั่นได้แล้วก็ดึงเข้ามาเหนือสดือ นี่คือแค่เริ่มต้นนะครับ ^_^ ปล แค่จะบอกว่าถ้าไม่ว่างจริงๆ คือภาระทางสมมุติไม่มีอะไรให้ห่วงและกังวลเลย และโคตระฟิตจริงๆทางสมาธิแล้ว ก็ให้พิจารณาดีๆแล้วกัน ถ้าพื้นฐานน้อยกว่านี้ ฝึกไปเสียเวลาเล่นๆ ในชาตินี้ครับ. เล่าให้ฟังเฉยๆครับ เพราะที่พูดแค่เบสิกที่ควรมีธรรมดา
กาแยกรูปแยกนาม เป็นผลงานของการเจริญสติ เรียกว่า วิปัสนาญาณ เบื้องต้นที่เกิดขึ้น เป็น ญาณปัญญาอ่อนๆ ที่ผู้เจริญสติ ได้เพียรเจริญสติ อย่างไม่หยุดหย่อน ฉะนั้นแล้ว หากไม่เจริญสติ การแยกรูปแยกนามจะไม่มีทางเกิดขึ้น ที่นี้ กรรมฐานที่ทำให้แยกรูปแยกนามได้ มีอยู่ใน 4 หมวดใหญ่ ในมหาสติปัฏฐานสูตร หมวดกาย มีแยกย่อย 1 อานาปานบรรพ 2 อิริยาปถบรรพ 3 สัมปชัญญบรรพ 4 ปฏิกูลมนสิการบรรพ 5 ธาตุมนสิการบรรพ 6 นวสีวถิกาบรรพ หมวดเวทนา หมวดจิต หมวดธรรม มีแยกย่อย 1 นีวรณบรรพ 2 ขันธบรรพ 3 อายตนบรรพ 4 โพชฌงคบรรพ 5 สัจจบรรพ ส่วนในกรรมฐาน 40 มีสายตรงสติปัฏฐาน คือ อานาปานะสติ ส่วนที่เหลือ จะเป็น การตั้งสมถะเป็นพื้นฐานก่อนเดินวิปัสนา เช่น กายคสติ มรณะสติ อาหาเรปฏิกูล ธาตุ4 อสุภะ10 หลังจากตั้งฐานสมถะ ผลสืบต่อของสมถะ จะมีจุดเชื่อมการเจริญสติปัฏฐาน เมื่อคล่องแคล่วแล้ว ผลงานคือการแยกรูปแยกนาม จึงจะเริ่มเกิดขึ้น
อีกอย่างนึง พวกวิปัสนาญาณ ต่างๆ มันเป็นผลงาน ที่จะเกิดขึ้นไปเป็นลำดับ ของมัน เหนือการควบคุม เหนือการแทรกแทรงของเจตนาทำ ฉะนั้น ไม่ต้องไปสนใจ แต่ว่า อ่านประดับความรู้ในพระไตรปิฏกได้ ส่วนที่ต้องสนใจ คือ วิธีทำ ต้องศึกษาวิธีทำให้เข้าใจ วิธีถูกต้อง ผลออกมาถูกต้อง
เด่วช่วยเสริมเรื่องแยกรูปแยกนามในบางมุม ถ้าเราเจริญสติต่อเนื่องปกติในชีวิตประจำวันได้จริงๆเราจะพบกิริยา ของจิตดังต่อไปนี้ได้เป็นปกติ ๑.จิตก่อตัวเป็นก้อนกลมๆ ออกไปนอกกาย ทางศรีษะเราจะรู้สึกเหมือนหกคะเมนตีลังกา ๒.จิตก่อตัวเป็นก้อนกลมๆกำลังวิ่งขึ้นตามแนวจักระขึ้นทางศรีษะ จะรู้สึกเหมือนมีก้อนอะไรกำลังวิ่งขึ้นมา เห็นรู้ได้ดวยตาเปล่า ๓.จิตก่อตัวเป็นก้อนกลมขึ้นอยู่ตรงลิ้นปี่ ๔.จิตก่อตัวคล้ายๆเกลียว นึกภาพคลื่นทอนาโดร์เทียบดูครับ ดูที่ปลายคลื่นนะครับ ๕.จิตก่อตัวคล้ายก้นหอย ดูก้นหอยเทียบ ๖.จิตเป็นเส้นๆหลายเส้น กำลังจะรวมเป็นก้นหอย ๗.กำลังเป็นเส้น ถ้าเห็นข้อ ๗ ได้จิตจะดีดความคิด ออกจากตัวมันได้เอง และจะเกิดกิริยา ต่างๆตามมา หมายความว่าถ้าเริ่มจากข้อหนึ่งให้เราดับมันอย่างเดียว อย่าตาม อย่าสนใจเป็นอันขาด ดับเรื่อยๆมันจะย้อมมาถึงจ้อ ๗ ได้เอง และเราจะเริ่มเดินปัญญาแบบที่ไม่เป็นวิปัสสนึกได้ครับ และเดินปัญญาต่อซักระยะ อย่างที่เคยบอก จะฝึกกรรมฐานอะไร จะไม่ยากครับ แต่ถ้าอายุมากแล้วปลายๆ ๕๐ หรือ ๕๐ อัพ จะไม่เห็นข้อ ๖ และ ๗ เป็นปกติครับ หรือคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านประสบการณ์ชีวิตมามากก็ไม่เห็น เช่น พรุ้งนี้บ้านจะโดนยึด แต่นอน กร๊นคร๊อกๆได้เหมือนปกติ ประมานนี้ครับ แต่ก็จะแยกรูปแยกนามได้ และเข้าใจกิริยาต่างๆของจิต ความคิดขันธ์๕ ส่วนนามธรรมเหมือนคนมีอายุไม่มากได้ เช่นกัน ปล แค่เพียงแต่เล่าให้ฟังครับ